วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ฉวยโอกาสอย่างไร ในเวลาที่ “หุ้นแบงก์” ราคาถูก

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ฉวยโอกาสอย่างไร ในเวลาที่ “หุ้นแบงก์” ราคาถูก

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช
ที่มา:http://clubvi.com/2015/12/15/buffettonbank/
ช่วงนี้หุ้นธนาคารไทยราคาต่ำลงมามาก มาเรียนรู้บทเรียนจากการลงทุนในหุ้นธนาคารของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ กันดีกว่านะครับ
ปกติแล้ว บัฟเฟตต์ไม่นิยมหุ้นธนาคารเอาเสียเลย (เช่นเดียวกับ ดร นิเวศน์ ของเมืองไทย แต่ที่เหมือนกันคือทั้งสองคนต่างก็มีหุ้นแบงก์) ปู่บอกว่า ในเวลาที่สินทรัพย์สูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น 20 เท่า* ซึ่งเป็นค่าปกติของเซคเตอร์แบงก์เวลานั้น หากธนาคารบริหารผิดพลาดเพียงเล็กน้อย จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างรุนแรง
(*การเอาสินทรัพย์เทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น ภาษาอังกฤษเรียกว่า asset to equity ratio เราสามารถคิดเองได้ง่ายๆ เพียงเปิดใน settrade. com แล้วเอามาหารกัน ถ้าค่านี้สูง อาจแปลความ (อย่างหยาบๆ) ได้ว่าบริษัทนี้กู้เงินมามาก โดยปกติแล้ว ธุรกิจอื่นๆ มักดูค่า “หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น” หรือ debt to equity เป็นหลัก แต่เซคเตอร์แบงก์ d/e จะสูงมากด้วยธรรมชาติของธุรกิจ จึงต้องดูค่า a/e ประกอบด้วย)
ทั้งนี้ ความผิดพลาดส่วนใหญ่ของธุรกิจธนาคาร มักเกิดจากการที่ผู้บริหารของแบงก์ต่างๆ ชอบปล่อยกู้ตามๆ กัน แบงก์อื่นปล่อย เราก็ต้องปล่อยบ้าง ไม่ว่ามันจะงี่เง่าและไม่สมควรขนาดไหน พฤติกรรมเหมือนกับหนูเลมมิ่งที่แห่กันไปโดดน้ำตายยังไงยังงั้น (ลองนึกถึงที่ธนาคารใหญ่ๆ ของไทยปล่อยกู้ให้ SSI จะเห็นได้ว่าเหมือนกันมากๆ)
เนื่องจากเรื่องของการบริหารมีความสำคัญยิ่ง ปู่จึงไม่เคยสนใจซื้อหุ้นธนาคารที่ “บริหารไม่ดี” แต่ “ราคาถูก” โดยจะซื้อเฉพาะธนาคารที่ “บริหารดี” ใน “ราคายุติธรรม” ​เท่านั้น
นี่คือเหตุผลของการเข้าซื้อหุ้น เวลส์ ฟาร์โก้ ธนาคารยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม โดยพวกเขายึดมั่นอยู่กับสิ่งที่รู้ และไม่ทำตามแบงก์อื่น
12249651_1057991477586212_3387239749019485759_n.jpg
เบิร์คเชียร์ซื้อหุ้น เวลส์ ฟาร์โก้ ครั้งแรกในปี 1989 แต่แล้ว พอถึงปี 1990 ราคาหุ้นกลับร่วงลงถึง 50% ในเวลาไม่กี่เดือน
ปู่เล่าว่า ตอนนั้น ธนาคารดังๆ ต่างขาดทุนกันเป็นทิวแถว จากการปล่อยกู้โง่ๆ (ปู่ใช้คำว่า foolish) โดยเฉพาะสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่กลายเป็นหนี้เสียมโหฬาร ส่งผลให้ผู้คนขาดความเชื่อมั่น และมองธุรกิจแบงก์ทั้งหมดเป็นลบ จึงพากันขายหุ้นทิ้งแล้วหนีไปหาเซคเตอร์อื่น
แต่สำหรับปู่ นอกจากจะไม่ “ใจเสีย” แล้ว ยังซื้อหุ้นเพิ่มเยอะมาก โดยราคาที่เบิร์คเชียร์เก็บหุ้นเวลส์ ฟาร์โก้ ในปี 1990 อยู่ที่ p/e เพียง “5 เท่า” เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ และเพียง “3 เท่า” เมื่อเทียบกับกำไรก่อนหักภาษี เรียกได้ว่า ถูกจนไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
รวมๆ แล้ว ปู่ใช้เงินไป 290 ล้านเหรียญ ได้หุ้นเวลส์ ฟาร์โก้ ประมาณ 10% โดยขณะนั้น แบงก์ชื่อดังแห่งนี้มีสินทรัพย์รวมถึง 56,000 ล้านเหรียญ และทำกำไรได้สูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น 20%
ปู่บอกว่า หากไปซื้อหุ้นธนาคารเล็กๆ ที่ทำผลงานได้ใกล้เคียงกัน แต่มีสินทรัพย์น้อยกว่าสิบเท่า แกอาจจะได้หุ้นทั้ง 100% แต่ต้องจ่ายแพงกว่านี้มาก และแบงก์พวกนั้นก็ไม่มีผู้บริหารเก่งๆ เหมือนของเวลส์ฟาร์โก้ด้วย
เพื่อประยุกต์กับสถานการณ์ที่หุ้นแบงก์ไทยราคาถูกอยู่เวลานี้ ผมขอสรุปบทเรียนจากปู่เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
หนึ่ง) สำหรับธุรกิจธนาคาร ผลประกอบการย่อมขึ้นอยู่กับการปล่อยกู้ของผู้บริหารเป็นสำคัญ จึงต้องเลือกแบงก์ที่ผู้บริหารเก่งมากๆ ดูประวัติการปล่อยกู้ว่าเขาเคยปล่อยกู้แบบงี่เง่าหรือเปล่า
โดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจแย่แบบเมืองไทยเวลานี้ ความสามารถของผู้บริหารคือจุดชี้เป็นชี้ตายเลยทีเดียว
สอง) ถ้าได้ “ของถูก” ก็ดี
ปู่ซื้อเวลส์ ฟาร์โก้ ที่ p/e “5 เท่า” ลองดูสิว่าของเราที่เล็งไว้เป็นอย่างไร (ตอนนี้หลายๆ แบงก์หลักในไทย p/e แค่ 6-8 เท่า แล้ว)
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเน้นแต่ของถูกแล้วจะดี ต้องยึดข้อแรกเป็นหลักเอาไว้ก่อน
สาม) ธุรกิจธนาคารมีความเสี่ยงอยู่เสมอ เราต้องเอาอัตราส่วนทางการเงินมาดู และวิเคราะห์ความเสี่ยงให้เป็น ดูว่าธนาคารทำกำไรปกติได้เท่าไร ปล่อยกู้อยู่ประมาณไหน และหากเกิดความเสียหายขึ้นมา จะส่งผลสะเทือนแค่ไหน โดยให้มองไปถึง worst-case scenario หาก worst-case ยังรับไหว ก็ไม่มีอะไรต้องกลัว  
ทั้งสามข้อนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ทว่าถ้าทำได้ การลงทุนในหุ้นแบงก์ก็ไม่มีอะไรต้องกลัวอีกต่อไปครับ

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

9 เหตุผล ทำไมต้องอ่านข่าวสารการลงทุน

9 เหตุผล ทำไมต้องอ่านข่าวสารการลงทุน!!

เพราะการอ่านข่าวหุ้นที่ดี ต้องรู้จักวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จ – จริง และมองให้เห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่...  ลองมาดูเหตุผลทั้ง 9 กันค่ะ ^^

1. การอ่านข่าว ช่วยตอบข้อข้องใจหลายอย่างที่เราสงสัยเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ซึ่งเพื่อน หรือคนที่ให้หุ้นเรามานั้นตอบไม่ได้

2. การอ่านข่าว เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะมันสามารถพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร หรือแม้กระทั่งพลิกกำไร เป็นขาดทุนได้เช่นกัน

3. การอ่านข่าว ทำให้เราเห็นถึงโอกาสการเติบโตของบริษัท และความเชื่อที่ว่า...เอฟเฟคของข่าวนั้นรวมอยู่ในราคาหุ้นอยู่แล้วนั้นไม่เป็นความจริง เพราะถ้าอย่างนั้นแล้ว คงจะไม่มีหุ้น 10 เด้ง!!

4. การอ่านข่าว เป็นการใช้เวลาที่ดีที่สุดแบบหนึ่งในการค้นหาหุ้นดีงามมาประดับพอร์ตของเรา

5. การอ่านข่าว เปลี่ยนชีวิตได้ เพราะอย่างน้อยเราจะได้รู้คร่าวๆว่าอะไรควรลงทุน อะไรควรหนี!!  มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อย ที่พอร์ตโตขึ้นอย่างสวยงาม หลังจากได้ติดตามข่าวบางบริษัทฯอย่างใกล้ชิด!

6. การอ่านข่าว ทำให้เราได้รู้โอกาสทองมากกว่าคนขี้เกียจ และที่สำคัญ..โอกาสทองนี้ไม่มีใครแย่งเอาไปได้ (รู้ก่อน ซื้อก่อน ได้หุ้นถูกกว่าเพื่อน.. ^^)

7. การอ่านข่าว เป็นกิจกรรมยามว่างที่คุ้มค่าที่สุดแบบหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมันทำให้เราเจอหุ้นในดวงใจ และทำให้เงินในกระเป๋าเราเพิ่มขึ้น

8. การอ่านข่าว ทำให้เรามีความรู้กว้างไกล มั่นใจมากขึ้นเวลาเคาะซื้อหุ้นแต่ละครั้ง 

9. การอ่านข่าว ทำให้เราเป็นนักลงทุนที่สมบูรณ์ขึ้น....  (ข้อสุดท้ายนี่ใช่เลย)

**ปล. เคยมีคนบอกกับ Admin ว่าเมื่อเราลงทุนมาในระดับนึงแล้ว เราจะพบว่ากราฟเทคนิคนั้นตอบโจทย์ของการลงทุนได้แค่ระดับนึงเท่านั้น เพราะมันเป็นแค่เกณฑ์ซื้อขาย แต่สิ่งที่เค้าต้องค้นหาให้มากขึ้น ก็คือ โอกาสในการลงทุนค่ะ ^^. Credit fb efin

ผลตอบแทนย้อนหลัง บอกอนาคตจริงหรือ (LTF)

https://bearinvestor.wordpress.com/2015/12/04/290/

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

เก็บก่อนซิ่ง แนวการเล่นหุ้นซิ่งของพี่เปี๊ยก แมงเม่าสำราญ (ล่าสุด) เครดิต เพจ เล่นหุ้นแบบคนโง่


การที่เราได้ทุนต่ำจะทำให้เรามีใจหนักแน่นไม่ต้องคอยตระหนกตอนที่เจ้ามือเขย่า แอดมินเป็นคนใจฝ่อมากเคยซื้อตอนที่เขาเก็งกำไรแรงๆจะทนไม่ไหว เลยมาลองใช้สูตรนี้พบว่าชีวิตดีขึ้นมาก คือเก็บก่อนซิ่ง
วิธีนี้เงินคุณต้องเย็น และใจเย็น ต้องนิ่งพอใช้ รอนานได้ อินดี้ ที่สำคัญต้องโลภสุดๆ
.....................
คลิปชุดนี้ผมว่าสอนได้ครบถ้วนมาก ส่วนใครจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับจริตของคุณเองแล้วแหละ
.....................
แนวการเล่นหุ้นซิ่งของพี่เปี๊ยก แมงเม่าสำราญ (ล่าสุด)
.......
+ ในแต่ละปีจะมีฤดูกาลเล่น คือตอนที่มีข่าวลือแล้วหุ้นวิ่งตามข่าว
ติด most active ยกแผง
+ หุ้นที่เล่นปีที่แล้ว คัดออก ส่วนใหญ่ซิ่งปีนี้ รออีก 2 ปี จึงจะวิ่งอีกรอบ
+ หาหุ้นที่นิ่งเป็นเวลานานๆ โดยคัดเอาตัวที่มีวอลุ่มกระตุกเป็นระยะๆ ถ้าราคายกโลว์ขึ้นเรื่อยๆยิ่งน่าสนใจ
+ มีจุดเข้าซื้อ 2 แบบ ตอนเปิด Gap กับ Follow Buy
...........
‪#‎การเข้าซื้อเมื่อเกิด_Breakaway_Gap‬
https://www.youtube.com/watch…
+ จุดเริ่มต้นก่อนซิ่งคือการเปิด gap ในฤดูกาล ถ้าเกิด breakaway gap ให้ตามได้เลย ในฤดูจะมีตัวคิงเปิด gap แบบนี้วิ่งให้ดูไปก่อนเลย เช่นปีที่แล้ว dimet กับ abc
+ การดู gap ต้องเป็นสีเขียวเท่านั้น ถ้าผิดทาง stop loss คือราคาเปิด ให้ขายทิ้งทันที
+ ถ้าริจะเอาจริงกับหุ้นชุด D สมมุติมีเงินหนึ่งล้าน ให้กันเงินแสนหนึ่งมาเล่นเพื่อทดสอบการเปิด gap ว่ามันไปจริงมั้ย ถ้าใช่ค่อยเติมเงินที่เหลือ
........
‪#‎การเข้าซื้อแบบ_Follow_Buy‬
https://www.youtube.com/watch…
+ follow buy จุดเข้าซื้อคือตอนที่ราคาเบรคไฮเดิมสูงสุดในรอบ 6 เดือน โดยให้จุด stop loss ที่เส้น follow buy
+ จุด stop loss ให้กำหนดก่อนที่จะมีการซื้อหุ้น ไม่ใช่จุดยอมแพ้
เป็นจุดรักษากำไร หรือเลวร้ายที่สุดคือรักษาทุนเอาไว้
จุดยอมแพ้คือ cut loss อย่าให้ต้องคัท เพราะนั่นคือความเสียหายมหาศาล
........
‪#‎ข้อแนะนำ‬
- พยายามเก็บกำไรให้มากที่สุด อย่าโลภมาก เพราะจะโดนทุบให้ติดดอย
- คนชนะหุ้น จบเกมต้องได้เงินออกไปในอัตราที่ท่านอยากได้
- ตอนจบรอบจะปิดประตูตีแมว(ทุบให้ติดดอยสูงมากกกอย่าง AJD)
หรือกั้นไม่ให้ออกไปใหนได้(ราคาไม่วิ่ง นิ่งเป็นชาติ)
- เล่นหุ้นชุดนี้ต้องใช้ศาสตร์ชั้นสูง ค่าเฉลี่ย, ฟีโบ, อีเลียตเวฟ ฯลฯ
- เจ้ามือหรือนักเก็งกำไรรายใหญ่ เอาเงิน 500 ล้านบาทมาซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง พวกเขาหวังกำไรจากรายย่อย 5,000 ล้านบาท จึงต้องเติมความหวัง ความโลภ เพื่อดึงเงินจากกระเป๋ารายย่อย โดยที่รายย่อยเต็มใจและใส่เงินทั้งหมดที่มีลงมาในตลาดให้ได้
- ต้องเล่นด้วยจิตใจอันฮึกเหิมและห้าวหาญ รู้จุดตาม จุดแลก จุดยอม let profit run ให้ได้
- จบแล้วจบเลย อย่าเป็นเสือหวน หาหุ้นตัวใหม่เล่น อย่ารักหุ้น มีหุ้นให้เล่นมากมายหลายร้อยตัว หาหุ้นไม่ยาก การเข้าให้ไม่เสีบเปรียบ let profit run ยากกว่า
- เจอหุ้นคิงต้องทนรวยอย่างน้อย 200% ให้ได้
เครดิต เพจ เล่นหุ้นแบบคนโง่

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทรดให้ดีไม่ใช่ทำเงิน

เทรดให้ดีไม่ใช่ทำเงิน
August 26, 2015 uttaya Leave a comment
ตัวอย่างการวางแผน
อาจจะฟังดูเหมือนขัดแย้งแต่อันที่จริงนั้นไม่ขัดแย้ง การพยายามจะทำเงินก้อนโตจากการเทรดจะไม่มีอยู่ในความคิดของเทรดเดอร์มืออาชีพที่ดีอย่างเด็ดขาด เทรดเดอร์มืออาชีพจะไม่คิดว่า “ว้าว วันนี้เป็นวันที่ดี ผมจะซื้อหุ้น X ด้วยเงินทั้งหมดที่มีแล้วพอมันขึ้นสักสองช่องก็ขายทำกำไรได้เงิน 50,000 บาท” นี่เป็นความคิดที่ผิดพลาดสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ ไม่มีอะไรจะทำให้เราสูญเสียสมาธิและสติในการเทรดได้ดีไปกว่าการจดจ้องแต่เงินในพอร์ตที่ลดหรือเพิ่มเพียงอย่างเดียว

ผมแนะนำได้เลยว่าทุกเช้าที่ตื่นมา คุณอย่าพยายามตั้งเป้าที่จะทำเงินก้อนโตให้ได้ในแต่ละวัน อย่าลุกขึ้นมาประกาศให้ พ่อแม่พี่น้องหรือเพื่อน ๆ ฟังว่า “วันนี้ผมจะทำเงินจากหุ้นตัวนี้ใหได้เท่านั้นเท่านี้” เชื่อผมเถอะ แนวคิดแบบนี้แหล่ะจะทำคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ล้มเหลว เพราะการตั้งเป้าหมายเป็นตัวเงินที่พยายามจะทำให้ได้เป็นจำนวนเงินเท่านั้นเท่านี้ สิ่งเหล่านี้แหล่ะ จะกดดันให้คุณเทรดได้ห่วยที่สุดเพราะคุณจะพยายามกดดันตัวเองให้เทรดในจังหวะที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้เงินตามเป้าหมาย

และยิ่งเมื่อคุณไม่สามารถทำเงินได้ จิตสำนึกของคุณจะลงโทษคุณอย่างร้ายกาจ คุณจะรู้สึกแย่ ท้อแท้สิ้นหวัง แล้วก็ยิ่งทำในสิ่งที่ไม่ควรทำเข้าไปอีก ด้วยการพยายามเทรดมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น จนไม่สามารถควบคุมการเทรดของคุณให้สม่ำเสมอได้และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการขาดทุนจำนวนมหาศาลในที่สุด

เทรดให้ดีนั้นทำยังไง
ผมมีเคล็ดลับคนที่อยากเป็นเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้อย่างยั่งยืนมาบอก นั่นก็คือ “คุณต้องอย่าตั้งเป้าหมายที่การทำเงิน แต่ให้ตั้งเป้าหมายไปที่การวางแผนการเทรดที่ดี” การเทรดที่ดีก็คือ การเทรดที่มีการวางแผนมาอย่างรัดกุม มีการกำหนดจุดเข้า จุดออก วิธีตัดขาดทุน รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ และวิธีจำกัดความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างเหมาะสม โดยทำจดบันทึกการเทรดไว้ทุกครั้ง เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์และปรับปรุงให้ดีขึ้นในแต่ละเทรดต่อไป โดยให้ตั้งเป้าหมายไปที่การทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ และคุมความเสี่ยงในการขาดทุนให้เหลือน้อยที่สุด ในทุกวันที่ผมเทรด ผมไม่เคยคิดว่าจะทำเงินได้เท่าไร แต่ผมจะตั้งเป้าไว้ว่าในแต่ละวัน ผมจะขาดทุนไม่เกินเท่าไรมากกว่า และถ้าผมขาดทุนต่อเนื่องหรือมากกว่าที่วางแผนไว้ ผมก็ต้องมาวิเคราะห์แก้ไขข้อผิดพลาดของผมในทุกสิ้นวัน

การขาดทุนก็เป็นเทรดที่ดีได้
เทรดที่ดีไม่ใช่การเทรดที่ได้กำไรเท่านั้น ถ้าคุณขาดทุนตามแผนที่คุณวางไว้ และตัดขาดทุนตามแผนที่วางไว้นั่นคือการเทรดที่ดี แต่ถ้าเราขาดทุนมากกว่าแผนที่เราวางไว้ เราก็ต้องมาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร เพราะจิตใจของเรา หรือวิธีการเทรดของเรามันยังไม่ดีแล้วปรับแก้ที่แผน อย่าไปปรับแก้ระหว่างการเทรด เพราะนั่นจะทำให้คุณไม่พัฒนา เช่น คุณได้ซื้อหุ้นตัวหนึ่งแล้วตั้งใจจะตัดขาดทุนที่ 5% แต่พอหุ้นลงมาเกิน 5% คุณก็เปลี่ยนแผนเป็นซื้อหุ้นเพิ่ม หรือปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไรและหาสาเหตุมารองรับ นั่นคือการเทรดที่เลวร้ายที่สุด เพราะคุณจะไม่พัฒนาการเทรดอะไรเลย แถมหาข้อแก้ตัวในการเทรดให้ตัวเองอีกต่างหาก

ส่งท้าย
เทรดที่ดีนั้นจะไม่วิ่งเข้าหาตลาดด้วยการพยายามทำเงินจากมัน แต่จะปล่อยให้ตลาดวิ่งมาหาเองหรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ รอให้จังหวะเกิดเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดในการเทรดแล้วเทรดไปตามจังหวะของตลาดตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด

เครดิต http://www.uttaya.com/trade-to-trade-well-not-to-make-money/

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แชร์จากประสบการณ์ "อาการของหุ้นที่จะมีข่าวใหญ่ อาการของหุ้นที่เจ้ามือกำลังเก็บหุ้น อาการหุ้นที่จะบวกอย่างต่ำ 20%" pantip

แชร์จากประสบการณ์ "อาการของหุ้นที่จะมีข่าวใหญ่ อาการของหุ้นที่เจ้ามือกำลังเก็บหุ้น อาการหุ้นที่จะบวกอย่างต่ำ 20%"
กระทู้สนทนา
หุ้น
สังเกตจากประสบการณ์ในการนั่งดูหุ้นบางตัว และก็เคยเก็บหุ้นตัวที่สังเกตุ 3 ครั้ง และก็เป็นจริงทุกครั้ง

        1. มีแต่เรื่องร้ายๆ ผลประกอบการแย่ๆ กินเวลาช่วงตกต่ำ 1 เดือน ถึง 1 ปี พอคิดว่าหุ้นตัวนั้นถึงจุดต่ำสุดแล้ว ก็ไปหาสตอรี่ที่จะผลักดันตัวหุ้น และก็เฝ้าสังเกตอาการของจุดต่ำสุด คือ ชินชากับข่าวร้ายๆ ผลประกอบการแย่ๆ พอมีคนขายก็มีคนซื้อฝั่งรับตลอดเรื่อยมา หุ้นทรงๆ ทรุดๆ ทำให้รายย่อยที่ถือเบื่อ  พอกำไรก็จะขายให้จ้าวมือ  หุ้นพวกนี้จะบวกแบบไม่มีโวลุ่ม
        2. เวลามีข่าวร้ายแต่โวลุ่มในการขายกลับใกล้เคียงกับโวลุ่มซื้อ และส่วนใหญ่โวลุ่มซื้อจะเยอะกว่าในรอบเดือนและในรอบวัน เช่น หุ้น AAAAAA มีข่าวร้ายเรื่องผลประกอบการหรือเรื่องอื่นๆ แต่กลับไม่มีโวลุ่มในการขาย แสดงถึงจ้าวมือไม่ปล่อยหุ้นในมือมาสู่กระดาน ง่ายๆ คือ ไม่ทุบหุ้นเพราะกลัวเสียหุ้นในมือ เพราะจ้าวมือไม่มั่นใจว่าเวลาทุบหุ้นแล้วจะได้หุ้นกลับมาหรือไม่ ง่ายๆ คือกลัวคนอื่นๆ เก็บหุ้นในมือตัวเอง ไม่อยากได้หุ้นในราคาต่ำอีกแล้ว เพราะเจ้ามือพอใจในราคาตอนนี้ และตั้งป้อมเก็บในราคาช่วงนี้
        3. ไซด์เวย์เป็นเดือน บางตัวเป็นปี ลากสูงแล้วก็ปล่อยให้ไหลลงเป็นแบบนี้บ่อยครั้ง  เพื่อให้รายย่อยที่กำไรปล่อยขาย แต่พอกดราคาต่ำ กลับต่ำไม่มาก
        4. มีประวัติหรือผู้บริหารหรือกรรมการในบริษัทเป็นทำนองพวกเทรดเดอร์ (หากินกับราคาหุ้น) พวกนี้สุดท้ายเหมือนยาเสพติด ยังไงก็ต้องหาสตอรี่ หาข่าวมาดันราคาหุ้น
        5. พอเก็บหุ้นได้ครบ  ก่อนมีข่าวจะลากไปสูงๆ อาจจะอย่างต่ำ 20 - 100% เพราะอินไซเดอร์เขามี
        6. หุ้นที่ตกต่ำหลายเดือนหรือเป็นปี แน่นอนหุ้นพวกนั้นอยู่ในมือจ้าวมือหมดแล้ว รอแค่เวลาเหมาะสม และเวลานี้คือเวลาที่เหมาะสมกับหุ้นจำพวกนี้ที่สุด  สังเกตุไว้หุ้นตัวเล็ก ตัวกลางในเดือนนี้จะมีบางตัวบวกอย่างต่ำ 20% ตาดีได้ตาร้ายเสีย หมั่นหาหุ้น ทำการบ้านด้วยตัวเอง อย่าเชือนักวิเคราะห์ เพราะหุ้นที่เรารู้หลังคนอื่นคือหุ้นที่เขาเก็บมาเต็มมือแล้ว

        ปฏิบัติตามข้อ 1-6  เก็บหุ้นที่คนอื่นไม่สนใจ ในราคาต่ำ มีสตอรี่ หมั่นสังเกต ทำการบ้านทุกวัน หาหุ้นในวันหยุด ถ้าคุณขยันหาหุ้นทุกวันมันก็ไม่ต่างกับคุณขยันหาเงินค่ะ โป๊ะ โป๊ะ
credit: http://pantip.com/topic/32187991

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการเพิ่มผลตอบแทน โดยที่ไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงในหน้าตัก

นนี้ผมมีเคล็ดลับ ที่ตัวผมเองใช้ในการเทรดอยู่ทุกวัน นำมาฝากทุกท่านกันนะครับ
ซึ่งภาพรวมของเคล็ดลับนี้อยู่ที่ “การจำกัดเงินที่จะเสี่ยงต่อไม้ หรือ Position sizing” ให้ได้เสียก่อน
เช่น คุณมีเงินอยู่ 3,000 เหรียญในพอร์ต ต้องการเสี่ยงต่อไม้ ไม้ละ 60 เหรียญ ซึ่งคิดเป็น 2% ต่อเงินทั้งพอร์ต หากคุณเกิดการขาดทุน ในกรณีที่แย่ที่สุดขึ้นมาจริงๆ คุณก็จะขาดทุนไม่เกินไม้ละ 60 เหรียญ หลักการนี้เรียกว่า Position sizing หรือ การจำกัดเงินที่จะเสี่ยง ต่อไม้
ซึ่งวิธีการคิดคำนวณ ว่าเราจะใช้ Lot Size เท่าไหร่เราถึงจะจำกัดการขาดทุนได้ 2% ต่อเงินทุนที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าเงินในพอร์ตจะมีจำนวนเท่าไหร่ ไม่ว่าจะมีจำนวนมากหรือน้อยแค่ไหน เราจะต้องมีวิธีการคำนวนหา Position sizing ที่เราต้องการได้เสมอ (ซึ่งวิธีการแบบละเอียดมีสอนกันในคลาส)
PositionSizing1
ตอนนี้เรามาดูวิธีการหา Position sizing อย่างง่ายๆกันก่อนก็แล้วกันนะครับ
ตัวอย่าง
พอร์ต 3,000 เหรียญ, บัญชี Standard Lot , โบรกเกอร์ 4 ทศนิยม
คู่เงิน EURUSD ราคาปัจจุบัน 1.2500
จุดซื้อขาย  :  Buy ที่ 1.2500
จุดตัดขาดทุน  :  Stop loss ที่ 1.2400
Position sizing 2% ของทุน 3,000 เหรียญ = 60 เหรียญ ((3000×2)/100)
จากโจทย์ที่เรากำหนดคือ จะทำอย่างไร เมื่อเราเข้าซื้อ Buy 1.2500 แล้วเกิดกรณีที่แย่ที่สุดคือ ราคาวิ่งลงมาชน Stop loss เราจะสามารถจำกัดการขาดทุนที่ 60 เหรียญ
วิธีการ
1.หาระยะห่าง ระหว่าง จุดเข้า และ จุด Stop loss กรณีนี้คือ 1.2500-1.2400 = 100 pip
2.นำเอา Position sizing ที่เรากำหนดไว้ตอนแรก หารด้วย จำนวน pip ที่ขาดทุน กรณีนี้คือ 60/100 = 0.60
3.นำ 0.60 ไปคิดให้เป็น Lot สำหรับบัญชี Standard ของโบรกเกอร์ กรณีนี้คือ 0.60/10=0.06
ถือว่าเป็นอันเสร็จสมบูรณ์เพียงแค่นี้ เราก็จะได้ Lot size ที่จะนำมาเทรดบน MT4 คือ 0.06 (ขยับ pip ละ 60 Cent)
ตรวจคำตอบ
0.06 = pip ละ 60 cent
60 cent x 100 pip ที่ขาดทุน = 60 เหรียญ (สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณอัตโนมัติ เราจะมีสอนกันคลาสครับ)
เพียงเท่านี้ ต่อให้กรณีที่แย่ที่สุดในการเทรดของคุณๆ ก็จะขาดทุนเพียงแค่ 2% ของเงินในพอร์ต และโอกาสที่คุณจะหมดเนื้อ หมดตัวจากการเทรด Forex นั้นแทบจะน้อยมากๆ
Risk-Management
แต่นั่นเป็นเรื่องพื้นฐานสุดๆๆๆๆๆ สำหรับนักเทรด Forex ครับ วันนี้เราจะมีเรื่องที่ Advance กว่านั้นมาฝากกันครับ
จากสูตรวิธีคิดด้านบน ทำให้เราสามารถจำกัดการขาดทุนที่แน่นอนได้ในแต่ละไม้แล้ว เรายังสามารถสร้างโอกาสที่จะเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้นโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มความเสี่ยงอีกเลยแม้แต่นิดเดียวครับ
แต่นั่นคุณจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลการเทรดส่วนตัวของคุณเองเสียก่อนนะครับ!!!
เช่น ทุกครั้งที่คุณเข้าซื้อ คุณจะได้กำไร 200 pip เสมอๆ โดยเฉลี่ย โดยที่การตัดขาดทุนของคุณอยู่ที่ 100 pip เสมอๆเฉลี่ย นั่นคิดเป็น Risk to Reward อยู่ที่ 1:2 (เวลาขาดทุนจะเท่ากับ 1 ส่วน แต่ตอนที่กำไร เราได้ 2 ส่วน เสมอๆโดยเฉลี่ย)
จากนั้นเราเทรดด้วยวิธีการนี้เป็นประจำๆ จนเกิดทักษะและความชำนาญที่มากขึ้น จนคุณรู้สึกได้ว่า Stop loss ที่เราใช้อยู่ 100 pip นั้นมันกว้างจนเกินไป เราน่าจะลดระยะห่างของ SL ให้แคบลงมา ซึ่งมันก็เป็นผลลัพท์ที่น่าอัศจรรย์!!!  ครับ เพราะว่า เมื่อคุณยิ่งลดระยะห่างของ SL มากขึ้นเท่าไหร่ คุณจะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากระยะที่คุณลด SL นั้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะในการมองหาจุดเข้าของคุณเองด้วยนะครับ ว่าสามารถเข้าได้แม่นและใช้เวลาน้อยแค่ไหน ที่ราคาจะวิ่งไปเป็นกำไร จึงไม่สามารถทำกันได้ทุกคนสำหรับมือใหม่ๆครับ)

เรามาดูตัวอย่างครับ
เทรดโดยใช้ MM แบบปกติ
EURUSD Buy ที่ 1.2500, SL ที่ 1.2400, TP ที่ 1.2700
Position sizing 2% ของ 3,000 เหรียญ = 60 เหรียญ
Lot size ที่เทรด =
1.2500-1.2400=100 pip
60 เหรียญ / 100 pip = 0.60
0.60/10= 0.06
ถ้าคุณคิดด้วยสูตรนี้ก่อนที่จะเทรดทุกๆครั้ง เวลาที่คุณชนะ หรือชน TP คุณจะมีผลตอบแทนอยู่ที่ 120 เหรียญ (0.06 x 200 pip)
ทีนี้หากเรายังเทรดแล้วทำกำไรเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ทีนี้ เราสามารถหาจุดเข้าทำกำไรโดยใช้เวลาน้อยลง ราคาวิ่งไปในโซนที่ขาดทุนน้อยมากๆ นั่นเท่ากับว่าคุณสามารถลดระยะห่างของ SL ให้แคบลงได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อ Lot size และผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีก 1 เท่าตัว ทั้งๆที่คุณใช้ความเสี่ยง 2% เท่าเดิม และ TP ที่เฉลี่ย 200 pip เท่าเดิม

ตัวอย่างการเทรดแบบ ลดระยะห่าง Stop loss ให้แคบลง
EURUSD Buy ที่ 1.2500, SL ที่ 1.2450, TP ที่ 1.2700 (สังเกตุที่ SL จะลดลงมาครึ่งนึง 50 pip)
Position sizing 2% ของ 3,000 เหรียญ = 60 เหรียญเท่าเดิม
Lot size ที่เทรด =
1.2500-1.2450=50 pip 
60 เหรียญ / 50 pip = 1.20
1.20/10= 0.12 (ขยับ pip ละ 1 เหรียญ 20 เซ็น)   คือ Lot size ที่เทรด
ถ้าการเทรดคุณมองจุดเข้าได้ดีขึ้น ใช้เวลาน้อยลง วิ่งลงไปขาดทุนน้อยลง แต่คุณยังชน TP เหมือนเดิม (คือ 200 pip) คุณจะมีผลตอบแทนอยู่ที่ 240 เหรียญ ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยที่ไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงเลย
ซึ่งในคลาสเรียนเราก็จะเน้นการมองหาจุดเข้าออเดอร์ ที่จะมีช่วงเวลาที่ติดลบอยู่น้อยมากๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ R:R ให้ดีขึ้นดั่งกรณีที่กล่าวมาข้างต้น (แต่ระยะห่าง SL ต้องไม่แคบเกินไปด้วย เพื่อที่จะได้ทนความผันผวนที่อาจจะต้องเจอบ้างในตลาด)

สรุป
ในแนวทางการเทรดของผมนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกฝนวิธีการหาจุดเข้าซื้อ-ขายที่แม่นยำ เพียงมิติเดียว แต่ยังรวมไปถึงมิติทางด้านเวลาว่า หลังจากที่เข้าซื้อ-ขายแล้ว เวลาที่จะวิ่งขึ้นไปทำกำไร จะได้ต้องใช้เวลาน้อย และโอกาสที่ราคาจะวิ่งกลับมาขาดทุนยาก ถึงจะวิ่งกลับมาขาดทุน ก็จะสามารถตัดขาดทุนได้เร็วขึ้น
ในขณะที่คนทั่วๆไป มักจะมองหาแค่ระบบการเทรดที่แม่นยำเพียงมิติเดียว ไม่สนใจว่ามันเคยวกกลับลงมาขาดทุนแค่ไหน (ทนถือไว้ ขาดทุนยังไง ซักวันมันก็กลับมาได้ T_T) และพอคนพวกนี้ค้นพบระบบใดระบบหนึ่งที่แม่นๆมาซักระบบ คนพวกนี้ก็จะลงเงินเต็มที่ เกินกว่าหน้าตักที่เค้ามีอยู่ (เช่น 20%-50% ของหน้าตักเงินของพวกเค้าเอง) เป็นผลทำให้เวลาการขาดทุน ต้องเจอการขาดทุนหนักๆ ถึงแม้ระบบนั้นจะแม่นยำแค่ไหนก็ตาม
เพราะฉะนั้น สูตรการหา Position sizing คือ Money Management ในรูปแบบหนึ่ง ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ละเลย หรืออาจจะมองว่าน่าเบื่อ หรืออาจจะมองว่าไม่เร้าใจ เพราะมีความเข้าใจว่า “ยิ่งป้องกัน เท่ากับได้กำไรน้อยลง” “ถ้าทนถือได้ยังไงก็กลับมา” ไม่เห็นต้องทำ Position sizing อะไรเลย นั่นเท่ากับการสะสมพฤติกรรมที่จะทำให้คุณหมดเนื้อ หมดตัวอย่างรวดเร็วในตลาด Forex
กลับกันสำหรรับผู้ที่สนใจเรื่อง Money Management และตระหนักถึงความเสี่ยง อย่างจริงจัง นั่นคือการสะสมพฤติกรรมที่เป็นประตูสู่ความสำเร็จในอาชีพเทรดเดอร์ของเค้าเอง
success
“Money Management ที่ดี    จะนำมาซึ่ง Risk to Reward  ที่ดี
Risk : Reward ที่ดี             จะนำมาซึ่งระบบการเทรดที่ชนะตลาด
ระบบการเทรดที่ชนะตลาด             จะนำมาซึ่งความสำเร็จในอาชีพเทรดเดอร์ของคุณ”
เครดิต http://uranianforex.com/2015/05/31/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99/

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อผิดพลาดจากการใช้เครื่องมือทางเทคนิค

“สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” สำนวนไทยที่สอนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท แม้ว่าจะเชี่ยวชาญขนาดไหน หากไม่ระมัดระวังอาจจะพลาดพลั้งได้ ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนระดับเทพ

หากพูดถึงการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อตัดสินใจซื้อขายหุ้นแล้วเกิดความผิดพลาด เช่น เก็งกำไรหุ้นพื้นฐานดีโดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค เนื่องจากระยะสั้นราคาหุ้นจะขึ้นกับอารมณ์ของนักลงทุนในช่วงนั้นๆ

ดังนั้น การเก็งกำไรบนหุ้นพื้นฐานดีจึงเป็นการจำกัดโอกาสของนักลงทุน ทำให้นักเก็งกำไรปิดโอกาสที่จะเก็งกำไรในหุ้นที่เทคนิคแนวโน้มดีมาก แต่ไม่ใช่หุ้นพื้นฐานดีหรือราคาอาจสูงมากกว่ามูลค่าที่แท้จริง

อีกทั้ง การเก็งกำไรบนหุ้นพื้นฐานดี ทำให้นักลงทุนมักจะไร้วินัยในการลงทุน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของนักเก็งกำไรยิ่งกว่าการได้กำไร ก็คือ การปกป้องเงินลงทุนของตัวเองและตัดขาดทุน โดยการตั้งจุดตัดขาดทุนตั้งแต่ก่อนจะเข้าซื้อหุ้น แต่นักเก็งกำไรบนหุ้นพื้นฐานดีมักจะไม่มีการตั้งจุดตัดขาดทุน เพราะคิดว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดีหรืออาจจะมีเงินปันผลด้วย ทำให้ราคาปรับลงมาเท่าไรก็ไม่ยอมขาย ตรงกันข้าม เมื่อเห็นราคาหุ้นปรับลดลง มักจะซื้อเฉลี่ยเพราะคิดว่าราคาหุ้นถูกและทำให้ต้นทุนต่ำ

การเก็งกำไรโดยไม่มีจุดตัดขาดทุน และตลาดเป็นขาลงแล้วยังซื้อเฉลี่ย มีแต่ขาดทุนกับขาดทุน

นอกจากนี้ การใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ซับซ้อนจนเกินไป ไม่เรียบง่ายพอที่จะสร้างเป็นระบบได้ก็เกิดความผิดพลาดได้ เช่น ใช้ Indicator ในการวิเคราะห์จำนวนมากพร้อมกับวิเคราะห์เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อีกหลายเส้น ประกอบกับการใช้ทฤษฎีคลื่น รวมทั้งดูรูปแบบแท่งเทียนและวอลุ่มเข้ามาประกอบด้วย

การทำแบบนี้เสมือนกับว่านักลงทุนมีความรู้ทางเทคนิคเยอะและน่าจะวิเคราะห์ได้ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทำให้เกิดความสับสนและมี Bias ในการตัดสินใจ

อีกทั้งการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเก็งกำไรหุ้นหลายตัวจะไม่เป็นผลดี เพราะการเก็งกำไรควรจะต้องตั้งจุดตัดขาดทุน ดังนั้นการเก็งกำไรหุ้นเยอะจนเกินไป เมื่อเกิดสัญญาณต้องตัดขาดทุนหรือสัญญาณขายทำกำไรในหุ้นหลายตัวพร้อมกัน อาจจะทำได้ไม่ทันเวลา หรือไม่เห็นสัญญาณขายที่เกิดขึ้นในหุ้นบางตัว

อย่าลืมว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรในหุ้นหลายตัว นักลงทุนดูแลพอร์ตได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งจะทำให้กำไรขาดทุนในการลงทุนแต่ละตัวหักล้างกันไป ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่มีประสิทธิภาพ

การเก็งกำไรในหุ้นหลายตัวแสดงว่านักลงทุนมองโอกาสทองไม่เป็น ไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนน่าลงทุน ที่สำคัญเก็งกำไรหุ้นหลายตัวแทบจะไม่มีจุดตัดขาดทุน
แตกต่างไปการใช้เครื่องมือทางเทคนิควิเคราะห์หุ้นเพียงตัวเดียว หรือไม่เกิน 2-3 ตัว หากผิดพลาดก็เพียงตัดขาดทุนในวงเงินจำกัดอย่างมีวินัย และหากราคาหุ้นเป็นไปตามที่วิเคราะห์จะทำให้ได้ผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย

และแน่นอนเครื่องมือทางเทคนิคจะใช้ได้ดีกับหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายหนาแน่น เช่น หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี นักลงทุนนิยมลงทุน ซึ่งหุ้นลักษณะนี้ถ้าใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วโอกาสเพี้ยนมีน้อย แต่ถ้าเป็นหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำๆ การวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจจะใช้ได้ลำบาก

โดยทุกๆ เครื่องมือจะมีความเสี่ยง มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องและความผิดพลาด เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เช่น มีข่าวลือเข้ามาในตลาด อาจจะทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นหรือปรับลงอย่างทันที สำหรับนักลงทุนที่ใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อวิเคราะห์หุ้นและใช้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขาย คงต้องท่องให้ขึ้นใจว่าไม่มีเครื่องมือไหนที่วิเคราะห์หุ้นแล้วถูกต้องแม่นยำสมบูรณ์แบบจนไม่มีคำว่า “ผิดพลาด” และเกิดความล้มเหลวในการลงทุน

ดังนั้น นอกเหนือจากความผิดพลาดของเครื่องไม้ เครื่องมือแล้ว ความเสี่ยงของการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นักลงทุนมักจะละเลยและมักจะโทษเครื่องมือเสมอหากมีความผิดพลาด ก็คือ ผู้ที่นำเครื่องมือทางเทคนิคมาใช้ “ไม่เก่ง” แต่กลับเชื่อมั่นและหลงตัวเองว่า “เก่ง” แล้วก็นำไปใช้ในการลงทุน

พูดง่ายๆ ความเสี่ยงจากการลงทุนที่แก้ไม่ตก คือ การไม่มีวินัย และมีความโลภครอบงำ
- See more at: http://www.moneychannel.co.th/news_detail/3509/#sthash.vfjrtLOS.dpuf
เครดิต http://www.moneychannel.co.th/news_detail/3509/

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Ace Trader: FVS

Ace Trader: FVS: 1. การวัดผลการลงทุน คือ วัดกำไรที่มากที่สุดในเวลาอันสั้นที่สุด การลงทุนทางเทคนิค สามารถทำกำไรได้ 10% ต่อสัปดาห์ 2. วิธีที่จะเรียนวันนี้ ฝีม...

ตอนที่ 12 :เเชร์ความรู้จากการไปสัมนา คุณ ปิยะพงศ์ อินทรปาน

เดี๋ยววันนี้ผมจะเเชร์ไอเดียบางอย่างที่ได้จากการไปสัมนาเกี่ยวกับเรื่องการเทรดค่าเงินมื่อวันเสาร์ให้ฟังนะครับ
1.ธุรกิจทั่วไป ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 3-4 ปีนี่ถือว่าว่าเก่งมาก .....
ถ้า เราเคยไปที่ เวเนเชียนฮ่องกง ซึ่งเป็นคาสิโนขนาดใหญ่มาก ลงทุนไปประมาณ 4billion (คิดเป็นเงินไทยประมาร 120,000 ล้านบาท) ---> กลับใมช้เวลาในการคืนทุนไม่ถึง 1ปี ถามต่อว่ารายได้มาจากไหน
คำตอบ = รายได้มาจากเเต้มต่อของเจ้ามือที่ได้มากจากผู้เล่นการพนันไงล่ะครับ
เเสดงว่าเรื่องราวของ เเต้มต่อ ---> Win-loss / Risk -Reward เราต้องศึกษาให้มาก
เเล้ว เราสามารถจะสร้างรายได้เเบบที่คาสิโนทำได้รึมั้ย ---> ได้ครับ ถ้าเรารู้จักหลักการของคณิตศาสตร์ความน่าจะเป็นดีพอ เเล้วมาเทรดในตลาดที่ถูกกฏหมาย อย่าง ตลาดอนุพันธ์ หรือตลาดค่าเงิน

2.มีการบริหารหน้าตักเเบบที่เรียกว่า
Martingale---> เเบบนี้พวกนักพนันใช้กัน : คือการบริหารหน้าตัก เเบบเมื่อเสียจะเพิ่มเดิมพัน เพิ่มสัญญาเข้าไปอีก การเทรดเเบบนี้จะทำให้เราเจ๊งได้ครับ
ฤAnti Martingale ---> เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเทรดโดยที่มีการเพิ่มน้ำหนักหรือเพิ่ม จำนวนสัญญาต่อเมื่อกำไร ลดขนาดเมื่อขาดทุน

3.Ralph Vice ได้ทำการทดลองการเทรดกับนักศึกษาปริญญาเอก จำนวน 40 คน เเต่ละคนได้เงินจำนวน 1,000$ โดยเทรดเป้นจำนวน 100 ครั้ง โดยมีความน่าจะเป็นในการถูกที่ 60%( เหรียญถ่วงน้ำหนักด้านหัว) โดยเทรดเดอร์จะได้กำไรเท่ากับจำนวนที่เสี่ยง เช่นถ้าเสี่ยง 100$ ถ้าถูกได้ 100$ ผิดเสีย 100$
ผลลัพธ์คือ .........
เเค่ 2 คนเท่านั้นที่กำไร 38 คนขาดทุนหมด
-ทำไมระบบเทรดที่ทำเงินได้ถึง 60% จึงไม่สามารถทำให้เทรดเดอร์ประสบความสำเร็จได้ ????
หรือว่าระบบนั้นล้มเหลว ????
-จริงๆเเล้วระบบนั้นไม่ได้ล้มเหลว หากเเต่เป็นเทรดเดอร์ต่างหากที่ล้มเหลว
-ลองคิดดูว่า ถ้าเริ่มด้วยการเสีย 100$ --> เราคิดว่าเดี๋ยวก็ได้คืน ถ้าเสียอีกก็จะรีบเอาคืน ---> ถ้าเสียอีกทำไง ???
-สิ่งที่ทำให้ยากคือเรื่อง Human psychology
1.Trading is easy จริงๆเเล้วเรื่องการเทรดไม่ยาก มีระบบมากมายที่ล้วนเเต่ทำเงิน
2.Greed : ความโลภเเละความกลัวต่างห่ากที่ทำให้เราทำบางอย่างที่เเตกต่างไปจากที่ควรทำ
3.Trust Financial Advisor : บ่อยครั้งที่เราไปหลงเชื่อว่า ผู้เชี่ยวชาญจะต้องถูกเสมอ
4.Folllow The crowd : บ่อยครั้งที่เราทำตามกระเเสฝูงชนไป

Money Secret : นักพนัน Grorge Vs เทรดเดอร์ Tim
1.นัก พนัน Grorge----> เวลาได้จะเล่นน้อยลง เพราะกลัวว่าเงินที่ได้มานั้นจะหมดไป เเต่เวลาเสียจะโมโหเเละจะพนันด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น
2.เทรดเดอร์ Tim ----> เป็นเทรดเดอร์อาชีพ เวลา tim ได้กำไรจะ bet มากขึ้น เวลาเสียจะ bet น้อยลง (ตามหลัก Anti Martingale)

Parameter ที่เราต้องรู้คือ
1. Probability of winning
2. Reward to risk ratio
จาก 1 - 2 เราสามารถคำนวณค่าที่คาดหวังได้ ---> นำมาสู่การออกเเบบระบบเทรดที่เหมาะกับตัวเรา

เกมส์สำหรับการฝึกเทรด
1.Roulette---> ใช้ฝึกเรื่องการบริหารหน้าตัก นักพนันชั้นเซียนจะสามารถใช้ Money Management โกยกำไรจาก Roulette โดย้รูปแบบการบริหารหน้าตัก
2.Poker-----> ใช้ฝึกจิตวิทยาการลงทุน
ตอนนี้ในต่างประเทศเริ่มดึงนักพนันชั้นเซียน มาสุ่วงการเทรดเดอร์กันมากขึ้น ----> นี่คือเเนวโน้มใหม่ในวงการเทรดครับ
cr:http://www.settrade.com/blog/Tradetory/2011/12/05/1078

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แท่งเทียน+วอลุ่ม



แท่งเทียน+วอลุ่ม***********************
เปรียบเทียบ แท่งราคากับ volume
1.Weak แท่งสั้น volume น้อย
ถ้าแท่งราคาสั้นๆ ราคาเปิดกับราคาปิดใกล้กันมาก แท่งราคาจะสั้น
แท่งราคาที่สั้นๆ และปริมาณซื้อขาย น้อยๆ แสดงว่า ไม่มีกำลัง ไม่มีคนซื้อไม่มีคนขาย
สะท้อนว่า หุ้นไม่น่าสนใจ
2.Fake แท่งยาว volume น้อย
ราคาเปิด ราคาปิด สร้างแท่งราคายาวมาก แต่ volume นิดเดียว
แสดงว่า bit กับ offer แต่ละช่องน้อยมาก คีย์ ซื้อขาย ทีนึง กินช่องหลายช่อย
แสดงว่า โดยปกติ ไม่ค่อยมีใครทำอะไรแต่เกิดการซื้อขายที่ผิดปกติ ภาษา เทรดเดอร์ เรียก จุดพุเรียกแขก
สะท้อนว่า หุ้นไม่น่าสนใจ
3.Squat แท่งสั้น volume มาก
แท่งราคาสั้นๆ แต่ volume เยอะมาก เรียกว่า สะควอท (เจ้าเก็บของ) หรือ (เจ้าปล่อยของ)
แสดงว่า มีคนซื้อ หรือ มีคนขาย โดยที่มีการวางราคา สกัด ราคาไม่ให้ขยับ
เช่่น ถ้าหุ้นทั้งหมด มี 100,000 หุ้น เจ้ามีทั้งหมด 60,000
-เจ้าอยากขาย ราคานี้
วิธีทำคือ ขายทีละ 10,000 เอา 50,000 ไปวางที่ bit ช่อง 3 ช่อง 4 ช่อง 5
ลงยังไง ก็ ไม่ผ่าน ตอนขาย ก็ หย่อนขาย offer 1 แล้วหาอะไร มา ซัพพอร์ด story ให้คนอยากได้ของ
แล้วค่อยๆ ปล่อยของ พอ ปล่อยของครบ ก็ดึง bit ออก เสร็จแล้ว ราคาก็ ลง
-ถ้าเจ้าอยากซื้อเพิ่ม ก็ เอา ไปวางที่ offer ไม่ให้ขึ้น เสร็จแล้ว ก็ เก็บหุ้น พอซื้อ เสร็จ ก็ ดึง offer ออก
หุ้นก็ ขึ้น คนก็ อยากได้ หุ้นก็ ขึ้น
อาการนี้เรียกว่า squat ส่วนใหญ่ จะชอบ squat ก่อน แล้ว ออกข่าวทีหลัง
ถ้าเจอแบบนี้ เจ้าเก็บ เราก็เก็บด้วย
4.Trend แท่งยาว Volume มาก
ส่วนใหญ่ จะเป็นรายย่อยซื้อ
*วันที่ Volume มากและแท่งราคายาว จะกลายเป็น แนวรับ แนวต้าน
*การที่ Volume มาก และราคาวิ่งขึ้นลงอย่างเร็ว แสดงว่า ใกล้จบแล้ว
*ถ้าราคาขึ้นทุกวัน แต่ volume หาย ให้ระวัง ระวังแรงเทขาย
*Volume divergent ---- ใกล้เปลี่ยนทิศ
*Volume peak > 10 เท่า ของวันก่อนหน้า จะจบภายในวันนั้น หรือ 2 วันถัดไป

cr: fb  ออยล์ นันทิยา วงษงาม

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีหาล็อกอินเข้าอีไฟแนนซ์ไทย โดยไม่ผ่านโบรก

วิธีหา user-name & password ของ e-finance thai สำหรับโบรกที่เราใช้งานอยู่

1. ให้เราเข้า e-finance จากเวบโบรกเกอร์ที่เราเปิดบัญชีไว้

2. พอหน้าต่าง e-finance เด้งขึ้นมา ให้กด ESC ทันที ก่อนที่มันจะโหลดหน้าเสร็จ

3. จากนั้น คลิกขวาที่ หน้าต่าง e-finance ที่โหลดไม่เสร็จ 
เลือก view source ดูที่บรรทัดที่ 13 และ 14 จะมี username และ Password ของเราอยู่ จดบันทึกไว้ และเอาไปล็อกอินที่หน้าเวบ อีไฟแนนซ์

cr ;http://www.stock2morrow.com/m/showthread.php?t=11360

รวบรวม Opportunity day ของ Q4'14 ทุกบริษัท

https://www.youtube.com/user/fuckyou28234/videos?flow=grid&view=0&sort=dd&live_view=500

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

ออมหุ้น เคล็ดลับ DCA ข้อที่ 1 ซื้อไม่ดูอนาคต

http://www.panphol.com/2015/03/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-dca-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

MIND MAP การขึ้นของราคาหุ้นเทิร์นอราวด์

MIND MAP การขึ้นของราคาหุ้นเทิร์นอราวด์
(1) สังเกตช่องอนาคตช่องแรกให้ดีๆ เกิดการเดาว่ากำไรสุทธิต่อหุ้น (E) จะโตขึ้น ทำให้ราคาหุ้น (P) วิ่งขึ้นไปที่ 3 เท่าของ BV0
(2) BV0 คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลไตรมาสล่าสุดตั้งหารด้วยจำนวนหุ้น
(3) สังเกตช่องอนาคตช่องสองให้ดีๆ เมื่ออนาคตกลายเป็นปัจจุบัน พบว่า E ที่เดาโตขึ้นจริง E ที่เกิดขึ้นจริงจะไปรวมกับ BV0 ทำให้เกิด BV1 ที่ใหญ่ขึ้น
(4) ราคาหุ้นจะขึ้นจาก P ไปเป็น P1 เพื่อรักษา 3 เท่าของ BV ตลอดเวลา โดย BV ใหม่จะเป็น BV1
(5) จาก (4) ราคา P1 จึงเท่ากับ 3 เท่าคูณ BV1
นี่คือวิธีหาราคาหุ้นเทิร์นอราวด์ที่มี E โตขึ้นเรื่อยๆ

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

หุ้น Turnaround โดยลุงโฉลก

เทคนิคการหาหุ้นซิ่ง ดูหุ้นซิ่ง (หุ้นซิ่งไม่ลิ่งก็ฟลอ) โดย คุณลุงโฉลก สัม...

การ setup scan function บน efinance เพื่อค้นหาหุ้นจาก Model หุ้นซิ่ง ก่...

วิเคราะห์กลุ่มพลังงาน ต้องดูอะไรบ้าง อะไรน่าสนใจ ราคาที่เห็น กับสิ่งที่เป็น มันไปในแนวทางเดียวกันหรือเปล่า



cr:เพจ อ่านงบการเงินไม่ยาก

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรือ่ง โอเวอร์เทรด กับ MM

http://pantip.com/topic/30912303
https://sites.google.com/site/donkeytoni/trading-skills/money-management
ปัญหาการ OVER TRADE จากการไม่คำนวณความเสี่ยงที่รับได้
Credit : FB Take Risk Take control

สำหรับหลายคนที่ใช้ Technical Analysis ในการเทรดหุ้นแล้วเทรดแนว Trend Follower เข้าใจว่าต้องมีจุด stop loss แต่พอถึงจุดที่ต้อง stop loss กลับทำไม่ได้ รู้ทั้งรู้ว่าต้องขายออกไปก่อน แต่ก็ไม่สามารถ stop loss ได้ อาการแบบนี้ชัวร์เลยคืออาการของการ OVER TRADE

อยากจะลองอธิบายความรู้สึกให้ฟังว่าเป็นกันอย่างไร
สมมุติคุณมีเงิน 1,000,000 บาท แล้วคุณซื้อหุ้น SIRI 1 ตัวที่ราคา 5.4 บาท อัดเต็มพอร์ทเลย
จะซื้อหุ้นได้ประมาณ 185,185 หุ้นแต่ตัวคุณรับความเสี่ยงที่จะตัดขาดทุนได้เพียง 5% = 50,000 บาท

สมมุติเรามองราคา NEW LOW ที่ 4.96 เป็นจุด STOPLOSS ณ ราคานี้จะเกิดความเสียหายขาดทุนไป 81,481 บาท เมื่อเกินจุดที่รับจะรับได้ไปแล้ว ก็จะมีอาการภาวนาให้มันเด้ง โอมจงเด้ง จงเด้ง แต่เมื่อมันไม่เด้งคุณก็ stop loss ไม่ลง ทุกคนจะมีจุดนึง ที่สามารถตัดใจโยนเงินทิ้งได้แบบไม่รู้สึกเสียดาย แต่เมื่อมันเลยจุดที่คุณจะตัดใจกับเงินก้อนนี้ได้จะมีความรู้สึกหน่วงหน่วงแต่จ๊ดจี๊ด ลุ้นลุ้นให้ราคากลับมาจุดเดิม เมื่อคุณไม่สามารถตัดใจกับเงินก้อนนี้ที่จะเสียไป เพราะมันมากเกินไปก็จะสะกดจิตตัวเองทันทีว่าไม่ขายไม่ขาดทุน และก็จะไปตามหาเหตุผลมากมายมา SUPPORT ว่ามันจะกลับขึ้นไปได้  ถ้ามันกลับขึ้นมาได้ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ใช่หล่ะเราก็จะขาดทุนลงไปเรื่อยๆ และก็ท่องไว้ว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน ไม่ขายไม่ขาดทุน

ถ้าหากลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ดูกันบ้าง ลองคิดตามดูนะครับ

"ถ้าไม่ขายในวันนี้แล้วราคาไม่กลับมาจุดต้นทุนเรา เราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง"

"แต่เมื่อเราขายออกไปแล้ว ราคามันเด้งกลับมาที่เดิม เราก็ยังมีเงินสดอยู่เราก็สามารถซื้อมันใหม่ได้ถ้ามันไม่ใช่สภาวะตลาดขาลงอย่างที่เราคิด"

อาการ OVER TRADE นี้มีวิธีแก้ไขได้ คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Money Management ด้วยวิธีการหา POSITION SIZING



เราลองมาลองดูตัวอย่างคำนวนกันดูเลย

1 ความเสี่ยงที่เราจะตัดใจหายหุ้นได้ สมมิตว่าเป็น 50,000 บาท
2 ราคาที่เราซื้อคือ 5.4 บาท
3 ราคาที่จุดที่เราจะ STOP LOSS คือ 4.96

P = C / R

C = 50,000

R = 5.4-4.96 = 0.44

P = 50,000 / 0.44 = 113,636

เราจะซือหุ้นที่ 113,636 หุ้น
ใช้เงินซื้อหุ้นไป 613,635 บาท
โดยที่คุมความเสียหายไว้ที่ 50,000 บาท เมื่อเรา stop loss ที่ราคา 4.96

เมื่อราคาหลุด 4.96 เราก็จะสามารถ stop loss ได้แบบไม่เสียดาย อาการ OVER TRADE ก็จะไม่เกิดขึ้น

สิ่งที่ต้องหาเจอ คือจุดที่รับความเสี่ยงได้จริงจริงคือเท่าไหร่ เมื่อเราว่าจุดไหนทคือจุดที่เรารับได้ เราก็จะควบคุมความเสี่ยงได้

อย่าลืม Take Risk Take control

_______________________________________
 Money Management เป็นเรื่องสำคัญมากในการเทรด ระบบเทรดที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายหรือวิธีการเทรดที่ต่างกัน สินทรัพย์ที่ต่างกัน รวมถึง โบรกเกอร์ที่ต่างกัน ล้วนมีผลต่อการปรับแต่ง Money management ให้เหมาะสมทั้งนั้น ระบบหรือวิธีการเทรดที่ดีควรมีการพิจารณาถึง Money management เข้าไปเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบด้วย

    เราสามารถพิจารณาเรืองของ Money management ในเบื้องต้นจาก 2 ประเด็นใหญ่ๆ
  1. Risk management ในการเข้าออกแต่ละออร์เดอร์  ในการเปิด position หรือ เข้าออร์เดอร์แต่ละครั้งนั้น เราควรรู้ว่า ความเสี่ยงของเราอยู่ที่เท่าไร ถ้าเกิดผิดทาง ความเสียหายสูงสุดที่เราจะเสียใน position หรือ ออร์เดอร์นั้นๆ เป็นเท่าไร เราใช้เครืองมืออะไรในการควบคุมว่าความเสียหายจะไม่เกินไปกว่าที่เราคิดหรือกำหนดไว้ เครืองมือหลักๆ ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กัน คือ stop loss เทรดเดอร์บางคนอาจไม่ใช้ stop loss แต่จะหาวิธีการอย่างอื่นมาควบคุมความเสี่ยง เช่น การทำ hedging หรือ การวางเงินเยอะๆ และเลือก position sizing ที่เหมาะสม ว่าพอร์ตของเราสามารถรองรับความเสี่ยงสูงๆได้
  2. Position Sizing เป็นการประเมินจากขนาดพอร์ตของเรา และความเสี่ยงของแต่ละ position หรือออร์เดอร์ที่เราเปิดรวมๆกันทั้งหมด ว่าความเสียหายโดยรวมเป็นเท่าไร ตรงนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจาก Risk management ที่เราใช้อยู่ เราจะสามารถเปิด position หรือ เปิดออร์เดอร์พร้อมๆกันได้มากน้อยเท่าไร ถ้าเราเปิด position หรือ ออร์เดอร์มากเกินกว่าที่เรากำหนดใน Position sizing ของเรา การกระทำนี้เราเรียกว่าการ OVER TRADE ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเกิดการ over trade ได้ง่ายๆ คือ การทำ margin trading หรือ การเทรดในสินทรัพย์ที่มี leverage สูงๆ ยิ่ง leverage สูงเท่าไร เรายิ่งต้องระวังเรื่อง Position sizing ให้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น leverage จึงเสมือนเป็นดาบ 2 คม สำหรับ เทรดเดอร์ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจใน Money management
    เราจะเห็นว่า Money management เป็นเรื่องของการบริหารจัดการเงินหน้าตัก ถ้าเรามองตลาดถูก 100% เรื่องของ Money management คงไม่มีความจำเป็นเลย แต่ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งแน่นอน 100% นั้นไม่มีทางเป็นไปได้ เมื่อนั้น Money management จะเข้ามามีผลทันที ถึงความแม่นยำเรามีถึง 99% แต่ถ้า 1% ที่เราพลาดแล้วเราเสียหายมากกว่า 99% ที่เราได้กำไรมา แบบนี้เรียกว่าไม่มี Money management และแน่นอนว่า พอร์ตของเราคงไม่สามารถเติบโตได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่า ไม่ว่าความแม่นยำเราจะ 99% หรือ 30% Money management จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเท่าๆกันในทั้ง 2 กรณี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่เราต้องวางลงไปในแต่ละกรณีให้เหมาะสมกับวิธีการเทรด สภาพแวดล้อมการเทรด และเป้าหมายการเทรดของเรา

    Money management เป็นเรื่องของการวางแผนการเทรดที่รอบคอบ ที่จะทำให้การเติบโตของพอร์ตของเราเป็นไปด้วยดี เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว ไม่ได้ขึ้นกับว่าจะได้กำไรกี่ครั้ง ได้กำไรเท่าไร เพราะนั้นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เป็นเรื่องของตลาด แต่เราจะมองในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ นั้นก็คือความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อเราเจอการเสียหายขาดทุนต่อเนื่องหลายๆครั้ง (การเกิด draw down ในการเทรด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเจอ ) เราจะบริหารจัดการอย่างไร หรือดีกว่านั้น เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรและทำอย่างไรเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น แล้วให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

    จากประสบการณ์ของผมที่รู้จักเทรดเดอร์หลายๆคน เทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรเพียง 30% ของจำนวนครั้งที่เทรด แต่มี Money management ที่ดี อาจมีพอร์ตที่เติบโตต่อเนื่องดีกว่า เทรดเดอร์ที่ เทรดได้กำไร 70-80% ของจำนวนครั้งที่เทรดก็เป็นได้ เรืองของโอกาสชนะ หรือ Winning Probability ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณากันให้ดีๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเก็งกำไรมาก่อน (อาจเคยลงทุนมาบ้าง) มักจะถูกหลอกได้ง่ายๆ ด้วย Winning Probability สูงๆ หรือไม่ก็ Reward-to-Risk สูงๆ (กำไรสูง ความเสี่ยงต่ำ) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยธรรมชาติของการเก็งกำไรแล้ว 2 อย่างนี้มักอยู่คนละฝั่งกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ จะมองทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เรียกว่า Profit Expectancy เพราะจะให้ทั้งสองอย่างสูงด้วยกันทั้งคู่นั้น เป็นไปได้ยากมาก

เทคนิคการหาหุ้น 10เด้ง!!! โดย คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ ตอนที่2-2

เทคนิคการหาหุ้น 10เด้ง!!! โดย คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ ตอนที่1-2

รวมหนังสือหุ้น ความรู้เรื่องการลงทุน ปออันปัน

 http://hoonebook.blogspot.com/2014/12/Por-Un-Pun.html
เคล็ดวิชาปออันปัน
หนังสือเคล็ดวิชาปออันปัน จำนวน 145 หน้า


คำนำผู้เรียบเรียง

อีบุ้คเล่มนี้ผู้เรียบเรียงจัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายฟรีแก่ผู้ที่สนใจการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า เป็นหนังสือการเก็งกำไรที่ให้ความสำคัญกับกราฟเทคนิคคอลเป็นหลัก เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความแนวทางการเก็งกำไรในหุ้นปั้น(ตั้งใจเขียนแบบนี้)เป็นหลัก

คุณ"HALOGEN"แห่งห้องปออันปัน

คุณ HOLOGEN เป็นนักเก็งกำไรท่านหนึ่ง ที่มีเทคนิคและแนวทางในการเก็งกำไรหุ้นปั้นอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังแบ่งปันความรู้และเทคนิคของตัวเองให้กับนักเก็งกำไรในเวปบอร์ดแห่งหนึ่งอย่างเป็นประจำ ผู้เรียบเรียงได้ขออนุญาตคุณ HALOGEN ก่อนที่จะจัดทำหนังสือเล่มนี้เรียบร้อยแล้ว ขอขอบคุณคุณ HALOGEN ที่ทำให้ผมเป็นคนนึงที่อยู่รอดในตลาดเก็งกำไรแห่งนี้ได้

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ลุงเบน
TAKE PROFIT 
- See more at: http://hoonebook.blogspot.com/2014/12/Por-Un-Pun.html#sthash.nmkDEr93.dpuf

ขาดทุนหุ้นซ้ำๆ แก้ไขอย่างไรดี

ขาดทุนหุ้นซ้ำๆ แก้ไขอย่างไรดี
http://pantip.com/topic/33238769
ผมเองก็ประสพเหตุการณ์ขาดทุนหุ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นเดียวกับทุกคน
ครานี้เงินจะหมดตูดจริงๆ หากไม่เร่งแก้ไข คงได้เดินออกจากตลาดทุนไปเช่นเดียวกับอีกหลายๆคน
นั่งคิด นอนคิด หลายตลบ หลายๆวัน จะแก้ไขยังไงดี คิดแล้วคิดอีก บอกย้ำกับตัวเองว่า ต้องเร่งแก้ไขแล้ว
มาคิดออกกับเรื่องใกล้ตัวนี่แหละว่า ปกติตัวเองก็บันทึกการซื้อขายลงในไฟล์ excel ทุกรายการอยู่แล้ว
เลยมานั่งดูรายการที่บันทึกเองย้อนหลังไป 2-3 เดือนว่า....
ตัวไหนทำไมถึงได้กำไร ตัวไหนถึงขาดทุน แล้วตอนนั้นเราเข้าซื้อ เพราะอะไร และขายออกเพราะอะไร
และมานั่ง list ออกมา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

เริ่มที่กลุ่มแรกที่เข้าซื้อแล้วขาดทุน

สรุปออกมาจะพบว่า ตัวเองมีพฤติกรรมการลงทุนซ้ำๆ ที่ทำให้ขาดทุน ดังนี้ครับ
1.ซื้อแล้วลง แล้วดันซื้อถัวอีก
2.ราคาหล่นมากกว่าที่คิดไว้ แล้วไม่คัท (ไม่มีวินัย)
3.หล่นแล้วไม่คัท
4.เข้าจังหวะถูกต้องแล้ว แต่รีบขาย (ควรขายเมื่อมีสัญญาณขายออกมาเท่านั้น)
5.รีบเข้าแท่งแดงยาวแรก
6.ผิดซ้ำอีก...เข้าแล้วหล่น ยังจะเข้าอีกไม้
7.ซื้อแล้วขึ้น แต่พอหล่นมาต่ำทุน ไม่คัท

ประเด็นหลักของผมคือ ไม่ยอมคัท ทำให้ขาดทุนหนักขึ้น
เมื่อทบทวนพฤติกรรมตัวเองว่า ทำไมไม่ยอมคัท
พบว่า พอมันหล่นเกินกว่าที่เราจะยอมรับขาดทุนได้ ทำให้ไม่กล้าคัท ส่งผลให้ยิ่งถือยิ่งขาดทุนเข้าไปใหญ่

วิธีแก้ไข....เลยมาตั้งกฎกติกาว่า -3 ช่องคัท (ตอนนี้ผมยอมรับขาดทุนได้เท่านี้ แต่ละคนยอมรับขาดทุนได้ไม่เท่ากัน ลองปรับกันเองนะครับ) แล้วก็ต้องทำตามวินัยอย่างเคร่งครัด

แต่ปัญหายังไม่จบ -3 ช่องคัทก็จริง เมื่อหุ้นลบมากกว่า 3 ช่อง (อาจจะ 5-10 ช่อง) แล้วกลับมาดีดคืน เราก็ไม่กล้าตาม เพราะมันเพิ่งจะลงมามาดๆ กลัวขาดทุนอีก ที่ไหนได้วิ่งหน้าตั้งไปเลย

คราวนี้เราก็มาแก้ปัญหาที่จุดเข้า เข้าตรงไหนที่เข้าแล้ว ต้องหล่นไม่เกิน 3 ช่อง(ตามกฎกติกาของเราเองว่า -3 ช่อง คัท)
ก็มาพบว่า ตรงที่เริ่มไม่มีแรงขาย(วอลุ่มลดลงมาก), เริ่มไม่มี new low มา 2-3 วัน เมื่อเห็นอย่างนี้ก็เข้าซิครับ
แล้วก็ รอ ร๊อ รอ อย่างเดียว เมื่อไหร่เจ้าจะลากขึ้น แต่ถ้าเกิดหล่นมี new low อีก ก็กติกาเดิม -3 ช่องคัท
เมื่อผมทำอย่างนี้พบว่า ลดการขาดทุนไปอย่างมาก ถึงโดนก็โดนไม่มาก และส่งผลให้พอร์ตมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้น

กลุ่มหลังที่เข้าซื้อแล้วกำไร




สรุปพบพฤติกรรมซ้ำๆ ในการลงทุนแล้วกำไร ดังนี้
1.เข้าซื้อเมื่อไม่มีแรงขาย ไม่มี new low
2.ย่อมาแล้วหลายวัน ไม่หลุดตรงนี้ซะที
3.ซื้อหุ้นกำลังขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งซื้อ (แต่ถ้าหล่น -3 ช่อง ณ จุดซื้อ ก็คัทตามกฎ)
จุดนี้นี่เองที่ทำแล้วได้กำไร เราก็หมั่นทบทวนตัวเอง ให้ทำพฤติกรรมซ้ำๆได้ เพราะเข้าแล้วได้กำไร

ที่สำคัญคือ ทบทวนจุดผิดพลาดของตนเองไปเรื่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง
เน้นอีกอย่าง อย่าโกหกตัวเอง ไม่งั้นจะแก้ปัญหาไม่สำเร็จ

สุดท้ายนี้ ผมก็มาเขียนกฎการลงทุน แปะติดไว้ข้างจอคอมฯ อ่านทบทวน เช้า-บ่ายก่อนตลาดเปิด เพื่อให้มันฝังรากลึกลงไปในจิตใจ เพื่อที่เราจะได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง หลี่กเลี่ยงจุดพลาดเดิมๆ มีดังนี้ครับ
-อย่าขาดทุน เล่นหุ้นในเกมส์ที่ถนัดของเรา
-เล่นหุ้นที่หมดแรงขายแล้ว+ไม่มี new low 2-3 วัน+เริ่มมีสัญญาณซื้อ
-นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คิดถึงความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากกว่ากำไร
-เข้าจุด save ตั้งเป้าเลยว่า ยอมหลุดกี่ช่องคัท ยอมขาดทุนเท่านั้นพอ
-เวลาจะซื้อหุ้น จุดเข้าต้องได้เปรียบ เป็นด่านแรกที่สำคัญมาก
-ให้ละ โลภ โกรธ หลง เพราะมันจะปิดบังความคิดที่ถูกต้อง

ปล.ผมตามอ่านพันทิปมาตั้งแต่ปลายปี 54-ปัจจุบัน ก็เก็บเกี่ยวความรู้จากหลายๆท่านที่มีเจตนาดีมาโพสความรู้เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนหุ้น ผมขอยกเครดิตให้ทุกๆท่านนะครับ และคราวนี้ผมขออนุญาตแบ่งปันในมุมมองของผมบ้าง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

http://pantip.com/topic/33238769

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำถามที่ คนไม่มีพื้นฐานเรื่องหุ้นอยากถาม แต่อาจจะไม่กล้าถาม เลยไม่ได้เล่นหุ้นสักที

คำถามที่ คนไม่มีพื้นฐานเรื่องหุ้นอยากถาม แต่อาจจะไม่กล้าถาม เลยไม่ได้เล่นหุ้นสักที
กระทู้นี้  จะเป็นกระทู้ที่รวบรวมคำถาม ที่อาจจะฟังดูไร้สาระที่สุด ในมุมมองของคนที่เคยลงทุนในหุ้นมาแล้ว
แต่สำหรับคนที่ไม่เคยมีความรู้ หรือไม่เคยศึกษาเรื่องหุ้นเลย  มีแต่ ได้ยินคนโน้น คนนี้ พูดถึงการเล่นหุ้น
และก็รู้สึกสนใจ  แต่ลึกๆแล้ว รู้ว่า จับต้นชนปลายอะไรไม่ค่อยถูก  จะถามก็ไม่กล้า เพราะรู้สึกว่า ตัวเองไม่รู้พื้นฐานอะไรสักอย่างเกี่ยวกับหุ้นเลย  
ถามมากๆ เข้า ก็กลัวเพื่อนจะหาว่าโง่  ได้แต่เก็บคำถาม งงงวยนั้นไว้คนเดียว  และคิดว่า วันหนึ่งค่อยมาศึกษา

และก็เป็นอย่างที่คิด ผ่านมา 3 ปี  ก็ยังไม่ได้ไปศึกษาสักที  พอได้ยินคนพูดมาที ก็ฮึดอยากศึกษาขึ้นมาที
พอเผลอ ก็เลิกศึกษาอีกละ  ผมเลยลองรวบรวมคำถามที่คิดว่า คนที่ได้ยินคำว่า เล่นหุ้น  ปุ๊ป   จะเกิดคำถามขึ้นในใจ
แต่อาจไม่กล้าถามใครออกไป    “จงแอบอ่าน แอบแชร์  แล้วเราจะหายโง่ไปด้วยกันครับ”

หมายเหตุ :  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอาจจะดิบๆ ไปสักหน่อย  และอาจไม่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 100%
แต่คิดว่า น่าจะง่ายต่อการทำความเข้าใจ  ส่วนเพื่อนๆคนไหนที่เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่แล้ว  สามารถช่วยกันแก้ไข
เพิ่มเติมส่วนที่ตกหล่น หรือส่วนที่ผมพลาดไป  จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

หุ้นคืออะไร ?
ง่ายๆ เลย  หุ้นคือ สิทธิการเป็นเจ้าของ  เพราะฉะนั้น ถ้าเราซื้อหุ้นของบริษัทไหนมา  นั่นคือเราได้เป็นเจ้าของบริษัทนั้นแล้ว
ตามสัดส่วนที่เราซื้อหุ้นมา  ถ้า ซื้อหุ้นมามาก  ก็ได้สิทธิในการเป็นเจ้าของมาก   ถ้าซื้อหุ้นมาน้อย  ก็ได้สิทธิการเป็นเจ้าของน้อย  
และ ถ้าบริษัทที่เราซื้อหุ้นมา  กิจการเจริญรุ่งเรือง เติบโต  เราก็รวยไปด้วย
แต่ถ้ากิจการมันขาดทุน   เราก็เจ๊งไปกับมันด้วย

จะซื้อหุ้น ต้องใช้อะไรซื้อ ?
ต้องใช้เงินในการซื้อหุ้น
ถ้าเราใช้เงินซื้อหุ้นบริษัทใดๆไปเยอะ  ก็เหมือนว่าเราไปร่วมลงทุนกับบริษัทนั้นๆเยอะ
เวลาบริษัทมีกำไร เราก็จะได้ส่วนแบ่งเยอะ  แต่ถ้าเวลาบริษัทขาดทุน  เราก็จะเสียเงินเยอะเช่นกัน

คำว่า เล่นหุ้น คืออะไร?
คำว่า เล่นหุ้น จะหมายถึง การซื้อหุ้น และ  การขายหุ้น   แต่ด้วยการที่หุ้นมันมีหลายตัวให้เลือกซื้อ  มันจะมีการซื้อตัวโน้น ขายตัวนี้
มันเลยให้ความรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังเล่นกับมันอยู่   ตามจริงแล้ว ควรจะใช้คำว่า "การลงทุนในหุ้น"  จะดูถูกต้องกว่า
เพราะการที่เราซื้อหุ้นมา  มันคือการซื้อสิทธิการเป็นเจ้าของของบริษัทภายใต้หุ้นตัวนั้นอยู่ เหมือนเราไปร่วมลงทุนกับบริษัทนั้น
ถ้าวันใด เราขายหุ้นนั้นทิ้ง ก็เหมือนเราเลิกลงทุนกับบริษัทนั้นแล้ว

ตลาดหุ้น คืออะไร ?
ตลาดหุ้น คือ ตลาดที่มีไว้เพื่อซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างๆ   อยากซื้อหุ้นของบริษัทไหน ก็ต้องมาซื้อที่นี่
ซึ่งของประเทศไทย  เรามีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Stock Exchange of Thailand  ย่อสั้นๆว่า SET
เพราะฉะนั้น เวลาดูข่าว เห็นเค้าพูดถึง SET กัน   นั่นคือ พูดถึงตลาดหุ้นของประเทศไทยของเรานั่นเอง

มีตลาดหุ้นไว้ทำไม ?
เรามีตลาดหุ้น ไว้เพื่อระดมทุนให้กับบริษัทใดๆ  เช่น สมมุติเราเปิดร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่ง  วันดีคืนดี อยากจะขยายธุรกิจ
เปิดร้านกาแฟเพิ่มอีกสัก 10 ร้าน  แต่เรามีเงินไม่พอ  ครั้นจะไปกู้ธนาคาร  ธนาคารก็เคี่ยว ถามโน้นถามนี่เยอะ คิดดอกเบี้ยก็แพง
และถ้าเราลงทุนขยายกิจการอยู่คนเดียว  ถ้ามันไปได้ด้วยดี ก็ดีไป รวยคนเดียว ชิวๆ
แต่ถ้ามันเกิดไม่เป็นแบบที่เราคิด เราก็เป็นหนี้หัวโต อ้วกแตกอยู่คนเดียว

ด้วยเหตุนี้ จึงมีตลาดหุ้นขึ้นมา  เพื่อที่เราจะสามารถนำเอาร้านกาแฟของเราไปจดทะเบียนในตลาดหุ้น
และขายหุ้นร้านกาแฟของเรา  ให้คนอื่นที่สนใจในแผนงานของเรา  มาร่วมเป็นเจ้าของกับเรา  
เราก็จะได้เงินจากคนที่มาขอร่วมเป็นเจ้าของ  นำเงินนั้นไปขยายกิจการได้
ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของเราเอง  เพราะมีคนมาร่วมหัวจมท้ายด้วย

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ สีเขียว สีแดง วิ่งๆบนหน้าจอ ทีวีด้านล่างคืออะไร  ?
ตัวอักษรพวกนี้ คือ ชื่อตัวย่อของหุ้น  เช่น หุ้นของ ธนาคารกรุงเทพ  จะมาเขียน เต็มๆ มันก็ยาว
เค้าเลยย่อเป็นชื่อหุ้นว่า  BBL  
จำไว้เลยว่า ภายใต้ตัวอังษรภาษาอังกฤษพวกนี้ มีเบื้องหลังเป็นบริษัท

ส่วนสี เขียวๆ แดงๆ นี่คือ สีที่ทำให้เราดูการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นได้ง่ายขึ้น
สีเขียว คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาแพงขึ้น เมื่อเทียบกับ ราคาเมื่อวาน หรือที่เรียกว่า หุ้นขึ้น
(คนที่ซื้อหุ้นไว้จะดีใจ เหมือนซื้อของมา แล้วเอาไปขายต่อได้แพงขึ้น)
สีแดง คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาถูกลง  เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน  หรือที่เรียกว่า หุ้นลง
(คนที่ซื้อหุ้นไว้จะเสียใจ เหมือนซื้อของมา แล้วเอาไปขายต่อได้ถูกลง)
สีเหลือง คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาเท่าเดิม เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน

เวลาดูข่าว พูดถึง ดัชนีหุ้น 1600 จุด  บวกขึ้นมา 40 จุด หรือบางวันก็บอกว่า ลบไป 20 จุด มันคืออะไร ?
ด้วยการที่หุ้นในตลาดหุ้นมีเยอะมาก 500 กว่าตัว  เค้าก็เลย เอาราคาของแต่ละตัว มาคำนวนรวมกัน เป็นตัวเลขที่ไว้อ้างอิง เรียกว่า ดัชนี  

เช่นเวลาบอกว่า วันนี้ ดัชนี บวก  จะหมายความว่า  หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นมีราคาสูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
ถ้าบอกว่า บวก แล้วตามด้วยตัวเลขเยอะๆ แสดงว่า หุ้นส่วนใหญ่ราคาขึ้นเยอะเมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
แต่ถ้าวันไหน ดัชนี ลบ  คือหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาที่ถูกลง เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
ถ้าบอกว่า ลบ ตามด้วยตัวเลยน้อยๆ ก็แสดงว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดราคาลดลงจากราคาเมื่อวาน แต่ลดลงไม่มากเท่าไหร่

***หมายเหตุ เวลาดัชนี เป็นบวก ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นทุกตัว ราคาขึ้นหมดทุกตัวนะ
มันบอกได้แค่ว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาด มันราคาขึ้น   มันเลยคำนวนดัชนีออกมา แล้วได้เป็นเลขที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับดัชนีของเมื่อวาน
เวลาดัชนี เป็นลบก็เช่นกัน  ไม่ใช่ว่า ราคาหุ้นทุกตัวในตลาดลดลง แค่หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมันลง  มันเลยคำนวนออกมาได้เลขดัชนีที่ลดลง***

ทำไมต้องเล่นหุ้น ?
เล่นหุ้น คือการลงทุนหาดอกผลชนิดหนึ่ง  เหมือนเราต้องการดอกเบี้ยจากการนำเงินไปฝากธนาคาร
เพียงแต่ การฝากธนาคาร ได้ผลตอบแทนน้อย เพราะมันไม่ค่อยเสี่ยง  ถ้าธนาคารไม่เจ๊ง
แต่การเล่นหุ้น  มันคือการไปร่วมลงทุนทำธุรกิจกับบริษัทที่เราไปซื้อหุ้น  ผลตอบแทนที่ได้ สามารถสูงกว่าฝากธนาคารหลายเท่า
แต่ถ้าบริษัทที่เราร่วมลงทุนมันเจ๊ง เราก็มีสิทธิที่จะเสียเงินลงทุนทั้งหมด  พูดง่ายๆ ก็คือ การเล่นหุ้น เป็นการลงทุน ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงมาก
แต่ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน  คนจึงอยากเล่นหุ้น  เพราะคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนสูงๆ และจะ "รวย"

โบรคเกอร์คืออะไร ?
เวลาเราจะซื้อหุ้นตัวใดก็ตาม  ไม่ใช่ว่า จะเอาเงิน เดินไปที่บริษัทนั้นๆ หรือเดินไปที่ตลาดหลักทรัพย์ แล้วซื้อมาเลย
เราต้องมี  ตัวกลางในการซื้อขายหุ้น  นั่นคือบริษัทโบรคเกอร์  โบรคเกอร์คือตัวกลางในการซื้อขายหุ้นให้เรา
และเค้าก็จะได้ ผลตอบแทนจากเรา คือค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย  รวมถึงบริษัทโบรคเกอร์จะทำหน้าที่ออกบทวิเคราะห์หุ้นตัวต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าประกอบการตัดสินใจอีกด้วย

จะเล่นหุ้นด้วยตัวเอง ผ่านอินเตอร์เน็ต  ไม่มีโบรคเกอร์ ได้ไหม  ?
ตอบว่า ไม่ได้  ยังไงก็แล้วแต่ เราต้องเป็นสมาชิกโบรคเกอร์ ถึงจะสามารถซื้อขายหุ้นได้

อีกคำหนึ่งที่ต้องรู้ คือ เจ้าหน้าที่การตลาด หรือ เรียกสั้นๆ ว่า มาร์ คืออะไร ?
อย่าสับสนคำศัพท์   โบรคเกอร์  คือบริษัทตัวกลาง    ส่วนมาร์คือ คน  

มาร์ เป็นลูกจ้างในบริษัทโบรคเกอร์  ที่ทำหน้าที่ ติดต่อกับ นักลงทุน  ตั้งแต่การส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น  จนถึงสิทธิประโยชนต่างๆ จากหุ้นที่เราถืออยู่
ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้นักลงทุนด้วย    ตรงจุดนี้แหละ ที่จะมีนักลงทุนบอกว่า  ต้องการเล่นหุ้นด้วยตนเอง และซื้อขายหุ้นเองผ่านอินเตอร์เน็ต
ไม่ต้องมีมาร์ได้ไหม   ตามจริงแล้ว นักลงทุนทุกคนล้วนมีมาร์ดูแลทั้งสิ้น  เพียงแต่ถ้าเราเล่นเองผ่านอินเตอร์เน็ต มาร์เค้าก็อาจจะไม่ได้โทรมายุ่งวุ่นวายอะไร  แต่ยังไงก็แล้วแต่ จะมีมาร์ดูแลอยู่แล้ว

การซื้อหุ้นมีกี่วิธี ?
มี 2 วิธี  คือ โทรหามาร์ ให้มาช่วยซื้อให้
กับ กดซื้อเองผ่านอินเตอร์เน็ต

*ทั้งสองวิธีนี้ จะได้หุ้นมาครบถ้วนตามที่สั่งเหมือนกัน
เพียงแต่ การโทรให้มาร์ช่วยซื้อให้ จะมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น ที่แพงกว่า การกดซื้อเองผ่านเน็ต
(เพราะมาร์จะต้องแบกรับความเสี่ยง ในกรณีที่คีย์คำสั่งผิด)*

จะเริ่มซื้อหุ้นต้องทำยังไง ?
ขั้นแรก ต้องเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นก่อน โดยต้องไปเปิดกับบริษัทโบรคเกอร์¨ ซึ่งในไทยมีบริษัทโบรคเกอร์มากมายหลายเจ้า
ส่วนใหญ่แล้ว บริการพื้นฐาน และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น จะเหมือนๆกัน

ซึ่งบัญชีสำหรับการซื้อขายหุ้น จะมีอยู่หลักๆ 3 ประเภท  แต่เอาบัญชีที่ง่ายที่สุด  สำหรับมือใหม่
เดินเข้าไปในโบรคเกอร์แล้วบอกเลย  ว่า ขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นแบบ Cash balance  
ใช้เอกสารประกอบการเปิดบัญชีแค่ สำเนาบัตรประชาชน  และสำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชี (book bank) เท่านั้น

บัญชีนี้ จะมีลักษณะคล้ายๆ บัญชีออมทรัพย์เลย   คือพอเปิดเสร็จ จะได้เป็นบัญชีเปล่าๆ ที่สามารถใช้ในการซื้อขายหุ้นมา
และจะมาพร้อมกับ User name และ Password  เพื่อใช้ในการ log in เข้าหน้าเว็ปไซด์ ของโบรคเกอร์ที่เราเปิดบัญชี  
เพื่อเข้าไป  อ่านข่าว ดูกราฟราคา อ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ รวมถึง ส่งคำสั่ง ซื้อขายหุ้น  
ซึ่งถ้าจะเริ่มซื้อหุ้นตอนไหน  เราต้องโอนเงินเข้าไปในบัญชีซื้อขายหุ้นของเราก่อน โอนมาเท่าไหร่ จะซื้อขายหุ้นได้ตามจำนวนนั้น
ถ้าไม่โอนมา มันก็จะเป็นแค่บัญชีเปล่าๆ ที่ไว้ดูข้อมูลหุ้น  แต่ไม่มีตังซื้อหุ้น

พอเรามีการขายหุ้น ได้กำไร หรือขาดทุน  เงินคงเหลือจะค้างอยู่ใน บัญชีหุ้นของเรา
ถ้าอยากจะนำเงินออกมา ก็สามารถกดถอนตังได้ทางหน้าเว็ปไซด์ของโบรคเกอร์
และเงินก็จะวิ่งเข้า สมุดบัญชี ที่ให้ไว้ตอนเปิดบัญชีนั่นเอง

โปรแกรมซื้อขายหุ้น ดูยังไง ?
โปรแกรมซื้อขายหุ้นที่ นิยมใช้กันคือ Streaming สามารถ ใช้ได้ทั้งในมือถือ และ คอมพิวเตอร์
โปรแกรมนี้แหละ ที่จะใช้ในการซื้อขายหุ้น  ตลอดจนดูราคาหุ้นทุกตัวในตลาดหุ้น
รวมถึงการดู ยอดเงินคงเหลือในบัญชีหุ้นของเรา และดูว่ามีหุ้นอะไรอยู่ในพอตเราบ้าง ตอนนี้กำไร และขาดทุนเท่าไหร่

แล้วซื้อหุ้นยังไง ?
อย่างที่บอกไป  วิธีแรก คือการโทรหามาร์  บอกเลขบัญชี และชื่อของตัวเอง
จากนั้น บอกชื่อหุ้น  ราคาหุ้นที่จะซื้อ  จำนวนไป  ก็จะสามารถซื้อหุ้นได้
แต่ถ้าต้องการซื้อหุ้นด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต ก็ต้องเข้าโปรแกรม Streaming
มันจะมีหน้าจอสำหรับซื้อขายหุ้น  ถ้าเราต้องการซื้อหุ้นตัวใด  เราต้องรู้ชื่อหุ้นนั้นๆ  และ จะมันจะมีราคาตลาดบอกไว้ ว่าราคา ตัวละกี่บาท
 
โดยหุ้น เป็นอะไรที่มีสภาพคล่องสูง  จะมีคนเสนอซื้อ และขายอยู่ตลอดเวลา  เราสามารถซื้อได้เลย ตามราคาที่คนเสนอขาย
หรือถ้าเรามีหุ้นอยู่แล้ว  เราก็สามารถขายได้เลย  ตามราคาที่มีคนเสนอซื้อ

ต้องมีเงินเริ่มต้นกี่บาทในการ เปิดพอต  ในการเล่นหุ้น มีขั้นต่ำไหม ?
ไม่มีขั้นต่ำ  มีกี่บาทก็เล่นได้  เพราะหุ้นมีราคาตั้งแต่ หลักสตางค์ ไปจนถึงหลัก พัน
มีเงินน้อย ก็ซื้อได้น้อยตัว  เวลาได้กำไรก็ได้น้อย เวลาขาดทุน ก็ขาดทุนน้อยแค่นั้นเอง

เล่นหุ้น จะได้เงินเมื่อไหร่ ?

การที่เราเข้าซื้อหุ้นมาแล้ว เราจะเหมือนว่าเราได้ ลงทุนในบริษัทนั้นแล้ว  เราจะได้กำไร ก็ต่อเมื่อ
1.  เราขายหุ้นนั้นไป ในราคาที่แพงกว่า ตอนเราซื้อมา  ถ้าขายได้ถูกกว่าที่เราซื้อมา เราก็จะขาดทุน
(ถ้าหุ้นที่เราซื้อมา มีราคาสูงขึ้นกว่า ต้นทุนที่เราซื้อ แต่เรายังไม่ขายหุ้น  มันก็จะเพียงแค่โชว์ว่าเรามีกำไรเท่าไหร่ให้เราเห็นเฉยๆ
จะได้กำไรจริงๆ ก็จะได้เมื่อขายหุ้นออกไปแล้วเท่านั้น)
2. ถ้าเรายังถือหุ้นตัวนั้นอยู่ และบริษัทมีกำไร  ปีนึง ก็จะมีการจ่ายปันผล  เราก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรตรงนี้ ตามตามสัดส่วนหุ้นที่เราถืออยู่

ต่อ>>>>>>>>>
เล่นหุ้น เสี่ยงมั๊ย ?
เล่นหุ้น คือการไปร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ  ซึ่งถ้าเราไม่มีความรู้ในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว ก็จะเรียกว่า เสี่ยงมาก
ไม่ต่างอะไรกับการแทง น้ำเต้าปูปลาเลย   แต่ความเสี่ยงสามารถควบคุมได้
ถ้าเราสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์หุ้นที่เราลงทุนได้

การเล่นหุ้น มีกี่แบบ  และวิเคราะห์หุ้นยังไง ?
การเล่นหุ้นเนี่ย มันแบ่งง่ายๆ เป็น 2 แบบด้วยกัน
1. การเล่นหุ้นแบบ.....ลงทุน
2. การเล่นหุ้นแบบ.....เก็งกำไร
คนเรา พอพูดถึง เรื่องเล่นหุ้น  จะคิดภาพไปเลยว่า ยิ้มต้องอยู่หน้าจอทั้งวัน ดูกราฟ ตัวเลขวิ่งๆ
ซื้อๆ ขายๆ หุ้นอย่างรวดเร็ว   ซึ่งตามจริง ภาพแบบนั้น มันแค่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
มันเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร (แบบที่ 2) ที่เค้าจะอาศัยการขึ้นลง ของราคาหุ้น
สร้างผลกำไร  บางคนก็เก็งกำไรกันระยะสั้น เป็นรายนาที    บ้างก็รายวัน (ซื้อๆ ขายๆ ภายในวัน)
บางคนก็อาจจะ ยาวเป็นเดือนก็มีเหมือนกัน  

ยิ่งเล่นสั้นมากๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก
โดยส่วนตัวผมว่า การเล่นหุ้นสายนี้ ค่อนข้างยาก
เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนราคาของหุ้นในระยะสั้น เป็นเรื่องของข่าวสาร อารมณ์ของตลาด
และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ที่คาดเดาได้ยากมากๆ แต่มือใหม่ที่เข้ามาเล่น กลับคิดว่า วิธีนี้ยิ้มง่าย และรวยเร็ว
ส่งผลให้ขาดทุนในที่สุด

แต่มันก็มีนะ คนที่เค้าประสบความสำเร็วจากการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร
เค้าต้องเป็นคนที่ มีวินัย  ต้องรู้จักการควบคุมความเสี่ยง จะเดิมพันก็ต่อเมื่อเค้ารู้สึกว่าเค้าได้เปรียบ
และในบางจังหวะ ที่เค้าคาดการณ์ผิดพลาด  เค้าจะมีวินัยในการยอมขาดทุน แล้วหนีออกมา
ซึ่งถ้าใครชอบ แนวนี้  ต้องหัดวิเคราะห์ ศึกษา ที่ในวงการเค้าจะเรียกว่า  "ปัจจัยทางเทคนิค"
จะเป็นพวกการศึกการเคลื่อนไหวของ กราฟราคาหุ้น  ความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขายต่างๆ
ลองไปหาหนังสืออ่านดู..........

กราฟๆ ที่เห็นคนเค้าดูกัน คืออะไร แล้วจะดูได้จากที่ไหน ?
มันคือการวิเคราะห์หุ้นแบบหนึ่ง ตามที่บอกไป เรียกว่า การวิเคราะห์หุ้นแบบใช้ปัจจัยทางเทคนิค
ซึ่งเดี๋ยวนี้ลอง google หา  ก็จะมีโปรแกรมกราฟให้ใช้มากมาย  แต่ถ้าชัวร์ๆ ก็เวลาเปิดพอตหุ้นกับโบรคเกอร์
เค้าจะมีบริการโปรแกรมกราฟให้เราใช้อยู่แล้ว

ส่วนการเล่นหุ้นอีกวิธี   เรียกว่า การเล่นหุ้นแบบลงทุน  วิธีนี้ จะเหมือนกับเราเอาเงินไปร่วมลงทุนกับเค้าเลย
แบบร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน ระยะเวลาปานกลาง ถึง ยาวๆ เลย
ถ้าบริษัทมันมีกำไร  เราก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย  ถ้าบริษัทขาดทุน  เราก็เจ๊งไปกับเค้าด้วย
เพราะฉะนั้น  สิ่งที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นในวิธีนี้ คือ ผลกำไรของบริษัทที่เราร่วมลงทุน
ส่งผลให้  การเล่นหุ้นในวิธีนี้ มันจะต้องใช้เวลา  เพราะผลกำไรของบริษัทมันไม่สามารถแสดงออกมาได้
ภายใน หนึ่งวัน หรือ สองวัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลากันเป็นปี  ภาพการเล่นหุ้นด้วยวิธีนี้ ก็จะเปลี่ยนไป
เราไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอ ดูราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงทุกวันอีกต่อไป  ภาพมันจะกลายเป็น
การนั่งวิเคราะห์ธุรกิจ การอ่านงบการเงิน   การวิเคราะห์การเติบโตของบริษัท  
รวมไปถึงการลองไปใช้บริการของบริษัทที่เราลงทุน อะไรทำนองนี้   ซึ่งแนวทางนี้
สามารถศึกษาได้จาก "การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน"
มีหนังสือให้อ่านเช่นกัน.............

มันตอบไม่ได้นะ ว่า วิธีไหนดีกว่ากัน  ไม่ว่าทางไหน มันสามารถประสบความสำเร็จได้เสมอ
และมันก็สามารถหมดตัวได้เหมือนกัน   มันอยู่ที่คุณ จะศึกษา และทุ่มเท กับมันเพียงใด
"ไม่มีรวยเร็ว และอะไรที่ได้มาง่ายๆ ในถนนสายนี้"

นึกคำถามไม่ออกแล้ว  ยังไงมีคำถามก็พิมพ์ทิ้งไว้กันได้เลยครับ
อันไหนตอบได้ ก็จะมาตอบให้ครับ

จบแล้ว

ออกตัวก่อนว่า ผมทำงานในบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง  ผมมีรายได้จากการที่ลูกค้า ซื้อขายหุ้นนี่แหละ
แต่ที่ผมมาเขียนนี่ ก็ไม่ได้จะมาหวังผลประโยชน์อะไร  เพราะมือใหม่ๆ เนี่ย
เทรดหมื่นนึง ผมจะได้ ค่าคอมมิชชั่นประมาณ 2 บาทถ้วนเห็นจะได้   ฮ่าๆๆ ยังไม่คุ้มค่าไฟเลย
แต่ที่มาเขียนก็อยากให้คนที่สนใจ กับคำว่าเล่นหุ้นอยู่  ได้พอมีอะไรพื้นฐานติดไปบ้าง ก่อนจะไปหาหนังสืออะไรอ่าน ต่อยอดต่อไป

ส่วนใครที่ยังไม่เคยศึกษาด้านการลงทุนในหุ้นเลย  แล้วอยู่ดีดี จะมาซื้อหุ้นเลย
ผมก็ขอบอกให้คุณกลับไปศึกษาก่อน หาหนังสืออ่าน
เพราะการเข้ามาเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไร  มักจะกลับออกไปแบบไม่เหลืออะไร

ส่วนใครจะมาขอหุ้นเด็ด หุ้นดี  ผมก็ไม่มีเหมือนกัน
คิดหลักง่ายๆ ถ้าผมมีหุ้นเด็ด  ผมก็เล่นเองอยู่บ้าน ไม่ต้องออกไปทำงานแล้ว  
ที่มีให้ได้ก็น่าจะเป็น แนวคิดการมองตลาดหุ้นไม่ให้เหมือนการพนัน
คอยเตือนให้มีสติ  ส่วนการตัดสินใจทุกอย่าง ก็เป็นของ ทุกคนเองเท่านั้น เพราะเงินใครก็เงินมัน

ผมไม่ได้คาดหวังว่า จะมีคนมา เทรด ซื้อขายหุ้นเยอะๆ แล้วธุรกิจที่ผมอยู่จะรุ่งเรือง
ผมเห็นมาแล้ว พวกมาเทรดเยอะๆ แต่เทรดแบบการพนัน สุดท้ายก็เลิกเล่นไป
ผมอยากให้เมื่อใหม่ทุกคนมีมุมมองที่ดีต่อตลาดหุ้น  เล่นหุ้น แบบลงทุนจริงๆ
และอยู่รอดในถนนสายนี้กับมันไปนานๆ
เพราะถ้าคุณอยู่รอดกับมันได้นานเท่าไหร่  คุณก็จะรวยเท่านั้น

ขอให้ทุกคนโชคดี
ใครมีอะไรเพิ่มเติม ก็ตามมาคุยกันได้ในเฟสบุคนะครับ
https://www.facebook.com/dropdead.kame

ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ
http://pantip.com/topic/33154825