https://sites.google.com/site/donkeytoni/trading-skills/money-management
ปัญหาการ OVER TRADE จากการไม่คำนวณความเสี่ยงที่รับได้
Credit : FB Take Risk Take control

สำหรับหลายคนที่ใช้ Technical Analysis ในการเทรดหุ้นแล้วเทรดแนว Trend Follower เข้าใจว่าต้องมีจุด stop loss แต่พอถึงจุดที่ต้อง stop loss กลับทำไม่ได้ รู้ทั้งรู้ว่าต้องขายออกไปก่อน แต่ก็ไม่สามารถ stop loss ได้ อาการแบบนี้ชัวร์เลยคืออาการของการ OVER TRADE
อยากจะลองอธิบายความรู้สึกให้ฟังว่าเป็นกันอย่างไร
สมมุติคุณมีเงิน 1,000,000 บาท แล้วคุณซื้อหุ้น SIRI 1 ตัวที่ราคา 5.4 บาท อัดเต็มพอร์ทเลย
จะซื้อหุ้นได้ประมาณ 185,185 หุ้นแต่ตัวคุณรับความเสี่ยงที่จะตัดขาดทุนได้เพียง 5% = 50,000 บาท
สมมุติเรามองราคา NEW LOW ที่ 4.96 เป็นจุด STOPLOSS ณ ราคานี้จะเกิดความเสียหายขาดทุนไป 81,481 บาท เมื่อเกินจุดที่รับจะรับได้ไปแล้ว ก็จะมีอาการภาวนาให้มันเด้ง โอมจงเด้ง จงเด้ง แต่เมื่อมันไม่เด้งคุณก็ stop loss ไม่ลง ทุกคนจะมีจุดนึง ที่สามารถตัดใจโยนเงินทิ้งได้แบบไม่รู้สึกเสียดาย แต่เมื่อมันเลยจุดที่คุณจะตัดใจกับเงินก้อนนี้ได้จะมีความรู้สึกหน่วงหน่วงแต่จ๊ดจี๊ด ลุ้นลุ้นให้ราคากลับมาจุดเดิม เมื่อคุณไม่สามารถตัดใจกับเงินก้อนนี้ที่จะเสียไป เพราะมันมากเกินไปก็จะสะกดจิตตัวเองทันทีว่าไม่ขายไม่ขาดทุน และก็จะไปตามหาเหตุผลมากมายมา SUPPORT ว่ามันจะกลับขึ้นไปได้ ถ้ามันกลับขึ้นมาได้ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ใช่หล่ะเราก็จะขาดทุนลงไปเรื่อยๆ และก็ท่องไว้ว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน ไม่ขายไม่ขาดทุน
ถ้าหากลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ดูกันบ้าง ลองคิดตามดูนะครับ
"ถ้าไม่ขายในวันนี้แล้วราคาไม่กลับมาจุดต้นทุนเรา เราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง"
"แต่เมื่อเราขายออกไปแล้ว ราคามันเด้งกลับมาที่เดิม เราก็ยังมีเงินสดอยู่เราก็สามารถซื้อมันใหม่ได้ถ้ามันไม่ใช่สภาวะตลาดขาลงอย่างที่เราคิด"
อาการ OVER TRADE นี้มีวิธีแก้ไขได้ คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Money Management ด้วยวิธีการหา POSITION SIZING

เราลองมาลองดูตัวอย่างคำนวนกันดูเลย
1 ความเสี่ยงที่เราจะตัดใจหายหุ้นได้ สมมิตว่าเป็น 50,000 บาท
2 ราคาที่เราซื้อคือ 5.4 บาท
3 ราคาที่จุดที่เราจะ STOP LOSS คือ 4.96
P = C / R
C = 50,000
R = 5.4-4.96 = 0.44
P = 50,000 / 0.44 = 113,636
เราจะซือหุ้นที่ 113,636 หุ้น
ใช้เงินซื้อหุ้นไป 613,635 บาท
โดยที่คุมความเสียหายไว้ที่ 50,000 บาท เมื่อเรา stop loss ที่ราคา 4.96
เมื่อราคาหลุด 4.96 เราก็จะสามารถ stop loss ได้แบบไม่เสียดาย อาการ OVER TRADE ก็จะไม่เกิดขึ้น
สิ่งที่ต้องหาเจอ คือจุดที่รับความเสี่ยงได้จริงจริงคือเท่าไหร่ เมื่อเราว่าจุดไหนทคือจุดที่เรารับได้ เราก็จะควบคุมความเสี่ยงได้
อย่าลืม Take Risk Take control
_______________________________________
Money Management เป็นเรื่องสำคัญมากในการเทรด ระบบเทรดที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายหรือวิธีการเทรดที่ต่างกัน สินทรัพย์ที่ต่างกัน รวมถึง โบรกเกอร์ที่ต่างกัน ล้วนมีผลต่อการปรับแต่ง Money management ให้เหมาะสมทั้งนั้น ระบบหรือวิธีการเทรดที่ดีควรมีการพิจารณาถึง Money management เข้าไปเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบด้วย
เราสามารถพิจารณาเรืองของ Money management ในเบื้องต้นจาก 2 ประเด็นใหญ่ๆ
- Risk management ในการเข้าออกแต่ละออร์เดอร์ ในการเปิด position หรือ เข้าออร์เดอร์แต่ละครั้งนั้น เราควรรู้ว่า ความเสี่ยงของเราอยู่ที่เท่าไร ถ้าเกิดผิดทาง ความเสียหายสูงสุดที่เราจะเสียใน position หรือ ออร์เดอร์นั้นๆ เป็นเท่าไร เราใช้เครืองมืออะไรในการควบคุมว่าความเสียหายจะไม่เกินไปกว่าที่เราคิดหรือกำหนดไว้ เครืองมือหลักๆ ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กัน คือ stop loss เทรดเดอร์บางคนอาจไม่ใช้ stop loss แต่จะหาวิธีการอย่างอื่นมาควบคุมความเสี่ยง เช่น การทำ hedging หรือ การวางเงินเยอะๆ และเลือก position sizing ที่เหมาะสม ว่าพอร์ตของเราสามารถรองรับความเสี่ยงสูงๆได้
- Position Sizing เป็นการประเมินจากขนาดพอร์ตของเรา และความเสี่ยงของแต่ละ position หรือออร์เดอร์ที่เราเปิดรวมๆกันทั้งหมด ว่าความเสียหายโดยรวมเป็นเท่าไร ตรงนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจาก Risk management ที่เราใช้อยู่ เราจะสามารถเปิด position หรือ เปิดออร์เดอร์พร้อมๆกันได้มากน้อยเท่าไร ถ้าเราเปิด position หรือ ออร์เดอร์มากเกินกว่าที่เรากำหนดใน Position sizing ของเรา การกระทำนี้เราเรียกว่าการ OVER TRADE ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเกิดการ over trade ได้ง่ายๆ คือ การทำ margin trading หรือ การเทรดในสินทรัพย์ที่มี leverage สูงๆ ยิ่ง leverage สูงเท่าไร เรายิ่งต้องระวังเรื่อง Position sizing ให้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น leverage จึงเสมือนเป็นดาบ 2 คม สำหรับ เทรดเดอร์ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจใน Money management
Money management เป็นเรื่องของการวางแผนการเทรดที่รอบคอบ ที่จะทำให้การเติบโตของพอร์ตของเราเป็นไปด้วยดี เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว ไม่ได้ขึ้นกับว่าจะได้กำไรกี่ครั้ง ได้กำไรเท่าไร เพราะนั้นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เป็นเรื่องของตลาด แต่เราจะมองในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ นั้นก็คือความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อเราเจอการเสียหายขาดทุนต่อเนื่องหลายๆครั้ง (การเกิด draw down ในการเทรด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเจอ ) เราจะบริหารจัดการอย่างไร หรือดีกว่านั้น เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรและทำอย่างไรเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น แล้วให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
จากประสบการณ์ของผมที่รู้จักเทรดเดอร์หลายๆคน เทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรเพียง 30% ของจำนวนครั้งที่เทรด แต่มี Money management ที่ดี อาจมีพอร์ตที่เติบโตต่อเนื่องดีกว่า เทรดเดอร์ที่ เทรดได้กำไร 70-80% ของจำนวนครั้งที่เทรดก็เป็นได้ เรืองของโอกาสชนะ หรือ Winning Probability ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณากันให้ดีๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเก็งกำไรมาก่อน (อาจเคยลงทุนมาบ้าง) มักจะถูกหลอกได้ง่ายๆ ด้วย Winning Probability สูงๆ หรือไม่ก็ Reward-to-Risk สูงๆ (กำไรสูง ความเสี่ยงต่ำ) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยธรรมชาติของการเก็งกำไรแล้ว 2 อย่างนี้มักอยู่คนละฝั่งกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ จะมองทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เรียกว่า Profit Expectancy เพราะจะให้ทั้งสองอย่างสูงด้วยกันทั้งคู่นั้น เป็นไปได้ยากมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น