ไหนบอกว่าถือยาวแล้วจะได้กำไรไง ไม่เห็นจริง”
การลงทุนไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว งั้นเราลองสำรวจตัวเองกันหน่อยว่า ถือยาวแล้วไม่กำไรเพราะอะไร?
1. ถือยาว แต่ถือผิดตัว – กรณีนี้ เกิดจากการทำการบ้านมาไม่มากพอ หรือใช้วิธีซื้อตามผีบอก โดยขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองลงทุนในเชิงลึก กรณีนี้ สินทรัพย์ตัวที่คุณถือ อาจจะดีในช่วงที่คุณได้ยินมา แต่เวลาผ่านไป ปัจจัยพื้นฐานอาจเปลี่ยน และผีตนนั้นก็ลืมบอกคุณไป (หรือบางทีเขาก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน – -”) อาการนี้ แก้ได้ด้วยการ เชื่อการวิเคราะห์ของตัวเอง อย่าไปเชื่อคนอื่น ถึงแม้เขาจะเก่งจริงๆก็ตาม
2. ถือยาว แต่ลืมดูแล – กรณีนี้ แถวบ้านเรียกว่า ซื้อทิ้ง … กะทิ้งไว้ให้ลูกให้หลายในอนาคตไปเลย สาเหตุเกิดจาก พอได้ยินคำกูรูปั๊บ ก็นำไปปฏิบัติทันที เลยลืมตรวจสอบประวัติกูรูทั้งหลายว่า กลยุทธ์หลักของเขาคือถือยาว แต่จริงๆแล้ว มีการขายทำกำไร เมื่อปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป
กูรูทั้งหลาย เขาก็มีการลดพอร์ต มีการเพิ่มพอร์ตตาม Cycle ของธุรกิจ และมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายตัว ไม่ใช่มีเงินเท่าไหร่ ก็ตั้งหน้าตั้งแต่ใส่เงินเข้าไปลูกเดียว อาการนี้ แก้ไขได้ด้วยการอ่านแนวคิดของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จให้ละเอียดขึ้นซักเล็กน้อย และปรับความเข้าใจเสียใหม่ว่า ถือยาว ก็ยังต้องดูแล ยังต้องเทคแคร์ (เหมือนจีบสาว ไม่ดูแลให้ดี เขาจะหนีไปหาคนอื่นนะเออ)
3. ถือยาว แต่ใส่เงินน้อยไป – กรณีนี้ ผมเห็นจากพอร์ตการลงทุนของหลายๆคนเลย นั้นก็คือ จะลงทุนยาว แต่ไม่กล้าใส่เงินเข้าไปเยอะ ทั้งๆที่ทำการบ้านมาดี แต่พอแบ่งพอร์ตมาลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง หลังกำไรระยะสั้น กลับกระโดดลงไปเล่นอย่างผีพนัน เป็นงี้ก็เหนื่อย
อาการนี้ แก้ได้ด้วยการ จัดการบริหารเงิน แบ่งพอร์ตการลงทุนตั้งแต่แรกเริ่ม (Money Management และ Asset Allocation) คุณต้องบอกตัวเองไว้ตั้งแต่แรกเลยว่า พอร์ตการลงทุนระยะยาว ควรจะมีเกิน 50% ขึ้นไป ในขณะที่การเก็งกำไรระยะสั้น ไม่ควรมีสัดส่วนที่มากเกินไป (<20%) เพราะจะทำให้ผลตอบแทนคาดหวังในระยะยาวของคุณเบี่ยงเบนไปจากการลงทุนที่มีโอกาสผิดพลาดสูง
สุดท้ายแล้ว อันไหนแก้ได้ก็แก้ แต่คุณจะไม่ต้องแก้ที่วิธีการเลย ถ้าคุณวางใจเรื่องจากลงทุนให้เป็น
นั้นก็คือ หากคุณเข้าลงทุนด้วยความโลภนำหน้า… แรงขับจากจิตใจ ความอยากได้ อยากมี จะเข้ามาบดบังเหตุและผลที่คุณควรใช้ประกอบการตัดสินใจทันที
เพราะฉะนั้น ก่อนจะตัดสินใจลงทุนอะไร ถามตัวเองก่อนครับว่า เราลงทุนด้วยความอยากในใจ หรือ เราลงทุนด้วยความรู้ที่เรามี
Cr.....Mr.Messenger..... join group
2. ถือยาว แต่ลืมดูแล – กรณีนี้ แถวบ้านเรียกว่า ซื้อทิ้ง … กะทิ้งไว้ให้ลูกให้หลายในอนาคตไปเลย สาเหตุเกิดจาก พอได้ยินคำกูรูปั๊บ ก็นำไปปฏิบัติทันที เลยลืมตรวจสอบประวัติกูรูทั้งหลายว่า กลยุทธ์หลักของเขาคือถือยาว แต่จริงๆแล้ว มีการขายทำกำไร เมื่อปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไป
กูรูทั้งหลาย เขาก็มีการลดพอร์ต มีการเพิ่มพอร์ตตาม Cycle ของธุรกิจ และมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายตัว ไม่ใช่มีเงินเท่าไหร่ ก็ตั้งหน้าตั้งแต่ใส่เงินเข้าไปลูกเดียว อาการนี้ แก้ไขได้ด้วยการอ่านแนวคิดของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จให้ละเอียดขึ้นซักเล็กน้อย และปรับความเข้าใจเสียใหม่ว่า ถือยาว ก็ยังต้องดูแล ยังต้องเทคแคร์ (เหมือนจีบสาว ไม่ดูแลให้ดี เขาจะหนีไปหาคนอื่นนะเออ)
3. ถือยาว แต่ใส่เงินน้อยไป – กรณีนี้ ผมเห็นจากพอร์ตการลงทุนของหลายๆคนเลย นั้นก็คือ จะลงทุนยาว แต่ไม่กล้าใส่เงินเข้าไปเยอะ ทั้งๆที่ทำการบ้านมาดี แต่พอแบ่งพอร์ตมาลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง หลังกำไรระยะสั้น กลับกระโดดลงไปเล่นอย่างผีพนัน เป็นงี้ก็เหนื่อย
อาการนี้ แก้ได้ด้วยการ จัดการบริหารเงิน แบ่งพอร์ตการลงทุนตั้งแต่แรกเริ่ม (Money Management และ Asset Allocation) คุณต้องบอกตัวเองไว้ตั้งแต่แรกเลยว่า พอร์ตการลงทุนระยะยาว ควรจะมีเกิน 50% ขึ้นไป ในขณะที่การเก็งกำไรระยะสั้น ไม่ควรมีสัดส่วนที่มากเกินไป (<20%) เพราะจะทำให้ผลตอบแทนคาดหวังในระยะยาวของคุณเบี่ยงเบนไปจากการลงทุนที่มีโอกาสผิดพลาดสูง
สุดท้ายแล้ว อันไหนแก้ได้ก็แก้ แต่คุณจะไม่ต้องแก้ที่วิธีการเลย ถ้าคุณวางใจเรื่องจากลงทุนให้เป็น
นั้นก็คือ หากคุณเข้าลงทุนด้วยความโลภนำหน้า… แรงขับจากจิตใจ ความอยากได้ อยากมี จะเข้ามาบดบังเหตุและผลที่คุณควรใช้ประกอบการตัดสินใจทันที
เพราะฉะนั้น ก่อนจะตัดสินใจลงทุนอะไร ถามตัวเองก่อนครับว่า เราลงทุนด้วยความอยากในใจ หรือ เราลงทุนด้วยความรู้ที่เรามี
Cr.....Mr.Messenger..... join group
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น