วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10 เรื่องเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งที่คุณไม่รู้

10 เรื่องเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งที่คุณไม่รู้

โดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ที่ปรึกษาการลงทุนใบอนุญาตเลขที่12888 บลป.ต้นธารคอร์ปอเรชั่น โทร.029275800 081-831-1611 http://www.facebook.com/tontancorp

1.คนที่คุณติดต่อด้วยและเรียกเขาหรือเธอว่าโบรกเกอร์ฺเป็นประจำนั่นแหละคือMarketing หรือพนักงานฝ่ายการตลาดประจำโบรกเกอร์(บริษัทนายหน้าค้าหุ้น)

2.มาร์เก็ตติ้่งไม่จำเป็นต้องจบด้านการเงิน หรือเศรษฐศาสตร์ หรือด้านการลง

ทุนมา เขาหรือเํธอจะจบการประมงหรือนาฏศิลป์มาก็ได้ ขอให้จบปริญญาตรีและสามารถสอบSell License หรือใบอนุญาตเป็นพนักงานขายหรือพนักงานการตลาดก็พอ(ซึ่งก็มีการติวเหมือนสอบอะไรอื่นๆนั่นแหละ) และกลต.บังคับให้ต้องมีการอบรม หรือrefreshเป็นประจำทุก2ปี

3.มาร์เก็ตติ้งจะรอฟังMorning Brriefหรือประชุมบ่ายก่อนเปิดเทรดจากฝ่ายวิเคราะห์(Analyst)จากบริษัทโบรกเกอร์นั้นๆว่าภาวะตลาดเป็นอย่างไร น่าซื้อหรือขาย และมีหุ้นให้ซื้อหรือขายประัจำวัน และสามารถให้คำแนะนำการลงทุนต่อลูกค้่าได้ หากได้รับอนุญาตเป็น"ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากกลต."

4.ในการโทรสั่งซื้อหรือขายทุกครั้งไปที่โบรกเกอร์ มาร์เก็ตติ้งจะบันทึกการสนทนาของคุณทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานว่าคุณได้สั่งซื้อขายจริง และป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดกฎกลต. เช่น ปล่อยข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปั่นต่างๆ หรือการทำผิดกฎกลต.(แต่มาร์เก็ตติ้งจะใช้มือถือโทรหาคุณเองหากมีข่าวทำนองที่ว่านี้)

5.มาร์เก็ตติ้งไม่มีเงินเดือนประจำ หรือหากจะมีก็เรียกว่าอินเทนซีฟที่บริษัทโบรกเกอร์จัดให้ แต่จะมีรายได้หลักจากค่านายหน้าคอมมิสชั่น เช่นคุณซื้อขาย1ล้านบาท จ่ายค่าคอมม์ไป2500บาท มาร์เก็ตติ้งจะได้ราวๆ700บาท ดังนั้นจึงผิดมหันต์หากคุณบอกว่าไม่รู้เรื่องหุ้นแล้วไปยกให้มาร์เก็ตติ้งจัดการซื้อขายแทนตัวคุณ เพราะมาร์เก็ตติ้งอาจจะซื้อๆขายๆบ่อยๆเพื่อหารายได้จากคอมมิสชั่นมากกว่าจะรักษาผลประโยชน์ของคุณเอง

6.มาร์เก็ตติ้งเคยได้ฉายาว่าเป็นมนุษย์ทองคำก็เพราะว่านอกจากรายได้จากค่าคอมมิสชั่นจำนวนมากหากตลาดบูมแล้วก็ยังอาจได้โบนัสงามๆจากบริษัทโบรกเกอร์อีก หากเป็นมัยบูมๆเคยมีจ่ายโบนัส24เดือนก็เคย หรือเป็น12เดือนก็มี แต่แน่นอนว่าบริษัทโบรกเกอร์ต้องตั้งเป้าหมายให้มาร์เก็ตติ้งทำยอดขาย หรือยอดเทรดให้ถึงเป้านั้นๆด้วย

7.มาร์เก็ตติ้งทุกคนจะบอกว่าพวกเขาหรือเธอไม่เคยซื้อขายหุ้นให้บัญชีตัวเอง เพราะเกรงจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of interest) แต่การมีบัญชีนอมินีซื้อๆขายๆนั้นเป็นเรื่องที่ทำกันแทบทุกคน(หรือจะเถียง) เหตุผลหนึ่งก็เพราะในยามตลาดซบเซาสุดๆลูกค้าแทบไม่มีรายการซื้่อขายก็พลอยได้อาศัยบัญชีนอมินีมาซื้อๆขายๆสร้างวอลุม เพราะหากไม่มีวอลุม บริษัทโบรกเกอร์ก็จะกดดันให้ลาออกอีกหละ

8.ลูกค้ามักมีความผูกพันกับมาร์เก็ตติ้งเป็นการส่วนตัวมากกว่าจะผูกพันอยู่กับบริษัทนายหน้าค้าหุ้น ก็จึงมักเห็นมีการย้ายค่าย การซื้อตัวหรือการซื้อยกทีมมาร์เก็ตติ้งกันอยู่เป็นปกติ(ที่ไม่ปกติคือพวกที่ไม่มีใครมาซื้อตัวนั่นแหละ แสดงว่าทำเงินจากวอลุมไม่เก่ง) เพราะหากลงทุนซื้อมาร์เก็ตติ้ง หรือซื้อมาร์เก็ตติ้งยกทีมไป ก็เท่ากับซื้อวอลุม ซื้อลูกค้าไปแบบยกล็อตนั่นเอง

9.มาร์เก็ตติ้งจะรู้เรื่องจังหวะซื้อขายเข้าออกด้วยชาร์ตเทคนิคน้อยมากจนน่าใจหาย หรือบางทีรู้เรื่องปัจจัยพื้นฐานแบบไม่รู้ลึก อ่านงานวิจัยก็แค่บันทัดสุดท้ายตรงประเมินมูลค่าหุ้นเหมาะสมและคำแนะนำ"ซื้อ"หรือ"ขาย"แล้วก็มาบอกต่อ พวกเขาหรือเธอมักเสาะแสวงหา"ข่าว"ประเภทที่เชื่อกันว่าข่าววงลึกวงใน ข่าวออเดอร์ขาใหญ่ ออเดอร์ฝรั่ง ออเดอร์ กองทุนซะมากกว่า แต่บางทีก็เจอสับขาหลอกกันไปมา ดังนั้นลูกค้าที่หวังพึ่งเรื่องจังหวะเข้ิาออกให้ถูกทางกับมาร์เก็ตติ้งจึงต้องคิดให้ดี(และมาร์เก็ตติ้งที่ไม่คิดจะหาความรู้เรื่องนี้ก็ระวังให้จงหนัก เพราะลูกค้าในช่วงหลังมีความรู้ดีมากๆ พวกเขาไม่เทรดตามข่าวอะไรอีกแล้ว)

10.หากมาร์เก็ตติ้งทำเสียงกระซิบกระซาบกับคุณว่าข่าวนั้นวงในมากๆให้ซื้อเดี๋ยวนี้ อาจจะแปลความไปอีกทางว่าเขาหรือเธอกำลังวางขายอยู่ และลุ้นสุดขีดให้คุณตกลงเคาะ ณ วินาทีนั้น

อย่างไรก็ตามมาร์เก็ตติ้งดีๆที่คุณพึ่งพาอาศัยได้ก็มีไม่น้อย คบๆไปซักพัก ก็จะหลงรักพวกเขา หรือเธอไปเอง


ที่เขียนมานี้่เอาเป็นว่าอันไหนที่ทำให้ไม่สบายใจกันกับมาร์เก็ตติ้งผมกราบขอโทษครับ เจตนาคือบทความชุดนี้จะเขียนไปเรื่อยๆเกี่ยวข้องกับวงการหุ้นที่ลูกค้าไม่รู้ และควรต้องรู้ไว้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าเอง(ผมได้ยินเรื่องทำนองนี้มามากก็ประมวลมาเขียนเตือนๆกัน เช่น เอาเงินไปฝากมาร์ฯเล่นให้ ทุกอย่างขึ้นกับมาร์พาเทรด และสารพัด สุดท้ายก็แย่ทั้งมาร์ทั้งลูกค้า)

ว่าไปแล้วผมก็อยากให้ลูกค้ามาแชร์กันด้วยซ้ำครับว่ามีมาร์เก็ตติ้งที่ไหนดีๆ นักวิเคราะห์ดีๆจะได้แชร์กัน เป็นการให้รางวัลคนที่ดีมีผลงาน ทำประโยชน์ให้ลูกค้าให้วงการ พวกที่เป็นแกะดำก็จะได้่สูญหายไป

0 กฎในการเทรดของ Paul Tudor Jones”

"ถัวขาดทุน"
"อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาด" มือโปรระดับเทพที่ไหนๆ เขาก็ทำกัน!!! 
ปล. จริงเหรอ ?

---------------------------------------------------------------
“10 กฎในการเทรดของ Paul Tudor Jones” 

"Paul Tudor Jones" คือหนึ่งในสุดยอดผู้จัดการกองทุนในยุคนี้

เขาเป็นผู้จัดการกองทุนที่ใช้การผสมผสานระหว่าง การวิเคราะห์ทางพื้นฐานและเทคนิค ได้อย่างลงตัว

ในปัจจุบันกองทุนของเขา การนำเงินไปลงทุนของเขาแบ่งไปในหลายสินค้า ไม่ว่าจะเป็น...

- การเทรดในตลาดหุ้นทั่วโลก
- ลงทุนหุ้นพื้นฐานในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป
- ลงทุนในตลาดเกิดใหม่
- คอมโมดิตี้
- ลงทุนในระบบที่เขาคิดขึ้นมา
- และอื่นๆอีกนิดหน่อย

“10 กฎในการเทรดของ Paul Tudor Jones” ประกอบด้วย...

1. ตลาดเคยเป็นยังไง วันนี้ก็เป็นอย่างนั้น เคยเกิดอะไรขึ้นมาแล้วในรอบ 100 ปี วันนี้ก็วนเวียนในรูปแบบเดิมๆ

2. ผมเห็นเทรดเดอร์สมัยนี้ พยายามจะหาเหตุผลที่หุ้นจะขึ้นหรือลง ซึ่งโดยปกตินั้น ถ้าทำแบบนี้ บางครั้งมันอาจจะทำให้เรามั่นใจในทางใดทางหนึ่งมากเกินไป

3. เมื่อเรามองไปที่การวิเคราะห์พื้นฐาน เราอาจจะได้ข้อมูลมาบางส่วน ซึ่งข้อมูลเพียงบางส่วนที่ได้มานั้นอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์ได้ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวไปพร้อมกับ “กราฟ”

4. ทุกวันนี้ มีคนที่พยายามเป็นฮีโร่ในตลาดหุ้นมากเหลือเกิน ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง ก็จะมีคนที่คอยหาเหตุผลพร้อมภาพประกอบที่ทำให้ดูน่าเชื่อถือปล่อยออกมา ซึ่งเราต้องระวังการถูกครอบงำจากความคิดของคนเหล่านี้

5. วิธีการเดียวที่จะเรียนรู้จากตลาดหุ้นได้ คือ ต้องอยู่กับมันให้นานเพียงพอ !

6. การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน อาจจะใช้ได้ดีในการเครื่องไหวในช่วงต้นๆ แต่เมื่อราคามีการวิ่งขึ้นไปอย่างรุนแรง การใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาช่วยจะได้ผลดีกว่า

7. ก่อนการเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องรู้และจำกัดความเสี่ยงไว้ตั้งแต่แรก !

8. ถ้าเมื่อไหร่ที่ผมถือสถานะที่อยู่ตรงข้ามกับตลาด ผมจะรีบออกจากสถานะนั้นทันที ! ผมถือว่า “การควบคุมความเสี่ยง” นั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเทรด

9. “การถัวขาดทุน” เป็นการนับถอยหลังสู่ความพ่ายแพ้ทางหนึ่ง

10. การซื้อ-ขายหุ้น เพียงดูแค่ค่า PE อย่างเดียว เป็นการกระทำที่โง่เกินไปในตลาดหุ้นแห่งนี้ !

ซึ่งผลงานแปลชิ้นนี้ ผมให้เครดิต “Ivanhoff” ที่เขียนกฎการเทรดของ Paul Tudor Jones ขึ้นมา ทำให้ผมสามารถนำผลงานดีๆนี้มาแปลให้ทุกคนได้อ่านกัน

Source: IvanHoff Blog
แปลโดย : Traveller's trade
20.07.2013 (20.14น.)

ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา' เซียนหุ้น 'ไม่เต็มบาท'

" การลงทุนหุ้น คือสิ่งนึงที่ผมทำและรัก
แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผมทำ เพราะชีวิตยังมีอีกหลายสิ่งที่ท้าทายและน่าสนุกในการได้ทำ "

.... ในภาคของหุ้น เอามุมนึงจากเล่า จากบทความของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 4 ปีก่อน กับ ถนนนักลงทุน และเรื่องราวอื่นๆของผม

'ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา' เซียนหุ้น 'ไม่เต็มบาท'

เปิดแนวคิดกำไรหุ้น 5 เด้ง 'ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา' จากอดีตวิศวกรเดินสู่เส้นทางนักลงทุนผู้นิยมหุ้น 'ไม่เต็มบาท' ตั้งเป้าพอร์ตโต 10 เท่า ภายใน 5 ปี

ท่ามกลางชุมชนนักลงทุนบนโลกไซเบอร์ที่มีอย่างเกลื่อนกลาดในปัจจุบัน ตามกระแสตลาดหุ้นที่กลับมาเป็น "กระทิงยักษ์" ในช่วง 2-3 ปีนี้ ช่วงปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ที่เปิดตัวได้อย่างคึกคักต้องยกให้ “สต็อกทูมอร์โรว์ ดอทคอม” นอกเหนือจากเว็บไซต์แล้วยังรุกหนักสื่อสิ่งพิมพ์และงานสัมนา โดยมีเครือข่ายนักลงทุนคุณภาพอย่างเช่น “แพท" ภาววิทย์ กลิ่นประทุม เซียนหุ้นผู้ยึดแนวทางแบบ "วีไอ" ช่วยชูโรง

ปัจจุบันถือว่าชื่อ "สต็อคทูมอร์โรว์" ติดลมบนในกลุ่มนักลงทุนไปแล้ว โดยผู้อยู่เบื้องหลังคือ "ป้อม" ปิยะพันธ์ วงศ์ยะรา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ดังกล่าว ผู้ใช้นามแฝง Looking ที่เขามีอีกบทบาทหนึ่งคือการเป็น "นักลงทุน" ที่สร้างความร่ำรวยจากภาวะวิกฤติจนสามารถสร้างผลตอบแทนจากหุ้น “ไม่เต็มบาท” ได้ถึง 500% ทีมงานถนนนักลงทุนมีนัดคุยกับเขาที่เซ็นเตอร์ของสต็อคทูมอร์โรว์ ชั้น 3 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 1 ย่านถนนพระราม 4 ( ปัจจุบันอยู่ชั้น 17 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ )

ปิยพันธ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นนักลงทุนที่ชอบซื้อหุ้น "ไม่เต็มบาท" เคยมีอาชีพเป็น "วิศวกร" ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งทำงานอยู่กว่า 8 ปี พอประเทศไทยเจอวิกฤติต้มยำกุ้ง งานประจำที่ทำอยู่เริ่มมีความไม่แน่นอนต้องถูกย้ายไซต์งานบ่อยครั้งขึ้น จนต้องเดินเข้าไปหาหัวหน้าขอปรับเปลี่ยนสายงานมาเป็นฝ่ายจัดซื้อแทน ทำให้เริ่มสนใจการลงทุนตั้งแต่ตอนนั้น

“ผมได้มาเรียนรู้เรื่องธุรกิจมากขึ้น เช่น การสั่งซื้อเหล็กล่วงหน้าเขาทำอย่างไรไม่ให้ขาดทุน ทำไป 3-4 ปีก็เริ่มสนใจการลงทุน ทำงานไปแอบเล่นหุ้นไปบ้าง เริ่มต้นจากศึกษาด้วยตัวเองทุกอย่าง ตอนนั้น (ช่วงปี 2545) ตลาดหุ้นเพิ่งขึ้นมาตั้งแต่ 400-500 จุด คนเริ่มเข้ามาเล่นหุ้นกันเยอะมาก”

เข้ามาเล่นหุ้นใหม่ๆ ยอมรับว่านิยม "เล่นหุ้นร้อน" ชอบหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาตามข่าว แต่ตอนนั้นหุ้นขึ้นทุกวันได้กำไรทุกวันก็เริ่มมั่นใจแม้จะได้ไม่เยอะ ต่อมาเริ่มเห็นความจริงว่าบ่อยครั้งที่ "เจ้ามือ" (เจ้าของหุ้น) พยายามประโคมข่าวเพื่อ "ดันราคาหุ้น" แต่หลายครั้งก็ไม่เป็นตามนั้น (หุ้นไม่ขึ้น) หลังจากเคยได้กำไรทุกวันก็เริ่ม "ขาดทุน" และ "ขาดทุนมากขึ้น" ส่วนหนึ่งยอมรับว่า "เกิดความโลภ" ต้องการได้กำไรเยอะๆ ยิ่งอยากรวยเร็วก็ "ยิ่งเสีย"

"ผมเริ่มเสียหุ้นเป็น "หลักล้านบาท" ด้วยความที่เป็นวิศวกร (ต้องมีเหตุมีผล) จึงกลับไปทบทวนการตัดสินใจของตัวเองใหม่ ผมกลับมาถามตัวเองว่าเล่นหุ้นตามแผนหรือไม่ หรือเล่นตามอารมณ์ สุดท้ายพบว่าความโลภมันครอบงำจิตใจเรา ทำให้ต้องเล่นเร็วแถมไม่มีความสุขในการลงทุนด้วย"

เลือกทางเดินเล่นหุ้น 'ต่ำบาท'

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งแรกที่หลงระเริงไปกับ "หุ้นปั่น" ทำให้ปิยพันธ์ เริ่มทบทวนสไตล์การลงทุนของตัวเองใหม่ โดยให้เวลากับการ "เลือกหุ้น" มากขึ้น แต่ก็ไม่ทิ้งนิสัยชอบ "ความเสี่ยง" (High Risk High Return) ในที่สุดก็ตัดสินใจโฟกัสไปที่ "หุ้นขนาดเล็ก" ราคา “ไม่เต็มบาท” โดยคัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตแต่ราคาหุ้นยังไม่ไปไหนมา 10-20 ตัว แล้ว "กรอง" จนเหลือเพียง 1-2 ตัว

หุ้นตัวแรกที่ลงทุนโดยแนวคิดนี้คือ บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท (SPORT) เพราะราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ตอนนั้นต่ำมาก และปีนั้น (2549) จะมีฟุตบอลโลกด้วย ปกติหุ้นตัวนี้เวลามีการแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ "มักจะขึ้น" (ดูสถิติข้อมูลย้อนหลัง)

"ผมเข้าไปซื้อช่วงเดือนมกราคม 2549 พอเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หุ้นก็เริ่มขึ้น ผมรู้สึกว่าตัวเองเดินมาถูกทางแล้ว ความเครียดในการลงทุนลดน้อยลง พอพอร์ตโตขึ้นผมเริ่มหันหลังกลับไปดูหุ้นที่เคยลงทุนน่าตกใจตัวเองว่าเลือกไปได้อย่างไรผลประกอบการแย่ (ห่วย) ราคาก็แพง”

รวยหุ้น 5 เด้งต้องมีหลักการ

หลักการเลือก "หุ้นเล็ก" ของปิยพันธ์ ที่มีโอกาส "ป็อกหลายเด้ง" เขาจะให้ความสำคัญกับ "ราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี" (P/BV) ต้อง "ต่ำมากๆ" แปลว่าบริษัทนั้นต้องมีปัญหาจนคน "ไม่กล้าซื้อ"

"ผมจะเข้าไปดูว่าปัญหาของบริษัทนั้นจบหรือยัง! และกำลังจะมี “ข่าวดี” เร็วๆนี้หรือไม่! เพราะผมก็ไม่อยากจะรอนานเหมือนกัน จะพูดว่าผมเล่นหุ้น "เทิร์นอะราวด์" ก็ใช่ พูดว่าเล่นตามข่าวหรือเล่นตาม "สตอรี่" ก็ใช่ แต่ผมไม่ได้เข้าไปตาม(ก้น)ใคร จะเข้าไป "ซื้อดัก" ไว้ก่อน ขอย้ำว่าไม่ใช้ข่าวอินไซด์แน่นอน”

เขาเล่าประสบการณ์ลงทุนช่วงที่ผ่านมา หุ้นสองตัวที่ทำให้พอร์ตโตขึ้นอย่างรวดเร็วคือหุ้นอสังหาริมทรัพย์ บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) กับ บมจ.ไรมอนแลนด์ (RAIMON) ช่วงที่หุ้นตกแรงๆ จากวิกฤติเลห์แมน บาร์เธอร์ส คัดเลือกหุ้นมาได้ 7 ตัว แต่เลือกลงทุนจริงแค่ 2 ตัว

“ผมเข้าไปซื้อหุ้นสองตัวนี้ตอนปี 2551 (วิกฤติซับไพร์ม) ได้กำไรรวมกัน 500% ทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว”

ตอนตัดสินใจลงทุนหุ้น BLAND ปิยพันธ์ ลงทุนขับรถสำรวจที่ดินของบริษัทบริเวณถนนศรีนครินทร์ เพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่ ปกติแล้วบริษัทจะไม่เปิดเผยมูลค่าที่ดินให้รู้ แต่ตอนนั้น (ปี 2551) บางกอกแลนด์กำลังจะออก BLAND-W2 ตามกฎของกลต.จะต้องเปิดเผยราคาที่ดินทั้งหมด

"ผมเข้าไปดูว่าราคาตาม Book เท่านี้ ไปเทียบกับราคาที่ดินแปลงข้างๆ พบว่าต่ำกว่าราคาตลาดตั้ง "เท่าตัว" ตอนนั้นราคาหุ้นต่อบุ๊คอยู่ที่ 0.3 เท่ามันต่ำมากๆ สองเด้งเลย รับรองว่าถ้าไม่โกงมโหฬารไม่เจ๊งแน่นอนแค่ขายที่ดินออกไปก็อยู่ได้แล้ว ผมซื้อหุ้น BLAND ที่ 0.20 บาท ไปขายที่ราคาเกือบ 1 บาท แถมด้วย BLAND-W2 ต้นทุน 0.03บาท ขายไปที่ 0.2 บาท”

ส่วนหุ้น RAIMON ลงทุนขับรถไปดูโครงการที่พัทยา ไปแอบสอบถามดูว่ามีคนจองแค่ไหนปรากฎว่าเต็มเกือบหมดแล้ว แถมราคาขายตารางเมตรละแสนบาท น้องๆคอนโดที่กรุงเทพ มั่นใจว่า Backlog มีแน่นอน ตอนนั้นช่วงวิกฤติไม่มีใครกล้าซื้อ แต่เขาเก็บเข้าพอร์ต ปัจจุบันทยอยขายออกไปเยอะแล้ว

ปิยพันธ์ บอกว่า ส่วนตัวใช้แนวคิดการลงทุนแบบ "วีไอ" ในเรื่องของการ "เลือกหุ้น" ให้ดูที่กิจการไม่ใช่ราคาหุ้น แต่ยอมรับว่าการเลือกหุ้นบางครั้งต้องดู “เจ้ามือ” (เจ้าของเป็นใคร) ด้วย

“อยู่ในวงการนี้เราก็รู้กันว่าใครเป็นเจ้ามือบ้าง หุ้นตัวไหนนิสัยเป็นอย่างไร อดีตมันเคยมีคนเล่นอยู่แล้ว ผมเล่นหุ้นในมุมเจ้ามือถ้าเขาไม่อยากให้หุ้นขึ้นก็ต้องทำให้ขาดทุนไว้ก่อน แต่สุดท้ายหุ้นมันต้องขึ้นตามหลักวิทยาศาสตร์ ผมก็จะซื้อดักก่อนแล้วไปทยอยขายตอนนั้น”

หุ้นสองตัวนี้ ปิยพันธ์ บอกว่าเหลือในพอร์ตไม่เยอะแล้วตอนนี้จะเล่นแบบเทรดดิ้งเป็นรอบๆมากกว่า มีขายหมูไปบ้าง (หัวเราะ) อย่าง BLAND เคยกลับเข้าไปซื้ออีกรอบตอนราคา 0.60 บาท แล้วขายไปตอน 0.70 บาท ปรากฎขึ้นต่อไปถึง 0.8 บาท เป็นต้น

เล่นหุ้น 'ไม่เต็มบาท' ต้อง 'อึด'

ถามว่าไม่คิดจะเปลี่ยนสไตล์การลงทุนบ้างเหรอ เขาบอกว่า อนาคตเมื่อพอร์ตโตขึ้นซื้อตัวเล็กๆ ไม่ไหวอาจจะเปลี่ยนแนวทางก็ได้ อาจจะทำการบ้านน้อยลงเน้นหุ้นปันผลก็ได้ แต่ตอนนี้ขอโฟกัสที่หุ้นไม่ถึงบาทเพราะโอกาสที่หุ้นตัวใหญ่จะโตแบบ 400-500% "มันยาก" ก็ยอมรับว่าเล่นหุ้นตัวเล็ก "มันเสี่ยง" เวลาจะลงทรุดที 50% ก็เป็นไปได้

“บทสรุปผมเลยนะจะเล่นหุ้นแบบนี้ต้องอึด!! และต้องมีความสุขในการถือด้วย ถ้าต้องไปคอยลุ้นหน้าจอแบบนั้นไม่ใช่แล้ว ซื้อแล้วต้องถือรอได้”

ปิยพันธ์ ให้มุมมองส่วนตัวว่า ตลาดหุ้นมี "จุดอ่อนในตัวเอง" เพราะราคาหุ้นหลายตัวไม่สะท้อนความเป็นจริงแต่เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ของนักลงทุน บางครั้งเห็นของดีๆแต่ไม่กล้าซื้ออาจจะเข้าไม่ถึงข้อมูล ที่ส่วนตัวตัดสินใจเข้าไปเพราะเห็นจุดอ่อนตรงนั้น จุดนี้อาจจะมองต่างจากพวกที่ใช้เทคนิคเข้าช่วย กลุ่มนั้นจะซื้อหุ้นตามแนวโน้ม "แพง" ไม่เป็นไรแต่อนาคตต้อง "แพงกว่า" จุดอ่อนคือซื้อของไม่ถูก แต่ข้อดีคือเงินไม่จมนาน

อย่างไรก็ตามปิยพันธ์ ก็ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าช่วยด้วย เพื่อช่วยตัดสินใจหาช่วงเวลาซื้อหรือขายหลังจากใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานแล้ว เช่น แนวรับแนวต้านต่างๆ

"ถ้าหุ้นวิ่งยาว 3 วันทะลุแนวต้านนี่ผมก็ต้องขายแล้ว แต่ถ้ารอบใหญ่หน่อยจะดูเครื่องมืออย่าง MACD ประกอบ ตอนช่วงปี 2551 ช่วยได้เยอะ เพราะ MACD ตัดศูนย์ขึ้นแล้ว ความแม่นยำสูง แปลว่ากลับตัวขึ้นแน่นอน"

ปัจจุบันโฟกัสหุ้นอยู่ 2-3 ตัวเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หลักการยังเหมือนเดิมคือเป็นหุ้นตัวเล็กราคาไม่ถึงบาทในกลุ่มเทคโนโลยี บอกแต่เพียงสั้นๆว่า มีโอกาสเทิร์นอะราวด์ได้จากเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามา ตอนนี้ภาครัฐได้มีแผนจะติดตั้งทั่วประเทศแล้ว ส่วนตัวได้เข้าไปประชุมผู้ถือหุ้นรับฟังข้อมูลจากผู้บริหาร รับรองว่าไม่มีเจ๊งและน่าจะฟื้นตัวได้เร็วๆ นี้

อีกตัวหนึ่งก็เทรดอยู่ราคาต่อบุ๊คแวลูที่ต่ำมาก เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะมีเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศไทยที่ทำได้แถมยังมีหน่วยงานรัฐถือหุ้นด้วย มีโอกาสเติบโตได้ตามกฎระเบียบใหม่ของภาครัฐที่จะมีผลบังคับใช้เต็มตัว ธุรกิจนี้จะมีความจำเป็นมาก

ตั้งเป้าผลตอบแทน 10 เท่า ใน 5 ปี

ปิยะพันธ์ ให้มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับตลาดหุ้นไทยว่า SET Index ที่ระดับเกิน 1,000 จุด มันเป็นตลาด "เทรดดิ้ง" ไปแล้ว ไม่เหมือนสมัยปี 2551-2552 ตอนนั้นหุ้นราคาถูกๆ มีเต็มตลาด แม้จะเป็นนักลงทุนเต็มตัวแต่ในพอร์ต ตอนนี้ไม่ได้มีเงินในหุ้น 100% เพราะจำเป็นต้องแบ่งเงินมาลงทุนกับเว็บไซท์สต็อคทูมอร์โรว์ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวด้วย โดยเฉพาะทำหนังสือต้องใช้เงินเยอะ ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะนำเงินใส่ในหุ้น 100% เหมือนปี 2551 จะต้องเกิดวิกฤติขึ้นอีกสักรอบให้มีของถูกๆ อีกครั้ง

"ผมตั้งเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนของพอร์ตให้โตขึ้นอีก 10 เท่า ภายในเวลา 5 ปี เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ด้วยแนวทางลงทุนที่เล่าให้ฟัง เมื่อถึงจุดนั้นอาจเปลี่ยนสไตล์การลงทุนอีกแบบทำการบ้านน้อยลงให้เวลากับอย่างอื่นมากขึ้น"

ส่วนทิศทางของเว็บไซต์ ปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งด้วยจำนวนสมาชิก 2,000 ราย มีผู้เข้าชมเว็บ 14,000 คนต่อวัน ( ปัจจุบันเป็น 30,000 คนต่อวัน ) แต่สิ่งที่ภูมิใจกว่าคือมีส่วนได้สร้างสรรค์สังคมนักลงทุนที่ดีและมีคุณภาพให้สามารถอยู่รอดในตลาดหุ้นได้

“ที่นี่เรารวมคนเก่งไว้เยอะมากสามารถเดินไปได้ด้วยตัวเองแล้ว อนาคตเรายังคงเดินหน้าผลิตหนังสือให้ความรู้และขยายธุรกิจไปทำอย่างอื่นเช่นรายการทีวี”

ปิยพันธ์ บอกว่า อาชีพนักลงทุนเป็นงานที่อิสระสามารถสั่งให้เงินทำงานด้วยตัวเองได้ ส่วนตัวในฐานะที่เคยตัดสินใจออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว อยากจะบอกผู้ที่กำลังตัดสินใจแบบเดียวกันว่าต้อง "ไม่ประมาท" ควรมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตได้ 5 ปี โดยไม่ได้ทำอะไร และต้องแยกเงินที่ใช้กับเงินลงทุนออกจากกันเด็ดขาด

“ที่สำคัญต้องมีแนวทางเป็นของตัวเองอย่าไปลอกคนอื่นมาหมด และต้องมีความสุขในการลงทุนเพราะถ้าเราไปจดๆจ้องๆกับกระดานหุ้นตลอดเวลา ชีวิตจะไม่มีความสุขและการตัดสินใจจะผิดพลาดได้ง่าย” เซียนหุ้น "ไม่เต็มบาท" กล่าวเตือนปิดท้าย

รูปภาพ : " การลงทุนหุ้น คือสิ่งนึงที่ผมทำและรัก
แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผมทำ เพราะชีวิตยังมีอีกหลายสิ่งที่ท้าทายและน่าสนุกในการได้ทำ "

....  ในภาคของหุ้น เอามุมนึงจากเล่า จากบทความของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 4 ปีก่อน กับ ถนนนักลงทุน และเรื่องราวอื่นๆของผม

'ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา' เซียนหุ้น 'ไม่เต็มบาท'

เปิดแนวคิดกำไรหุ้น 5 เด้ง 'ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา' จากอดีตวิศวกรเดินสู่เส้นทางนักลงทุนผู้นิยมหุ้น 'ไม่เต็มบาท' ตั้งเป้าพอร์ตโต 10 เท่า ภายใน 5 ปี

ท่ามกลางชุมชนนักลงทุนบนโลกไซเบอร์ที่มีอย่างเกลื่อนกลาดในปัจจุบัน ตามกระแสตลาดหุ้นที่กลับมาเป็น "กระทิงยักษ์" ในช่วง 2-3 ปีนี้ ช่วงปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ที่เปิดตัวได้อย่างคึกคักต้องยกให้ “สต็อกทูมอร์โรว์ ดอทคอม” นอกเหนือจากเว็บไซต์แล้วยังรุกหนักสื่อสิ่งพิมพ์และงานสัมนา โดยมีเครือข่ายนักลงทุนคุณภาพอย่างเช่น “แพท" ภาววิทย์ กลิ่นประทุม เซียนหุ้นผู้ยึดแนวทางแบบ "วีไอ" ช่วยชูโรง

ปัจจุบันถือว่าชื่อ "สต็อคทูมอร์โรว์" ติดลมบนในกลุ่มนักลงทุนไปแล้ว โดยผู้อยู่เบื้องหลังคือ "ป้อม" ปิยะพันธ์ วงศ์ยะรา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ดังกล่าว ผู้ใช้นามแฝง Looking ที่เขามีอีกบทบาทหนึ่งคือการเป็น "นักลงทุน" ที่สร้างความร่ำรวยจากภาวะวิกฤติจนสามารถสร้างผลตอบแทนจากหุ้น “ไม่เต็มบาท” ได้ถึง 500% ทีมงานถนนนักลงทุนมีนัดคุยกับเขาที่เซ็นเตอร์ของสต็อคทูมอร์โรว์ ชั้น 3 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 1 ย่านถนนพระราม 4 ( ปัจจุบันอยู่ชั้น 17 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ )

ปิยพันธ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นนักลงทุนที่ชอบซื้อหุ้น "ไม่เต็มบาท" เคยมีอาชีพเป็น "วิศวกร" ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งทำงานอยู่กว่า 8 ปี พอประเทศไทยเจอวิกฤติต้มยำกุ้ง งานประจำที่ทำอยู่เริ่มมีความไม่แน่นอนต้องถูกย้ายไซต์งานบ่อยครั้งขึ้น จนต้องเดินเข้าไปหาหัวหน้าขอปรับเปลี่ยนสายงานมาเป็นฝ่ายจัดซื้อแทน ทำให้เริ่มสนใจการลงทุนตั้งแต่ตอนนั้น

“ผมได้มาเรียนรู้เรื่องธุรกิจมากขึ้น เช่น การสั่งซื้อเหล็กล่วงหน้าเขาทำอย่างไรไม่ให้ขาดทุน ทำไป 3-4 ปีก็เริ่มสนใจการลงทุน ทำงานไปแอบเล่นหุ้นไปบ้าง เริ่มต้นจากศึกษาด้วยตัวเองทุกอย่าง ตอนนั้น (ช่วงปี 2545) ตลาดหุ้นเพิ่งขึ้นมาตั้งแต่ 400-500 จุด คนเริ่มเข้ามาเล่นหุ้นกันเยอะมาก”

เข้ามาเล่นหุ้นใหม่ๆ ยอมรับว่านิยม "เล่นหุ้นร้อน" ชอบหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาตามข่าว แต่ตอนนั้นหุ้นขึ้นทุกวันได้กำไรทุกวันก็เริ่มมั่นใจแม้จะได้ไม่เยอะ ต่อมาเริ่มเห็นความจริงว่าบ่อยครั้งที่ "เจ้ามือ" (เจ้าของหุ้น) พยายามประโคมข่าวเพื่อ "ดันราคาหุ้น" แต่หลายครั้งก็ไม่เป็นตามนั้น (หุ้นไม่ขึ้น) หลังจากเคยได้กำไรทุกวันก็เริ่ม "ขาดทุน" และ "ขาดทุนมากขึ้น" ส่วนหนึ่งยอมรับว่า "เกิดความโลภ" ต้องการได้กำไรเยอะๆ ยิ่งอยากรวยเร็วก็ "ยิ่งเสีย"

"ผมเริ่มเสียหุ้นเป็น "หลักล้านบาท" ด้วยความที่เป็นวิศวกร (ต้องมีเหตุมีผล) จึงกลับไปทบทวนการตัดสินใจของตัวเองใหม่ ผมกลับมาถามตัวเองว่าเล่นหุ้นตามแผนหรือไม่ หรือเล่นตามอารมณ์ สุดท้ายพบว่าความโลภมันครอบงำจิตใจเรา ทำให้ต้องเล่นเร็วแถมไม่มีความสุขในการลงทุนด้วย"

เลือกทางเดินเล่นหุ้น 'ต่ำบาท'

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งแรกที่หลงระเริงไปกับ "หุ้นปั่น" ทำให้ปิยพันธ์ เริ่มทบทวนสไตล์การลงทุนของตัวเองใหม่ โดยให้เวลากับการ "เลือกหุ้น" มากขึ้น แต่ก็ไม่ทิ้งนิสัยชอบ "ความเสี่ยง" (High Risk High Return) ในที่สุดก็ตัดสินใจโฟกัสไปที่ "หุ้นขนาดเล็ก" ราคา “ไม่เต็มบาท” โดยคัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตแต่ราคาหุ้นยังไม่ไปไหนมา 10-20 ตัว แล้ว "กรอง" จนเหลือเพียง 1-2 ตัว

หุ้นตัวแรกที่ลงทุนโดยแนวคิดนี้คือ บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท (SPORT) เพราะราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ตอนนั้นต่ำมาก และปีนั้น (2549) จะมีฟุตบอลโลกด้วย ปกติหุ้นตัวนี้เวลามีการแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ "มักจะขึ้น" (ดูสถิติข้อมูลย้อนหลัง)

"ผมเข้าไปซื้อช่วงเดือนมกราคม 2549 พอเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หุ้นก็เริ่มขึ้น ผมรู้สึกว่าตัวเองเดินมาถูกทางแล้ว ความเครียดในการลงทุนลดน้อยลง พอพอร์ตโตขึ้นผมเริ่มหันหลังกลับไปดูหุ้นที่เคยลงทุนน่าตกใจตัวเองว่าเลือกไปได้อย่างไรผลประกอบการแย่ (ห่วย) ราคาก็แพง”

รวยหุ้น 5 เด้งต้องมีหลักการ

หลักการเลือก "หุ้นเล็ก" ของปิยพันธ์ ที่มีโอกาส "ป็อกหลายเด้ง" เขาจะให้ความสำคัญกับ "ราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี" (P/BV) ต้อง "ต่ำมากๆ" แปลว่าบริษัทนั้นต้องมีปัญหาจนคน "ไม่กล้าซื้อ"

"ผมจะเข้าไปดูว่าปัญหาของบริษัทนั้นจบหรือยัง! และกำลังจะมี “ข่าวดี” เร็วๆนี้หรือไม่! เพราะผมก็ไม่อยากจะรอนานเหมือนกัน จะพูดว่าผมเล่นหุ้น "เทิร์นอะราวด์" ก็ใช่ พูดว่าเล่นตามข่าวหรือเล่นตาม "สตอรี่" ก็ใช่ แต่ผมไม่ได้เข้าไปตาม(ก้น)ใคร จะเข้าไป "ซื้อดัก" ไว้ก่อน ขอย้ำว่าไม่ใช้ข่าวอินไซด์แน่นอน”

เขาเล่าประสบการณ์ลงทุนช่วงที่ผ่านมา หุ้นสองตัวที่ทำให้พอร์ตโตขึ้นอย่างรวดเร็วคือหุ้นอสังหาริมทรัพย์ บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) กับ บมจ.ไรมอนแลนด์ (RAIMON) ช่วงที่หุ้นตกแรงๆ จากวิกฤติเลห์แมน บาร์เธอร์ส คัดเลือกหุ้นมาได้ 7 ตัว แต่เลือกลงทุนจริงแค่ 2 ตัว

“ผมเข้าไปซื้อหุ้นสองตัวนี้ตอนปี 2551 (วิกฤติซับไพร์ม) ได้กำไรรวมกัน 500% ทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว”

ตอนตัดสินใจลงทุนหุ้น BLAND ปิยพันธ์ ลงทุนขับรถสำรวจที่ดินของบริษัทบริเวณถนนศรีนครินทร์ เพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินที่ซ่อนอยู่ ปกติแล้วบริษัทจะไม่เปิดเผยมูลค่าที่ดินให้รู้ แต่ตอนนั้น (ปี 2551) บางกอกแลนด์กำลังจะออก BLAND-W2 ตามกฎของกลต.จะต้องเปิดเผยราคาที่ดินทั้งหมด

"ผมเข้าไปดูว่าราคาตาม Book เท่านี้ ไปเทียบกับราคาที่ดินแปลงข้างๆ พบว่าต่ำกว่าราคาตลาดตั้ง "เท่าตัว" ตอนนั้นราคาหุ้นต่อบุ๊คอยู่ที่ 0.3 เท่ามันต่ำมากๆ สองเด้งเลย รับรองว่าถ้าไม่โกงมโหฬารไม่เจ๊งแน่นอนแค่ขายที่ดินออกไปก็อยู่ได้แล้ว ผมซื้อหุ้น BLAND ที่ 0.20 บาท ไปขายที่ราคาเกือบ 1 บาท แถมด้วย BLAND-W2 ต้นทุน 0.03บาท ขายไปที่ 0.2 บาท”

ส่วนหุ้น RAIMON ลงทุนขับรถไปดูโครงการที่พัทยา ไปแอบสอบถามดูว่ามีคนจองแค่ไหนปรากฎว่าเต็มเกือบหมดแล้ว แถมราคาขายตารางเมตรละแสนบาท น้องๆคอนโดที่กรุงเทพ มั่นใจว่า Backlog มีแน่นอน ตอนนั้นช่วงวิกฤติไม่มีใครกล้าซื้อ แต่เขาเก็บเข้าพอร์ต ปัจจุบันทยอยขายออกไปเยอะแล้ว

ปิยพันธ์ บอกว่า ส่วนตัวใช้แนวคิดการลงทุนแบบ "วีไอ" ในเรื่องของการ "เลือกหุ้น" ให้ดูที่กิจการไม่ใช่ราคาหุ้น แต่ยอมรับว่าการเลือกหุ้นบางครั้งต้องดู “เจ้ามือ” (เจ้าของเป็นใคร) ด้วย

“อยู่ในวงการนี้เราก็รู้กันว่าใครเป็นเจ้ามือบ้าง หุ้นตัวไหนนิสัยเป็นอย่างไร อดีตมันเคยมีคนเล่นอยู่แล้ว ผมเล่นหุ้นในมุมเจ้ามือถ้าเขาไม่อยากให้หุ้นขึ้นก็ต้องทำให้ขาดทุนไว้ก่อน แต่สุดท้ายหุ้นมันต้องขึ้นตามหลักวิทยาศาสตร์ ผมก็จะซื้อดักก่อนแล้วไปทยอยขายตอนนั้น”

หุ้นสองตัวนี้ ปิยพันธ์ บอกว่าเหลือในพอร์ตไม่เยอะแล้วตอนนี้จะเล่นแบบเทรดดิ้งเป็นรอบๆมากกว่า มีขายหมูไปบ้าง (หัวเราะ) อย่าง BLAND เคยกลับเข้าไปซื้ออีกรอบตอนราคา 0.60 บาท แล้วขายไปตอน 0.70 บาท ปรากฎขึ้นต่อไปถึง 0.8 บาท เป็นต้น

เล่นหุ้น 'ไม่เต็มบาท' ต้อง 'อึด'

ถามว่าไม่คิดจะเปลี่ยนสไตล์การลงทุนบ้างเหรอ เขาบอกว่า อนาคตเมื่อพอร์ตโตขึ้นซื้อตัวเล็กๆ ไม่ไหวอาจจะเปลี่ยนแนวทางก็ได้ อาจจะทำการบ้านน้อยลงเน้นหุ้นปันผลก็ได้ แต่ตอนนี้ขอโฟกัสที่หุ้นไม่ถึงบาทเพราะโอกาสที่หุ้นตัวใหญ่จะโตแบบ 400-500% "มันยาก" ก็ยอมรับว่าเล่นหุ้นตัวเล็ก "มันเสี่ยง" เวลาจะลงทรุดที 50% ก็เป็นไปได้

“บทสรุปผมเลยนะจะเล่นหุ้นแบบนี้ต้องอึด!! และต้องมีความสุขในการถือด้วย ถ้าต้องไปคอยลุ้นหน้าจอแบบนั้นไม่ใช่แล้ว ซื้อแล้วต้องถือรอได้”

ปิยพันธ์ ให้มุมมองส่วนตัวว่า ตลาดหุ้นมี "จุดอ่อนในตัวเอง" เพราะราคาหุ้นหลายตัวไม่สะท้อนความเป็นจริงแต่เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ของนักลงทุน บางครั้งเห็นของดีๆแต่ไม่กล้าซื้ออาจจะเข้าไม่ถึงข้อมูล ที่ส่วนตัวตัดสินใจเข้าไปเพราะเห็นจุดอ่อนตรงนั้น จุดนี้อาจจะมองต่างจากพวกที่ใช้เทคนิคเข้าช่วย กลุ่มนั้นจะซื้อหุ้นตามแนวโน้ม "แพง" ไม่เป็นไรแต่อนาคตต้อง "แพงกว่า" จุดอ่อนคือซื้อของไม่ถูก แต่ข้อดีคือเงินไม่จมนาน

อย่างไรก็ตามปิยพันธ์ ก็ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าช่วยด้วย เพื่อช่วยตัดสินใจหาช่วงเวลาซื้อหรือขายหลังจากใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานแล้ว เช่น แนวรับแนวต้านต่างๆ

"ถ้าหุ้นวิ่งยาว 3 วันทะลุแนวต้านนี่ผมก็ต้องขายแล้ว แต่ถ้ารอบใหญ่หน่อยจะดูเครื่องมืออย่าง MACD ประกอบ ตอนช่วงปี 2551 ช่วยได้เยอะ เพราะ MACD ตัดศูนย์ขึ้นแล้ว ความแม่นยำสูง แปลว่ากลับตัวขึ้นแน่นอน"

ปัจจุบันโฟกัสหุ้นอยู่ 2-3 ตัวเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หลักการยังเหมือนเดิมคือเป็นหุ้นตัวเล็กราคาไม่ถึงบาทในกลุ่มเทคโนโลยี บอกแต่เพียงสั้นๆว่า มีโอกาสเทิร์นอะราวด์ได้จากเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามา ตอนนี้ภาครัฐได้มีแผนจะติดตั้งทั่วประเทศแล้ว ส่วนตัวได้เข้าไปประชุมผู้ถือหุ้นรับฟังข้อมูลจากผู้บริหาร รับรองว่าไม่มีเจ๊งและน่าจะฟื้นตัวได้เร็วๆ นี้

อีกตัวหนึ่งก็เทรดอยู่ราคาต่อบุ๊คแวลูที่ต่ำมาก เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะมีเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศไทยที่ทำได้แถมยังมีหน่วยงานรัฐถือหุ้นด้วย มีโอกาสเติบโตได้ตามกฎระเบียบใหม่ของภาครัฐที่จะมีผลบังคับใช้เต็มตัว ธุรกิจนี้จะมีความจำเป็นมาก

ตั้งเป้าผลตอบแทน 10 เท่า ใน 5 ปี

ปิยะพันธ์ ให้มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับตลาดหุ้นไทยว่า SET Index ที่ระดับเกิน 1,000 จุด มันเป็นตลาด "เทรดดิ้ง" ไปแล้ว ไม่เหมือนสมัยปี 2551-2552 ตอนนั้นหุ้นราคาถูกๆ มีเต็มตลาด แม้จะเป็นนักลงทุนเต็มตัวแต่ในพอร์ต ตอนนี้ไม่ได้มีเงินในหุ้น 100% เพราะจำเป็นต้องแบ่งเงินมาลงทุนกับเว็บไซท์สต็อคทูมอร์โรว์ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวด้วย โดยเฉพาะทำหนังสือต้องใช้เงินเยอะ ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะนำเงินใส่ในหุ้น 100% เหมือนปี 2551 จะต้องเกิดวิกฤติขึ้นอีกสักรอบให้มีของถูกๆ อีกครั้ง

"ผมตั้งเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนของพอร์ตให้โตขึ้นอีก 10 เท่า ภายในเวลา 5 ปี เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ด้วยแนวทางลงทุนที่เล่าให้ฟัง เมื่อถึงจุดนั้นอาจเปลี่ยนสไตล์การลงทุนอีกแบบทำการบ้านน้อยลงให้เวลากับอย่างอื่นมากขึ้น"

ส่วนทิศทางของเว็บไซต์ ปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งด้วยจำนวนสมาชิก 2,000 ราย มีผู้เข้าชมเว็บ 14,000 คนต่อวัน ( ปัจจุบันเป็น 30,000 คนต่อวัน ) แต่สิ่งที่ภูมิใจกว่าคือมีส่วนได้สร้างสรรค์สังคมนักลงทุนที่ดีและมีคุณภาพให้สามารถอยู่รอดในตลาดหุ้นได้

“ที่นี่เรารวมคนเก่งไว้เยอะมากสามารถเดินไปได้ด้วยตัวเองแล้ว อนาคตเรายังคงเดินหน้าผลิตหนังสือให้ความรู้และขยายธุรกิจไปทำอย่างอื่นเช่นรายการทีวี”

ปิยพันธ์ บอกว่า อาชีพนักลงทุนเป็นงานที่อิสระสามารถสั่งให้เงินทำงานด้วยตัวเองได้ ส่วนตัวในฐานะที่เคยตัดสินใจออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว อยากจะบอกผู้ที่กำลังตัดสินใจแบบเดียวกันว่าต้อง "ไม่ประมาท" ควรมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตได้ 5 ปี โดยไม่ได้ทำอะไร และต้องแยกเงินที่ใช้กับเงินลงทุนออกจากกันเด็ดขาด

“ที่สำคัญต้องมีแนวทางเป็นของตัวเองอย่าไปลอกคนอื่นมาหมด และต้องมีความสุขในการลงทุนเพราะถ้าเราไปจดๆจ้องๆกับกระดานหุ้นตลอดเวลา ชีวิตจะไม่มีความสุขและการตัดสินใจจะผิดพลาดได้ง่าย” เซียนหุ้น "ไม่เต็มบาท" กล่าวเตือนปิดท้าย

ลงทุนอย่างไร..ไม่ให้เหนื่อย

ลงทุนอย่างไร..ไม่ให้เหนื่อย

“ผมควรใช้เวลากับการลงทุนในหุ้นมากแค่ไหนครับ?” “ถ้าผมซื้อแล้วไม่ขายเลยจะรวยได้ไหม?” คำถามด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ของผู้ลงทุนท่านหนึ่ง ท่านนี้มีประสบการณ์ในตลาดหุ้นมา 4-5 ปี เอาจริงเอาจังและให้เวลากับการลงทุนในหุ้นไม่น้อย ยิ่งถ้าวันไหนมีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น ตลาดหุ้นผันผวนหนัก ก็ถึงกับนั่งจ้องดูกราฟราคาในทุกโอกาสที่ทำได้ ซึ่งด้วยราคาของหุ้นที่ลงทุนไว้เคลื่อนไหวตลอดเวลาและด้วยจิตใจที่แกว่งไปมาตามเส้นกราฟ ทำให้ท่านซื้อขายวันละหลายรายการ เรียกได้ว่าเป็นผู้ลงทุนที่แอ็คทีฟสุดๆ แต่ผลลัพธ์คือ แม้ไม่ขาดทุน แต่กำไรที่ได้ไม่คุ้มค่านักกับผลด้านอื่น รวมถึงสายตาเขียวๆ ของเจ้านายที่แอบมองอยู่ในระหว่างวัน และผลงานที่ไม่ค่อยมีคุณภาพเพราะขาดสมาธิในการทำงาน

จากคำถามและผลการลงทุนของท่าน ดิฉันคิดว่า น่าจะมีทางออกที่พอจะช่วยได้ มาลองปรับรูปแบบกลยุทธ์การลงทุนกันใหม่ดี
ไหมคะ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

1) ทุ่มเทพลังครั้งแรกให้กับการศึกษาข้อมูลหุ้นก่อนตัดสินใจซื้อ การเริ่มต้นนี้สำคัญที่สุดค่ะ เหมือนกับการติดกระดุม ถ้าเม็ดแรกผิด ที่เหลือจะผิดไปหมด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกิจการอย่างลึกซึ้งโดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตในระยะยาว กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขัน มีการกำกับและดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) มีความโปร่งใส มีผู้บริหารที่มีความสามารถและไว้วางใจได้ ที่สำคัญต้องมีเงินปันผลที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งท่านอาจใช้ทางลัดโดยเริ่มต้นจากศึกษาหุ้นในกลุ่ม SET High Dividend 30 Index ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคัดกรองมาทำเป็น index ไว้ก่อน

2) ถือไว้ให้มั่น รอการเติบโต หลายคนเริ่มต้นดี แต่ระหว่างทางพอราคาหุ้นขึ้นก็อดใจไม่ไหว รีบขายทำกำไรไปก่อน ดังนั้นจึงขอให้คิดไว้เสมอว่า “ถ้ามั่นใจว่ามีหุ้นดีอยู่กับตัวแล้วจะขายหมูไปทำไม” และถ้าไม่ลำบากจนเกินไป ท่านควรทำบันทึกการลงทุนไว้ด้วย โดยหากท่านนำเงินปันผลที่ได้ไปหักต้นทุนที่ซื้อ ท่านจะพบว่ายิ่งนานวัน ต้นทุนของท่านยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ จนในที่สุดอาจถือหุ้นตัวนั้นโดยแทบไม่มีต้นทุน จนไม่ต้องกังวลว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงอีกต่อไป (ตัวอย่างการคิดแบบง่ายคือ หุ้นให้ปันผลปีละ 10% ของราคา หากถือไว้ 10 ปี เท่ากับว่าคืนทุนแล้ว วิธีคิดแบบนี้ไม่ได้ให้ผลที่ถูกต้องแท้จริงแต่พอให้เราเห็นภาพได้) ตราบใดที่บริษัทยังเติบโตและให้เงินปันผล รวมทั้งการไม่ซื้อขายบ่อยช่วยให้ประหยัดค่าธรรมเนียมอีกด้วย

3) ติดตามหุ้นที่ลงทุนไว้เป็นระยะๆ เพื่อทบทวนการลงทุนท่านอาจติดตาม 1-2 เดือนครั้ง หากราคาหุ้นนั้นตกเพราะปัจจัยภายนอก แต่พื้นฐานของบริษัทยังดี อุตสาหกรรมนี้ยังไปต่อได้ ท่านอาจจะซื้อเพิ่มเติมไว้อีก โดยไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวไปกับความผันผวนระยะสั้น ควรหนักแน่นและมั่นใจว่าท่านยังถือหุ้นที่ดี ซึ่งจะสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปได้ แต่หากพื้นฐานของบริษัทและอุตสาหกรรมเริ่มเสื่อมถอย ท่านอาจทบทวนลดการลงทุน ข้อมูลของบริษัทสามารถหาอ่านได้จากแบบรายงาน 56-1 หรือรายงานประจำปี รวมทั้งบทวิเคราะห์หลักทรัพย์

4) รู้จักกระจายความเสี่ยง การลงทุนที่ดีต้องลงทุนเป็นพอร์ตโฟลิโอ เพื่อกระจายความเสี่ยง แต่ควรระวังการลงทุนในหุ้นของหลายบริษัทมากเกินไป เพราะจะทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ลงทุนมือใหม่ แนะนำให้ลงทุนในบริษัทจำนวนน้อยก่อน เมื่อได้ศึกษาและมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว จึงค่อยเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ตเพื่อการกระจายความเสี่ยงตามความเหมาะสมค่ะ
ด้วยวิธีการลงทุนยาวแบบนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องนั่งจ้องราคาหุ้นที่หน้าจอ ไม่ต้องวิตกกังวลให้เกิดความเครียดจนกระทบไปถึงงานประจำ ที่จริงแล้วการลงทุนยาวแบบนี้เหมาะกับทุกคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเกษียณ วัยทำงาน หรือวัยเริ่มต้นมีเงินออม ทุกคนควรแบ่งเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อการลงทุนระยะยาวค่ะ โดยท่องไว้ว่า ทุ่มเทพลังศึกษา ถือมั่นรอการเติบโต ติดตามเป็นระยะ และรู้จักกระจายความเสี่ยงค่ะ

ที่มา : คอลัมน์ “หน้าต่าง ก.ล.ต.” หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2556...โดยคุณเสาวนีย์ สุวรรณรงค์
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีหางบการเงินบริษัทนอกตลาดหุ้น

สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นการจะดูงบการเงินไม่ใช่เรื่องยาก เข้าเวปไซต์ Set.or.th ก็สามารถดูงบการเงินของหุ้นทุกบริษัทได้อย่างสบาย ๆ แต่ สำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นเราก็สามารถดูงบที่แต่ละบริษัทยื่นต่อรัฐได้

ประโยชน์ ก็คือ

- ทำให้รู้ถึงงบบริษัทที่เป็นคู่แข่งกับบริษัทในตลาดหุ้นที่เราสนใจ
- สำหรับผู้ทำธุรกิจ ควรพิจารณางบการเงินของคู่ค้าให้ดีก่อนทำธุรกิจร่วมกัน การปล่อยสินเชื่อ การให้เครดิตต่าง ๆ
- สำหรับผู้กำลังสมัครงาน ควรเลือกบริษัทที่งบเงินแข็งแรงพอที่จะจ่ายเงินเดือนเราได้ ถ้ายิ่งผลประกอบการดีด้วยก็ทำให้ได้โบนัสเยอะขึ้นอีก ผมแนะนำว่าก่อนไปสมัครงานที่ไหนควรดูงบการเงินก่อนทุกครั้ง
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ดูได้จากเวป กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

www.dbd.go.th

แต่ต้องสมัครสมาชิกก่อน นะครับ

ขั้นตอนการสมัครสมาชิก 

เลือกเมนู สมัครสมาชิก/ลืมรหัสผ่าน