วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลงทุนในหุ้นต้องดูข้อมูลอะไร?

ลงทุนในหุ้นต้องดูข้อมูลอะไร?


แหล่งข้อมูลสำคัญมีอะไรบ้าง?

ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูที่แม่ ดูหุ้นให้แน่
ต้องดูแหล่งข้อมูลอะไรบ้าง?มาเรียนรู้กัน
ได้ที่นี่...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ?

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหุ้นจะช่วยในการ
 ตัดสินใจได้ก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนรู้จักวิเคราะห์
 ให้เป็นและนำมาใช้ประโยชน์ให้ตรงจุด
 มาเรียนลัดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 อย่างง่าย ๆ ได้ที่นี่..อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 วิเคราะห์ความคุ้มค่าราคาหุ้น

ข้อมูลที่ช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ว่า
หุ้นที่เราสนใจลงทุนมีความคุ้มค่า
หรือไม่มีมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่าใด
คือ P/E Ratio (Price/Earnings ratio)...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


หน้าเนื้อหาในแต่ล่ะส่วน

แหล่งข้อมูลสำคัญมีอะไรบ้าง?

     เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบริษัท แผนการดำเนินงานในอนาคต ความเสี่ยงที่อาจกระทบผลการดำเนินงานของบริษัท และราคาหุ้น
ในอนาคต ฐานะการเงินของบริษัทและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จำนวนหุ้นที่ออกเสนอขาย วิธีการคำนวณ ราคาขาย
และความสมเหตุสมผล วิธีการจัดสรรหุ้น โดยข้อมูลหนังสือชี้ชวนสามารถหาได้จากเว็บไซต์บริษัทผู้ออกเสนอขายเว็บไซต์ ก.ล.ต.
หรือขอหนังสือชี้ชวนได้จากตัวแทนจำหน่ายหุ้นนั้น ๆ

      หนังสือชี้ชวน จะต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทุกปี (แบบแสดงรายการข้อมูล
ประจำปีหรือแบบ 56-1) โดยบริษัทจะเปิดเผยข้อมูลการประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงาน
ในรอบปีที่ผ่านมา บอกความคืบหน้าในการดำเนินงาน โครงการต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์สำคัญ
ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่อาจส่งผลกระทบต่อผล การดำเนินการของบริษัท แบบ 56-1 นี้ ดูได้ที่
เว็บไซต์ ก.ล.ต.  



 แบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหาร ซึ่งจะช่วยให้รู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของการถือหลักทรัพย์
ของผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี เนื่องจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเป็นผู้ใกล้ชิดกับข้อมูลภายในของบริษัทจึงต้องเปิดเผยข้อมูลนี้แก่ผู้ลงทุน
เพื่อความเป็นธรรม

 แบบรายงานการได้มาและจำหน่ายหลักทรัพย์ ของผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ 
(warrant) แตะหรือข้ามทุก ๆ 5% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดต้องรายงานต่อ ก.ล.ต. และ ก.ล.ต. จะเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน
รายอื่น ๆ สามารถติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจมีผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงอำนาจในการบริหารบริษัท

 ข้อมูลผลประกอบการและงบการเงินของบริษัท ซึ่งปรากฏในรายงานประจำปีที่บริษัทจะส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกราย

 รายงานประจำปีของบริษัท 

     ที่สำคัญอย่าลืมเกาะติดข่าวสารต่าง ๆ ในแวดวงตลาดทุนทั้งหลาย รวมทั้งข่าวบริษัทจดทะเบียนที่ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นข่าว ก.ล.ต.
ข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น และอย่าลืมบริโภคข่าวสารเหล่านั้นให้รอบคอบ ไม่หลงเชื่อข่าวลือ
หรือกระแสข่าวต่าง ๆ ที่อาจไม่มีมูลความจริง


วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ?

 
 
 ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท เช่น บริษัทผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างไร อยู่ในอันดับใดในอุตสาหกรรมนั้น เทียบกับ
คู่แข่งแล้วเป็นอย่างไร วงจรธุรกิจอยู่ในขาขึ้นหรือลง โครงสร้างผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ เป็นต้น  
 
 แผนการลงทุนในอนาคต ต้องดูว่าบริษัทมีแนวทางที่วางไว้อย่างไร มีความสามารถทำกำไรในอนาคตหรือโอกาสในการเติบโต
ทางธุรกิจเป็นเช่นไร มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ 
 
 ปัจจัยความเสี่ยงต่อผลการดำเนินการของบริษัท ที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้นได้ เช่น ปัจจัยทางการเมือง ที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อบริษัท หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและนโยบายการบริหารใหม่ และในกรณีที่บริษัทมีสัมปทานกับภาครัฐ หรือปัจจัยด้าน
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
 ในกรณีที่บริษัทต้องสั่งวัตถุดิบหลักจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น  
 
 ข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งจะบอกถึงการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทที่เราไปลงทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อดูว่ามี
การผ่องถ่ายผลประโยชน์ระหว่างกัน หรือสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นหรือไม่ เช่น ซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าราคาประเมินเพื่อขยาย
โรงงานจากผู้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมการบริษัท หรือการขายเครื่องจักรขนาดใหญ่ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดแก่ผู้มีความเกี่ยวข้องกับ
ผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นต้น  
 
 งบการเงิน ช่วยให้รู้ถึงสุขภาพทางการเงินและความมั่นคงของบริษัท
 
 
 ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท (profitability ratio) ดูได้จากอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit ratio)
อัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE : return on equity)  เป็นต้น  
 
 
 สภาพคล่องของบริษัท (liquidity ratio) ดูได้จากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (current ratio) อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว 
(quick ratio) เป็นต้น 
 
 
 ประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท (activity ratio) ดูจากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (inventory turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (receivable turnover)  เป็นต้น 
 
 
 ภาระหนี้สินของบริษัท (leverage ratio) ดูจากอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (debt to asset ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
(debt to equity ratio) เป็นต้น 
 
 


เคราะห์ความคุ้มค่าราคาหุ้น

 
P/E ratio เป็นอัตราส่วนของราคาต่อกำไรสุทธิ  
 
 
แต่ก่อนที่จะหาค่า P/E ได้ เราก็ต้องรู้  
 
 
     “กำไรต่อหุ้น (earnings per share: EPS)” ในบรรทัดสุดท้ายในงบกำไรขาดทุนโดยคำนวณจาก กำไรสุทธิรอบ 12 เดือนล่าสุดตั้ง หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อได้
ค่า EPS แล้วก็นำไปหาค่า P/E จากการนำ ราคาตลาดของหุ้น (market price) ตั้ง
หารด้วยค่า EPS จะได้ผลลัพธ์มีหน่วยเป็น “เท่า” ทั้งนี้ ค่า P/E ratio ที่ได้จะหมายความว่า
เราเต็มใจที่จะจ่ายเงินลงทุนในหุ้นนั้นเพื่อแลกกับผลตอบแทนในอนาคต (กำไร
และเงินปันผล) ที่จำนวนเท่าใด เช่น หากเราตัดสินใจซื้อหุ้นที่มี P/E ratio สูง ก็แสดงว่า 
เรายินดีที่จ่ายเงินลงทุนซื้อหุ้นที่ราคาสูง เพราะมั่นใจในความแข็งแกร่งของบริษัท และเชื่อมั่นว่า
บริษัทจะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
 
     ในขณะที่บางคนก็เลือกที่จะซื้อหุ้นที่มี P/E ratio ต่ำ เพราะคิดว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาถูกหรือราคาอาจยังคงต่ำอยู่ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ 
เช่น หุ้นนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่ค่า P/E สูงหรือต่ำ ไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดว่าหุ้นนั้นถูกหรือแพง 
ดีหรือไม่ดีเสียทีเดียว
 ผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อมูลอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ผลประกอบการที่ผ่านมาของบริษัท โครงการในอนาคต
น่าลงทุนเพียงใด เป็นต้น
 
     นอกจากนี้ ข้อมูลที่ช่วยวิเคราะห์ความคุ้มค่าราคาหุ้นอีกตัวที่นิยมใช้กัน ก็คือ อัตราส่วนราคาต่อผลกำไรสุทธิต่อหุ้นเทียบกับ
การเพิ่มของผลกำไร (PEG ratio : price/earnings to growth)
 
เพื่อลดข้อจำกัดของการใช้ค่า EPS ซึ่งเป็นข้อมูลในอดีต
ไปคำนวณในการหาค่า P/E ratio นักวิเคราะห์จะใช้ ค่า PEG ratio ซึ่งเป็นการนำอัตราการเติบโตของผลกำไรสุทธิในอนาคต
มาคำนวณแทน โดยใช้ P/E ratio ตั้ง หารด้วยร้อยละของการเจริญเติบโตของกำไรสุทธิต่อปี (annual earnings growth 
rate)
 ของบริษัท
 
     อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิในอนาคตก็เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ต้องอาศัยการดูค่า EPS 
ย้อนหลังหลาย ๆ ปี เพื่อประมาณการณ์ค่า earnings growth ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีอัตราเพิ่ม
ของ EPS ที่สม่ำเสมอด้วย จึงจะหาค่า PEG ratio ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงได้  
 
     สิ่งสำคัญที่ขอฝากไว้ คือ การวิเคราะห์ตัวเลขหรืออัตราส่วนต่าง ๆ เป็นเพียงการใช้ข้อมูลตัวเลขของบริษัทที่เกิดขึ้นในอดีต
มาวิเคราะห์หรือคาดการณ์สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
 
ดังนั้น การเลือกใช้ข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นเพียง
เครื่องมือช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น ไม่ใช่หลักประกันผลตอบแทนแต่อย่างใด
 และอัตราส่วนทางการเงินก็มีอยู่
หลายตัว ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องใช้ทุกตัวในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจลงทุน แต่อาจเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ แต่หากไม่มี
เวลามานั่งหาตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะหากติดตามข่าวสาร บทวิเคราะห์ต่าง ๆ ก็จะพบว่ามักมีนักวิเคราะห์
มาช่วยบอกตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้เสมอ ๆ รวมถึงยังมีภาวะอุตสาหกรรมข้อมูลบริษัท งบการเงิน แนวโน้มและแผนงาน
ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น