วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พรุ่งนี้รีบเข้าหุ้น...ด่วนที่สุด แล้วต้องออกเมื่อไหร่ ตามเจ้าให้ทัน

พรุ่งนี้รีบเข้าหุ้น...ด่วนที่สุด แล้วต้องออกเมื่อไหร่ ตามเจ้าให้ทัน
http://pantip.com/topic/32911277

Murphy’s Law กับการลงทุน

Murphy’s Law กับการลงทุน
เคยเป็นไหมครับ
- ลองรื้อชิ้นส่วนอะไรซักอย่างออกมา แล้วพยายามประกอบใหม่ จะมีน็อตเหลืออย่างน้อย 1 ตัวเสมอ
- ของใช้ที่เราเห็นๆทุกวัน แต่ยังไม่ได้ใช้ มันมักจะหายในยามที่เราต้องการใช้มันเสมอ
- เวลาทำงาน Project อะไรซักอย่าง งาน 90% แรกจะเสร็จตรงตามตารางเวลาดี แต่ไอ้ที่เหลืออีก 10% นี่สิเราอาจจะต้องใช้ อีกเท่าตัว ของเวลาที่ใช้ไปแล้ว
- ถ้าต่อคิวจ่ายเงินใน Counter Supermarket เราจะอยู่ในแถวที่รอนานสุด และเมื่อไหร่ที่เปลี่ยนแถว ไอ้แถวเดิมที่เปลี่ยนมักจะวิ่งฉิ่วยังกับจรวด
ข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีคนอธิบายด้วย Murphy’s Law ครับ
Murphy’s Law เกิดขึ้นที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส ในสหรัฐฯ ในปี 1949 จากคำพูดของร้อยเอก Edward A Murphy JR. วิศวกรโครงการ MX981 ของกองทัพอากาศสหรัฐ
โครงการ MX981 เป็นการทดลองเพื่อค้นหา ความหน่วง (ความเร่งติดลบ) มากขนาดไหนที่มนุษย์สามารถทนได้
วันหนึ่งผู้กองเมอร์ฟี่บ่นช่างเทคนิคต่อวงจรของเครื่องส่งวิทยุผิด ว่า “If there’s any way to do it wrong, he will.” (ถ้ามันมีวิธีไหนก็ตามที่จะทำให้ผิดแล้วละก็ ไอ้หมอนี่จะทำจนได้)
ผู้จัดการโครงการได้ยินปั๊บก็จดคำพูดนั้นลงไปในสมุด และให้ชื่อว่า “กฏของเมอร์ฟี่” นั้นเป็นต้นกำเนิดของกฏนี้
และหลังจากนั้น กฏดังกล่าวก็แตกหน่อออกมาอีกหลายอย่าง แต่เกือบทุกอย่าง เป็นการอธิบายถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนในตลาดหุ้นก็มักเจอกับเหตุการณ์แบบ Murphy’s Law เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น
- ถือหุ้นตัวเนิงมาเป็นเดือนๆ ราคาหุ้นไม่ไปไหน ส่วนหุ้นอีกตัวที่ไม่ถือก็วิ่งเอาๆ ว่าแล้วก็ขายหุ้นตัวเดิมมาถือหุ้นตัวใหม่ และเมื่อนั้น หุ้นตัวเดิมก็วิ่งขึ้น หุ้นตัวใหม่ที่เราเปลี่ยนก็กลับหัวทิ่มทันที
- ร้อยวันพันปี ไม่เคยส่งคำสั่งซื้อผิด วันนี้หุ้นร่วงหนักที่สุด ราคาถูกที่สุด อยากซื้อที่สุด วันนั้น จะเป็นวันที่เรา Key ซื้อผิด กลายเป็น Key ขาย!!
- วิเคราะห์งบ วิเคราะห์ธุรกิจมาละเอียดถึง 99% แต่ไอ้ส่วนที่เราลืมมอง 1% มันมักจะสร้างความเสียหายได้มากที่สุด
กฏของเมอร์ฟี่แตกแขนงไปหลายอย่าง แต่หลักๆที่สามารถนำมาเป็นหลักคิดและการวางแผนการลงทุนได้ ผมขอยกเฉพาะบางประเด็นที่น่าสนใจนะครับ
1. Nothing is as easy as it looks.
ทุกอย่างไม่ง่ายอย่างที่เห็น มันมักจะมีเรื่องยากซ้อนอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น จงละเอียดรอบคอบ และอย่าละเลยสิ่งเล็กๆน้อย
2. Everything takes longer than you think.
ทุกอย่างต้องการเวลาในการจัดการมากกว่าที่คุณคิด นักลงทุนส่วนใหญ่ มองการลงทุนว่า เป็นเรื่องของการซื้อขายหุ้น แต่จริงๆ กว่าจะสามารถใช้คำว่านักลงทุนขั้นเทพได้ คุณต้องยอมสละเวลา หรืออาจเรียกว่าได้ “หมกหมุ่น” กว่าจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
3. If there is a possibillity of several things going wrong. the one that will cause the most damage will be the one to go wrong.
Corollary: If there is a worse time for something to go wrong. it will happen then.
ถ้าหากมีความเป็นไปได้ที่อะไรบางอย่างจะเกิดข้อบกพร่อง โปรดจงระวังไว้ให้ดีว่าอะไรบางอย่างนั้นจะสามารถสร้างเกิดความเสียหายให้ได้มากที่สุด หรือพูดอีกมุม ในช่วงภาวะที่วิกฤตที่สุดที่ไม่ควรจะเกิดความผิดพลาดเลย ความผิดพลาดที่เราละเลยมักจะเกิดในตอนนั้น
4. Left to themselves, things tend to go from bad to worse.
ถ้าปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามยถากรรม สถานการณ์มักจะเลวร้ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น การลงทุน ควรมีการควบคุมความเสื่ยง ถึงเป็น VI ก็ใช่ว่าจะถือยาวทิ้งลืมได้ แต่เราต้องตรวจสอบคุณภาพของบริษัทอยู่เนื่องๆ
5. If everything seems to be going well, you have obviously overlooked something.
ถ้าอะไรก็ตามดูดีไปหมด ขอให้คิดในมุมกลับว่า คุณได้มองข้ามอะไรที่สำคัญไป ตัวอย่างนี้ เราเพิ่งเจอกันมาสดๆร้อนๆตอนที่ทุกโบรกฯปรับเป้าหุ้นไทยในช่วงเดือน เม.ย. พ.ค. ที่ผ่านมา พร้อมบอกว่าเศรษฐกิจไทยดูดี มีโน้นมีนี่สวยหรูหราราวกับอยู่ในฝัน หรือ ตอนช่วงราคาทองพุ่งขึ้นไปทดสอบ $1,800 – $1,900 ทุกคนในตลาดบอก จะวิ่งไป $2,000 – $2,200 แต่สุดท้าย ก็ลงเอยอย่างที่เราเห็นวันนี้
6. Nature always sides with the hidden flaw.
ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ ทุกอย่างมักมีข้อผิดพลาดซ่อนอยู่ ถึงแม้เราจะควบคุมอย่างเสี่ยงไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แต่อย่างไรเสีย การลงทุน มันก็คือการเล่นอยู่บนเกมส์ที่มีความเสี่ยงที่คุณต้องยอมรับมัน
7. Every solution breeds new problems.
ทุกคำตอบมักจะนำมาซึ่ง “ปัญหา” ใหม่เสมอ เพราะฉะนั้น การตั้งคำถามกับการลงทุนของเรา บริษัทที่เราลงทุนอยู่เรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ต้องอยู่คู่กับชีวิตการลงทุน มันไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีวิธีตายตัว ประเภท รู้แล้วรู้เลยไม่ต้องทำอะไร
รวมความแล้ว หลักคิดของ Murphy’s Law ก็คือ “การตั้งต้นอยู่ในความประมาท” แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ
ไม่ว่าจะเรื่องชีวิตประจำวัน หรือ การลงทุน ก่อนทำอะไรซักอย่างที่สำคัญ ขอให้เรานึกถึงกฏของ Murphy เสียก่อน หรือ ถ้ามีสิ่งใดที่เราผิดพลาดไปแล้ว ก็กลับมาดูในกฏว่า มันเกิดจากเราละเลยในจุดไหนหรือเปล่า ถ้าตระหนักอยู่เช่นนี้ ความผิดพลาดในอนาคตก็จะลดลง การลงทุนของเราก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
cr :http://www.iammrmessenger.com/?p=504

เล่นหุ้นต้องดูคน

การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น  นอกจากต้องดูข้อมูล พื้นฐาน  ต่าง ๆ  เช่นตัวเลขผลประกอบการและข้อมูลเชิงคุณภาพอื่น ๆ  เช่นความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแล้ว  การดู  คน”   ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและหุ้นก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  นักลงทุนแนว VI นั้น  มักจะเน้นที่การดูผู้บริหารสำคัญและผู้บริหารสูงสุดของบริษัทเป็นหลักว่า  พวกเขานั้นมีความสามารถและความซื่อสัตย์และ  เห็นแก่ผู้ถือหุ้น  หรือมองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน  การที่จะเข้าใจในตัวผู้บริหารได้ดีก็ต้องคอยติดตามว่าพวกเขามีพฤติกรรมอย่างไรในประเด็นต่าง ๆ  เกี่ยวกับบริษัท  และบางทีก็ในเรื่อง  ส่วนตัว  ด้วย   ส่วนนักเก็งกำไร  นั้น  จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ในเรื่องของ  คน  มากขึ้นมาก  เพราะนอกจากผู้บริหารแล้ว  พวกเขาจะต้องมองไปถึงผู้ถือหุ้นใหญ่  นักเล่นหุ้น  ขาใหญ่” รวมไปถึงนักเล่นหุ้นคนอื่น ที่สนใจและเข้าไปเล่นหุ้นด้วย  ว่าที่จริงหลาย ๆ คนนั้นดูเรื่องนี้เป็นหลัก  ส่วนเรื่องพื้นฐานของบริษัทนั้นเป็นรอง  เหนือสิ่งอื่นใด  พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์หุ้นได้ถูกต้องจริง ๆ  และถึงจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง  มันก็เป็นเรื่อง  ระยะยาว”  ที่ไม่มีประโยชน์มากนักในการเล่นหุ้นในช่วงสั้น ๆ  หรือวันต่อวัน
    เรื่องของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหุ้นที่มีทุกวันเรื่องแรกก็คือ  การซื้อ-ขายของผู้บริหาร หรือที่เรียกว่า Insider Trading นั้น  เป็นสิ่งที่ผมมักตามดูอยู่ห่าง ๆ  โดยทั่วไป  การซื้อขายจำนวนน้อยและทำโดยพนักงานหรือคู่สมรสนั้น  ผมคิดว่าไม่ใคร่จะมีความหมายหรือมีสัญญาณอะไร  ว่าที่จริงผมคิดว่าพวกเขาไม่ได้รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับบริษัท  แต่การซื้อหรือขายโดยผู้บริหารระดับสูงสุดหรือเป็นคนสำคัญของบริษัทนั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีความหมายพอสมควร  การขายหุ้นจำนวนมากซึ่งบ่อยครั้งทำเป็นเรื่อง  โอนออก นั้น  เราจะต้องวิเคราะห์ให้ออกว่ามันหมายความว่าอะไร?  โดยส่วนใหญ่แล้วผมมองว่ามันอาจจะไม่ใคร่ดีนัก  เขาอาจจะดูว่าหุ้นมีราคาสูงมากหรืออาจจะเกินพื้นฐานไปแล้วเขาจึงขาย  หรือเขาแค่ต้องการลดความเสี่ยงที่มีหุ้นตัวเดียวมากเกินไป?  เหล่านี้เป็นเรื่องที่เราต้องคิด 
    บางครั้งผู้บริหาร  รวมถึงผู้บริหารสูงสุด  เข้ามาซื้อหรือขายหุ้นบ่อย ๆ  หรือ  ตลอดเวลา”  ซึ่งในกรณีนี้  ส่วนมากแล้วจะเป็นการซื้อมากกว่าขาย  ถ้าเป็นแบบนี้  ผมมักมีความรู้สึกว่า  พวกเขาพยายาม ส่งสัญญาณ  ว่า  หุ้นเขา ราคาถูกกว่าพื้นฐาน  ดังนั้น  นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นจึงควรเข้ามาซื้อ  เพราะ  ขนาดเจ้าของที่มีหุ้นมากมายอยู่แล้วยังเข้ามาเก็บหุ้นเลย  อย่างไรก็ตาม  เราก็ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย  เพราะเจ้าของเองอาจจะมี  วาระซ่อนเร้น” อยู่  พวกเขาอาจจะอยากทำให้ราคาหุ้นสูงเพื่อเหตุผลบางอย่าง  หรือไม่พวกเขาบางคนก็อาจจะคิดไปเองว่าหุ้นของตนเองมีราคาถูกโดยที่ตนเองก็วิเคราะห์ไม่เป็น  และมักจะมีความ  ลำเอียง ว่าหุ้นของบริษัทตนเองนั้นดีกว่าความเป็นจริง  ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน  สำหรับผมเองแล้ว  ผมไม่ชอบที่ผู้บริหารเข้ามาซื้อขายหุ้นตัวเองมากเกินไป  เพราะมันอาจจะทำให้ราคาหุ้นไม่เป็นไปตาม  ธรรมชาติ
    ในช่วงที่ตลาดมีการเก็งกำไรในหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กอย่างหนักนั้น  นักเล่นหุ้นจำนวนมากนั้น  ชอบดู  ขาใหญ่ ว่ากำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า?  เพราะเขาเชื่อว่า  ราคาหุ้นจะปรับตัวแรงมากน้อยแค่ไหนสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ   มีนักเล่นหุ้นรายใหญ่เข้าไปซื้อ  ซึ่งจะทำให้หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้อาจจะหลายเท่าในเวลาอันสั้น  ความคิดแบบนี้ผมคิดว่ามีอยู่มากในบรรดานักเล่นรายวันจำนวนมาก  ดังนั้น  นักเล่นหุ้นรายใหญ่จึงมักจะพยายามส่งข้อมูลหรือสัญญาณว่าตนเองได้เข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นจำนวนมากเพราะเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ดีราคาถูกและจะปรับตัวขึ้นไปอีกมากอาจจะหลายเท่า  ผลก็คือ  ราคาหุ้นก็มักจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงซื้อของนักลงทุนและคนเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมาก  แต่หุ้นลักษณะแบบนี้นั้นก็มักจะมีอันตรายสูงที่จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วถ้ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งเนื่องจากราคาอาจจะสูงเกินพื้นฐานไปมาก  พูดถึงเรื่อง  ขาใหญ่  แล้ว  ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยในยามนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก  เหตุผลก็เพราะตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงมายาวนานและนักลงทุนที่ กล้าได้กล้าเสีย” สามารถทำกำไรมโหฬารจนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก  ผลก็คือ  หุ้นตัวเล็กที่ วิ่งกันระเบิด  นั้น  แทบทุกตัวก็จะต้องมี  ขาใหญ่ บางคนหรือบางกลุ่มเข้าไปเล่นทั้งสิ้น
    การดูผู้บริหารหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับตัวหุ้นนั้น  ยังต้องดูแรงจูงใจของพวกเขาด้วย  ผู้บริหารบางคนนั้น  ชอบ  ดูแลหุ้น” ตัวเองมาก  เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้หุ้นมีราคาดีมีปริมาณการซื้อขายสูง  การพูดโปรโมตหุ้นนั้น  จะทำอยู่ตลอดเวลาถ้าทำได้  นอกจากนั้น  หลายคนยังเข้าไปซื้อขายหุ้นของตนเอง  โดยอาจจะผ่านนอมินีหรือส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาช่วยทำราคา” ด้วย  เจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทบางคนโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมโตช้าหรือตะวันตกดินนั้น  ตรงกันข้าม  ไม่ดูแลหุ้นของตนเองเลย  พวกเขาไม่สนใจที่จะพบนักลงทุนหรือให้ข่าวข้อมูลของกิจการแก่นักลงทุนถ้าไม่จำเป็น  ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาไม่สนใจ  ในกรณีแบบนี้  บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาไม่ต้องการจะจ่ายปันผลที่งดงามให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย  ดูเหมือนว่าพวกเขาอยากจะบริหารบริษัทคล้าย ๆ  กับบริษัทส่วนตัวมากกว่า  ในทั้งสองกรณีคือ  ดูแลหุ้นตัวเองมากเกินไปและไม่ดูแลหุ้นเลยนั้น  ผมไม่ชอบทั้งคู่  โดยที่ไม่ชอบมากกว่าก็คือการไม่ดูแลหุ้นเลย  หุ้นที่ดีนั้นผมคิดว่า  ควรจะเป็นหุ้นที่ผู้บริหารและเจ้าของควร ดูแล” พอประมาณในด้านของการให้ข้อมูลและการจ่ายปันผลรวมถึงการปรับในเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการเข้ามาซื้อขายหุ้นเอง  การดูแลหุ้นมากเกินไปนั้น  ผมคิดว่ามันทำให้หุ้นอาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง  ราคาอาจจะเกินมูลค่าที่แท้จริง  ในขณะที่หุ้นที่เจ้าของไม่ดูแลเลยนั้น  ผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทนตามพื้นฐานที่ควรเป็นและผมมักจะหลีกเลี่ยง
    ประวัติหรือพฤติกรรมของผู้บริหารหรือเจ้าของหุ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมอง   ถ้าเจ้าของมีประวัติเป็น  นักเล่นหุ้น เคยซื้อขายหุ้นในฐานะ  ขาใหญ่” ผมจะไม่ชอบ  ข้อแรกก็คือ  ผมไม่แน่ใจในเรื่องทักษะหรือความสามารถในการบริหารธุรกิจที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ  ข้อสองก็คือ  ผมคิดว่าเขามักจะเน้นไปที่การทำหรือดูแลราคาหุ้นมากเกินไปซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงกว่าพื้นฐาน  ผู้บริหารที่ดีนั้น  ควรเป็นคนที่คลุกคลีและสร้างธุรกิจด้วยตนเองหรือสืบทอดธุรกิจต่อมาอย่างประสบความสำเร็จ  ในด้านของประวัติทางการเงินนั้น  ผมชอบคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ  ไม่เคยถูก  “Blaklist”หรือถูก  ตราหน้า” ในสังคมของสถาบันการเงินว่าเป็นลูกหนี้ที่  เบี้ยว หนี้ทั้งที่ธุรกิจยังพอไปได้  เช่นเดียวกัน  เขาก็ควรจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคมไม่มีประวัติที่  น่ารังเกียจ”  และสุดท้ายก็คือ  เมื่อนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทมหาชนแล้ว  เขาควรที่จะต้องคำนึงถึงนักลงทุนเสมอเวลาที่จะตัดสินใจทำอะไรโดยเฉพาะในสิ่งที่มี ผลประโยชน์ขัดกัน ระหว่างตนเองและบริษัทในฐานะที่เป็นของมหาชนที่เขาเป็นผู้บริหาร
    สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือเรื่องของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นแต่ละตัวว่าพวกเขามีหลักการหรือกลยุทธ์การลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร  เป็น VI หรือเป็นแนวเทคนิค  พฤติกรรมของพวกเขาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเช่นลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว  ต่าง ๆ  เหล่านี้  ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ  เรียนรู้และต้องอาศัยประสบการณ์เพราะมันไม่มีใครเขียนเป็นบันทึกให้อ่านหรือบางทีเราอ่านพบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง   ถ้าจะถามว่าเราจะต้องรู้ไปทำไมว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ใครเป็นเจ้าของหรือใครเข้าไปเล่น  คำตอบของผมก็คือ  การที่รู้ว่าใครเข้าไปเล่นหุ้นตัวไหนนั้น  อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกหรือเตือนเราว่า  ราคาหุ้นที่เราเห็นนั้น  อาจจะต่างจากมูลค่าพื้นฐานได้มากน้อยแค่ไหน  หุ้นบางตัวนั้น  ผมคิดว่าราคาอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานได้หลายเท่า  กลายเป็นหุ้น  อภินิหาร  ได้  เพียงเพราะคนที่เข้าไปเล่นนั้นกล้าทำและทำได้  ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเล่นถ้าไม่ต้องการ  หายนะ
เครดิต http://www.thaivi.org/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%84%E0%B8%99/

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

8 สูตรรวยแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์

8 สูตรรวยแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์

วันเสาร์สบายๆวันนี้มาคุยกันถึงสูตรแห่งความสำเร็จของมหาเศรษฐีกันอีกซักทีนะครับ เป็นเรื่องราวของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก ร่ำรวยกว่า 58,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งเว็บไซต์ของโบรกเกอร์แห่งหนึ่งนำมาลงไว้เพื่อให้ข้อคิดและล่อใจนักลงทุน เพราะวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นราชาแห่งตลาดหุ้นและได้รับฉายาเป็นผู้หยั่งรู้ตัวจริง หุ้นบริษัทที่เขาซื้อไว้ไม่มีใครคิดว่าจะมีโอกาสเติบโต แต่หลายปีต่อมากลับทำกำไรมากกว่าเดิมนับสิบเท่า

กว่าที่จะก้าวขึ้นมาถึงระดับนี้ได้ บัฟเฟตต์ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย เขามี 8 สูตรในการลงทุน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีระดับโลก ซึ่งถึงแม้ใครไม่ได้เล่นหุ้นก็สามารถเอาไปปรับใช้กับการทำงานได้ มาดูกันครับว่าสูตรของเขามีอะไรบ้าง

1.ทุกความสำเร็จต้องใช้เวลา ความสำเร็จไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในวันเดียว บัฟเฟตต์จึงไม่ค่อยซื้อหุ้นตัวในกระแสที่มาเร็วไปเร็ว แต่ซื้อหุ้นที่อาจไม่เปิดขายอีกเลยจนกว่าจะถึง 5 ปีถัดไป

2.รู้ให้ลึกก่อนลุย หาข้อมูลทุกครั้งก่อนลงสนามจริง ไม่ใช่ว่ารวยแล้วก็ใช้เงินซื้อหุ้นมั่วๆ ทุกครั้งที่จะทำอะไรต้องคิดอย่างถี่ถ้วนเสมอและศึกษาเป็นอย่างดี

3.เมื่อคนอื่นปอดแหกนี่ล่ะจังหวะทองของเรา โอกาสทางธุรกิจมีอยู่ทุกที่ ถ้ารู้จักไขว่คว้าและกล้าหาญที่จะลงทุน ก็สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้

4.ลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ร่มเงาไม้ที่ใช้บังแดดวันนี้ได้มาจากคนปลูกต้นไม้ไว้เมื่อหลายปีก่อน ดังนั้นถ้าคิดจะทำอะไรก็จงทำตั้งแต่วันนี้ แม้ยังไม่เห็นผลทันและทำให้เราท้อใจบ้าง แต่ถ้าไม่ล้มเลิกไปเสียก่อน ผลลัพธ์ย่อมออกมาเช่นเดียวกับต้นไม้ที่แผ่ร่มเงา

5.ทำในสิ่งที่รู้ แม้การลองอะไรแปลกใหม่จะไม่ผิด และทำให้ได้เปิดโลก แต่บัฟเฟตต์มักลงทุนในสิ่งที่ศึกษามาอย่างดีหรือสิ่งที่คุ้นเคย เพราะเมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็จะทำผลงานออกมาดี คนเราไม่จำเป็นต้องตามกระแสเสมอไป ต้องมีแนวทางของตัวเองแล้วจะโดดเด่นเหนือใคร

6.จงตั้งเป้าหมายแล้วพิชิตมันให้ได้ ฝึกตัวเองให้แกร่งขึ้นและทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ ถ้าจะให้ดีควรพาตัวเองไปอยู่กับคนที่เก่งกาจกว่า แม้จะทำให้เราดูโง่ไปบ้างในบางครั้งคราว แต่ก็จะได้เรียนรู้สิ่งดีๆจากคนเหล่านี้ แล้ววันหนึ่งเราอาจจะเทียบเท่าหรือแซงคนเก่งๆพวกนี้ได้

7.อย่าอู้และต้องมีวินัย เมื่อคนเราเริ่มเก่งขึ้นหรือมีเรื่องอื่นมารบกวน มักจะทำให้ขาดวินัยได้ เช่น ซื้อหุ้นโดยวิเคราะห์ข้อมูลไม่ละเอียดเหมือนเคย หรือทำอะไรไม่รอบคอบเท่าแต่ก่อนเพราะขี้เกียจ นั่นแหละอาจนำหายนะมาได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรควรมีวินัยและสม่ำเสมอ จะทำให้เราเฉียบแหลมอยู่ตลอดเวลา

8.ใจรัก หากไม่มีใจรักในสิ่งที่ทำ สุดท้ายสิ่งนั้นจะหายไป เพราะไม่มีใจจะไปฝ่าฟัน ไม่ว่าจะลงทุนในหุ้น หรือการตามล่าความฝันในรูปแบบอื่นของชีวิต หากมีใจรักก็พร้อมจะทุ่มเทให้มันแบบสุดชีวิตเสมอ และรางวัลของคนที่ทุ่มเทจนถึงที่สุดก็คือ “ความสำเร็จของชีวิต”

นี่แหละสูตรรวยของมหาเศรษฐีอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ แต่ถึงแม้ท่านผู้อ่านได้สูตรเด็ดเคล็ดลับวิธีการใช้เงินและวิธีลงทุนไปแล้ว หากไม่ขยันขันแข็ง ไม่มีน้ำอดน้ำทน ก็ไม่มีทางรวยหรอกนะครับ.

ลมกรด
http://www.thairath.co.th/content/464684

20 หลักง่ายๆในการลงทุน

20 หลักง่ายๆในการลงทุน
1. ลงทุนในธุรกิจที่มีความเข้าใจดี ผมเคยเห็นคนลงทุนในหุ้นที่ตัวเองไม่มีความรู้ใดๆเลยวันๆได้แต่หวังว่าราคาจะขึ้นไปเรื่อยๆ ลองถามตัวเองดูครับ บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร สัดส่วนรายได้มาจากไหน แข็งแกร่งแค่ไหนในตลาด ใครเป็นลูกค้า ใครเป็นคู่แข่ง แล้วอนาคตธุรกิจนี้จะเป็นยังไง 10 คน ตอบได้ 10 แบบ จงเชื่อในการวิเคราะห์ของคุณครับ
2. หุ้นคือธุรกิจจริง ที่มีคนทำงาน มีสินค้า มีบริการ มีตัวตนจริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขเขียวแดงกระพริบขึ้นลงเท่านั้นดังนั้นการเลือกหุ้นคุณต้องรู้ ด้วยว่าหุ้นนั้นบริษัทนั้นเค้าทำงานยังไง พื้นฐานเป็นยังไง
3. การลงทุนมีความเสี่ยงเลี่ยงไม่ได้ แต่จัดการได้ ความเสี่ยงคือความไม่รู้ พยายามหาคำตอบให้ได้มากที่สุดก่อนจะลงทุนใดๆ ถ้าคุณคิดว่าเสี่ยงมากได้มาก ผมว่าอาจจะไม่ใช่ เสี่ยงน้อยถึงได้มากต่างหาก
4.ออมก่อนรวยกว่าและออมเยอะกว่ารวยเร็วกว่าเงินลงทุนจะเริ่มทำเงินได้ มากๆต่อเมื่อต้องใช้เวลา และหากใช้เงินก้อนใหญ่มากกว่าก็มีสิทธ์ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วกว่า
5. จัดการความโลภและความกลัวให้เหมาะสม วอเรน บัฟเฟตนักลงทุนอันดับ 1 ของโลกนั้นกล่าวว่า “จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว และจงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ”
6. อย่าหยุดลงทุน การลงทุนในระยะยาวจะให้ผลลัพทธ์ที่ดีมากๆ ออมเงินจากเงินเดือนทุกๆเดือนให้เป็นนิสัย ลงทุนในหุ้นดีๆและปล่อยให้อยู่นานๆ
7. อย่าซื้อๆ ขายๆ ค่าคอมมิสชั่นในการซื้อ-ขายหุ้นแต่ละครั้งคือประมาณ 0.25% ถ้าคุณซื้อขายทุกวัน (ซื้อ 1 ครั้ง ขาย 1 ครั้ง) คุณจะเสียค่าคอมมิสชั่น 0.50% ต่อ 1 วัน และถ้าคุณซื้อขายปีละ 200 วัน คุณจะเสียค่าคอมมิสชั่น 100% ถ้าคุณเริ่มด้วยเงิน 1 ล้านบาท ในหนึ่งปีคุณจะเสียค่าคอม 1 ล้านบาท (โดยที่ยังไม่รู้ด้วยว่าซื้อขายแต่ละครั้งกำไรหรือไม่)
8. ถ้าถือหุ้นตัวนั้นยาวๆแล้วเครียด นอนไม่หลับ อย่าถือหุ้นๆนั้น
9. อย่าถามหุ้นจากคนอื่น อย่ารอให้คนอื่นป้อนอาหารให้เพราะวันนึงเค้าเอาอาหารที่เน่าบูดมาให้กินคุณก็จะกินไปโดยไม่รู้ตัว หรือวันนึงเค้าไม่เอาอาหารมาป้อนให้อีกแล้วคุณจะอดตาย แต่จงเรียนรู้วิธีที่จะทำอาหารเองคุณจะไม่อดตาย
10. กระจายความเสี่ยงดี แต่กระจายให้เหมาะสม ไม่ต้องชนะทุกครั้งในการรบ ขอแค่ไม่กี่ครั้งที่ชนะการรบแล้วคุณชนะสงครามก็พอ ถ้าคุณมีหุ้นไม่กี่ตัวในพอร์ตแต่ทำกำไรได้อย่างมากมาย ดีกว่าคุณมีหุ้นหลายสิบตัว ที่กำไรตัวละไม่กี่ %
11. มูลค่ากับราคาคือคนละเรื่องอย่าผสมกัน ผมเจอบ่อยมาก ราคาลงมาเยอะแล้วซื้อได้แล้ว ทุกครั้งให้ลองประเมินหุ้นประเมินธุรกิจก่อนการซื้อทุกครั้ง อย่าลืมนะครับว่าขนมปังที่หมดอายุแล้วในร้านก็ขายครึ่งราคา
12. อย่าไปรักหุ้น อย่าเอาอารมณ์เข้าไปเกี่ยวในการเลือกหุ้น เลือกหุ้นที่เหมาะสมกับคุณ เหมาะกับจริต เหมาะกับสิ่งที่เราวิเคราะห์มาแล้วว่าดี
13. ยืมเงินคนอื่นมาลงทุนเป็นไอเดียที่แย่มาก มันควรมาจากเงินออมเพราะในวันที่แย่สุดถ้าการลงทุนของเราไม่เป็นใจเราจะไม่ติดหนี้ใคร
14. มีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยไว้เสมอ ถ้าเมื่อไรคุณซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าราคามูลค่ามากๆ ในวันแย่สุดมันก็จะยังไม่แย่จนเกินไป
15. ลงทุนระยะยาว ปลูกต้นไม้หรือเลี้ยงลูกก็ไม่ได้โตในวันเดียว คุณอาจเคยเห็นคนนั่งใต้เงาต้นไม้ใหญ่ที่บังแดดได้ จนคุณอิจฉาเพราะคุณนั่งตากแดดอยู่ อย่าลืมว่าเค้าอาจจะปลูกมันไว้นานแล้ว
16. แม้แต่คนเก่งที่สุดก็ทำเรื่องโง่ที่สุดได้ในตลาดหุ้น การใช้อารมณ์ในการลงทุนไม่ได้ช่วยอะไร ใฃ้เหตุผลประกอบให้มากที่สุด
17. อดีตมีไว้ประเมินประกอบ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอนาคตมากนัก สิ่งที่บริษัทหนึ่งทำไว้ได้ดีในอดีตไม่ได้การันตีอนาคตว่าจะดีต่อไปเสมอไป
18. เรียนรู้จากบทเรียนที่ทำพลาดว่าจะไม่ต้องไม่พลาดแบบเดิมอีก และเรียนรู้จากบทเรียนที่ทำสำเร็จ ลองดูเหตุผลว่าทำไมเราถึงสำเร็จได้ อย่าลืมว่าคนไม่พลาดคือคนที่นั่งเฉยๆตำหนิคนอื่นว่าทำไมทำแบบนี้แบบนั้น
19. เรียนรู้สถานะของหุ้นของเราง่ายๆ แค่เดินไปดู ลองซื้อมาใช้ ลองฟังจากคนรอบๆข้าง ฟังจากผู้บริโภค
20. ลงทุนให้มีความสุข อย่าลืมว่าต่อให้คุณมีเงินแค่ไหน หากคุณไม่มีความสุข เงินมากแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์
ทั้งหมดนี่เป็นหลักการง่ายๆในการลงทุน คุณไม่จำเป็นต้องนั่งมองจอคอมทั้งวัน คอยหาข่าวลือ ค่อยโทรถามโบรคเกอร์ถึงข่าวลือต่างๆ คุณใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงอาจจะเป็นแค่วันเสาร์อาทิตย์ว่าคิดวิเคราะห์ต่างๆ คุณอาจจะไม่ต้องลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัวของตัวเอง คุณอาจจะมีรายได้ที่มากขึ้นอีกทางกับการลงทุน คุณไม่ต้องบริหารงานเองทั้งหมดหากคุณเลือกบริษัทที่ดีที่คนมีฝีมือบริหารบริษัทนั้นๆอยู่ การลงทุนช่วยให้มนุษย์เงินเดือนหรือคนทำธุรกิจส่วนตัวประสบความสำเร็จทางด้านการเงินได้อีกทาง ขอให้โชคดีในการลงทุนครับและการลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงนะครับ
สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าหุ้น
‪#‎สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าหุ้น‬ ‪#‎การลงทุนในหุ้น‬ ‪#‎หลักการลงทุนในหุ้น‬
------------------------------------------------------------------------------
ติดตามอ่านเรื่องดีๆเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุนต่อได้ที่ สิ่งที่เล็กๆที่เรียกว่าหุ้น ได้ที่นี่เลยครับ http://goo.gl/VtZwae

Better Trade on Tour @พิษณุโลก_11/05/2013_2/2

วิธีการดาวน์โหลดคลิป YouTube ง่ายที่สุด (Easy Download YouTube Video)

Better Trade on Tour @พิษณุโลก_11/05/2013_1/2

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทฤษฎีลงทุน 10 เด้ง 'สถาพร งามเรืองพงศ์' เซียนหุ้นวัย 25 ปี

ทฤษฎีลงทุน 10 เด้ง 'สถาพร งามเรืองพงศ์' เซียนหุ้นวัย 25 ปี

จาะลึกเทคนิคลงทุน 'เซียนหุ้นวัยเบญจเพส' เจ้าของพอร์ตหลายสิบล้านบาท 'ฮง' สถาพร งามเรืองพงศ์ เล่นหุ้นให้ 'รวย' ต้องดูพื้นฐาน 70% เทคนิค 30%
เริ่มเล่นหุ้นตอนเรียนปี 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ "แอบพ่อ-โอ๋แม่" ทุบกระปุกเงินเก็บแตะเอีย 100,000 บาท หว่านล้อมให้แม่ไปเปิดบัญชีเล่นหุ้นให้ที่ บล.ธนชาต ใช้ชื่อตัวเองไม่ได้เพราะยังเด็กเกินไป เวลาสั่งซื้อขายหุ้นก็ให้ส่งจดหมายไปที่บ้านญาติเพราะกลัวพ่อรู้ พ่อมี "อคติ" กับตลาดหุ้น มองว่าการเล่นหุ้นไม่ต่างอะไรกับ "เล่นการพนัน"
 
เด็กหนุ่มฮงในวัยเพียง 19-20 ปี ใช้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ออกตระเวนไปแสวงหาความรู้ตามตลาดหลักทรัพย์ และโบรกเกอร์ต่างๆ รู้ว่าที่ไหนมี "สัมมนาฟรี" เด็กหนุ่มเป็นต้องขวนขวายไปฟัง บางครั้งต้องหาวิธีหลอกล่อเจ้าหน้าที่สารพัดเพราะไม่ใช่ลูกค้าของโบรกเกอร์นั้น
ครั้นระหว่างพักทานอาหารว่างและหลังงานสัมมนาเลิก เด็กฮงก็จะวิ่งไปเกาะติดวิทยากรขุดคุ้ยถามประเด็นที่ตนสงสัย แต่บ่อยครั้งที่เด็กฮง "ถูกมองข้าม" วิทยากรบางคนเห็นหน้าละอ่อนยังเป็นเด็กก็ไม่ยอมตอบคำถามไม่ให้ความสำคัญ จนเขาพูดกับตัวเองว่า "โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม" แม้จะทรมานกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับไอ้ตี๋จอมเซ้าซี้ แต่ฮงก็พยายามหาความรู้จากหนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มเติมจนแม่เห็นความตั้งใจจริง         
 
จากเงิน "หลักแสน" พอร์ตของเด็กฮงก็ค่อยๆ งอกเงยอย่างรวดเร็ว แม่จึงเติมทุนให้แต่ก็ไม่ได้มากมาย ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี (อายุ 19-25 ปี) "ฮง" สถาพร งามเรืองพงศ์ กลายเป็น "เซียนหุ้นวัยรุ่น" ชื่อดังมีพอร์ตใหญ่ "หลายสิบล้านบาท" พ่อของฮงที่มีอาชีพค้าเสื้อยืดย่านพระราม 2 วันนี้ยอมรับในตัว "ลูกชายคนเล็ก" ของครอบครัวคนนี้ ครอบครัวของเขาเพิ่งเปลี่ยนอาชีพไปปลูกต้นลีลาวดีขายบนเนื้อที่ 33 ไร่ ย่านบางขุนเทียนชื่อสวน "ลีลาวดีภิรมย์"  
ฮงคุยว่าเงินลงทุนของเขาเพิ่มขึ้นราวๆ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี (2552-2553) ขณะที่พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า ภายในเวลา 7 ปี (2547-2553) หลังประสบความสำเร็จอย่างแรงฮงพัฒนาตัวเองไปเป็น "วิทยากร" เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุน มีนักลงทุน "รุ่นพี่-รุ่นอา" จองที่นั่งเข้าฟังจำนวนมาก อีกทั้งนามแฝง Hongvalue ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน "เว็บบอร์ด" แวลูอินเวสเตอร์ 
แม้ฮงแฝงตัวกลมกลืนกับแวลูอินเวสเตอร์ (VI) แต่เขาก็นิยามตัวเองเป็น "ลูกครึ่ง Value Investor" 
"ผมจะลงทุนกึ่งแวลู จะผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งต่างจากนักลงทุน Value ทั่วไป แต่วันนี้มีนักลงทุน VI รุ่นใหม่ยึดแนวทางนี้เพิ่มขึ้น เพราะพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีมาก" 
ฮงกล่าวว่า การจะซื้อหุ้นสักหนึ่งตัว นักลงทุนควรต้องดูทั้งปัจจัยพื้นฐานและกราฟเทคนิคควบคู่กันไป เพราะการดูกราฟย้อนหลังจะทำให้เห็น Demand และ Supply ของหุ้นในอดีต ที่สำคัญจะเห็นจุด "นิวไฮ" ของหุ้นด้วย
"สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เหมือนนักลงทุนหุ้นคุณค่าทั่วไปคือ ผมยอมรับการขาดทุนได้บ้าง แต่ถ้าเป็นนักลงทุน VI แท้ๆ ต้องไม่มีคำว่า Cut Loss (ตัดขาดทุน) แต่ผมคิดแบบนั้นไม่ได้ตราบใดที่ยังชื่นชอบการเล่นหุ้นคอมมูนิตี้ (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่สำคัญนักลงทุน VI จะไม่ดูกราฟดูปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียว เขามองว่าดูกราฟเหมือนมองกระจกหลัง มันเกิดขึ้นไปแล้ว ไม่สามารถสะท้อนธุรกิจในปัจจุบันหรือในอนาคตได้" 
สำหรับเทคนิคการลงทุนฮงจะเน้นดูปัจจัยพื้นฐาน 70% อีก 30% จะดูเทคนิเคิล และกราฟหุ้นย้อนหลัง หลายครั้งเขาบอกว่ากราฟหุ้น "ช่วยชีวิต" ไว้ ทำให้ไม่ต้อง "ขายหมู" (ขายถูก) ให้คนอื่น โดยเขายอมลงทุนเสียเงินปีละ 20,000 บาท ติดตั้งโปรแกรม APEX เพื่อดูกราฟราคาหุ้นโดยเฉพาะ 
ยกตัวอย่างผลดีจากการดูกราฟ เช่น ราคาหุ้นทำนิวไฮ 10 บาท อยู่ดีๆ ลงมา 8-9 บาท แล้วซื้อขาย 8-9 บาทนานพอสมควร อยู่ๆ ก็วิ่งขึ้นไป 10 บาท โดยมีวอลุ่มเข้ามาเยอะมาก เหตุการณ์ลักษณะนี้ทำให้คิดได้ว่าบริษัทนี้ต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง "ผมก็จะเริ่มตรวจสอบข้อมูลทันที" บางครั้งฮงเริ่มแกะรอยจากหุ้นที่มี "วอลุ่มผิดสังเกต" จากนั้นก็จะคัดเลือกหุ้นที่ "สวย" (ผลประกอบการดีที่สุด) เข้าพอร์ต
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเลือกหุ้นที่ "เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไร" และต้องอ่านเกมต่อไปว่า "ไตรมาสที่เหลือ" ของปีนั้นๆ ต้องสามารถรักษากำไรสุทธิระดับนี้ (ดี) ได้ต่อเนื่อง ขั้นตอนจากนั้น ต้องเลือกหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 6-7% ต่อปี และข้อสุดท้าย ต้องเลือกหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า P/E ของกลุ่ม...เหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นของหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้สูงจากการลงทุน
เมื่อได้หุ้นที่เข้าข่ายกำไรสุทธิทำจุดสูงสุดใหม่ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และค่า P/E ไม่สูง (ราคาหุ้นยังไม่แพง) ได้แล้ว ฮงก็จะเริ่มปฏิบัติการวิเคราะห์เจาะลึก "งบการเงิน" ทันที โดยเน้นหนักไปที่ "กระแสเงินสด" ของกิจการ พยายามดูย้อนหลังให้ได้มากที่สุด
โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของกิจการ (EBITDA) ต้องมีตัวเลขใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต้องไม่เกิน 1 เท่า และควรเป็นหนี้สิน (หมุนเวียน) ที่ไม่มีดอกเบี้ย   
เท่านั้นยังวางใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ฮงจะทำการวิเคราะห์ "โครงสร้างธุรกิจ" ผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ทำกำไรให้บริษัท รวมทั้งอ่านบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เขียนถึงหุ้นตัวนี้ รวมทั้งค้นหาบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารมาอ่านเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นที่จะวางเดิมพันราคาต้อง "วิ่ง" ชัวร์! 
"ผมจะอ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่โบรกเกอร์ส่งมาในอีเมล์ทุกเช้า รวมถึงอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อให้เห็นทิศทางของบริษัท ส่วนใหญ่จะใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเพียง 2 วัน"
เมื่อหาข้อมูลครบถ้วนแล้วก็จะเริ่มทำ "ประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า" เพื่อประเมินราคาที่เหมาะสมในอนาคต สำหรับวิธีการเข้าเก็บหุ้นจะใช้สูตร 30:30:30:10 ซื้อแล้วหุ้นขึ้นถึงซื้อ "สเต็ปที่สอง"  "สเต็ปที่สาม"  และ "สเต็ปที่สี่"  
หมายความว่าซื้อครั้งแรก 30% สเต็ปที่สอง (อีก 30%) จะซื้อเพิ่มก็ต่อเมื่อราคาหุ้นขยับตัวเพิ่มขึ้น 7-8% ถ้าซื้อ 30% แรกแล้วราคาไม่ขึ้นก็จะรอไปก่อน "ยังไม่ซื้อ" ตรงกันข้ามถ้าซื้อแล้ว 30% ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 8% ก็จะ Cut Loss (ตัดขายขาดทุน) ทิ้งทันที ถ้าทิ้งไว้นานเดี๋ยว "ออก(ของ)ไม่ได้" 
เทคนิคที่ทำให้พอร์ตโตเร็ว 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี (2552-2553) เวลาตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ "กระทิง" หรือ "ขาขึ้นใหญ่" และมั่นใจหุ้นสุดๆ เขาจะใช้ "เงินกู้มาร์จิน" เพิ่มพลังบวกให้กับพอร์ต 
ทุกวันนี้ศูนย์บัญชาการของฮงอยู่ที่บ้านแล้วสั่งซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ที่บ้านย่านพระราม 2 จะกั้นห้องไว้สำหรับนั่งดูหุ้นโดยเฉพาะภายในมีทีวี LCD 60 นิ้วตั้งอยู่กลางห้อง กิจวัตรประจำวันฮงจะตื่นนอนมานั่งในห้องนี้ตั้งแต่ 9 โมงเช้าแล้วอ่านข้อมูลทุกอย่างเริ่มตั้งแต่บทวิเคราะห์ หนังสือพิมพ์ เข้าเว็บบอร์ด Thaivi.org เหตุที่ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะเสียค่าคอมมิชชั่นเพียง 0.1% ถ้าโทรศัพท์สั่งผ่านมาร์เก็ตติ้งต้องจ่าย 0.15% (รายย่อยต้องจ่าย 0.25%) 
"โดยปกติผมจะปรับพอร์ตลงทุนทุกไตรมาส (3 เดือน) เพราะสถานการณ์มักมีการเปลี่ยนแปลง ทุกครั้งที่งบการเงินประจำไตรมาสออก ผมจะนำข้อมูลที่ผู้บริหารบอกผ่านสื่อกับบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มานั่งคำนวณตัวเลขผลประกอบการในไตรมาสถัดไป"
อีกหนึ่งปัจจัยความสำเร็จฮงจะ "เล่นหุ้นเป็นกลุ่ม" ประมาณ 7-8 คน เทคนิคการเล่นจะคล้ายๆ กัน พวกเขานัดเจอกันที่ "สโมสรทหารบก" ทุกๆ 2 สัปดาห์ ไม่วันเสาร์ก็วันอาทิตย์ เว้นว่าช่วงไหนตลาดหุ้นดีๆ ก็จะเจอกันสัปดาห์ละครั้ง กิจกรรมที่ทำจะเช่าห้องฉายโปรเจ็คเตอร์เพื่อแชร์ข้อมูลกัน คนไหนถนัดดูกราฟก็จะมาบอกว่าเส้นกราฟเทคนิคหุ้นตัวไหนสวย ใครถนัดพื้นฐานก็จะนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง
ส่วนการซื้อขายแต่ละคนจะตัดสินใจเอาเองไม่ค่อยบอกกัน ถ้ามีหุ้นตัวไหนเข้าตาฮงชอบสั่งซื้อหุ้นวันจันทร์ ซื้อเสร็จไม่เคยกำหนดว่าต้องถือยาวหรือสั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์จะเป็นตัวบอก แต่เขาจะเตือนตัวเองเสมอว่า "เล่นหุ้นต้องเล่นแบบ "ไร้ใจ" ถ้าใช้อารมณ์เล่นหุ้น (รัก-โลภ-โกรธ-หลง) มีโอกาสขาดทุนสูง ผมจะพยายามคิดเสมอว่าหุ้นตัวนี้ไม่ใช่ญาติเรา ไม่รัก ไม่เกลียด"  
ในยามที่ตลาดหุ้นไม่น่าไว้วางใจฮงจะเล่นหุ้นด้วยบัญชีเงินสด ปัจจุบันซื้อขายประจำอยู่ที่ บล.เคทีซีมิโก้ ตามมาร์เก็ตติ้งคู่ใจย้ายมาจาก บล.พัฒนสิน
ล่าสุดในพอร์ตมีหุ้นอยู่ 3 ตัว ได้แก่ BCP ต้นทุน 21 บาท มองว่าหุ้นบางจากราคายังต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ถ้าผลประกอบการไตรมาส 2 ออกมาสวยเหมือนไตรมาสแรก ก็อาจปรับราคาเป้าหมายขึ้นไปอีก บางจากถือเป็นหุ้นโรงกลั่นตัวเดียวที่มีค่า P/BV ต่ำที่สุด
อีกตัวที่ลงทุนอยู่คือหุ้น HEMRAJ ซื้อมาได้เดือนกว่าๆ แล้ว ต้นทุนแถว 2.10 บาท ชอบเพราะปี 2555 จะมีรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าทำให้บริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น และหลังเกิดสึนามิทำให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตมาเมืองไทย เหมราชก็จะได้ประโยชน์ 
ตัวสุดท้ายที่ลงทุนคือหุ้น CENTEL ตัวนี้ต้นทุน 7.30 บาท เก็บเพราะเห็นว่าผลประกอบการในไตรมาส 1 ปีนี้พลิกจากปี 2553 ขาดทุน 51 ล้านบาท มาเป็นกำไรสุทธิ 400 ล้านบาท ถือเป็นการทำนิวไฮในรอบ 5 ปี เพราะธุรกิจอาหารเติบโตมากขึ้น ธุรกิจโรงแรมก็ยังขยายตัวได้ดีอัตราการเข้าพักเพิ่มจาก 50-60% เป็น 70%
นอกจากหุ้นทั้ง 3 ตัวนี้แล้ว หุ้นตัวอื่นๆ ฮงบอกว่า ตอบตรงๆ ตอนนี้ยังหาตัวที่ถูกใจไม่เจอเลย วันนี้ยอมรับว่าสนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศ แต่ยัง "เล่นยาก"  เคยถามคนที่ลงทุน "หุ้นจีน"  เขาบอกว่า "น่ากลัวมาก" บริษัทจีนมีการลงบัญชีไม่ค่อยโปร่งใสถ้าสุ่มสี่สุ่มห้ามีหวังขาดทุน ถ้ามีประสบการณ์แล้วเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง
 
ถามว่าเคยคิดอยากเป็นเจ้าของบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ เด็กหนุ่ม ตอบว่า แม้การซื้อหุ้นคือ "การซื้อธุรกิจ" แต่ไม่ได้หมายความว่าอยากเข้ามาบริหาร "ผมไม่คิดที่จะ “ผูกพัน” กับหุ้นตัวไหน แค่ต้องการเข้ามา “เสพสุข” (จากกำไร) เท่านั้น ได้ตามเป้าหมายแล้วก็จะไป" 
ฮงเล่าว่า ตลาดหุ้นสมัยนี้คนอายุ 22-23 ปีขึ้นไป เข้ามาเล่นหุ้นกันค่อนข้างมาก จบปริญญาโทมาเล่นหุ้นก็มีเยอะ ส่วนตัวอยากแนะนำ "มือใหม่ที่เพิ่งหัดคลาน" ว่า ควรเริ่มลงทุนด้วยเงิน "ก้อนเล็กๆ" ก่อนสัก 100,000 บาท หากยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วหุ้นที่ใช้ "ฝึกมือ" ควรเป็นพวกหุ้น "โรงไฟฟ้า-ค้าปลีก" เพราะธุรกิจเข้าใจง่าย ราคาหุ้นไม่ผันผวนมาก เมื่อมีประสบการณ์แล้วก็ค่อยขยับมาเล่นหุ้นยากๆ อย่างกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งหุ้นพวกนี้ถ้าจับจังหวะถูกจะได้กำไรเยอะ (รวยเร็ว)
"หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ผมจะถนัดกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทแผ่นฟิล์ม สินค้าเกษตร กลุ่มอื่นๆ ยอมรับว่ายังไม่ค่อยชำนาญ"
ฮงย้ำว่า ข้อผิดพลาดของนักลงทุนจำนวนมากชอบซื้อหุ้นตามคำแนะนำของเพื่อน หรือซื้อตามโบรกเกอร์โดยที่คุณไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย เท่าที่พบ 90% จะขาดทุน คนที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น (ยุคนี้) ต้องศึกษาหาความรู้ รู้ทุกซอกทุกมุมของหุ้น 
 
"ผมโชคดีที่เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนปี 1 ม.กรุงเทพ กว่าจะจับจุดได้ (รู้ความลับตลาดหุ้น) ใช้เวลานาน 2-3 ปี ผมจะยึดอาชีพนักลงทุนเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เรียนจบก็ไม่เคยไปทำงานบริษัท ทุกวันนี้ผมมีเงินทำอะไรได้หลายๆ อย่าง อย่างที่เพื่อนๆ ไม่มี" เซียนหุ้นวัยเบญจเพส กล่าวทิ้งท้าย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/investment/20110614/394926/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-10-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2-25-%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"You can do it " ฐิติ กิตติพัฒนานนท์

เมื่อพิสูจน์แล้วว่าตลาดหุ้น คือ หนทางทำให้ 11 ชีวิตอิ่มท้อง“ฐิติ กิตติพัฒนานนท์” น้องรัก"เสี่ยยักษ์" ไม่รอช้า



“คนเคยจน” สถานะชีวิตในอดีตของ “ปิง-ฐิติ กิตติพัฒนานนท์” น้องเลิฟนัมเบอร์วันของ “เสี่ยยักษ์-วิชัย วชิรพงศ์” เซียนหุ้นชาวอยุธยา” ปัจจุบัน “ชายวัย 43 ปี” คือ นักลงทุนมือฉมัง ในฐานะเจ้าของพอร์ตหุ้น “หลักร้อยล้าน” หนึ่งในความภาคภูมิใจของ “เซียนหุ้นรุ่นลายคราม”

สายสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง “เซียนร้อยล้าน”กับ “เซียนพันล้าน” เกิดขึ้นเมื่อ 7 ปีก่อน หลังปิงมีโอกาสไปฟังงานสัมมนาหัวข้อ “7 เซียนหุ้น” คำพูดประโยคหนึ่งของ “เสี่ยยักษ์” ที่โดนใจ “ปิง” จนทำให้อยากออกตามหาคำตอบ คือ “เทคนิเคิลไม่เคยหลอกเรา” ทันทีที่ “กูรูหุ้น” เดินลงจากเวที เขาไม่รีรอที่จะเดินไปแนะนำตัว พร้อมยื่นขวดน้ำชาเขียวให้ดื่มดับอาการคอแห้ง

“ขาใหญ่” ติดใจชาเขียวของ “ปิง” หรือเปล่า เจ้าตัวก็ไม่แน่ใจ แต่ “เสี่ยยักษ์” ยื่นเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวให้คล้ายต่างตอบแทนน้ำใจ พร้อมเอ่ยปากว่า “มีอะไรก็โทรมา หากอยากรวยคงต้องอาศัยลอกหุ้นคนเก่งไปก่อน” ก่อนจะขอตัวขึ้นรถเฟอร์รารี่ สีแดงสด ราคา 22 ล้านบาท ที่จอดโชว์ความสวยอยู่หน้าตึก เขาตบไหล่ปิงเบาๆ และพูดว่า “สักวันหนึ่งคุณก็จะมีเหมือนผม”

แม้จะขึ้นแท่นน้องรัก “เซียนพันล้าน” ในเวลาไม่นานนัก แต่ตลอดเวลา “ปิง” แทบไม่เคยคิดถาม “เสือหุ้น” สักคำว่า เวลานี้ควรซื้อหุ้นตัวไหน และไม่เคยลอกการบ้าน แม้บางครั้งจะเห็นเต็มสองตาว่า เสี่ยยักษ์ กำลังจะสั่งซื้อหุ้นตัวไหน นั่นอาจเป็นเพราะเขามีเจตนารมณ์แน่วแน่ว่า “อยากรู้จักเพราะต้องการขอความรู้จากคนเก่ง มากกว่ามาลอกการบ้าน”

ก่อนจะก้าวเข้าสู่สังเวียนหุ้นในปี 2537 ช่วงชีวิตในวัยเด็กของ “ฐิติ” เข้าข่ายปากกัดตีนถีบ ครอบครัวกิตติพัฒนานนท์ ประกอบด้วย พ่อแม่ และน้องอีก 6 คน (น้องคนสุดท้องอายุห่างกับปิง 19 ปี) อาศัยอยู่แถวสามย่าน มารดาผู้เป็นกำลังหลักยึดอาชีพแม่ค้าหาเงินเลี้ยงลูกๆ ส่วนพ่อผู้เป็นกำลังเสริมเลือกขายหนังสือพิมพ์ แต่ด้วยความที่พ่อติดการพนันและหวย ทำให้เงินที่พ่อหายมาได้ต้องหมดไปกับเรื่องเหล่านี้

แม้ในอดีตเด็กชายปิงจะเกเร และติดการพนัน แต่ในฐานะที่เป็นพี่ชายคนโต ในช่วงเสาร์อาทิตย์เขาจึงเลือกที่จะใช้เวลาว่างไม่กี่ชั่วโมงไปช่วยแม่ขายของในตลาด ด้วยความที่แม่อยากให้ลูกทุกคนได้เรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี ทำให้ต้องทำงานอย่างหนัก เช้าขายกาแฟชง ตกบ่ายไปรับผลไม้ที่ปากคลองตลาดมาขายในตลาดพระราม 4 ช่วงเวลาหนึ่งกาแฟชงเริ่มขายไม่ดี แม่ก็เปลี่ยนไปซื้อเนื้อหมูที่เยาวราชตอนตี 3 เพื่อนำมาขายในตลาด

ครั้งหนึ่งปิงเคยถูกอาจารย์ที่โรงเรียนเรียกไปทวงถามค่าเทอม ด้วยความที่ครอบครัวไม่มีเงินเก็บ ทำให้แม่ต้องหาเงินด้วยวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นเล่นแชร์ และกู้เงินนอกระบบ เพื่อนำเงินมาจ่ายค่าเทอมให้ลูกๆ แม้ผู้เป็นแม่จะรู้อยู่เต็มอกว่า ลงทุนกับลูกไม่มีทางได้กลับคืน แต่ผู้ให้กำเนิดก็ยังคงอดทนทำงานต่อไป เพื่อให้ลูกมีชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันปิงรับหน้าที่ดูแลค่าใช้จ่ายของคนในบ้านทั้งหมด เขาเป็นคนส่งน้อง 2 คนสุดท้ายเรียนจนจบปริญญาตรี ด้วยเงินจากการลงทุนในตลาดหุ้น..

“ชายเชื้อสายจีนวัย 43 ปี” เดินทางมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว และฟาร์มเลี้ยงหมูของภรรยา เพื่อมาบอกเล่าเรื่องการลงทุนให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟัง โครงการแอมพาร์ค สามย่าน Community Mall แถวมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ คือ สถานที่นัดหมายในครั้งนี้

หลังจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ก็เลือกที่จะรับเงินเดือน 9,600 บาท ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระบบงานคอมพิวเตอร์ ธนาคารกสิกรไทย วันแรกของการทำงานมีรุ่นพี่คนหนึ่งเดินมาชวนไปกินข้างเที่ยง แต่มีข้อแม้ว่า ต้องแวะไปดูหุ้นในห้องค้าก่อนครึ่งชั่วโมง ครั้งแรกของการได้สัมผัสห้องค้าจริงๆ รู้สึกตื่นตามาก

ก่อนตลาดหุ้นจะปิดภายในอีกครึ่งชั่วโมงของภาคเช้าและเย็น รุ่นพี่จะต้องชวนไปห้องค้าทุกวัน เมื่อทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรประจำวัน จากเดิมที่ตั้งใจจะแค่แวะเข้าไปเพียงเพื่อนั่งกินขนม และกาแฟฟรี (หัวเราะ) เพราะตอนนั้นยังไม่มีเงินเก็บและไม่มีพอร์ตเป็นของตัวเอง ทำให้เปลี่ยนใจหันมาเล่นหุ้นครั้งแรกในชีวิตในปี 2537 ด้วยการควักเงินประมาณ 7,500 บาท เพื่อร่วมลงขันซื้อหุ้นหนึ่งตัวกับแกงค์รุ่นพี่ที่มีกันอยู่ประมาณ 5 คน ผลของการเล่นหุ้นในครานั้นได้กำไรหรือขาดทุน จำไม่ได้จริงๆ

ระลึกได้เพียงว่า ในช่วงปี 2538 รุ่นพี่คนหนึ่งมาชวนซื้อหุ้น IPO ราคา 22 บาท ของบมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือ EGCO ด้วยความที่ไม่มีเงินเก็บเลยไปชวนน้องของแม่มาลงทุนแทน แม้ญาติคนนี้จะไม่มีความรู้เรื่องหุ้น แต่เขาก็เชื่อข้อมูลที่ได้รับฟังจากปากของผม พร้อมยื่นเงิน 1.32 ล้านบาท ให้ไปซื้อหุ้น IPO จำนวน 60,000 หุ้น ตอนนั้นไม่มีเวลาไปต่อคิวจองหุ้นเลยวานน้องไปทำธุระแทน

การลงทุนในครั้งนั้นมีเงื่อนไขว่า หากญาติได้กำไรจากหุ้น IPO ต้องนำกำไรมาแบ่งเราด้วย เมื่อน้องแม่ตกลงตามรูปแบบนี้ เมื่อได้ใบจองมาครอบครอง เราจึงตัดสินใจขายใบจองหุ้น EGCO จำนวน 9 ใบจอง จาก 10 ใบ นอกตลาดให้กับเหล่าโบรกเกอร์ ในราคาเฉลี่ย 32-40 บาทต่อหุ้น ส่วนใบจองใบสุดท้ายที่เหลือประมาณ 6,000 หุ้น ตัดสินใจขายในวันแรกของการซื้อขาย ในราคา 50 บาท จากการลงทุนในครานั้นทำให้ได้กำไรประมาณ 300,000 บาท

เมื่อมีเงินทุนก้อนใหญ่เป็นของตัวเอง จึงเริ่มออกตามล่าหุ้นจอง และหาหุ้นเล่นเอง ซึ่งหุ้นจองยอดฮิตสมัยก่อนก็มี หุ้น ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF,หุ้น แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN และหุ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือ TPI ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหุ้น ไออาร์พีซี หรือ IRPC ผลการเล่นหุ้น IPO ไม่ค่อยได้กำไรเท่าไหร่ (หัวเราะ)

ในช่วงที่ไม่มีหุ้น IPO ให้ลงทุน เราก็หันไปลงทุนพวกตระกูลใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrants) หลังเห็นว่า ราคาขึ้นแรง แถมมีราคาถูกกว่าหุ้นแม่ สมัยโน้นทางการยังปล่อยให้นักลงทุนเล่นมาร์จิ้นใน Warrants ได้ สมมุติ มีเงิน 40 เปอร์เซ็นต์ คุณสามารถเล่นมาร์จิ้นได้มากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ช่วงนั้นอัดหุ้นเต็มพอร์ตตลอด ผลการลงทุนในปี 2539 ทำให้มีเงินในมือเพิ่มขึ้นเป็น 700,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้ไม่ได้มาจากการเล่นหุ้นอย่างเดียว แต่มีทั้งเงินเดือน โบนัส และกำไรจากหุ้น ผสมรวมกันอยู่

“เป้าหมาย 1 ล้านบาท คือ ฝันแรก หลังมีเงินในมือ 700,000 บาท” แต่สุดท้าย “ฝันสลาย” หลังเมืองไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งการลงทุนเริ่มไม่ค่อยปกติในช่วงปี 2542 หลังดัชนีลงมาซื้อขายแถวๆ 200 จุด ช่วงนั้นพอร์ตเริ่มขาดทุนแล้ว เพราะเล่นเก็งกำไรใบสำคัญแสดงสิทธิ และหุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) แบบวันต่อวัน ตอนนั้นลาออกจากธนาคารกสิกรไทยไปทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงเทพธนาทร

แต่มา “ขาดทุนหมดตัว” จริงๆ ในปี 2544 ช่วงเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายเครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ หรือ 911 หลังเกิดเหตุไม่คาดฝันราคาตระกูล Warrants ที่ถือลงทุนอยู่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ด้วยความที่เล่นหุ้นแบบมวยวัด ส่งผลให้เหลือเงินติดพอร์ตแค่ “หลักหมื่นบาท” ชีวิตการลงทุนเดินทางมาถึง “จุดเกือบต่ำสุด” ปิง บอกอย่างนั้น

ด้วยความที่มีเงินสินสอดฝากแบงก์ไว้ประมาณ 500,000 บาท จึงตัดสินใจเดินไปขอเงินก้อนนี้กับภรรยา “อยากเอาเงินมาสู้ต่อ ถ้าเงินก้อนนี้หมดคงตัดมือทิ้งเลิกเล่นตลอดชีวิต” ผมบอกประโยคนี้กับคู่ชีวิต ซึ่งเขาก็ไม่ได้ว่าอะไร และยินยอมให้ถอนเงินฝากประจำมาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง

ตัดสินใจนำเงินไปซื้อหุ้น IPO บมจ.ปตท.หรือ PTT จำนวน 20,000 หุ้น ราคา 35 บาท ตอนนั้นหุ้น PTT “ฮอตมาก” ใครๆ ก็อยากได้ ด้วยความที่ครอบครัวฝ่ายภรรยาสนิทกับพนักงานแบงก์แห่งหนึ่ง เพราะปล่อยวงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (OD) ให้ธุรกิจของภรรยา จึงขอให้เขาช่วยคีย์ข้อมูลซื้อหุ้น IPO รอไว้ เมื่อตลาดหุ้นเปิดให้กดคลิ๊กทันที ถ้าไม่ทำแบบนี้คงไม่มีทางได้

หุ้น PTT เปิดวันแรก 39 บาท ก่อนจะลงมาต่ำสุดที่ 28 บาท แต่ดันไปขายขาดทุนที่ 32 บาท ตอนนั้นงงๆ ทำไมหุ้นไม่ขึ้น ช่วงนั้นยังไม่มีความรู้ และไม่ได้ศึกษาข้อมูลอะไรเลย คิดเพียงว่า “อยากรวย” ตอนนั้นเจ็บตัวพอสมควร หลังจากนั้นก็ลงทุนหุ้นตัวโน้นตัวนี้ไปเรื่อยๆ ด้วยกลยุทธ์แบบเดิมๆ

ผ่านมาถึงปี 2546 เกิดวิกฤตชีวิตอีกครั้ง หลังคุณพ่อวัย 62 ปี ในขณะนั้น ป่วยหนักต้องนอนห้องไอซียูนานถึง 14 วัน ค่าใช้จ่ายห้องไอซียูตกวันละ 7,000 บาท ด้วยความที่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการรักษาคุณพ่อ จึงตัดสินใจตัดขายขาดทุนหุ้นบางตัว เช่น หุ้น IPO บมจ.อาร์เอส หรือ RS ที่ซื้อมาแถวยอดดอย 26 บาท เป็นต้น ส่งผลให้เงินในมือลดลงเหลือเพียง 250,000 บาท แต่โชคดีที่เคยทำประกันให้พ่อ แถมญาติๆ และพ่อตาแม่ยายยังช่วยออกค่ารักษาพยาบาล ทำให้วิกฤตครานั้นผ่านไปด้วยดี ปัจจุบันคุณพ่ออายุ 73 ปี ท่านยังอยู่ดีมีสุข

“คุณพ่อลูกสอง” เล่าต่อว่า หยุดเล่นหุ้นไปเกือบเดือน เพื่อใช้เวลาดูแลพ่อ ก่อนจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง คราวนี้ตัดสินใจนำรถยนต์ส่วนตัวไปรีไฟแนนซ์ได้เงินมา 200,000 บาท หวังนำมาสมทบรวมกับเงินที่มีอยู่ 250,000 บาท เพื่อนำมาเล่นหุ้นใหม่ กลยุทธ์ลงทุนช่วงนั้น คือ “เล่นหุ้นด้วยเงินสด และอัดมาร์จิ้น”

“จุดเปลี่ยนชีวิตการลงทุนเกิดขึ้นตอนนี้”

บังเอิญน้องชายแท้ๆคนหนึ่ง ขายสุกี้อยู่ในซอยละลายทรัพย์ วันหนึ่งน้องบ่นว่า ราคาเนื้อสันในไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 35 บาท เป็น 50 บาทต่อกิโลกรัม หลังประเทศญี่ปุ่นเปิดให้เนื้อไก่ของเมืองไทยสามารถนำเข้าไปขายได้ เมื่อวิเคราะห์เรื่องนี้แล้วพบว่า อุตสาหกรรมนี้น่าจะเติบโตดี ประกอบกับอยากเล่นหุ้นแบบเซฟๆ จึงตัดสินใจซื้อ “หุ้น จีเอฟพีที” หรือ GFPT จำต้นทุนไม่ได้ แต่ได้กำไรกลับมาประมาณ 200,000-300,000 บาท หลังถือลงทุนนาน 1 เดือน

จากนั้นนำกำไรไปลงทุนต่อใน หุ้น บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ หรือ ZMICO “ความมหัศจรรย์” ของการลงทุนเกิดขึ้นจากหุ้นตัวนี้ คุณลองฟังดู หลังเล่นหุ้น ZMICO ประมาณ 12 รอบ ภายใน 7 เดือน ต้นทุนแรก คือ 27 บาท ก่อนจะไปขายที่ 29 บาท และไปซื้ออีกครั้งที่ราคา 31 บาท ขาย 34 บาท และซื้อ 40 บาท ขาย 42 บาท ราคานี้ย้ำอยู่หลายรอบ ก่อนจะมาซื้ออีกครั้งในราคา 45 บาท ขาย 48 บาท

ราคาหุ้น ZMICO วิ่ง เพราะในช่วงปลาย 2546 วอลุ่มตลาดเด้งขึ้นจาก 30,000-40,000 ล้านบาท เป็น 50,000 ล้านบาท ทำให้หุ้นโบรกเกอร์ได้รับผลดีตามไปด้วย เนื่องจากตอนนั้นนักลงทุนยังต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นเต็มๆที่ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเช่นนั้นในฐานะที่ ZMICO มีวอลุ่มซื้อขายวันละ 7,000 ล้านบาท ถือเป็นอันดับ 2 รองจากบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ก็น่าจะได้ประโยชน์ตามไปด้วย ตอนนั้นบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ยังไม่เข้าตลาดหุ้น และมีหุ้นโบรกเกอร์ให้เล่นไม่กี่ตัว

แต่ช่วงที่ซื้อหุ้น ZMICO ในราคา 70 บาท ราคาหุ้นดันลงมาอยู่ 60 กว่าบาท ตอนนั้นเครียดมาก “มือสั่น ใจสั่น” เราลองอธิฐานในใจว่า “พ่อช่วยลูกนะ” จากนั้นอีก 15 นาที คุณเชื่อหรือไม่!! ราคาดีดกลับเท่าทุน แต่ไม่ยอมขาย สุดท้ายไปปล่อยออกตอน 77 บาท ช่วงนี้ถือเป็นเวลาที่ได้ “กำไรมากสุด” เพราะใช้เงินสดบวกอัดมาร์จิ้นมากถึง 4-5 ล้านบาท มากกว่าตอนเล่นช่วง 27-48 บาท ที่ใช้เงินสดบวกมาร์จิ้นแค่ 2 ล้านบาท เมื่อราคาลงมา 72 บาท ก็ซื้อใหม่ ซึ่งรอบสุดท้าย คือ ราคากว่า 80 บาท แล้วไปขาย 110-130 บาท ตอนนั้นเล่นสตอรี่แตกพาร์จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท

“สุดท้ายได้กำไรจากหุ้น ZMICO ประมาณ 10 ล้านบาท”

ตอนนั้นดีใจสุดๆ เดินไปบอกภรรยาว่า “เรามีเงินสิบล้านแล้วนะ” แม้จะได้เงินจากการเล่นหุ้นเยอะ แต่ช่วงนั้นก็ใช้ชีวิตปกติ เพราะเรารู้จักคุณค่าของเงินว่ามันหามาลำบากแค่ไหน เรารู้ว่าวันที่ไม่มีชีวิตเป็นอย่างไร ฉะนั้นผมจะใช้เงินทุกบาททุกสตางค์อย่างระมัดระวัง และตระหนักถึงคุณค่าให้มากที่สุด ช่วงพอร์ตขึ้นเป็น 30 ล้านบาท ผมยังขับรถยนต์ยี่ห้อ Ford Escaper เพราะไม่กล้าเปลี่ยน แต่ปัจจุบันใช้รถยนต์อยู่ 2 คัน คือ ยี่ห้อ TOYOTA รุ่น ESTIMA และ TOYOTA รุ่น HARRIER

หลังจากมี “เงินสิบล้านบาทแรกในชีวิต” ช่วงปี 2547 เริ่มเดินสายเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิเคิล ตอนนั้นตัดสินใจจ่ายเงิน 30,000 บาท เทคคอร์สกับ “อาจารย์วันชัย ธัญญศิริ” ที่บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซึ่งเซียนหุ้นชื่อดังอย่าง “เสี่ยป๋อง-วัชระ แก้วสว่าง” และ “ศรีฟ้า แจ่มวุฒิปรีชา” หรือ มาม่าบลู ก็ลงเรียนคอร์สนี้เหมือนกัน

ยิ่งเรียนยิ่งรู้สึกมั่นใจในเทคนิเคิล ทำให้ตัดสินใจเล่นหุ้นตระกูลขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น พรีเชียส ชิพปิ้ง หรือ PSL และหุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA หลังพบว่า ค่าระแวงเรือ และสินค้า Community ปรับตัวขึ้นแรงมาก แต่ด้วยความที่ดูเทคนิเคิลมากเกินไปเลยไม่ยอมขายทั้งๆที่ได้กำไรมาแล้ว 2.5 ล้านบาท สุดท้ายได้กำไรกลับมาแค่ 500,000 บาท เสียดายมาก..

ชีวิตการลงทุนช่วงนั้นไม่ค่อยราบรื่น ผ่านมาถึงปี 2549 เหลือเงินสดติดตัวแค่ 7 ล้านบาท จาก 10 ล้านบาท หลังเล่นหุ้นแนวเทคนิเคิลในช่วงตลาดขาลง แต่ไม่รู้ว่า “ผมโชคดี” หรืออะไร พูดแล้วขนลุก ก่อนเมืองไทยจะเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ 2 เดือน แม่ขอให้ไปซื้ออาคารพาณิชย์ แถวสามย่าน ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านที่เซ้งไว้ในราคา 8.5 ล้านบาท และขอให้ช่วยต่อเติมอีก 4 ล้านบาท เพื่อทำเป็นห้องพักหญิง ตอนนั้นจึงตัดสินใจนำเงินออกมา 5 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายค่าบ้านส่วนหนึ่ง ทำให้เหลือเงินเล่นหุ้นแค่ 2 ล้านบาท

ระหว่างนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ดัชนีลดลงวันเดียว 108 จุด หากวันนั้นไม่เชื่อแม่ มีหวังบ้านก็ไม่ได้ แถมเงินอาจหมด เพราะตามนิสัยหากราคาหุ้นลงแบบนี้คงไล่ช้อนไปแล้ว

“ปิง” เล่าต่อว่า หลังจัดการเรื่องบ้านเสร็จระดับหนึ่ง ก็กลับเข้าตลาดหุ้นอีกครั้งในปี 2550 ด้วยเงินเพียง 2 ล้านบาท ช่วงนั้นมีโอกาสไปฟังสัมมนา 7 เซียนหุ้น และนั่นคือ จุดเริ่มต้นของการได้เจอไอดอลการลงทุน “เสี่ยยักษ์-วิชัย” ตอนนั้นประทับใจความคิดของ “เสี่ยยักษ์” ที่ว่า “เทคนิเคิลไม่เคยหลอกเรา” ทำให้อยากรู้ว่าเล่นเทคนิคอย่างไรไม่ให้ขาดทุน เพราะตลอดเวลาเล่นแล้วไม่กำไร

ช่วงที่นักลงทุนกำลังรุม “เสี่ยยักษ์” ผมยื่นน้ำชาเขียวให้แกดื่ม เพราะเห็นพูดมานาน ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ “เสี่ยยักษ์” จดเบอร์โทรศัพท์ให้ พร้อมบอกว่า “มีอะไรก็โทรมา อยากประสบความสำเร็จคงต้องลอกหุ้นไปก่อน” ตอนนั้นผมถือโอกาสเดินไปส่งแกที่ลานจอดรถ ซึ่งวันนั้นแกขับรถยนต์ เฟอร์รารี่ สีแดง มางาน ก่อนจะขึ้นรถแกยังตบไหล่แล้วบอกว่า “วันหนึ่งคุณก็จะมีเหมือนผม” ตอนนั้นแอบคิดในใจ “จะมีปัญญามีได้ไง”

หลังได้เบอร์มา ก็โทรไปขอคอมเมนท์เกี่ยวกับมุมมองตลาดหุ้นบ้าง แต่ไม่เคยถามว่า ควรซื้อหุ้นอะไรดี หรือพี่ซื้อหุ้นอะไรอยู่ บางครั้งแกก็ชวนไปหาที่ห้อง VIP บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เวลาไปก็จะเห็นว่า แกสั่งซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ซึ่งเราก็ไม่เคยซื้อตาม ยกเว้นแกจะบอกว่า “หุ้นตัวนี้น่าสนใจนะ” หากเราสนใจก็จะไปทำการบ้านต่อ ถ้าศึกษาแล้วพบว่า ดีจริงก็จะหาโอกาสซื้อลงทุน

เขาทิ้งท้ายว่า ทุกครั้งที่พบว่า สัญญาณหุ้นน่าซื้อ เพื่อนหลายคนมักบอกว่า “เงินหมด” นั่นคือ ปัญหาของนักลงทุนสมัยนี้ แต่ถ้าคุณมีหน้าตักมาๆก โอกาสประสบความสำเร็จ ด้วยหุ้นเพียงไม่กี่ตัวสามารถเป็นไปได้สูงมากหุ้นตัวไหนที่ทำให้เจ้าของสโลแกน “ผมทำได้ คุณก็ทำได้” เดินทางมาสู่ความสำเร็จจนสามารถสะสมเงินเพื่อปลูกบ้าน ย่านงามวงศ์วาน มูลค่า 30 ล้านบาทได้ ติดตามอ่านต่อในฉบับถัดไป แม้ผู้ชายคนนี้จะไม่มีคำนำหน้าว่า “เสี่ย” แต่ฝีมือการลงทุนจัดจ้านจริงๆ

Tags : ฐิติ กิตติพัฒนานนท์
cr http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20141111/615969/You-can-do-it--%C2%B0%D4%B5%C3%94-%C2%A1%D4%B5%C2%B5%D4%BE%D1%B2%C2%B9%D2%B9%C2%B9%C2%B7%C3%AC-(1).html

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อัตราส่วนทางการเงิน

http://terrabkk.com/news-category/financial-radio/

มาถือหุ้นระยะยาวกันเถอะครับ มันมีความลับอยู่ครับ

มาถือหุ้นระยะยาวกันเถอะครับ มันมีความลับอยู่ครับ
มาถือหุ้นระยะยาวกันเถอะครับ มันมีความลับอยู่ครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12753583/I12753583.html

ตามลิงค์ผมโพสต์ไว้ตอน CPN ผมได้ 100 % แรก

ถ้าใครถือหุ้นนาน แล้ว โตขึ้น ช่วงท้าย จะโตเร็วกว่าช่วงแรกครับ
เพราะ เปอร์เซ็นต์การเติบโตจะเทียบกับระยะแรกที่เราลงทุน
ดังนี้ที่เราเห็นกันว่า บางคนถือหุ้น มีการเติบโตหลายรอ้ย% ความจริงแล้ว
เปอร์เซ็นต์เทียบกับต้นทุนครับ

ไม่ใช่ อัตราเปอร์เซ็นต์ เมื่อจบวันเหมือนที่เราเห็นกันทุกวันครับ

CPN ณ วันนี้
เปอร์เซ็นต์เติบโตเร็วมากครับ เมื่อเทียบกับเปอร์เติบโตวันต่อวันครับ

ปล ไม่ได้มาโอ้อวดครับ
แต่มันเป็นความลับที่ผมพึ่งเจอ เลยมาเล่าให้ทุกคนฟังครับ

ณ วันนี้ ราคา CPN อยู่ที่ 72 บาท ต่อหุ้น ต้นทุนผมอยู่ที่ 32.22 บาทครับ
คิดเป็น 123% ครับ

ณ วันที่ 6 ตค ราคา CPN อยู่ที่ 64.5 ต่อหุ้น ณ วันนั้น คิดเป็นการเติบโต 100 % ครับ

จะเห็นว่า ณ วันนี้ ราคา 72 บาท มากกว่า 64.5 อยู่ 11.63%
แต่ พอร์ตผมได้กำไร อยู่ที่ 23% ครับ

สรุป
1. จะสังเกตเห็นว่า ยิ่งถือนาน อัตราการเติบโต เมื่อเทียบกับวันที่ลงทุนจะยิ่งโตเร็ว
2. อัตราการเติบโต มาก ทำได้ครับ ไม่นานเกินรอ ครับ เพราะยิ่งนาน อัตราเติบโต ยิ่งเร็วครับ
3. ชวนมาถือหุ้นระยะยาวกันครับ
แก้ไขเมื่อ 19 ต.ค. 55 21:27:41
cr http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2012/10/I12812719/I12812719.html



วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หุ้นที่เป็นขาลงห้ามซื้อเป็นอันขาด

หุ้นที่เป็นขาลงห้ามซื้อเป็นอันขาด
พวกเราทุกๆคนก็อยากได้ราคาหุ้นดีๆกันทั้งนั้น หากเราไม่ได้คิดแบบนั้น ก็ต้องมาพิจารณาตรวจสอบหุ้นแต่ละวันหลังจากที่ตลาดหุ้นได้ปิดตัวลง พวกเราจะต้องทำแบบนี้ในเวลานี้และพวกเราก็อยากได้หุ้นที่มีราคาถูก เมื่อหุ้นส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ ผมรู้ดีว่าจะต้องเป็นยังไงต่อไป

ผู้คนชอบพูดกันว่าจะต้องซื้อถูก ขายแพง มันก็เป็นแนวคิดที่ดีหากเราสามารถใช้วิธีนี้ได้จริง แต่การซื้อราคาถูกมันก็เป็นครั้งแรกๆที่พวกเราชอบทำกัน เทรดเดอร์มือสมัครเล่นชอบมองหาหุ้นที่มีราคาถูก ไม่ว่ามันจะเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำมากแค่ไหนหรือสูงมากแค่ไหน จำไว้ว่าหุ้นที่มีราคาถูกมันก็มีแนวโน้มที่จะถูกลงต่อไป

การซื้อหุ้นที่มีราคาถูกบ่อยครั้งมักจะปรับตัวลดลงด้วย 2 กรณีคือ หุ้นได้ทำราคาสูงมากแล้วในแต่ละช่วงเวลาและก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องและก็เห็นขาลงอย่างแน่ชัด และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พวกมันเป็นหุ้นที่ไม่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้นานและก็มีข่าวลือหนาหู หุ้นประเภทแบบนี้จึงไม่มีแรงเคลื่อนไหวจนมีการซื้อขายคล่อง ไม่ว่าเราจะสนใจเล่นหุ้นมากไหน โบรกเกอร์ของเราก็จะได้ประโยชน์จากค่านายหน้านี้

หุ้นขาลงจะทำให้จุด Lower Highs และ Lower Lows ต่อเนื่อง เงินจึงไหลออกมาเรื่อยๆ ผู้คนก็เดินออกจากหุ้นแบบนี้แล้วก็ทำการค้นหาหุ้นที่มีแรงดึงดูดในการเข้าไปเล่น เมื่อเราได้ซื้อหุ้นแล้ว เราก็อยากให้หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราก็ต้องมองหาหุ้นที่กำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น มีสัญญาณบวกและแรงเคลื่อนไหวดี

ตัวอย่างหุ้น MOVI สะท้อนเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี หุ้นตัวนี้เริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนและก็ถูกลงเรื่อยๆ





เทรดเดอร์มือสมัครเล่นที่ต้องการซื้อหุ้นแบบนี้ พวกเขาก็รู้ว่ามันสายเกินไปแล้ว ที่จากตอนแรกมีราคา $ 27 และก็ลดลงเหลือ $ 7 ใครที่ซื้อหุ้นตรงนี้ไม่สามารถทำกำไรได้เลย หากยิ่งซื้อถัวเฉลี่ยด้วยแล้วก็หวังว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นล่ะ? พวกเขาก็ยิ่งขาดทุนหนักเข้าไปอีก แล้วจะซื้อหุ้นบริเวณแถวๆ $ 5 ล่ะ? เราคิดเหรอว่ามันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเวลานี้ หุ้นแบบนี้บางทีก็ไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเสมอไป ดีที่สุดก็คือ อยู่ห่างๆจากกราฟหุ้นแบบนี้จนกว่าจะมีสัญญาณซื้อที่แน่ชัดแล้วว่าจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น

การซื้อหุ้นตอนที่ปรับลดลงถือเป็นสูตรที่แย่เอามากๆ เราเก็บเงินสดเอาไว้ช็อปปิ้งตามห้างจะดีกว่าหากคิดจะเล่นหุ้นแบบนี้ แต่ก็เตรียมตัวให้พร้อมหากเราต้องการซื้อหุ้นที่สามารถทำกำไรได้

เทรดหุ้นอย่างโจร !!!

ผู้เขียน Jeff White

ผู้แปล Mr.lawrence10

ที่มา : TheStockBandit.net

--------------
ความคิดเห็นที่ 2
ค่อยซื้อตอนขาขึ้น แล้วค่อยขายตอนขาลงครับ รวยแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์
ความคิดเห็นที่ 3
ต้องซื้อตอนเริ่มกลับตัวเป็นขาขึ้น และขายเมื่อดูแล้วขึ้นต่อไปไม่ไหว เริ่มจะลงครับ

ถ้าไปซื้อตอนลงยังไม่สุด ก็คร่อมจังหวะครับ ไม้ต่อๆไปจะผิดจังหวะและรวนไปหมด เก็บตอนลงสุดๆ แล้วเริ่มกลับตัวจะปลอดภัยกว่า
เครดิต;http://pantip.com/topic/32803589

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรขาคณิตของการเจ๊งหุ้น

เรขาคณิตของการเจ๊งหุ้น
โดย สุภศักดิ์ จุลละศร
นักเล่นหุ้นส่วนมากคุ้นเคยกับหลักการ “buy low, sell high” หรือ “ซื้อถูก ขายแพง” ด้วยเหตุนี้พอหุ้นที่หมายตามีราคาลดลง พวกเขาก็จะเข้าซื้อและหวังว่าจะไปขายทำกำไรในอนาคต
กลยุทธ์การเข้าซื้อเมื่อหุ้น “ย่อตัว” และขายออกไปเมื่อมัน “เด้ง” สามารถใช้ได้ดีในยามที่ราคาหุ้นเป็นไซด์เวย์ (sideway) คือ แกว่งตัวอยู่ในกรอบ หรือถ้าเป็นขาขึ้นก็ยิ่งดี เพราะเวลาเด้ง มันจะได้เด้งยาวๆ ทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ หากจะกล่าวว่า นี่คือกลยุทธ์พื้นฐานของนักเล่นหุ้นส่วนมากในตลาดก็คงจะไม่ผิดนัก
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้อาจทำให้เกิดหายนะได้ หากว่าเรา “อ่านเกมไม่ขาด” แถมยังใช้กลยุทธ์ “เฉลี่ยต้นทุน” เสียอีกด้วย 
ผมจะยกตัวอย่างพร้อมแสดงให้เห็นด้วยเรขาคณิต ว่าหายนะเกิดขึ้นได้อย่างไร…และบางทีคุณอาจตกใจที่ผลลัพธ์มัน “โหดร้าย” กว่าที่คิด
ตัวอย่าง บมจ.ภูผาถ่านหิน
บมจ.ภูผาถ่านหิน เป็นยักษ์ใหญ่ในแวดวงพลังงาน ชนิดที่ทุกโบรกเกอร์ต้องออกบทวิเคราะห์ และมีมุมมองเป็นบวกทั้งในแง่ความแข็งแกร่งและผลกำไร หากเราย้อนดูราคาหุ้นของภูผาถ่านหินจะพบว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น
1
เมื่อมองย้อนไปในอดีต นักลงทุนต่างคิดว่า บมจ.ภูผาถ่านหิน เป็นกิจการชั้นยอด เพราะยอดขายและกำไรของบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าจะวัดกันด้วยอัตราส่วนทางการเงิน ค่า ROE (Return on Equity) ก็สูงกว่า 30% ค่าพีอี (Price-to-Earning) ก็ค่อนข้างต่ำเพียง 10 เท่า เรียกว่าเข้าตำราน่าซื้อทุกอย่าง พวกเขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในราคาหุ้นอย่างที่เห็น และยิ่งเห็นก็ยิ่งมั่นใจ
ฉะนั้น พอราคาหุ้นย่อตัวลงมาที่ 700 บาท พี่อ้น นักลงทุนมือใหม่เลยเข้าซื้อไว้ก่อน 100 หุ้น และครั้นราคาหุ้นตกลงมาที่ 650 บาท เขาก็จัดไปอีก 100 หุ้น เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสที่ได้ซื้อหุ้นดีราคาถูก
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครเตือนพี่อ้น คือ โดยธรรมชาติของธุรกิจแล้ว กำไรของบริษัทขึ้นอยู่กับ “ถ่านหิน” ซึ่งจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ และถูกกำหนดราคาโดยตลาดโลก กล่าวได้ว่าถ่านหินมี “วัฏจักร” ของมัน และนั่นก็หมายความว่า บริษัทเองก็มีวัฏจักรของมันด้วยเช่นกัน และแม้บริษัทจะเก่งกาจเพียงใดก็ไม่อาจหลีกพ้นความจริงในข้อนี้
นี่คือสิ่งที่ “ตัวเลข” ไม่ได้บอกไว้!
การที่เขาโผล่เข้ามาแล้วเห็นขาขึ้นพอดี ทำให้คิดไปว่า ราคาหุ้นที่ลดลงเป็นแค่การย่อตัวของหุ้น … ทั้งที่จริงมันกำลังเข้าสู่ขาลง!
ถัวเฉลี่ยขาลง
นักลงทุนรายนี้คิดอยู่เสมอว่า หากเขาดึงต้นทุนให้ต่ำลงได้ โอกาสที่จะได้กำไรก็ย่อมจะสูงขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้เขาพยายามซื้อหุ้นเพิ่ม เพื่อเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลง
ฟังดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายใช่ไหมครับ แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นจนได้ เพราะหุ้นตัวนี้กำลังอยู่ในขาลง และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา
2
การซื้อหุ้นขาลง แม้เราจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำลง แต่ต้นทุนเฉลี่ยของเราก็ไม่ได้ลดลงเร็วเท่ากับราคาหุ้น เหตุเพราะว่ามีหุ้นล็อตแรกๆ ที่ซื้อไว้เมื่อตอนราคาสูงคอยเป็นตัวถ่วงอยู่
มิหนำซ้ำพอราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาถึงจุดหนึ่ง ซึ่งผมเรียกว่าเป็น “surrender price” หรือ จุดยอมแพ้ อาจจะด้วยเงินหมดหรือถอดใจก็ตามที
การซื้อหุ้นเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนก็สิ้นสุดลง นักลงทุนส่วนมากจะไม่ยอมขายหุ้นทิ้งเพื่อคัทลอส แต่กลับยอมถือหุ้น “ติดดอย” และรอคอยจนกว่าราคาหุ้นจะดีดกลับขึ้นมาเท่าทุน พวกเขาถึงจะยอมขายหุ้นเหล่านั้นไป
เรขาคณิตของการซื้อหุ้นถัวเฉลี่ย
อธิบายผลขาดทุนจากการซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยในกรณีข้างต้นได้ดังนี้
3
เราอาจคิดว่า อู้หู! แทนที่จะขาดทุนสองหมื่น ไปๆ มาๆ พี่อ้นขาดทุนถึงห้าหมื่นบาท แต่… มันยังไม่จบครับ กล่องสี่เหลี่ยมที่ผมเรียงให้ดูมีลักษณะคล้าย สามเหลี่ยมขั้นบันได สังเกตว่าผมเรียงกล่องให้ดูถึงแค่ surrender price เท่านั้น ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของหายนะเลยด้วยซ้ำ
4
หากเราไล่นับกล่องสี่เหลี่ยมก็จะพบว่า เมื่อถึงวันที่ราคาหุ้นภูผาถ่านหินลงมาอยู่ที่ 350 บาท ผลขาดทุนทั้งหมดจะเท่ากับ 50000 + 60000 = 110,000 บาท ทั้งที่แรกเริ่มเดิมทีเขาลงทุนด้วยเงินแค่ 70,000 บาทเท่านั้น! และเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการซื้อหุ้นเพิ่มของเขานั่นเอง
เพื่อความชัดเจนผมจะชี้ให้เห็นเป็นกรณีไปนะครับ
กรณีแรก ซื้อล็อตแรกครั้งเดียว (100 หุ้น) แล้วทนถือเรื่อยมา ไม่มีการซื้อถัว
ต้นทุนของพี่อ้นจะอยู่ที่ 700 บาท และเมื่อราคาหุ้นตกลงเรื่อยมาจนอยู่ที่ 350 บาท เขาก็จะขาดทุน 50% คิดเป็นตัวเงิน (700 – 350) x 100 = 35,000 บาท
กรณีที่สอง เข้าซื้อรวม 4 ครั้ง ครั้งละ 100 หุ้น แล้วทนถือต่อมา
ต้นทุนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 625 บาท ซึ่งเมื่อราคาหุ้นตกลงมาที่ 350 บาท เขาก็จะขาดทุน 44% คิดเป็นตัวเงิน (625 – 350) x 400 = 110,000 บาท
สิ่งที่ผมอยากให้สังเกต คือ แม้พี่อ้นจะลดเปอร์เซ็นต์การขาดทุนจาก 50% เหลือ 44% ได้ด้วยการซื้อหุ้นถัวเฉลี่ย แต่ในแง่จำนวนเงินที่ขาดทุนกลับเพิ่มทะลักล้นจาก 35,000 ไปเป็น 110,000 บาท
ยิ่งอัดเพิ่ม ยิ่งตายอนาถ
วิธีหนึ่งที่นักลงทุนหลายท่านชอบปฏิบัติกัน คือ ยิ่งหุ้นตกยิ่งซื้อมาก นัยว่าต้องการ “เกทับ” และเอาคืนให้เร็วที่สุด เป็นต้นว่าเริ่มซื้อครั้งแรก 100 หุ้น พอหุ้นตกลงมาก็เลยซื้อเพิ่ม 200 หุ้น และพอหุ้นตกมาอีก คราวนี้อัดเต็มๆ 400 หุ้น เป็นต้น
การ “อัดเพิ่ม” ในลักษณะนี้ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยของเราลดลงมาเร็วกว่าปกติ ซึ่งก็หมายความว่า หากราคาหุ้นมีการเด้งขึ้น โอกาสที่เราจะกลับไปเท่าทุนก็มีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่หุ้นเป็นขาลง การ “เด้งขึ้น” ของราคาหุ้นย่อมจะสั้นกว่าการ “ทรุดลง” …
ไอเดียเด็ดๆ ที่ว่าจะรอขายตอนหุ้นเด้งขึ้นนั้น บางครั้งมันก็เด้งเพียงแค่นิดเดียว ก่อนที่จะทรุดยาวต่อไป โดยมากไอเดียจึงเป็นได้แค่ไอเดียเท่านั้น
การซื้อหุ้นอัดเพิ่มโดยไม่คำนึงถึงแนวโน้มผลประกอบการในระยะยาว จัดได้ว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะแทนที่เราจะเสียหายเพียงแค่ 100 หุ้น เราอาจต้องเสียหายเป็นพันๆ หุ้นเลยก็ได้ ถ้าอัดเพิ่มครั้งแล้วครั้งเล่า ราคาหุ้นก็ยังคงดิ่งลงนอกจากนี้ เนื่องจากคนเราย่อมมี resource ที่จำกัด (ซึ่งในที่นี้ก็คือเงิน)
การพยายามซื้อถัวเฉลี่ยด้วยวิธี “อัดเพิ่ม” ยังจะทำให้เราไปถึง surrender price เร็วขึ้น และนั่นก็ทำให้ “พื้นที่สี่เหลี่ยม” ใหญ่ขึ้น ผลขาดทุนโดยรวมก็จะยิ่งมากขึ้น
5
จากตัวอย่างการอัดเพิ่มนี้ ถ้าเรานับกล่องสี่เหลี่ยมใต้ surrender price เราจะนับได้ถึง 28 กล่อง และหากนับรวมทั้งหมดจะได้ 39 กล่อง! แต่อันที่จริงแค่เทียบรูปนี้กับรูปก่อนหน้าก็พอกะด้วยสายตาได้ว่า การอัดเพิ่มทำให้จำนวนกล่องของเรามากขึ้น และยิ่งจำนวนกล่องเยอะก็แปลว่ายิ่งขาดทุนมาก
การอัดหุ้นเพิ่มยิ่ง “มาก” และ “เร็ว” เท่าไหร่ก็ยิ่งตายอนาถเท่านั้น… จริงอยู่เราอาจขายหุ้นล็อตหลัง (ที่มีจำนวนมาก) ในจังหวะที่ราคาหุ้นเด้งขึ้น เพื่อทำกำไรสั้นๆ เอามาหักลบกับผลขาดทุนรวม แต่หากภาพรวมของหุ้นเป็น “ขาลง” เบ็ดเสร็จแล้วโอกาสเจ๊งมีมากกว่าเจ๊า
โดยส่วนตัวผมขอแนะนำว่า “ซื้อได้ถ้าเห็นว่าดี แต่อย่าซื้อเพื่อเฉลี่ยต้นทุน”
cr:http://clubvi.com/2013/05/15/reka/