วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

รวม E-Book เรื่องหุ้นสุดเจ๋งฟรี ที่คุณไม่ควรพลาด

http://hoonebook.blogspot.com/search/label/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99?m=0


http://hoonebook.blogspot.com/search/label

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

แบ่งหุ้นออกเป็น 6 ลักษณะตามรูปแบบการลงทุนแบบ Value investor

แบ่งหุ้นออกเป็น 6 ลักษณะตามรูปแบบการลงทุนแบบ Value investor
ก่อนหน้านี้ผมเคยแนะนำในการแบ่งกลุ่มหุ้นในการวิเคราะห์ชาร์ตทางเทคนิคไปแล้วซึ่งมันทำให้เราสามารถวางกลยุทธ์การลงทุนได้ง่ายขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีทีเดียวครับ เพราะ หุ้นที่ผมแบ่งทั้งชุด A B C D F นั้นก็คัดแยกจากหุ้นที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปทำให้เราสามารถวิเคราะห์กราฟและดูพฤติกรรมราคาได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงสามารถทำให้เรารู้ได้ว่าเรากำลังสู้กับใคร กองทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติ ป็อปเทรด หรือ รายย่อยเจ้ามือ ด้วยกันเอง ต่อมาผมอยากจะแนะนำในส่วนการพิจารณาหุ้นในส่วนของการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ผมยึดมั่นและใช้ในการพิจารณาในการลงทุนแบบ Value investor มาตลอดครับ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการและแนวทางของ ปีเตอร์ ลินท์ ผู้จัดการกองทุนของ Fidelity investment ครับ
การแบ่งกลุ่มหุ้นทางปัจจัยพื้นฐานแบ่งออกเป็น 6 ชุดตามลักษณะดังนี้ครับ
1.หุ้นโตช้า (The slow growers)
หุ้นโตช้า คือหุ้นที่เคยเป็นบริษัทขนาดใหญ่และเก่าแก่ แสดงว่าก่อนหน้านี้เคยเป็นหุ้นที่โตเร็วมาก่อนๆที่จะหมดแรง อาจเพราะบริษัทมีความอิ่มตัว หรือมันมาเกินมูลค่ามากจนเกินไปมากแล้วครับ และเมื่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและดดยรวมเริ่มชะลอตัว บริษัทเหล่านี้ก็จะหมดแรงลงเช่นกันครับ ซึ่งหุ้นลักษณะนี้จะเคยเป็นหุ้นที่มีความนิยมมาก่อนและมีทั้งการเข้ามาเก็งกำไรและลงทุนระยะยาวครับ ซึ่งเราสังเกตได้จาก Trend ของตลาดและความต้องการของผู้ใช้บริการ หุ้นโตช้านี้เราสังเกตได้จากหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอครับ และมีกำไรต่อหุ้นที่ไม่ค่อยปรับเพิ่มขึ้นครับ หากเจอลักษณะแบบนี้ ผมจะมองว่าเป็นหุ้นโตช้า ลองมองดูครับว่าก่อนหน้านี้ผู้บริโภคนิยมอุตสาหกรรมใด ย้อนไปหลายปีก่อนๆในอดีตหุ้นคอมพิวเตอร์เป็นหุ้นที่โตไวและนักลงทุนให้ความสนใจมาก ลองมามองในปัจจุบันครับ มันเริ่มช้าลงแล้ว ถ้ามองในประเทศเราก็ไม่ต่างกันหุ้นอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็อยู่ในทิศทางที่เติบโตช้า หุ้นจำพวกนี้หนี้สินน้อยและบริษัทมีงบการเงินที่ดี แต่ ! Trend ไม่มีครับ
2.หุ้นโตเร็ว(The fast growers)
บริษัทที่มีขนาดเล็กและมีการเติบโตปีละ 15-25 % ซึ่งเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมมากครับ หุ้นลักษณะนี้นี่แหละทำให้ผมได้หลายเด้ง หลายเด้งคือการทำกำไรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเช่น 10 เด้ง ก็ 10 เท่า สิ่งนึงที่พ่อผมแนะนำเพิ่มเติมมาตลอดและย้ำเสมอคือ หุ้นโตเร็วนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่มี trend ก็ได้ ท่านย้ำเสมอว่าหากจะหากิจการโตเร็ว อย่ามองแค่ตัวกลุ่มหรือ trend ของการบริโภค แค่บริษัทนั้นมีโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรมของตัวเองก็พอ เช่นหุ้น A และ B อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่หุ้น A มีการเติบโตปีละ 15-20 % แต่หุ้น B เติบโตเพียง 2-5 % แบบนี้มันก็มีเยอะครับ และผมก็เห็นในตลาดหุ้นไทยยังมีให้เห็น เพียงแค่ตลาดหุ้น และนักวิเคราะห์ยังไม่พบเจอมัน เท่าที่ผมพบเจอและถืออยู่มี 16 ตัวแต่ดูดีสุดแค่ 4 ตัวครับ อีกสิ่งนึงที่ทำให้เราวิเคราะห์กันผิดพลาดก็คือ หุ้นโตเร็วไม่ใช่หุ้นวัฎจักร อย่าเอาหุ้นวัฎจักรไปรวมในกลุ่มนี้ หุ้นที่โตเร็วคือหุ้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นั่นแสดงว่า กำไรเพิ่มขึ้น หนี้สินลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นก็นิดหน่อย ซึ่งเราต้องติดตามจากผลดำเนินงานของบริษัทว่าเพิ่มขึ้นลดลงเพราะสาเหตุอันใดครับ ที่สำคัญหุ้นโตเร็วก็มีความเสี่ยงครับหากบริษัทไม่มีทุนมากพอที่จะดำเนินการขยายตัวดังนั้นหุ้นลักษณะนี้จะมีการเพิ่มทุนบ้าง แต่ไม่ควรบ่อยเกินไป และคุณต้องสังเกตการเพิ่มทุนว่าเพิ่มไปเพื่ออะไร มันดีต่ออนาคตของกิจการ หรือสร้างนี่สินเพิ่มขึ้นกันแน่ครับ ตลาดจะยังไม่พบหุ้นลักษณะนี้จึงทำให้คุณสามารถซื้อมันได้ในราคาที่ไม่เลวร้ายเกินไป จะหาหุ้นแบบนี้หาง่ายๆครับ ลองมองรอบๆตัวเราสิครับ มันมีอะไรที่มันมีแนวโน้มที่คนจะนิยม และเมื่อคนนิยมมากๆ กิจการจะดีมีรายได้เพิ่มขึ้น และเมื่อนั้นตลาดหุ้นและนักวิเคราะห์จะพบมัน และมันก็จะปรับตัวขึ้น คุณก็แค่นั่งยิ้มและเลี้ยงลูกหลานไป ปัญหาคือ หามันเจอหรือยัง ?
3.หุ้นแข็งแกร่ง(The stalwarts)
หากเทียบกับหุ้นที่ผมแบ่งไว้ในทางเทคนิคก็คือ หุ้นชุด A ครับ เช่น ADVANC PTT KBANK SCC หุ้นลักษะณะนี้จะมีกำไรสม่ำเสมอครับ และคนรู้จักกันเรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ก็ได้ มี market cap. ขนาดใหญ่ การเติบโตนั้นจะเติบโตกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจบ้างเช่นอาจจะประมาณปีละ 10% โดยเฉลี่ยครับ หุ้นแข็งแกร่งก็คือหุ้นที่แข็งแกร่งสมชื่อ มันไม่เหมาะกับการลงทุน มันเหมาะกับการเทรดเก็งกำไรตามกระแส fund flow เสียมากกว่า โดยส่วนตัวนั้นผมมองหุ้นชุดนี้หรือหุ้นแข็งแกร่งนี้เป็นหุ้นที่มีไว้เพื่อเทรดเสียมากกว่าครับ แต่หากมองในแง่ของ Value investor หุ้นลักษณะนี้เราก็ถือลงทุนได้แต่เมื่อเราได้ผลตอบแทน 30-40 % โดยใช้เวลา 2-3 ปีผมก็มองในแง่ของการขายละครับ เพราะหุ้นลักษณะนี้จะมีการเข้ามาทำราคาโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนต่างชาติก็เข้ามาอย่างน้อยๆก็ปีละครั้ง จะมากกว่านั้นก็มีบ้างในช่วงเศรษฐกิจกำลังไปได้ดี ดังนั้นหุ้นขนาดใหญ่และแข็งแกร่งลงทุนได้ครับ แต่ลงทุนในช่วงที่มันเหมาะแก่การลงทุนเช่น ลงเพราะสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจ ภาวะ fund flow ไหลออก หรือปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบเพียงระยะเวลาสั้นๆ ครับ
4. หุ้นวัฎจักร(The Cyclicals)
หุ้นวัฎจักรคือหุ้นที่มียอดขาย รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นและลดลงสม่ำเสมอครับ และเราแทบจะรู้ได้เลยว่าเมื่อไรจะเกิดรอบของมันเช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสายการบิน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเรือเทกอง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ จำพวกนี้จะมีรอบของธุรกิจครับ สิ่งที่แตกต่างระหว่างหุ้นโตไวกับหุ้นวัฎจักรคือ หุ้นโตไวนั้นจะมีการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวตลอดเวลา แต่หุ้นวัฎจักรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและลดลงตามรอบของธุรกิจ เช่นกลุ่มเรือเราสังเกตจากค่าระวางเรือ กลุ่มท่องเที่ยว และสายการบินก็ต้องพิจารณาจากช่วง high season ที่มีการเข้ามาจับจ่ายและท่องเที่ยวของผู้บริโภคครับ ปีเตอร์ ลินท์แนะนำเสมอว่าจังหวะคือทุกสิ่งของการลงทุนในหุ้นวัฎจักรคุณต้องสังเกตธุรกิจตั้งแต่เนิ่นๆว่ามันกำลังจะเกิดอะไรขึ้น หากคุณทำงานในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจหลักทรัพย์ จำพวกนี้ก็ทำให้คุณได้เปรียบที่จะรับรู้วัฎจักรของมันครับ
5.หุ้นฟื้นตัว(Turnaround)
บริษัทที่ถูกทุบจนตกต่ำ และรอดจากการล้มละลาย หุ้นเหล่านี้ไม่ใช่หุ้นโตช้า แต่แท้จริงแล้วมันไม่โตเลย หุ้นเหล่านี้กว่าจะเป็นหุ้นฟื้นตัวได้ต้องมีการปรับโครงสร้าง มีการปรับปรุงงานส่วนบริหารและเป็นหุ้นที่บางครั้งอาจจะเปลี่ยนธุรกิจของกิจการไปทำอย่างอื่นแล้วได้ดี ก็ได้ครับ มีหุ้นหลายๆตัวในตลาดหุ้นไทยที่ทำธุรกิจแล้วไปไม่รอด อาจเพราะคู่แข่งเยอะ มีส่วนแบ่งการทางการตลาดมาก และมันคือผู้แพ้ เมื่อบริษัทใกล้ถึงจุดสิ้นสุดได้มีการเข้ามาปรับโครงสร้าง ได้มีคนมองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวผู้แพ้และเข้ามาแก้ไขจนทำให้มันกลับฟื้นคืนมาได้ครับ
6.หุ้นทรัพย์สินมาก(Asset play)
หุ้นทรัพย์สินมากคือหุ้นที่บริษัทมีทรัพย์สินซ่อนเร้นแต่ตลาดยังไม่รับรู้ และยังไม่ให้ความสนใจในตัวมัน โดยเรามองมันจากเงินสดและตัวอสังหาร์ริมทรัพย์ บริษัทบางบริษัทเพียงแค่ขายทรัพย์สินในมือก็สามารถพลิกจากขาดทุนเป็นกำไรได้ทันทีครับ ในตลาดหุ้นมีหุ้นหลายตัวที่ตัวกิจการหลักกลับไม่ทำกำไร แต่มีบริษัทลูกที่อยู่ในเครือข่ายสามารถทำกำไรได้มากกว่า แต่หุ้นกลุ่มนี้ผมจะให้ความสนใจน้อยครับ นอกเสียจากจะมีปัจจัยเสริม เช่น บริษัทขายทีดินที่ไม่จำเป็น หรืออสังหาร์ริมทรัพย์บางอย่างออกไปเพื่อปรับแผนโครงสร้างและนำเงินไปพัฒนากิจการต่อแบบนี้มันจะดูน่าสนใจมาทันที
ทั้งหมดเป็นลักษณะการแบ่งกลุ่มของหุ้นโดยใช้ลักษณะวิธีการของ ปีเตอร์ ลินท์ ซึ่งผมเห็นว่ามันเป็นประโยชน์มากและใช้งานได้ดีครับ ในการลงทุนแบบ Value investor นั้นผมจะพิจารณาจาก Trend และมองสิ่งรอบๆตัวก่อนเสมอครับ หัดสังเกตและคุณจะเห็นโอกาสครับ ดังนั้นการลงทุนแบบ value investor นั้นเพียงแค่คุณมองหาบริษัทดีๆ ช่างสังเกตมองเห็นโอกาสในตัวมันและเข้าร่วมลงทุน โดยค่อยๆซื้อสะสมไป มองหาหุ้นที่ตลาดยังมองข้ามและมีกำไรเติบโตมีโอกาสขยายตัวทางธุรกิจ คุณย่อมประสบผลสำเร็จ มันต่างกับการเทรดเก็งกำไรที่คุณจะประสบความสำเร็จได้คุณต้องใช้เงินต่อเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเวลาที่รวดเร็ว ผมไม่ปฎิเสธว่าการเก็งกำไรนั่นต้องใช้เงิน ใช่ครับ ! คุณต้องมีเงิน คงไม่มีใครบอกว่าการเก็งกำไรนั้นใช้เงินแค่ไม่กี่พันก็รวยได้ มันไม่มีหรอกครับ มองหาจริตในตัวเองให้พบและเลือกทำในสิ่งที่เหมาะกับเรา หากคิดว่าคุณสามารถลงทุนและเทรดไปด้วยนั่นคือความโชคดีของคุณเพราะ คุณมีทั้งความขยันที่จะหากิจการและวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงมีความรู้ที่จะสามารถวิเคราะห์และตีความกราฟออกมา แต่คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จครับ เพราะถ้าหากเขาประสบความสำเร็จกันหมด ทุกคนคงเข้ามาลงทุนและเทรดในหุ้น มากกว่านั่งทำงานประจำครับ 
Nikky
cr:
FB Niik Agapol Chamnanpanich

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

เล่นหุ้นแบบง่ายๆ กำไรแบบโง่ๆ สไตล์ micromax

http://pantip.com/topic/32216300

เล่นหุ้นแบบง่ายๆ กำไรแบบโง่ๆ สไตล์ micromax

สืบเนื่องจากที่ผมเคยเสนอแนวคิด ขายยังไงไม่ขายหมู ไปก่อนหน้านี้
และมีผู้สนใจพอสมควร มีคำถามทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์มาถึงผม
แต่เนื่องจากแนวความคิดที่ว่า เป็นเพียงแนวคิดย่อยๆอันหนึ่ง ในการเล่นหุ้นของผม
การจะตอบเฉพาะจุดโดยไม่เห็นภาพรวมนั้นค่อนข้างยาก

จึงขอเอาแนวทางการเล่นหุ้นของผมในมุมกว้างมาแชร์คร่าวๆ ตรงนี้ก็แล้วกัน
ถ้ามีคนคนใจ จะมาบรรยายแจาะลึกเป็นจุดๆทีหลังนะครับ

ข้อ 1
ก่อนอื่นต้องแยกแนวทางการเล่นหุ้นออกเป็น 2 แบบก่อน
แบบแรก คือการเล่นหุ้นด้วยจิตใจของพ่อค้า
คนที่เล่นหุ้นแบบนี้ ก็จะซื้อหุ้นมาเพื่อขายให้มีกำไร โดยไม่คิดจะถือไว้นาน
ซื้อมา ขายไป กำไร แล้วก็เอาเงินมาหมุนเวียน ซื้ออีก ขายอีก กำไรอีก ไปเรื่อยๆ
หุ้นที่ซื้อไม่ต้องเป็นหุ้นดี แต่เป็นหุ้นที่ซื้อมาแล้วขายได้กำไร
การเล่นแบบนี้เงินหมุนเวียนสำคัญมาก ห้ามปล่อยให้เงินจมในหุ้นที่ขายไม่ออกเด็ดขาด

แบบที่สอง คือการเล่นหุ้นด้วยจิตใจของนักลงทุน
คนที่เล่นแบบนี้ จะซื้อหุ้นพื้นฐานดี ซื้อสะสม ซื้อแล้วเก็บ ซื้อไว้กินปันผล
การเล่นหุ้นแบบนี้หุ้นสำคัญกว่าเงิน เงินส่วนใหญ่เอามาซื้อหุ้นเก็บไว้ เหลือสำรองไว้นิดหน่อยก็พอ

ตัวผมเลือกเล่นหุ้นแบบลงทุน
ผมไม่ได้บอกว่าการเล่นหุ้นแบบพ่อค้าไม่ดีนะครับ สำหรับคนที่เก่งจริง มองตลาดขาด
มองออกว่าตัวไหนจะขึ้น จะขึ้นไปสุดที่ไหน สามารถซื้อถูกไปขายแพงได้เรื่อยๆ เร็วๆ จะได้กำไรมากกว่าแบบลงทุนมาก
แต่ผมไม่เก่งพอ ตามตลาดไม่ค่อยทัน ทำตัวเป็นพ่อค้าแล้วขาดทุนอยู่ร่ำไป

ดังนั้นสำหรับคนเก่ง ไม่ต้องอ่านต่อแล้วครับ
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปได้กำไรสู้สิ่งที่คุณทำอยู่ไม่ได้หรอก

ข้อ 2 การลงทุนในหุ้น
ผมเล่นหุ้นแบบนักลงทุน ผมมองว่าหุ้นคือเรื่องผลิตเงิน
หุ้นที่ดีจะมีปันผล ลงทุนในหุ้นคล้ายกับการปลูกต้นไม้ไว้เก็บดอกผล
หุ้นที่ดีมันจะโต จะงอกงามด้วยของมันเอง
ผมจะเลือกซื้อหุ้นดีๆ ที่จ่ายปันผลคุ้มค่ากับเงินที่ซื้อ เก็บสะสมไว้ในพอร์ต
ผมมองว่าหุ้นดีๆมีค่ามากกว่าเงิน เงินหมดยังหามาเพิ่มได้ แต่หุ้นดีๆ ถ้าขายไปอาจจะซื้อในราคาเดิมอีกไม่ได้แล้ว
ดังนั้นในพอร์ตของผมจะมีหุ้นมากกว่าเงินเสมอ และไม่มีการขายล้างพอร์ตเด็ดขาด

ข้อ 3 การสร้างพอร์ต
เนื่องจากผมไม่ใช่คนเก่ง ผมไม่มั่นใจว่า ถ้าผมเลือกหุ้นที่ดีที่สุดมาตัวเดียว แล้วมันจะดีที่สุดจริงๆ
ผมจึงกระจายความเสี่ยงโดยถือหุ้นกระจายหลายๆตัวไว้ก่อน
อาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีก็ได้ เพราะตอนนี้ผมมีหุ้นในพอร์ต 20 กว่าตัวแล้ว

กดดูพอร์ต [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

การเลือกหุ้นของผมเข้าพอร์ตของผม
ที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลสูง และจ่ายสม่ำเสมอ
ถ้าไม่จ่ายปันผล จบเลย ต่อให้อย่างอื่นดียังไงผมก็ไม่เอา

จากนั้นค่อยเลือกโดยใช้หลักการดังนี้
- p/e ต่ำ
- บริษัทมีกำไรเติบโตสม่ำเสมอ
- อันนี้ดูประกอบ p/bv ต่ำ, หนี้น้อย

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ข้อ 4 การดูแลพอร์ต
ผมมีการปรับพอร์ตเป็นระยะๆ
โดยหาหุ้นที่ดีกว่าใส่เข้ามา แล้วคัดตัวที่ไม่ดีที่สุดทิ้งไป
(แต่รู้สึกว่าผมจะใส่เข้ามามากกว่าคัดทิ้ง พอร์ตเลยบานปลาย)

ข้อ 5 การซื้อขาย
แม้ว่าผมซื้อหุ้นมาแล้วเก็บยาว
แต่หลายครั้งที่ราคาหุ้นขึ้นไปสูง แล้วก็กลับลงมาใหม่ ถ้าไม่ขายตอนแพงแล้วมาซื้อคืนตอนถูกก็น่าเสียดาย

ดังนั้นเมื่อหุ้นขึ้นไปผมก็จะขายไปบ้างนิดหน่อย
แต่ใช้สูตร ขายแบบไม่มีวันหมด

แนวความคิดอยู่ในกระทู้นี้ http://pantip.com/topic/32068482

ความจริงผมไม่ได้แค่ "ขายไม่มีวันหมด" แต่ผม "ยิ่งขายยิ่งเหลือเยอะ" ด้วยซ้ำ
มาดูตัวอย่างกันว่าผมทำอย่างไร
เช่น สมมุติว่า เดิมมีหุ้นเป็นมูลค่า 70,000 มีเงิน 30,000
พอหุ้นขึ้นจาก 70,000 ไปเป็น 80,000
จะขายหุ้นแค่ 3,000
ซึ่งหลังจากขายแล้ว จะมีหุ้นเหลือ 77,000 และเงินสด 33,000
เห็นไหมละครับว่า หลังจากขายแล้ว ผมมีหุ้นเหลือมากกว่าตอนเริ่มต้นอีก

ข้อ 6
อีกอย่างที่ผมใช้ คือการกำหนด อัตราส่วนของ หุ้น : เงิน
ตอนหุ้นขึ้น ผมจะค่อยๆปรับอัตราส่วนเป็น หุ้น 75% : เงิน 25%
ตอนหุ้นตก ผมจะค่อยๆปรับเป็น หุ้น 67% : เงิน 33%

ข้อ 7 การ stop loss อัตโนมัติ
ความจริงผมก็แบ่งเงินส่วนนึงมาฝึกเล่นหุ้นแบบซื้อขายเก็งกำไรบ้าง (เคยเจ๊งแล้วยังไม่เข็ดอีก)
แต่ผมจะให้ความสำคัญกับการ stop loss อย่างมาก
และเนื่องจากผมรู้ตัวว่าจิตใจผมไม่เข้มแข็งพอ
(ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็เหมือนผมนะแหละ พอหุ้นตกมาถึงจุด stop loss จริงๆ มักจะตัดใจ stop ไม่ลง)
แล้วที่ทำร้ายจิตใจที่สุดคือ หุ้นตกลงมาหลอกให้ stop พอ stop เสร็จแล้วดีดขึ้นเลย
ผมจึงยอมจ่ายเงินค่าธรรมเนียม เพื่อตั้งระบบ stop loss อัตโนมัติ

เช่น ผมเคยซื้อ set50 จำนวน 200 หุ้นที่ราคาหุ้นละ 925 แล้วตั้งจุด stop loss อัตโนมัติไว้ที่ 925
หมายความว่า ถ้า set50 ตกต่ำว่า 925 จุดเมื่อไร streaming จะขาย stop loss ให้ผมโดยอัตโนมัติทันที
และถ้าเป็น stop loss หลอก คือตกลงไปต่ำกว่า 925 แล้วขึ้นกลับมาใหม่ streaming จะซื้อคืนให้ผมอัตโนมัติที่ 925 ทันทีเหมือนกัน
โดยต้องจ่ายค่าตั้ง stop loss อัตโนมัติหุ้นละ 40 บาท (ประมาณ 4% ของราคาหุ้น)

ผมบรรยายเพิ่มเติม การ stop loss อัตโนมัติ ไว้
(version นิยายนักสืบ) http://pantip.com/topic/32235176
(version ยกตัวอย่าง) http://pantip.com/topic/32317668

ข้อ 8
คร่าวๆแค่นี้ก่อนนะครับ
ถ้ามีคนสนใจเยอะค่อยมาเขียนเพิ่ม

อิสระภาพทางการเงิน

http://www.smartsme.tv/vod_detail.php?gid=42&id=2608&Page

พบกับคุณทศพร โสภณเสถียรสุข VP ผู้จัดการภาคนครหลวง5 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ที่จะมาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง "อิสระภาพทางการเงิน" ความหมายของอิสระภาพทางการเงินคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เว็บวิเคราะห์ ริวิว หุ้น แบบ fundamental

http://worrakritt.blogspot.com/2014/09/54.html

ตกผลึกจากการลงทุนหุ้น

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

อัจฉริยะ” กับการลงทุน

“อัจฉริยะ” กับการลงทุน

 Filed under บทความ 
“เซอร์ไอแซค นิวตัน” เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เป็นผู้ค้นพบ “กฎแห่งการเคลื่อนที่”“กฎแห่งแรงโน้มถ่วง” และอื่นๆ อีกหลายประการซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่คงมีคนไม่มากนักที่ทราบว่าอัจฉริยะบุคคลท่านนี้ก็เคยมี “ประสบการณ์ที่เจ็บแสบ” จากการลงทุนซื้อขายหุ้นด้วยเช่นกัน
หนังสือ The Intelligent Investor ฉบับ Revised Edition ของบิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า “เบนจามิน เกรแฮม” ซึ่งมี “เจสัน ซวีจ” เป็นผู้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม ได้นำเรื่องราวการลงทุนของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” มาใช้เป็นกรณีศึกษา เพื่อหาคำตอบว่า การเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดกับการเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่? อย่างไร?
ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1720 “เซอร์ไอแซค นิวตัน” ได้ซื้อหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดของตลาดหุ้นอังกฤษ นามว่า South Sea Company เขาถือหุ้นดังกล่าวจนกระทั่งรู้สึกว่าตลาดกำลังเข้าสู่สภาวะแห่งความบ้าคลั่งมากเกินไป ในเวลานั้น “นิวตัน” นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ถึงกับเอ่ยปากว่า ตัวเขาเองนั้น “สามารถคำนวณความเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้าได้ แต่ไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของผู้คนได้” จึงตัดสินใจเทขายหุ้น South Sea ของเขาออกไป ได้กำไร 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 7,000 ปอนด์
แต่เพียงไม่กี่เดือนต่อมา สภาวะตลาดหุ้นที่ร้อนแรงเกินห้ามใจก็ผลักดันให้ “นิวตัน” กระโจนกลับเข้าไปซื้อหุ้น South Sea อีกครั้งในราคาที่สูงกว่าเดิม ทว่าการซื้อครั้งนี้ไม่ได้สร้างผลกำไรงดงามให้กับเขาเหมือนดังคราวที่ผ่านมา แต่กลับกลายเป็นว่าเขาต้องขาดทุนยับเยินเป็นเงินถึง 20,000 ปอนด์ (หรือมากกว่า 3 ล้านดอลล่าร์ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นเป็นต้นมา “นิวตัน”ถึงกับสั่งห้ามไม่ให้ใครพูดคำว่า South Sea ให้เขารู้สึกแสลงใจอีก
ในมุมมองของ “เบนจามิน เกรแฮม” นั้น ระดับไอคิว และการศึกษาสูงๆ ไม่เพียงพอสำหรับการเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” หรือ Intelligent Investor คุณสมบัติสำคัญที่ควรจะมีก็คือ ความอดทน, ความมีวินัย, ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถควบคุมอารมณ์ และรู้จักคิดด้วยตัวเอง 
จากกรณีของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” แม้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่ง แต่จากมุมมองของ“เบนจามิน เกรแฮม” แล้ว ถือว่า “นิวตัน” ยังห่างไกลจากการเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” ด้วยการที่เขาปล่อยให้เสียงอึกทึกบ้าคลั่งของฝูงชนมาครอบงำการตัดสินใจของตัวเอง
ถ้าคุณผู้อ่านอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ พร้อมทั้งข้อคิดดีๆ ด้านการลงทุนอีกมากมาย ผมขอแนะนำให้ไปหาหนังสือThe Intelligent Investor มาอ่านครับ (มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” แปลและเรียบเรียงโดย “คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข”)
นอกจากนี้ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ศิษย์เอกของ “เบนจามิน เกรแฮม” ยังได้เคยหยิบยกบทเรียนการลงทุนของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” มากล่าวไว้ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ของเขาว่า…
นานมาแล้ว เซอร์ไอแซค นิวตัน ได้มอบกฎแห่งการเคลื่อนที่ ให้พวกเราไว้ 3 ข้อ ซึ่งเป็นผลงานที่บ่งบอกถึงอัจฉริยภาพ แต่ทว่าความสามารถพิเศษของเซอร์ไอแซค กลับไม่ได้ครอบคลุมมาถึงเรื่องของการลงทุนแต่อย่างใด เขาต้องขาดทุนอย่างหนักจากสภาวะฟองสบู่ของหุ้น South Sea… หากไม่เจ็บตัวจากการขาดทุนครั้งนั้น เซอร์ไอแซค นิวตัน อาจค้นพบกฎแห่งการเคลื่อนที่ ข้อที่ 4 เพิ่มขึ้นมาสำหรับนักลงทุนทั้งหลาย นั่นก็คือ
“ยิ่งเคลื่อนที่มาก ผลตอบแทนยิ่งลดลง” 

ตรวจสอบผู้บริหารแบบ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ตรวจสอบผู้บริหารแบบ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


การวิเคราะห์ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนนั้นเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนบอกว่ายากเนื่องจากเราไม่ได้รู้จักใกล้ชิด  ผู้บริหารที่คนหรือสื่อบอกว่าดีนั้น  หลายคนคิดว่ามันเป็นเรื่องของ  “ภาพ”  มากกว่าความเป็นจริง    บริษัทที่มีผลงานที่โดดเด่นก็มักจะมีผู้บริหารที่คนเชื่อว่าดีและโดดเด่น   เหนือสิ่งอื่นใด  ถ้าผู้บริหารไม่ดีแล้วบริษัทจะดีได้อย่างไร?    ดังนั้น  บางคนจึงคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ผู้บริหาร  แค่เห็นว่าบริษัทดีเราก็สรุปได้แล้วว่าผู้บริหารก็คงจะต้องดี  และหลายคนก็คิดว่า  ถึงจะมีผู้บริหารที่ดีก็ไม่ได้เพิ่มคุณค่าอะไรให้กับหุ้นที่จะลงทุน  เพราะคุณค่าของหุ้นนั้นสูงขึ้นตามผลประกอบการของบริษัทซึ่งรวมถึงผลงานของผู้บริหารอยู่แล้ว  การไปให้คุณค่ากับผู้บริหารอีกก็เท่ากับว่าเราไป  “นับซ้ำ”  อย่างไรก็ตาม  มีบางประเด็นที่น่าจะสามารถแยกแยะให้เห็นได้ระหว่างผู้บริหารที่ดีกับผู้บริหารที่ไม่ดีโดยที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประกอบการปกติของบริษัทในระยะสั้น

    ประเด็นแรกและสำคัญมากก็คือ  ดูการจัดสรรเงินของบริษัท  ผู้บริหารที่ดีจะต้องไม่ใช้จ่ายเงินแบบ  “มั่ว”  ต้องลงทุนในโครงการที่ดีซึ่งก็มักจะต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ในความเชี่ยวชาญของบริษัทที่มักจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม  การ Take Over หรือซื้อธุรกิจอื่นก็จะต้องมาในแบบเดียวกันและจะต้องมีราคาที่ไม่แพงเกินคุณค่าที่ได้รับ  ผู้บริหารที่ไม่ดีมักจะใช้จ่ายเงินลงทุนหรือซื้อธุรกิจอื่นที่ไม่เหมาะสมซึ่งแม้ว่าบ่อยครั้งจะทำให้หุ้นวิ่งหรือปรับตัวขึ้นโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นกำลังอยู่ในช่วง “กระทิง”  แต่ในฐานะของ VI  เราควรจะมองว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่ดี   ในระยะยาวมันจะทำให้บริษัทเสียหาย 

    ในกรณีที่บริษัทมีเงินสดและไม่สามารถนำไปจัดสรรเพื่อลงทุนในโครงการที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีพอ   ผู้บริหารควรจะต้อง  “คืนเงิน” ให้ผู้ถือหุ้น   นั่นก็คือ  จ่ายปันผลในอัตราที่เหมาะสม  ซึ่งอาจจะมากกว่าที่เคยจ่ายตามปกติ  หรือไม่ก็  “ซื้อหุ้นคืน” ซึ่งก็คล้าย ๆ  กับการจ่ายปันผล  เพราะเป็นการ “คืนเงิน”ให้แก่  “ผู้ถือหุ้น” เหมือนกัน  แต่เป็นการคืนให้กับผู้ถือหุ้นบางคนเพื่อที่จะทำให้ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นปันผลที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าถ้าราคาที่ซื้อหุ้นคืนนั้นต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัท  อย่างไรก็ตาม  การซื้อหุ้นคืนในกรณีของตลาดหุ้นไทยนั้น  ผมคิดว่าจำนวนมากนั้นไม่ได้เกิดจากเหตุผลดังกล่าว  หลาย ๆ  กรณีเป็นเรื่องของการ  “ดูแลราคาหุ้น”  ที่ตกลงไปมากโดยการเอาเงินบริษัทไป  “พยุง” ราคาไว้โดยไม่ได้พิจารณาว่าราคาหุ้นในขณะนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่   ดังนั้น  เวลาที่เห็นว่าบริษัทมีการซื้อหุ้นคืนโดยที่เหตุผลนั้นไม่ชัดเจน   ผมก็มักจะคิดว่าบริษัทนั้นมีการบริหารงานที่ไม่ดี

    ประเด็นที่ VI ไม่ชอบเลย  ยกเว้นว่าจะมีคำอธิบายที่ดีพอและเป็นการกระทำที่จะสร้างความโปร่งใสครั้งเดียวให้จบ  ก็คือ  เรื่องของ Related Transaction  หรือการทำรายการระหว่างบริษัทกับผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็น “เจ้าของ”  บริษัท  ในประเด็นนี้แม้ว่าจะมีการตรวจสอบโดย  “กรรมการอิสระ” และมีผู้ประเมินที่เป็น  “บุคคลภายนอก”  ผมก็ไม่เชื่อว่ามันจะมีความเที่ยงธรรมได้จริง ๆ  เพราะทั้งกรรมการอิสระและบุคคลภายนอกดังกล่าวนั้นต่างก็ถูกแต่งตั้งโดยบริษัทหรือผู้บริหาร  ดังนั้น  บริษัทที่มีรายการที่มีการ  “ขัดแย้งของผลประโยชน์”  บ่อย ๆ   หรือมีรายการที่  “น่าเกลียด”  อย่างแรงแม้เพียงรายการเดียว  สำหรับผมแล้ว  ผมมักจะถือว่าบริษัทอาจจะมีผู้บริหารที่ไม่ดี

    เรื่องที่สามนั้นแม้ว่าอาจจะดูว่าไม่กระทบกับบริษัทมากมาย  แต่ก็เป็นการ  “ส่งสัญญาณ”  ที่เตือนเราเหมือนกันว่าผู้บริหารอาจจะไม่ใคร่  “สมบูรณ์” นักก็คือ  การจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้บริหาร  “มากเกินไป” และอาจจะไม่ค่อยสัมพันธ์กับผลประกอบการปกติของบริษัท  เพราะนี่เป็นเรื่องของการ  “เอาเปรียบบริษัท”  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  นี่มักเป็นการอนุมัติโดยตัวเองหรือคนที่ตนเองมีอิทธิพลเหนือกว่า  หรือไม่ก็เป็นการอนุมัติโดยมีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน   ดังนั้น  เวลาที่ผมพบว่าผู้บริหารได้รับผลตอบแทนที่  “สูงเหลือเชื่อ”  เปรียบเทียบกับขนาดและ Market Cap. หรือมูลค่าหุ้นของกิจการ  โดยที่ผมไม่ได้คิดว่าเขามีส่วนในความสำเร็จมากมายอะไรของบริษัท   ผมก็มักจะไม่อยากจะเกี่ยวข้องกับหุ้นแบบนี้

    เรื่องที่สี่คือ   ความโปร่งใสของผู้บริหาร  ผู้บริหารที่ดีนั้นควรจะต้องโปร่งใส ยิ่งเปิดเผยมาก  คะแนนคุณสมบัติของผู้บริหารก็ควรจะดีขึ้น  ผู้บริหารที่ไม่โปร่งใสมาก ๆ  นั้น  บางครั้งเราแทบจะต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นไปเลยเนื่องจากบริษัทอาจจะมีสิ่งที่เลวร้ายซ่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้และสิ่งที่เรารู้นั้นถูกทำลวงขึ้นมา   ความโปร่งใสเรื่องแรกก็คือเรื่องของระบบบัญชี  บริษัทที่มีระบบบัญชีที่ดีและมีการลงบัญชีแบบ  “อนุรักษ์นิยม”  มาก ๆ  นั้น  ควรจะต้องได้รับคะแนนที่ดีเทียบกับบริษัทที่มี “ลูกเล่น”  มาก  ตัวอย่างหนึ่งที่เราเคยพบในช่วงหนึ่งก็เช่น  บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งใช้ระบบบัญชีที่ลงรายรับต่อเมื่อมีการโอนและรับเงินจากลูกค้าเรียบร้อยแล้ว  ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ จำนวนมากลงบัญชีรับรู้รายได้ตามการก่อสร้างหรือตามเกณฑ์อื่น   ในกรณีแบบนี้  ผมเองต้องให้คะแนนผู้บริหารบริษัทแรกสูงกว่า

    นอกจากเรื่องบัญชีแล้ว  การให้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งที่ดีและไม่ดีต่อผู้ถือหุ้นเป็นระยะ ๆ  ตลอดเวลาก็เป็นการแสดงความโปร่งใสที่สำคัญ  บริษัทที่ผู้บริหารเก็บตัวเงียบและไม่ใคร่ยอมพบนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนเลยนั้น  ผมคิดว่าจะได้รับคะแนนผู้บริหารที่สูงไม่ได้    นอกจากนั้น  ผู้บริหารที่ดีก็ควรที่จะสามารถ  “รักษาคำพูด” ที่ตนได้ให้ไว้พอสมควร  ไม่ใช่พูดแล้วก็ผิดคำพูดมาก ๆ  ผู้บริหารที่ดีนั้น  ผมคิดว่าถ้าไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือคาดการณ์ถูกต้อง  ก็ไม่ควรจะพูดในเรื่องนั้น

    เรื่องที่ห้า  ผู้บริหารที่ดีนั้น  จะต้องดูแลไม่ให้บริษัทรับความเสี่ยงที่สูงเกินไป  ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรที่จะปล่อยให้บริษัทปลอดภัยมากเกินไปจนกระทบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นควรจะได้  สำหรับเรื่องนี้ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งก็คือ  โครงสร้างเงินทุนของบริษัท  หรือพูดให้ชัดเจนก็คือ  สัดส่วนหรือปริมาณของหนี้ของบริษัทเมื่อเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นหรือกำไรก่อนดอกเบี้ยของกิจการ   บริษัทที่มีหนี้มากเกินไปและอยู่ในกิจการที่มีความผันผวนของผลการดำเนินงานมากนั้น  จะเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด  และถ้าผู้บริหารไม่ได้ทำอะไรที่จะลดความเสี่ยงนี้  ก็ต้องถือว่าผู้บริหารไม่ดีพอที่จะได้รับคะแนนสูง ๆ   เช่นเดียวกัน  บางบริษัทมีเงินสดมาก  ไม่มีหนี้เลย  และธุรกิจก็ค่อนข้างสม่ำเสมอมาก  แต่บริษัทกลับจ่ายปันผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  แบบนี้ก็ต้องบอกว่าผู้บริหารไม่ดี  ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเท่าที่ควร

    สุดท้าย  เรื่องของโครงสร้างผู้ถือหุ้นก็มีส่วนที่จะทำให้ผู้บริหารมีโอกาสที่จะได้คะแนนสูงหรือต่ำเช่นเดียวกันทั้ง ๆ  ที่เราอาจจะไม่ได้มีข้อมูลอะไรมากนัก  ตัวอย่างเช่น  ถ้าบริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารสูงสุดมักจะมาจาก  “สายการเมือง”  แบบนี้เรามักจะไม่ให้คะแนนผู้บริหารสูง   เหตุผลก็เพราะการคัดเลือกผู้บริหารอาจจะมาจากคุณสมบัติอย่างอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับความสามารถในการบริหารงานมากนัก  หรือถึงจะได้คนที่โดดเด่นมาเป็นผู้บริหาร  แต่เขาก็อาจจะต้องทำงานหรือตัดสินใจเรื่องสำคัญบางอย่างในทางที่ไม่เป็นผลประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทได้  โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ดีอาจจะเป็นว่ามีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดกับรายรองลงมาที่มีจำนวนหุ้นใกล้เคียงกันที่เป็นสถาบันต่างประเทศที่น่าเชื่อถือและไม่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นใหญ่  และทั้งคู่ก็แต่งตั้งผู้บริหารที่เป็น  “มืออาชีพ” มาบริหารงาน  ถ้าเป็นแบบนี้  ผู้บริหารก็น่าจะได้คะแนนสูง  เพราะทุกอย่างจะมีเหตุผลและมีการ “คานอำนาจ” หรือตรวจสอบกันเป็นอย่างดี  เป็นต้น

    ทั้งหมดนั้นก็เป็นแนวทางที่จะใช้วิเคราะห์หรือตรวจสอบผู้บริหารนอกเหนือจากผลประกอบการระยะสั้นของบริษัท  ผมเองไม่รู้ว่าผู้บริหารดีนั้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทมากน้อยแค่ไหนแต่เชื่อว่าน่าจะมีส่วนอยู่โดยเฉพาะในระยะยาว  ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ VI ที่เน้นลงทุนในหุ้นของกิจการที่ดีเป็น ซุปเปอร์สต็อก
cr:http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57984

กับดักของความโลภ/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

สิ่งหนึ่งที่อยู่ในสัญชาตญานของมนุษย์คือความเสียใจ เราเสียใจเมื่อพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เราเสียใจเมื่อผิดหวังหรือไม่ได้อะไรตามที่เราคาดหวัง เราเสียใจเมื่อถูกดุด่าว่าตี บางครั้งเราเสียใจจากการขาดทุนในการลงทุน มีการวิจัยพบว่าการขาดทุนนั้นมีมูลค่ามากกว่าการได้กำไร เช่น การซื้อหุ้นแล้วขาดทุน 1 แสนบาทนั้นจะทำให้เสียใจมากกว่าความสุขจากการได้กำไรจากหุ้น 1 แสนบาท แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือว่าบางครั้งเราขายหุ้นบริษัทหนึ่งที่ถืออยู่ไปทั้งหมดและทำกำไรได้แล้ว แต่ปรากฏว่าราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่เราขายไป เรากลับรู้สึกว่าขายเร็วเกินไปและมีความสุขลดลงทั้งๆที่การขายนั้นทำกำไรให้เราแล้ว เรียกว่าขาดทุนกำไรหรือภาษานักเลงหุ้นเรียกว่า”ขายหมู” 

    ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็ทำให้เกิดอารมณ์เสียใจเช่นนี้ได้ อย่างเราขายที่ดินที่ถืออยู่หนึ่งแปลงออกไปหรือขายคอนโดที่ซื้อมาในราคาที่ได้กำไรมากพอสมควร เรารู้สึกมีความสุขมากที่ทำกำไรได้ แต่พอเวลาผ่านไปไม่นานเราได้ยินมาว่าที่ดินข้างๆหรือคอนโดห้องข้างๆขายไปในราคาที่สูงกว่าเรามาก ปรากฏว่าความสุขที่ได้จากการทำกำไรกลายเป็นความเสียใจที่รู้สึกว่าขายที่ดินหรือคอนโดนั้นไปในราคาที่ต่ำเกินไป

    ความเสียใจนั้นจะกลายมาเป็นความโลภ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ถ้าได้กำไรจากการขายหุ้นไปแล้วมักจะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น และคิดว่าคราวที่แล้วซื้อหุ้นน้อยไปหน่อย ถ้าซื้อหุ้นจำนวนมากๆก็ได้กำไรมากกว่านี้หลายเท่า คิดได้ดังนั้นจึงกลับไปเข้าไปซื้อหุ้นใหม่แบบมั่นใจสุดๆด้วยจำนวนเงินที่มากกว่าเดิม แต่สุดท้ายตลาดหุ้นในช่วงที่ได้กำไรง่ายๆนั้นมักเป็นช่วงปลายของตลาดกระทิงที่ร้อนแรง การเข้าซื้อหุ้นแบบมั่นใจในคราวนั้นกลายเป็นหายนะของการลงทุน บางครั้งกำไรที่ได้มากลับหายวับไปกับการซื้อหุ้นครั้งนั้น แถมอาจจะต้องขาดทุนมากขึ้นไปเสียอีก สถานการณ์เช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น”กับดักของความโลภ”

    เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ในอดีตเราจะเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้มามาก ไม่ว่าจะเป็นในตลาดหุ้นไทยหรือต่างประเทศ อย่างประเทศไทยในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 เคยมีข่าวนักลงทุนนำปืนจะไปยิงตัวตายที่ตลาดหลักทรัพย์เพราะขาดทุนจากการซื้อขายอย่างมากในช่วงลอยตัวค่าเงินบาท ในอดีตหลายร้อยปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. 1720 เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะด้านการคำนวณของโลกและเป็นนักฟิสิกส์ที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น ถือหุ้นของบริษัทเซาส์ซี (South Sea Company) ซึ่งเป็นหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดในอังกฤษ นิวตันได้ตัดสินใจขายหุ้นบริษัทนี้ออกไปโดยได้กำไรถึง 100 เปอร์เซนต์รวมเป็นเงิน 7,000 ปอนด์ อย่างไรก็ตามในอีกไม่กี่เดือนต่อมา เมื่อนิวตันถูกครอบงำโดยกับดักของความโลภและความบ้าคลั่งแบบสุดขั้วของตลาดหุ้น เขาเห็นคนอื่นๆที่ยังถือหุ้นอยู่มีกำไรมากขึ้นโดยที่เขาทำอะไรไม่ได้เพราะเขาขายหุ้นออกไปหมดแล้ว สุดท้ายเมื่อตลาดเข้าขั้นฟองสบู่ คนถือหุ้นบริษัทนี้ร่ำรวยกันถ้วนหน้า นิวตันตัดสินใจกลับเข้าไปซื้อหุ้นบริษัทเซาท์ซีอีกครั้งในระดับราคาที่สูงกว่าเดิม จากนั้นฟองสบู่หุ้นเซาส์ซีก็แตกเมื่อข่าวต่างๆที่บริษัทออกมาบอกนั้นเป็นเรื่องโกหกแทบทั้งหมด ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว  นิวตันคัตลอสไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อมามากซึ่งเป็นผลให้เขาต้องขาดทุนมากกว่า 20,000 ปอนด์ (คิดเป็นเงินกว่า 3 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) ตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ เขาจะห้ามไม่ให้ใครพูดว่า “เซาส์ซี” ให้เขาได้ยินเป็นอันขาด และถึงกับบอกว่า “ข้าพเจ้าสามารถคำนวณการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุในท้องฟ้า แต่ไม่สามารถพยากรณ์ความบ้าคลั่งของฝูงชนได้”  

    สำหรับนักลงทุนรายย่อยนั้น ถ้าจะไม่ให้ตกอยู่ภายใต้”กับดักของความโลภ”แล้วนั้นควรศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนให้มาก การทำกำไรจากตลาดหุ้นแต่เมื่อเห็นคนอื่นกำไรมากกว่ากลับรู้สึกเสียใจนั่นเป็นเพราะเราไม่สามารถจัดการกับสัญชาตญานของเราเองได้ นักลงทุนที่มีความสุขจากการลงทุนมักไม่เปรียบเทียบผลตอบแทนของตนเองกับผู้อื่นและมีความพอใจในสิ่งที่ตนได้รับรวมทั้งยินดีกับคนอื่นที่ทำกำไรได้มากกว่า ใครทำได้เช่นนี้ก็ไม่มีคำว่าต้องเสียใจเมื่อขายหมู


Attachments:
10685027_711712972248897_2074169918_n.jpg

cr:http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=58012

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

‎การประเมินกำไร‬ (‪#‎Earning_Forecast‬) ประเมินเป็น ร-ว-ย !

cr: FB  Financial Freedom Trader
‪#‎การประเมินกำไร‬ (‪#‎Earning_Forecast‬) ประเมินเป็น ร-ว-ย !
ความสามารถในการประเมินกำไรของบริษัท เป็นทักษะที่จำเป็น(มาก)ของนักลงทุน ซึ่งจะทำให้มีโอกาสชนะมากกว่าแพ้ และส่วนที่สำคัญที่สุดถ้าประเมินถูก คุณจะ กำไร มหาศาล !

ผมมีกระบวนการประเมินกำไรอย่างคร่าวๆ มาแชร์ให้ได้ดูกัน
1. ‪#‎ทำงบการเงินอย่างย่อๆ‬ ซึ่งขั้นตอนแรกนี้ใช้เวลาและความอดทนเล็กน้อยแต่ผมรับรองว่าคุ้มค่าแน่นอน โดยทำงบกำไรขาดทุนย้อนหลังอาจจะซัก 3 ปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มที่มาของ ยอดขาย ค่าใช้จ่าย ฯ จนได้เป็นกำไรสุทธิออกมา

2.‪#‎ตั้งสมมติฐาน‬ โดยดูจากแนวโน้มการเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรย้อนหลัง และ นำข้อมูลที่ผู้บริหารให้สัมภาษณ์มา เปรียบเทียบว่าสูงหรือต่ำเกินไป เช่น ผู้บริหารบอกว่า ยอดขายจะโต 20% แต่จากข้อมูลย้อนหลังพบว่าโตแค่ 5% เป็นต้น

3.‪#‎ประเมินกำไร‬ หลังจากทำข้อ 2 เสร็จ เราก็ทำการประเมินกำไรสุทธิ โดยพิจารณาตั้งแต่ ยอดขาย ไปจนถึงบรรทัดสุดท้าย จนได้กำไรออกมา

4.‪#‎เปรียบเทียบกำไรที่ได้กับแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ‬ เช่นเปรียบเทียบกับกำไรที่ผู้บริหารให้ไว้ หรือเทียบกับบทวิเคราะห์ของโบรกต่างๆ ว่าสูง ต่ำ หรือใกล้เคียง แต่ที่สำคัญกว่า ก็คือ ต้องตอบให้ได้ว่า "ทำไม" ตัวเลขเราถึงแตกต่าง..

...การประเมินกำไรให้ได้อย่างแม่นยำนั้น ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การเริ่มต้นทำมักจะเป็นสิ่งที่ทำให้ล้มเหลวก่อนเสมอ สิ่งที่แยกแยะ ระหว่าง คนสำเร็จ กับ คนล้มเหลว ก็คือ การเริ่มลงทำทันที นั่นเอง !

- Finance VPN

---- หุ้น Day Trade ----

---- หุ้น Day Trade ----
- ต้องประเมินให้ได้ว่า ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นในเวลาอันสั้น
- มองหาหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายที่มาก
- นักเก็งกำไรจะนิยมเข้าไปเล่นหุ้นที่มีขนาดเล็ก เพราะทำกำไรได้มากและรวดเร็ว
- หุ้นที่มีขนาดเล็ก ราคาต่ำ เป็นหุ้นที่เหมาะเก็งกำไร และถ้าเป็นหุ้นขนาดเล็กที่มีพื้นฐานกิจการดี ยิ่งควรจับตาเป็นพิเศษ
- ควรเลือกหุ้นเก็งกำไรที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด อยู่ในอันดับที่ 11-30 พิจารณาจากข้อมูลวันก่อนหน้า (แต่ถ้าในวันมีหุ้นบางตัวเข้ามามีปริมาณการซื้อขายผิดสังเกต ซึ่งไม่อยู่ใน list วันก่อนหน้า ควรเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นหุ้นที่น่าจะเก็งกำไรในวันถัดไป
- เลือกหุ้นเก็งกำไรที่มีพื้นฐานกิจการดี จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการเล่นหุ้นเก็งกำไร
- วิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟทางเทคนิค เช่น แท่งเทียน แนวรับ แนวต้าน ค่าเฉลี่ย EMA 5 และ 10 วิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง ยาว
- หาจังหวะเข้าซื้อเก็งกำไรในตอนต้นของการขยับขึ้นของราคาหุ้น จะได้เปรียบมากกว่าเข้าไปซื้อในหุ้นที่มีการเก็งกำไรมานานหรือหลายวัน และไม่ควรไล่ราคาซื้อเมื่อหุ้นขึ้นมาสูงมากเกินไป
---- ติดตามข่าวสารทั่วไป ----
ข่าวดี … ข้อมูลเป็นจริง เมื่อมีข่าวออก นักเก็งกำไรจะเข้ามาไล่ราคากันอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น
ข่าวดี … ข้อมูลเป็นความคิดเห็นหรือข่าวลือ นักเก็งกำไรจะไม่ค่อยตอบรับข่าว ราคาหุ้นอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
ข่าวร้าย … ข้อมูลเป็นจริง นักเก็งกำไรจะขายหุ้นทิ้งในทันที ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ข่าวร้าย… ข้อมูลเป็นข้อคิดเห็นหรือข่าวลือ นักเก็งกำไรจะค่อยๆทยอยขายหุ้นออกมา เพราะมีข่าวร้ายกดดัน ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นไม่ไหว และค่อยๆลดลงตามข่าวลือ
- ติดตามบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ รายงานสรุปข่าว แนวโน้มตลาด เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มที่จะมีผลต่อราคาหุ้นที่ได้คัดเลือกไว้
- เข้าซื้อหุ้นตามแผนที่วางไว้ โดยการคำนวณจำนวนหุ้นที่จะเข้าซื้อ ราคา และตั้งจุด stop loss ตามแผนอย่างเคร่งครัด
---- ลักษณะของหุ้นที่เกิดจากการเก็งกำไร ----
- ในวันแรก ปริมาณการซื้อขายจะมากผิดปกติ มากกว่าวันก่อนหน้าหรือมากกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 5 วัน ถ้าไม่สามารถซื้อได้ทันในวันแรกที่มีปริมาณการซื้อขายมากผิดปกติ ไม่ต้องรีบซื้อให้รอดูแนวโน้มในวันถัดไป โดยดูปริมาณการซื้อขายช่วงเปิดตลาด การวางบิดออฟเฟอร์ สังเกตราคาเปิด ซึ่งจะช่วยประเมินได้ว่าหุ้นตัวนั้น จะมีการเข้ามาเก็งกำไรต่อเนื่องหรือไม่ และไม่ควรเข้าซื้อหุ้นที่มีราคาเปิดสูงขึ้นเกินกว่า 5% เพราะมีโอกาสสูงที่หุ้นจะถอยกลับมาปิดที่ราคาต่ำกว่าราคาเปิดก็เป็นไปได้สูง
- ในวันที่สอง ราคาหุ้นอาจจะมีการปรับตัวลดลงมาก่อน โดยเกิดจากแรงขายของนักเก็งกำไร โดยให้พิจารณาว่าราคาหุ้นที่ลงมาไม่ควรลดลงมาเกินครึ่งหนึ่งของช่วงราคาหุ้นที่บวกมาได้ของวันก่อนหน้า (แนวรับ) และถ้ามีการเข้ามาเก็งกำไรต่อเนื่อง ไม่ใช่เก็งกำไรไล่ราคาวันเดียวแล้วเลิก ก็เป็นจังหวะในการเข้าไปซื้อหุ้นได้
(1. กรณีราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นทันที อาจเข้าไปซื้อทันทีตอนเปิดตลาด แต่ราคาเปิดไม่ควรสูงกว่า 5%
(2. กรณีราคาหุ้นปรับตัวลง ให้พิจารณาเข้าซื้อภายในวันที่ระดับแนวรับ และสังเกตพฤติกรรมการเล่น
จากเพื่อนทางไลน์

cr: หุ้นดีบี

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

จิตวิทยาการลงทุน

จิตวิทยาการลงทุน ตอน 1
เบิร์ด ส่องหุ้น wrote a new note: จิตวิทยาการลงทุน.
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ว่าเราจะซื้อหรือขายเท่านั้น ต่อให้เรามีความรู้เยอะๆ เราก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ แต่แนวความคิดในการเล่นหุ้นนั้นสำคัญที่สุด หรือ การมีจิตวิทยาการลงทุนที่ถูกต้อง
ตลาดหุ้นเป็นตลาดดูดเงินเม่าโดยเฉพาะ แต่มันเป็นตลาดที่หอมหวล เพราะกำไรที่ได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก่อนจะกำไรเรามักจะขาดทุนก่อน จนบางคนออกจากตลาดไปเลย มีนักลงทุนเพียง 10% เท่านั้นที่กำไร 10% ที่เท่าทุน แต่ 80% หมดตัว เงินไปไหนหมด ก็ไปอยู่กับคนที่กำไรไงครับ ทำให้เม่าอยากจะพัฒนาตัวเองให้กำไรบ้าง เพื่อจะได้เอาเงินจากคน 80% นั้น ทั้งๆ ที่เราเองนั่นแหละเป็น 80% นั้นมาก่อน ทำไมเราถึงขาดทุนทั้งๆ ที่เรามีความรู้มากมาย นั่นส่วนใหญ่เป็นเพราะการไม่รู้จักว่าตัวเราเป็นใคร หรือ การไม่มีจิตวิทยาการลงทุน นั่นเอง เช่น หากเราเป็น VI แต่เราเข้าเร็วออกเร็ว แบบนี้ไม่ใช่ VI ละ กลายเป็น VIVI เราต้องมาเรียนรู้การจะเป็น VI หรือ VIVI กันอย่างถูกวิธีกันก่อนครับ
เม่า 4 ขั้น มีอะไรบ้าง ผมเองยังเป็นเม่าอยู่เลยครับ เราถึงยังต้องศึกษาอยู่ ผมคิดว่าผมเป็นเม่าขั้นที่ 3 ครับ แล้วคุณหละอยู่ขั้นไหน เราจะแก้ความเป็นเม่าสู่ความเป็นเทพยังไงดี :) เรามารู้จักแมงเม่ากันหน่อยมั้ย
แมงเม่า คือ กลุ่มนักลงทุนเก็งกำไรที่ชื่นชอบความเสี่ยง เล่นหุ้นตามข่าว ตามกระแส มีทั้งเก่งและไม่เก่งคละกันไป
เม่าขั้นที่ 1 เป็นแมงเม่าขั้นแรก มักมองโลกในแง่ดี ผมก็เป็นนะ ตอนเล่นหุ้นแรกๆ มักจะกำไรช่วงแรกๆ เชื่อคนที่เชียรหุ้น เพราะไม่รู้อะไร ต่อมาก็ขาดทุนบ่อยๆ เราก็ลงทุน VI ทำไมขาดทุนหละ
เม่าขั้นที่ 2 เป็นเม่าที่ผ่านการขาดทุนทำให้เรียนรู้ความเจ็บปวด เริ่มเรียนรู้ความเสี่ยง หาความรู้เพิ่มเติม พอเป็นก็รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ชอบโชว์พาว แต่จริงๆ อาจจะเข้าใจผิด ทำให้เกิดความมั่นใจเกินเหตุ cut loss ไม่เป็น พอมีกำไรก็รีบขายเพราะกลัวกำไรหด กลายเป็นขายหมู พอขาดทุนก็รีบ stop loss เพราะเรียนมา สุดท้ายจุดที่ stop loss เป็นเป็นจุดกลับตัว เห็นหุ้นขึ้นก็วิ่งเข้าใส่อีก กลายเป็นติดดอย ทำให้ขาดทุนซ้ำซากจากการเด้งเฉยๆ แล้วลงต่อ
เม่าขั้นที่ 3 หาทางพัฒนาตัวเอง พยายามใช้ระบบเทรดที่สร้างมาจาก indicator ต่างๆ เช่น rsi, macd, bb, ELW พอจะอยู่รอดได้บ้างกำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เพราะยังไม่เชื่อในสัญญาณทางเทคนิคแต่ชอบเดามากกว่า ทำตามระบบไม่ได้ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป ยังไม่มี money management ที่ดีพอ
เม่าขั้นที่ 4 เป็นเม่าที่พัฒนามานาน อยู่ในตลาดมาหลายปี ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาเยอะ เข้าใจสัจธรรม วิเคราะห์เก่ง มีวินัยการลงทุน เชื่อระบบเทรด เชื่อปัจจุบันมากกว่าอนาคต ไม่โชว์พาว
บทความข้างบน บางส่วนอ้างอิงจากคลิปที่คุณนิพนธ์ออกรายการ stop loss และใส่ความเห็นของผมเข้าไปครับ
วันนี้ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับคุณนิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการจาก บล.ไอร่า ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการลงทุน QIQP ที่คุณจะได้เรียนรู้เรื่องจิตวิทยาการลงทุนจากรายการ Stop Loss Weekend จะมีต่ออีก 3 ตอน คอยติดตามกันครับ 
จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2.
เบิร์ด ส่องหุ้น wrote a new note: จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2.
จากตอนที่แล้ว แมงเม่าคือผู้ล้มเหลวในการลงทุน 80% ขาดทุนหมดตัว มีเพียง 10% เท่านั้นที่กำไร คราวนี้มาดูว่าอะไรเป็นสาเหตที่ทำให้แมงเม่าเป็นแบบนั้น เรามาดูอาการก่อนการวินิจฉัยโรค ผมสรุปมาโดยอ้างอิงจาก video ที่คุณนิพนธ์พูดเอาไว้ เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้ไปด้วยกันครับ ลองดูวีดีโอนี้ http://youtu.be/BraSrr2DMf8
อารมณ์ของแมงเม่า
แมงเม่ามักจะเข้าทำการซื้อขายตามความเคยชินในอดีต โดยขาดสติ มีอารมณ์ ความโลภและความกลัวเป็นที่ตั้ง มีการซื้อขายหุ้นตามข่าว หรือ เชื่อตามที่นักวิเคราะห์บอกมา ชอบซื้อหุ้นที่ขึ้นแรงๆ และขายล้างพอร์ตเมื่อลงแรงๆ หากขาดทุนก็มักจะพยายามเอาคืนเดี๋ยวนั้น แมงเม่ามักอยากรู้ว่าทำไมตลาดลงหลังจากตกใจขายหุ้นไปแล้ว รู้งี้ไม่ขายดีกว่า
ความเชื่อของแมงเม่า
แมงเม่ามักเชื่อว่านักวิเคราะห์จะทำให้ตัวเองรวยได้ ชอบคนที่มีความคิดเห็นตรงกับตัวเอง มักเชื่อหมอดู มักโทษคนอื่นที่ทำให้เสียหาย มักเป็นพวกวิตกจริต ชอบวันที่หุ้นบวก เกลียดวันที่หุ้นลบ
พฤติกรรมการถือหุ้น
แมงเม่ามักตัดสินใจซื้อหุ้นเร็ว และชอบถือหุ้นระยะสั้นมาก ไม่เกิน 3 วัน ไม่ชอบ let profit run แต่จะถือหุ้นนานๆ เมื่อติดดอยโดยไม่คิดแก้ไขใดๆ แล้วก็ปลอบใจตัวเองว่าได้กินปันผล เพราะ cut loss ไม่เป็น ทำให้ let loss run หลายๆ ครั้งมักซื้อหุ้นตัวเดียวเต็มพอร์ท แมงเม่ามักจะชอบแหกกฏตัวเอง พอขึ้นถึงเป้าแล้วก็ไม่ขาย ปรับเป้าไปเรื่อยๆ ทำให้ขาดความระมัดระวังเวลากำไรมากๆ แมงเม่ามักจะขายหุ้นที่มีกำไรออกไปและถือหุ้นที่ขาดทุนไว้แทน เพราะไม่อยากขาดทุนแมงเม่าเชื่อว่ามีทฤษฎีที่ทำให้ตัวเองกำไรจากตลาดหุ้นทุกวันได้ ชอบใช้กราฟเทคนิครายนาทีในการซื้อขาย ซึ่งปกติต้องใช้กราฟ month กราฟ week ในการลงทุนระยะปานกลาง การใช้กราฟ day ยังเป็น time frame สำหรับเก็งกำไรอยู่
พฤติกรรมการเลือกหุ้น
แมงเม่าชอบเล่นหุ้นตัวเล็กๆ มักจะซื้อหุ้นตัวเดิมๆ ที่เป็นหุ้นปั่น หุ้นเน่า ไม่รู้ว่ากิจการหุ้นที่ซื้อว่าทำอะไร ซื้อๆไปก่อน เดี๋ยวมันก็ปั่น ชอบเล่นในอุตสาหกรรมเดิมๆ แม้ว่ามันจะตกไปแล้ว Sunset
มาดูทางทฤษฎีกันบ้าง ทางการแพทย์มีการศึกษาเอาไว้แล้ว เมื่อปรับมาใข้กับเรื่องหุ้นจะเป็นอย่างไง เรามาศึกษาเรื่องจิตใจกันหน่อย ทำให้มันถึงมีผลกับเรานัก
จิต คืออะไร จิตเป็นพลังงานที่อาศัยอยู่ในร่างการ เป็นพลังงานที่มีความถี่คลื่นละเอียด จิตสามารถที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด
หน้าที่ของจิต
1. ทำหน้าที่รับสิ่งที่มากระทบแล้วปรุงแต่งอารมณ์
2. ทำหน้าที่สั่งสมองให้คิด สั่งกายให้ทำงาน
3. ทำหน้าที่สะสมผลของการกระทำ
จิตมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของนักลงทุน สาเหตหลักที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เสียหายจากการลงทุนและไม่สามารถกลับมาลงทุนให้ประสบความสำเร็จคือ การกลัวความเสี่ยงจนเป็นอาการทางจิต ที่เรียกว่า Risk Aversion Phobia
การลงทุนที่ผิดพลาดแต่ต้น ทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว และเข็ดจนไม่กล้าลงทุนอีก อาจจะหันหลังให้ตลาดหุ้นตลอดไป
1. อาการที่เกิดของ Risk Aversion Phobia คือ
1.1. Disposition effect อาการความกลัวความเสียใจจากการลงทุน เช่น
ขายหุ้นที่มีกำไรออกไปจนหมด และ ถือหุ้นที่ขาดทุนไว้
ขายหมู แล้วกลับไปซื้อหุ้นเดิมอีกในราคาที่สูงขึ้น เพราะกลัวหุ้นขึ้นแรง
ถือหุ้นที่ขาดทุน ไม่กล้า cut loss
จะเกิดพฤติกรรมอาการอ้างอิงราคา reference point
1.2. Endowment Effect กลัวเสียใจเมื่อเกิดรายการซื้อขาย
ทำให้ตั้งราคาขายหุ้นสูงกว่าความเป็นจริง หรือ ตั้งราคาซื้อหุ้นต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ไม่ได้หุ้นหรือขายหุ้นก็ไม่ได้ เพราะกลัวว่าหากขายหุ้นแล้วหุ้นขึ้นต่อ เป็นอาการจิตหลอนที่เกิดจากความเสียใจจากการขาดทุน
1.3. Cognitive Dissonance อาการไม่ยอมรับความจริง
ไม่ยอมรับว่าหุ้นกำลังจะลง เช่น SET 1650 จุด แต่จะเชื่อว่าหุ้นลงเมื่อลงใกล้จบแล้ว ทำให้ไม่ยอมขายหุ้น จะยอมขายก็ตอนลงใกล้จบแล้ว และจะไม่เชื่อว่าหุ้นขึ้นจนกว่าหุ้นจะขึ้นจบแล้ว SET 1200 จุด ขณะนี้ 1530 จุดค่อยจะมาซื้อหุ้นตอนปลายๆขาขึ้น
1.4. Sunk Cost Effect อาการคิดถึงต้นทุน
จะคิดถึงต้นทุนในอดีตที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อยู่ตลอดเวลา ต้นทุนก็คือการขาดทุนนั่นเอง
1.5. Status Quo Bias อาการเพิกเฉย
มีแนวโน้มเพิกเฉยต่อการลงทุนที่ผิดพลาด ไม่รู้ไม่ดูไม่เห็นไม่ขาดทุนระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ถูกกระตุ้นให้ขายขาดทุน ก็จะเกิดอากากลัวความเสี่ยงในที่สุด
2. พฤติกรรมของนักลงทุนที่นำไปสู่โรคการกลัวความเสี่ยงจนเป็นอาการทางจิต ที่เรียกว่า Risk Aversion Phobia
2.1 Overconfidence มั่นใจในตัวเองเกินไป ทำให้นักลงทุนคิดว่าความรู้ตัวเองมีมากพอ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป
มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป ทำให้ตีข้อมูลผิดพลาด นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในรูปแบบการซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป เกิดภาพลวงของความรู้ โดยเชื่อว่ามีความรู้มากคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้องมากกว่าข้อมูลน้อย โดยแยกข่าวกับข้อมูลออกจากกันไม่ได้
พอร์ตของนักลงทุนที่เชื่อมั่นสูงมักจะมีหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก และไม่กระจายความเสี่ยง
การถือหุ้นอยู่สร้างภาพลวงตาอของการมีอำนาจควบคุมผลตอบแทนของหุ้น
2.2 Trying to break even effect
หลังจากขาดทุนหุ้นมามากแล้ว นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนโดยเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นอีกเพื่อที่จะเอาคืน เช่น ขาดทุนหุ้นพื้นฐานเลยเอาคืนจากหุ้นเก็งกำไรหรือหุ้นปั่น เพราะต้องการทุนคืนโดยเร็ว
2.3 House Money Effect กล้าเสี่ยงบนความสูง
ลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นหลังจากที่ได้กำไรช่วงก่อนหน้า เพราะรู้สึกว่าเงินนั้นเป็นเงินกำไรที่ได้จากคนอื่น ผลคือทำให้ซื้อหุ้นราคาสูงเสี่ยงต่อการติดดอย
พฤติกรรมเหล่านี้จะไปเสริมพฤติกรรม overconfidence เพราะนักลงทุนมั่นใจเกินขนาด ซื้อขายหุ้นบ่อยที่บนความเสี่ยงสูงๆ
เมื่อได้กำไรจากหุ้นซิ่ง ก็เริ่มได้ใจ ไม่ระมัดระวังการลงทุน กล้าเอากำไรมาเล่นกับมันอีก แต่เจ้าเลิกเล่นไปแล้ว สุดท้ายหุ้นลงแรง และในที่สุดก็ต้องขายขาดทุนหรือติดดอยไปอีกนานแสนนาน ทำให้หมดตัว
2.4 Familiarity ลงทุนโดยใช้ความคุ้นเคย
นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่คุ้นเคย กล้าซื้อโดยไม่วิเคราะห์ก่อน กล้าซื้อหุ้นในกลุ่มที่เคยเล่นแม้จะมันจะตกไปแล้วเป็นขาลง หรือสนใจลงทุนหุ้นในประเทศมากกว่าต่างประเทศ
ความคุ้นเคยเชิงพฤติกรรม เช่น ความเคยชินกับตัวหุ้น ความเคยชินกับตลาดหุ้น ความเคยชินกับความผันผวนของหุ้น
2.5 Social Interaction ลงทุนโดยโลก Social นำพาไป
เมื่อเกิดอาการ Risk Aversion Phobia ทำให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ก็จะพยายามหาคนช่วย เช่น ฟังความเห็นของนักวิเคราะห์ มาร์เก็ตติ้ง เพื่อนในเฟส ในไลน์ ที่มีความเห็นตรงกับตัวเอง โดยไม่ได้ดูเลยว่าพวกเขาก็คิดวิเคราะห์ผิดเหมือนกัน แม้จะมีใบอนุญาตในการวิเคราะห์ก็ตาม
สำหรับผม ผมยอมรับว่าตัวเองยังคงเป็นเม่าอยู่เลย คงต้องหาทางรักษาให้หายละครับ แล้วคุณหละเป็นยังไงครับ ตรงใจมั้ยคราวหน้ามาต่ออีกครับ ว่าคุณเป็นใคร คุณจะแก้ไขตัวเองได้หรือไม่ คุณจะกลับมากำไรได้หรือไม่
เครดิต: 26-7-57 Stop Loss Weekend
ไปเรียนรู้จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2 กับคุณนิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการจาก บล.ไอร่า ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการลงทุน QIQP
BirdStockFocus เรียบเรียง