กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ (สำหรับลูกหนี้)
คำถาม 1
อ.ครับ คือผมสงสัยเรื่องการปรับโครงสร้างนี้ ผมอ่านเจอข่าวของบริษัทหนึ่ง บอกว่าเตรียมบันทึกกำไรพิเศษจากการปรับโครงสร้างหนี้ ผมสงสัยว่าทำไมปรับโครงสร้างหนี้ถึงมีกำไรได้หรอครับ
อ.ครับ คือผมสงสัยเรื่องการปรับโครงสร้างนี้ ผมอ่านเจอข่าวของบริษัทหนึ่ง บอกว่าเตรียมบันทึกกำไรพิเศษจากการปรับโครงสร้างหนี้ ผมสงสัยว่าทำไมปรับโครงสร้างหนี้ถึงมีกำไรได้หรอครับ
คำตอบ 1
เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ เหมือนอยู่ๆ ได้รายได้มาฟรีๆ กำไรจึงเกิดขึ้นค่ะ
เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ เหมือนอยู่ๆ ได้รายได้มาฟรีๆ กำไรจึงเกิดขึ้นค่ะ
คำถาม 2
ขอบคุนครับ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าลดหนี้ให้ ส่วนหนี้ที่ต้องชำระระยะยาวน่าจะลดไม่ใช่หรอครับ ทำไมกลายเป็นบันทึกกำไร งง ครับ
ขอบคุนครับ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าลดหนี้ให้ ส่วนหนี้ที่ต้องชำระระยะยาวน่าจะลดไม่ใช่หรอครับ ทำไมกลายเป็นบันทึกกำไร งง ครับ
คำตอบ 2
ถูกค่ะ เพราะหนี้ลดลงจึงเกิดกำไร ระบบบัญชีต้องบันทึกในลักษณะสมการ ในกรณีนี้ เมื่อหนี้ลด กำไรจะเพิ่มค่ะ
ถูกค่ะ เพราะหนี้ลดลงจึงเกิดกำไร ระบบบัญชีต้องบันทึกในลักษณะสมการ ในกรณีนี้ เมื่อหนี้ลด กำไรจะเพิ่มค่ะ
สงสัยจะสงสัยว่าคำนวณอย่างไร
ขั้นแรก บริษัทต้องนำมูลหนี้ (เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายที่บันทึกในงบดุล) มาเป็นตัวตั้ง สมมุติว่ารวมกันได้ 6,000,000 บาท
ขั้นแรก บริษัทต้องนำมูลหนี้ (เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายที่บันทึกในงบดุล) มาเป็นตัวตั้ง สมมุติว่ารวมกันได้ 6,000,000 บาท
ขั้นสอง บริษัทดูสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ว่ามีเงื่อนไขใหม่อย่างไร เช่น ลดเงินต้นเหลือ 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอีก 5% จ่ายทุกเดือนเป็นเวลาทั้งหมด 3 ปี
ขั้นสาม คำนวณกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายตามสัญญาใหม่โดยไม่คิดมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ดังนี้ 3,000,000 + (3,000,000*.05*3) = 3,450,000 บาท นั่นคือเงินสดที่บริษัทต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาใหม่
ขั้นสี่ บริษัทต้องนำมูลหนี้เดิมมาลบกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายตามสัญญาใหม่ 6,000,000-3,450,000 = 2,550,000 บาท
ขั้นห้า บันทึกบัญชีโดยล้างเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายออก 6,000,000 บาท แล้วบันทึกเงินกู้ยืมตามสัญญาใหม่ 3,450,000 บาท ขาที่เขย่งบันทึกเข้ากำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 2,550,000 บาท เข้างบกำไรขาดทุน (ท่อนบน) ทันที (ถือเป็น one-time gain ชนิดหนึ่ง)
เดบิต เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่าย 6,000,000 บาท
เครดิต เงินกู้ยืมตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 3,450,000 บาท
เครดิต กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 2,550,000 บาท
เครดิต เงินกู้ยืมตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 3,450,000 บาท
เครดิต กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 2,550,000 บาท
เมื่อจ่ายหนี้งวดแรกต้องนำเงินต้นที่บันทึกมาคำนวณมูลค่าปัจจุบันเพื่อบันทึกเงินต้นและดอกเบี้ย
เดบิต เงินกู้ยืมตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ xxx บาท
เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย xxx บาท
เครดิต เงินสด xxx บาท
เดบิต เงินกู้ยืมตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ xxx บาท
เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย xxx บาท
เครดิต เงินสด xxx บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น