หนังสือ “เล่นหุ้นเป็นระบบ คุณก็รวยได้”
Trading System : The way you can rich from stock market
รายละเอียด
ผู้เขียน : ชัยภัทร เนื่องคำมา (Cway Investment)
สำนักพิมพ์ : Think Beyond
ราคา : 225 บาท
เล่าเรื่องเนื้อหา
ภายในเล่มจะแบ่งออกเป็น 7 บท คือ
บทที่ 1 : บทนำ (Introduction)
บทที่ 2 : การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
บทที่ 3 : ดัชนีราคา (Price Indicator)
บทที่ 4 : การวิเคราะห์ปริมาณซื้อขาย (Volume Analysis)
บทที่ 5 : ระบบเทรด (Trading System)
บทที่ 6 : บริหารจัดการเงิน (Money Management)
บทที่ 7 : จิตวิทยาการลงุทน (Trading Psychology)
iYom reviews
หนังสือการลงทุน แนวเทคนิคอล ผสมผสานกับการเทรดที่เป็นระบบ (Trading Systems) เหยาะด้วยแนวคิดในการลงทุน จึงทำให้หนังสือเล่มนี้มีรสชาติเข้มข้นทีเดียว น่าจะเป็นเพราะว่าผู้เขียน คือ คุณชัยภัทร มีประสบการณ์การเทรดหุ้นโดยใช้ระบบเทรดมาโชกโชน โดยได้นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังผ่าน บล็อก cway-investment ซึ่งผมก็ติดตามอ่านอยู่ ต้องบอกว่า การเทรดเป็นระบบ (Trading Systems) สำหรับผมค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ทีเดียว เพราะตัวเองยังไม่มีประสบการณ์เทรดแบบเทคนิคอลเลยด้วยซ้ำ เล่มนี้จึงต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจพอควรเลยนะเนี่ยะ (เห็นทีว่าครานี้ สงสัยคงต้องไปเปิดพอร์ตลองเจ็บตัวดูก่อน จึงจะเข้าใจได้มากขึ้น) แต่ถึงยังไงก็พอจะสรุปออกมาได้คร่าวๆ ในแต่ละบทตามข้างล่างเลยครับ
บทที่ 1 : บทนำ (Introduction)

– แม้เป็นการลงทุนระยะยาว (หรือ VI) การจับจังหวะก็มีความจำเป็น เพราะการที่เรามีเงินลงทุนน้อย ไม่สามารถหว่านซื้อหุ้นได้มากมาย ดังนั้น การซื้อหุ้นในราคาที่ถูกได้นั้น หมายถึงการใช้เงินอย่างรู้คุณค่า
(ข้อนี้โดนมากะตัว แต่ก่อนเรียกตัวเองว่า VI ซื้อเมื่อไหร่ ดอยเมื่อนั้น พักหลัง หลังจากศึกษาและพอมีวิชาเทคนิคอลติดตัวบ้างเล็กน้อย ก็ลดอาการดอยลงไปได้บ้าง ฮ่าฮ่า…)
– Body ของแท่งเทียนยิ่งยาวยิ่งแสดงถึงการ Bullish (พี่กระทิงมา) มากๆ
– DOJI คือ ช่วงที่ราคาเปิดและราคาปิดมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก
บทที่ 2 : การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
– อย่าพยายามจินตนาการ (คาดหวังว่าราคาหุ้นจะเป็นงี้ เป็นงั้น) เพราะราคาหุ้นไม่เคยหลอกเรา แต่สิ่งที่กำลังหลอกเราคือ จิตใจของเราเอง
บทที่ 3 : ดัชนีราคา (Price Indicator)
– ดัชนีราคา ใช้ค่าราคา ณ ช่วงเวลาต่างๆ มาคำนวณ ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การย้อนกลับมาดูดัชนีราคามันจึงสมเหตุ สมผล
– การใช้ดัชนีราคาแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ
1. กลุ่มของ Trend : ราคาหุ้นมีแนวโน้มชัดเจน เช่น EMA, MACD, Bollinger Band และ Band Indicator
2. กลุ่มของ Oscillator : วัดความแกว่งของราคา เพื่อระบุสัญญาซื้อขายในช่วงราคาแกว่งตัวในกรอบ มีทั้ง RSI, STO และ ADX (DMI)
– กรณีแท่งเทียนลอยสูงกว่า EMA เส้นสั้นมากจะแสดงถึงแรงซื้อที่มาก ราคามีการปรับตัวขึ้นสูงเข้าข่าย Overbought
บทที่ 4 : การวิเคราะห์ปริมาณซื้อขาย (Volume Analysis)
– มีดัชนีเชิงปริมาณสองตัว (Volume Indicators) คือ
1. OBV (On Balance Volume) : ใช้วัดการแกว่งตัว
2. VAD (Variable Accumulation Distribution) : ใช้วัดการแกว่งตัว
– การติดตามกระแสเงินต่างชาติ ควรพิจารณารูปแบบความต่อเนื่องของแรงซื้อ และติดตามดูยอดซื้อขายสะสมมากกว่า
บทที่ 5 : ระบบเทรด (Trading System)
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน หลัก คือ
ส่วนที่ 1 Trade Algorithm : การวิเคราะห์เชิงเทคนิค ที่เราจะนำมาสร้างเป็นเงื่อนไขการเข้าหรือออก (Entry & Exit) ในการเทรดหุ้น ประกอบด้วย
1. Trend Following : ขี่ตามแนวโน้ม
2. Zoning System : จับจังหวะทยอยซื้อหุ้นปันผล
3. Breakout System
4. Swing Trading : ซิ่งไปตามแนวโน้มย่อย
5. Volatility System : เต้นไปตามความผันผวน
ส่วนที่ 2 Money Management : บริหารจัดการเงินของเรา ให้อยู่ในความเสี่ยงที่จำกัด ประกอบไปด้วย
1. Money Management System : กำหนดขนาดเงินลงทุน
2. Risk Reward Ratio : สัดส่วนเกราะทองคำ เพื่อวางแผนการลงทุน
3. Expectancy
4. Cut Loss
– การ Cut Loss เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็รู้ แต่ที่ทำไม่สำเร็จก็เพราะไม่ได้วางแผนเตรียมรับมือมาก่อน
5. Trilling Stop : ป้องกันการขาดทุน หรือ การหยุดการขาดทุนกำไร
6. Port Folio Analysis
7. ป้องกันความเสี่ยงด้วย TFEX
ประเด็นอื่นๆ
– การทำ Money Management เป้าหมายคือ การจำกัดผลกระทบต่อการขาดทุนต่อเนื่อง
ส่วนที่ 3 Trading Psychology : ใจและวินัยในการยึดมั่นต่อระบบที่เราพัฒนา

– ควรจะมีเป้าหมายผลตอบแทน ทั้งระยะสั้น (ไตรมาส แต่ใครจะเป็นรายวัน ก็ลองดูนะครับ) ระยะยาว (ปี) เป้าหมายนั้นจะใช้ เพื่อวางกลยุทธ์บริหารการลงทุน และใช้เปรียบเทียบผลการลงทุนกับผลตอบแทนโดยรวมของตลาดหุ้นด้วย
– หุ้นทุกตัว มันมีรอบที่จะเข้าไปทำกำไร เราจะต้องจับจังหวะให้ถูก เพื่อสามารถเก็งกำไรรายรอบตามทิศทางของ Fund Flow
– อย่าพยายามมองเงิน ที่ได้หรือเสียจากการลงทุน เป็นมูลค่าที่เทียบกับสิ่งของ สินค้า ที่เราต้องการในโลกจริง เพราะมันจะทำให้จิตเราอ่อนแอได้ง่ายๆ ประมาณว่า หัวใจสะออน (แสดงความแก่เลยเรา)
– การเทรดในหนึ่งครั้งจะแพ้หรือชนะ ก็เป็นส่วนหนึ่งในความน่าจะเป็น ไม่มีนัยอะไรให้เราต้องดีใจหรือเสียใจ เพราะถ้าเราคิดใช้ระบบเทรดในการลงทุน ต้องมองภาพรวมในระยะยาว
– “ความกลัว” รู้จักมัน ด้วยระบบการลงทุนและการบริหารจัดการเงินทุน การตั้งการจำกัดการขาดทุน จะทำให้เราแปลงสภาพของความกลัวจากนามธรรม (ประมาณว่า หลอน วิตกจริตไปเรื่อย) ให้เป็นรูปธรรมในเชิงตัวเลขที่จับต้องได้ ซึ่งจะช่วยให้เรารับมือกับความกลัวนั้นได้
– “ความโลภ” รู้จักมัน ด้วยการวางแผนการลงทุน จะได้รู้ผลตอบแทนที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งความพอใจจะเข้าไปสกัด ความโลภ หรือไม่คือ พอได้อย่างเป้าที่ตั้งไว้ ที่เหลือ ก็คือ ความโลภของตรูล้วนๆ
– เคล็ดลับการเล่นหุ้นอยู่ที่ใจ
– เคล็ดลับการเล่นหุ้นอยู่ที่ใจ
– ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ข่าวหรือเหตุการณ์จะออกมาอย่างไร แต่นัยอยู่ที่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากตอบสนองต่อข่าวและเหตุการณ์อย่าวไรมากกว่า
– อ้างอิงถึงรายการ TED Talks ที่คุณ Dan Ariely นักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Economics) พูดในหัวข้อ “การตัดสินใจของเราเป็นของเรา จริงๆ หรือ?” สามารถเลือกซับเป็นภาษาไทยได้ครับ ตรงแถบวีดีโอ ครับ
(ส่วนตัวผมก็อ่านหนังสือของเขา ในเรื่อง พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably Irrational) ชอบเลยละครับ เป็นอีกเล่มที่น่าสนใจนะครับ ไว้มีโอกาสจะมารีวิวอีกหนึ่งเล่ม)
ค่อนข้างยาวทีเดียวครับสำหรับการรีวิว หนังสือ “เล่นหุ้นเป็นระบบคุณก็รวยได้” เพราะมีเนื้อหาที่เข้มข้นมากจากที่บอกไว้ โดยเฉพาะทฤษฏีการบริการหารจัดการเงิน (Money Management) ที่มาใช้ผนวกกับทฤษฎีการเทรดอย่างเป็นระบบ (Trading System) แม้บางครั้ง บางคราจะทำให้มือใหม่อย่างผม งงงวยไปบ้าง แต่ก็ต้องบอกว่าหนังสือเล่มนี้สอนทั้งทฤษฎี + วิธีปฏิบัติ + แนวคิด ได้อย่างแจ่มแจ้งอีกหนึ่งเล่ม ถึงแม้โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะออกไปทางการลงทุนในสายเทคนิค แต่สำหรับผมกลับคิดว่า เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกคนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสายเทคนิค สายมูลค่า (Value Investor) หรือสายแมงเม่า ก็น่าจะมีไว้อ่านเพือเสริมสร้างอาวุธทางปัญญาติดตัวไว้ ให้สามารถเอาตัวรอดจากสมรภูมิตลาดหุ้น ที่ปีนี้อาจจะมีท่ายากให้เราลุ้นกันตลอดก็เป็นได้
- ในขาลงถ้าเรายังไม่เห็นจุดต่ำสุดของรอบ นั่นแปลว่ายังไม่ควรซื้อ ส่วนในขาขึ้นถ้าการขึ้นของราคายังไม่ใช่จุดสูงสุดของรอบ การเข้า Short จะอันตรายมาก
http://iyom-bookviews.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%94.html
หนังสือ “หยง เกิดมาเทรด”
รายละเอียด
ผู้เขียน : ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ (หยง)
สำนักพิมพ์ : stock2morrow
ราคา : 225 บาท
เล่าเรื่องเนื้อหา
ทั้งหมดมีอยู่ 40 บท ซึ่งเท่าที่ดูน่าะมีแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ส่วนที่ 1 : แนวคิด จิตวิทยาในการลงทุน จะอยู่ในบทที่ 1-17
ส่วนที่ 2 : Technical Analysis + ผลิตภัณฑ์ / สินค้า Trade จะอยู่ในบทที่ 18-27
ส่วนที่ 3 : Money Management บทที่ 28-40
iYom reviews
เป็นหนังสือแนวการลงทุน หรือพูดง่ายๆ ก็เล่นหุ้น น่านแหล่ะ ที่เน้นไปทางสายการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ Technical Analysis แต่ “หยง เกิดมาเทรด” เล่มนี้ จะไม่ได้เน้นหนักทางด้านทฤษฎีเท่าไหร่ จะเน้นไปที่หลักการคิดของคุณหยง ที่เป็นนักลงทุนมืออาชีพ และนำประสบการณ์การเทรดมาเล่าให้ฟังกัน ส่วนตัวผมไม่ค่อยมีความรู้ทางสายเทคนิคมากเท่าไหร่ เพิ่งมาอ่านและศึกษาอย่างจริงจังขึ้นมาบ้างก็ตั้งแต่ปีที่แล้วเอง จุดเริ่มต้นก็มาจากอ่านหนังสือของ คุณภาววิทย์ กลิ่นประทุม ในชุดแกะรอยหยักสมอง นั่นแหล่ะครับ (ไว้มีเวลาจะ review เพิ่มครับ) ซึ่งทั้งสองเล่มมาจากสำนักเดียวกันนั่นเอง ที่จริงเล่มนี้ได้มาเพราะคนแนะนำ แกมบังคับให้อ่านด้วยครับ ศึกษามาก็ปีกว่าตอนนี้ก็ยังไม่กล้าลงไปเจ็บจริงสักเท่าไหร่ ได้แต่มองกราฟ ขีดเส้นโน้นบ้าง ตีเส้นนี้บ้าง เอ่อมันก็มันส์ดี เพราะเรายังไม่ได้เอาเงินไปลงนั่นเอง เอาแต่สมมติฐานไปทดสอบก็แค่นั้น ส่วนตัวเห็นมีบางจุด บางคำ น่าสนใจ ขอจดไว้ทบทวนภายหลัง (เผื่อวันหน้าเจ็บจริง หรือใครกำลังเจ็บอยู่ จะได้ช่วยเตือนสติ สำรวจตัวเองกันดูสักครา)
ส่วนที่ 1 : แนวคิด จิตวิทยาในการลงทุน
– เวลาตลาดเปิด /ปิด
TOCOM เช้า เปิด 7.00-11.00 น. , บ่าย เปิด 13.00
ฮั่งเส็งฟิวเจอร์ เช้า เปิด 8.00-11.30 น., บ่าย เปิด 13.30
AFET เช้า 10.00-15.45 น.
SET เช้า 10.00-12.30 น., บ่าย เปิด 14.30-17.00 น.
TFEX เช้า 9.45-12.30 น., บ่าย เปิด 14.30-16.45 น
(มีใครรู้รายละเอียดเพิ่มเติมหรือผิดถูกอะไรก็แจ้งได้นะครับ)
– ทุกครั้งที่ซื้อหรือขายต้องประเมินว่า นิ่คือ โอกาสที่เสี่ยงต่ำสุด ไม่ใช่จุดที่ทำกำไรมากสุด
– เราจะบริหารความโลภอย่างไร ? การแยกเงินออกจากตัวเองบริหารอยู่ใน Port นั่นเอง
– การลงทุนมีคุณสมบัติสองข้อ
1. เงินลงทุนจะต้องเพิ่มมูลค่า ตลอดๆ (ทุนโต)
2. จะต้องสร้างกระแสเงินสดให้เราได้อย่างต่อเนื่อง โดยเราอาจได้รับปันผลหรือแบ่งขายทำกำไรออกมาเป็นส่วนๆ
– หัวใจของการสร้างความมั่งคั่งนั้น ไม่ใช่การหาเงินก้อนใหญุ่สุดๆ แต่คุณต้องสร้างสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดให้มันโตที่สุด
– ถามตัวเองว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ จะทำให้ใกล้เป้าหมายมากขึ้นหรือไกลออกไป เราต้องโฟกัสเฉพาะเรื่องที่ทำให้เราถึงเป้าหมายเท่านั้น แม้กระทั่งสุดท้ายแล้วไปไม่ถึง เราก็ยังสามารถมองกลับมาเป็นประสบการณ์ได้
– คำว่า “หน้าที่” มันต่างจากคำกว่างานหรือ job เพราะถ้าเป็นงาน คุณอาจจะไม่อยากทำก็ได้ แต่สำหรับหน้าที่ม มันคือ “ความผูกพัน”
– วิธีการที่จะวางผังพอร์ตให้กับสินค้าฟิวเจอร์ ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน ให้สมดุลนั้น อย่าไปดูที่มูลค่าหรือจำนวนสัญญา ดูที่เงินตัวเองว่าเทรดได้เท่าไหร่ เอาเินเราเป็นที่ตั้งนะ
– วิธีการหนึ่งที่จะทำให้่เราค้นพบตัวเองได้เร็วที่สุด คือ การเขียนบันทึกหรือไดอารี่เกี่ยวกับการเทรดในแต่ละวัน (Trade log)
ส่วนที่ 2 : การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)

– ธรรมชาติของหุ้นจะมาเป็นรอบๆ สามแบบ คือ Uptrend, Downtrend และ Sideway รอบขาขึ้น ขึ้นแล้วทำ Higher low สูงขึ้น นั่นแปลว่าจะขึ้นต่อ รอบขาลงคือ การลงมาสร้างฐานต่ำลงเรื่อยๆ
– การดูจะเริ่มจาก Momentum แล้วก็มาดู Trend แล้วถึงมาดู Price แต่การสอนจะตรงกันข้าม Price > Trend > Momentum
– ไส้เทียนที่เป็นไส้ยาวๆ ข้างล่าง แปลว่า มันมีการเทขายหุ้นออกมา แต่ด้วยเหตุผลบางประการนักลงทุนอาจมองว่า ราคาที่ขายลงมาถูกเกิ๊น จึงต้องไล่ซื้อกลับ (รูป หน้า 147)
– หุ้นนั้นใช้เทคนิควิเคราะห์ก็ดี แต่ต้องมีปัจจัยพื้นฐานมาเสริมด้วย
– สรุป แนวคิดการวิเคราะห์ทางเทคนิค
ส่วนที่ 3 : Money Management
– ถ้าเราเริ่มต้นเทรดที่ 80% ของพอร์ต ครั้งต่อไปก็ต้องเทดรที่ 80% เท่าเดิม ไม่ต่ำกว่านี้ และเมื่อพอร์ตมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะต้องไม่เทรดลดลงมาเช่นกัน
– โครงสร้างการเงินจะต้องมีสามส่วน (รวย + มั่งคั่ง + มั่งคง)
1. ลงทุนเน้นการเก็งกำไร : เงินมันจะโตเร็ว
2. ลงทุนเน้นสร้างกระแสเงินสด : ใช้เพื่อเลี้ยงเราในอนาคต โดยที่มันต้องมากกว่าค่าใช้จ่ายประจำของเรา และเป็นจุดสร้างความมั่งคั่ง
3. เงินออม : เพื่อใช้เป็นฐานของชีวิต เผื่อกรณีฉุกเฉิน โดยแบ่งมาจากข้อ 1 และ 2 นั่นเอง
– มีเงินมากเท่าไหร่ มันไม่ใช่คำตอบ จริงๆ แล้ว จะต้องมีกระแสเงินสดเข้ามามากกว่าค่าใช้จ่ายต่างหาก
– เทรดเดอร์ ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่มีเทคนิคการเทรดขั้นเทพ แต่เป็นคนบริหารพอร์ตำด้ดีเยี่ยมต่างหาก
– องค์ประกอบสามอย่างที่เทรดเดอร์ควรต้องมี คือ จิตวิทยา + การบริหารเงิน + เทคนิคอล
– เมื่อเราบริหารพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ พอร์ตไม่ควรสวิงขึ้นลงมากกว่า 10%
– “Don’t let it get expensive” ชีวิตเราถือว่าเป็นสิ่งที่ราคาแพงที่สุดแล้ว ถ้าเราทำอะไรถึงเป้าหมายแล้วยังไม่เลิก มันก็เหมือนกับการผูกมัดทางใจ เหมือนกับสร้างห้องกักขังทางใจไว้กับความฝันที่วาดไว้ เราจะ “Move on” ไม่ได้
จบท้ายด้วย “ความศรัทธาของคนเราเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะตอนที่ทุกอย่างราบรื่น ไม่ว่าอะไรคุณก็จะไม่บ่น แต่พอเจอปัญหาที่แทบไม่เห็นทางออก ตอนนั้นมันต้องอาศัย ศรัทธา ความเชื่อ ความรักในสิ่งที่ทำ ซึ่งจะนำพาเราก้าวผ่านอุปสรรคไปได้”
สำหรับ “หยง เกิดมาเทรด” เล่มนี้ อย่างที่บอก ไม่ค่อยเน้นทฤษฏีเกี่ยวกับเทคนิคอล เป็นเรื่องของแนวความคิด+จิตวิทยาล้วนๆ ส่วนตัวแล้วชอบในเรื่องของข้อคิดเกี่ยวกับความมั่งคั่ง เพราะก่อนหน้านี้ มักจะได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ว่าอยากมีอิสรภาพทางการเงิน จนตัวเองมาเข้าสู่ตลาดหุ้น เพราะอยากมีอิสรภาพทางการเงินกะเค้าบ้าง นึกอยู่ในใจแล้วมันเป็นอย่างไรหว่า ซึ่งคุณหยงได้ อธิบายเกี่ยวกับการที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินได้นั้น มันจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง (อ่านได้จากข้างบน) เอาเป็นว่าเล่มนี้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการขยายกรอบความคิด ปรับทัศนคติ ตัวเองในการลงทุน แต่ถ้าต้องการทฤษฎี นับคลื่น อีกา หัว ไหล่ ตูด (เอ้ย ไม่ใช่) หวั่นใจว่า คงต้องผ่านไปเล่มอื่นแทนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น