วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ว่าด้วยเรือ่ง โอเวอร์เทรด กับ MM

http://pantip.com/topic/30912303
https://sites.google.com/site/donkeytoni/trading-skills/money-management
ปัญหาการ OVER TRADE จากการไม่คำนวณความเสี่ยงที่รับได้
Credit : FB Take Risk Take control

สำหรับหลายคนที่ใช้ Technical Analysis ในการเทรดหุ้นแล้วเทรดแนว Trend Follower เข้าใจว่าต้องมีจุด stop loss แต่พอถึงจุดที่ต้อง stop loss กลับทำไม่ได้ รู้ทั้งรู้ว่าต้องขายออกไปก่อน แต่ก็ไม่สามารถ stop loss ได้ อาการแบบนี้ชัวร์เลยคืออาการของการ OVER TRADE

อยากจะลองอธิบายความรู้สึกให้ฟังว่าเป็นกันอย่างไร
สมมุติคุณมีเงิน 1,000,000 บาท แล้วคุณซื้อหุ้น SIRI 1 ตัวที่ราคา 5.4 บาท อัดเต็มพอร์ทเลย
จะซื้อหุ้นได้ประมาณ 185,185 หุ้นแต่ตัวคุณรับความเสี่ยงที่จะตัดขาดทุนได้เพียง 5% = 50,000 บาท

สมมุติเรามองราคา NEW LOW ที่ 4.96 เป็นจุด STOPLOSS ณ ราคานี้จะเกิดความเสียหายขาดทุนไป 81,481 บาท เมื่อเกินจุดที่รับจะรับได้ไปแล้ว ก็จะมีอาการภาวนาให้มันเด้ง โอมจงเด้ง จงเด้ง แต่เมื่อมันไม่เด้งคุณก็ stop loss ไม่ลง ทุกคนจะมีจุดนึง ที่สามารถตัดใจโยนเงินทิ้งได้แบบไม่รู้สึกเสียดาย แต่เมื่อมันเลยจุดที่คุณจะตัดใจกับเงินก้อนนี้ได้จะมีความรู้สึกหน่วงหน่วงแต่จ๊ดจี๊ด ลุ้นลุ้นให้ราคากลับมาจุดเดิม เมื่อคุณไม่สามารถตัดใจกับเงินก้อนนี้ที่จะเสียไป เพราะมันมากเกินไปก็จะสะกดจิตตัวเองทันทีว่าไม่ขายไม่ขาดทุน และก็จะไปตามหาเหตุผลมากมายมา SUPPORT ว่ามันจะกลับขึ้นไปได้  ถ้ามันกลับขึ้นมาได้ ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ใช่หล่ะเราก็จะขาดทุนลงไปเรื่อยๆ และก็ท่องไว้ว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน ไม่ขายไม่ขาดทุน

ถ้าหากลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ดูกันบ้าง ลองคิดตามดูนะครับ

"ถ้าไม่ขายในวันนี้แล้วราคาไม่กลับมาจุดต้นทุนเรา เราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง"

"แต่เมื่อเราขายออกไปแล้ว ราคามันเด้งกลับมาที่เดิม เราก็ยังมีเงินสดอยู่เราก็สามารถซื้อมันใหม่ได้ถ้ามันไม่ใช่สภาวะตลาดขาลงอย่างที่เราคิด"

อาการ OVER TRADE นี้มีวิธีแก้ไขได้ คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Money Management ด้วยวิธีการหา POSITION SIZING



เราลองมาลองดูตัวอย่างคำนวนกันดูเลย

1 ความเสี่ยงที่เราจะตัดใจหายหุ้นได้ สมมิตว่าเป็น 50,000 บาท
2 ราคาที่เราซื้อคือ 5.4 บาท
3 ราคาที่จุดที่เราจะ STOP LOSS คือ 4.96

P = C / R

C = 50,000

R = 5.4-4.96 = 0.44

P = 50,000 / 0.44 = 113,636

เราจะซือหุ้นที่ 113,636 หุ้น
ใช้เงินซื้อหุ้นไป 613,635 บาท
โดยที่คุมความเสียหายไว้ที่ 50,000 บาท เมื่อเรา stop loss ที่ราคา 4.96

เมื่อราคาหลุด 4.96 เราก็จะสามารถ stop loss ได้แบบไม่เสียดาย อาการ OVER TRADE ก็จะไม่เกิดขึ้น

สิ่งที่ต้องหาเจอ คือจุดที่รับความเสี่ยงได้จริงจริงคือเท่าไหร่ เมื่อเราว่าจุดไหนทคือจุดที่เรารับได้ เราก็จะควบคุมความเสี่ยงได้

อย่าลืม Take Risk Take control

_______________________________________
 Money Management เป็นเรื่องสำคัญมากในการเทรด ระบบเทรดที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายหรือวิธีการเทรดที่ต่างกัน สินทรัพย์ที่ต่างกัน รวมถึง โบรกเกอร์ที่ต่างกัน ล้วนมีผลต่อการปรับแต่ง Money management ให้เหมาะสมทั้งนั้น ระบบหรือวิธีการเทรดที่ดีควรมีการพิจารณาถึง Money management เข้าไปเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบด้วย

    เราสามารถพิจารณาเรืองของ Money management ในเบื้องต้นจาก 2 ประเด็นใหญ่ๆ
  1. Risk management ในการเข้าออกแต่ละออร์เดอร์  ในการเปิด position หรือ เข้าออร์เดอร์แต่ละครั้งนั้น เราควรรู้ว่า ความเสี่ยงของเราอยู่ที่เท่าไร ถ้าเกิดผิดทาง ความเสียหายสูงสุดที่เราจะเสียใน position หรือ ออร์เดอร์นั้นๆ เป็นเท่าไร เราใช้เครืองมืออะไรในการควบคุมว่าความเสียหายจะไม่เกินไปกว่าที่เราคิดหรือกำหนดไว้ เครืองมือหลักๆ ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กัน คือ stop loss เทรดเดอร์บางคนอาจไม่ใช้ stop loss แต่จะหาวิธีการอย่างอื่นมาควบคุมความเสี่ยง เช่น การทำ hedging หรือ การวางเงินเยอะๆ และเลือก position sizing ที่เหมาะสม ว่าพอร์ตของเราสามารถรองรับความเสี่ยงสูงๆได้
  2. Position Sizing เป็นการประเมินจากขนาดพอร์ตของเรา และความเสี่ยงของแต่ละ position หรือออร์เดอร์ที่เราเปิดรวมๆกันทั้งหมด ว่าความเสียหายโดยรวมเป็นเท่าไร ตรงนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจาก Risk management ที่เราใช้อยู่ เราจะสามารถเปิด position หรือ เปิดออร์เดอร์พร้อมๆกันได้มากน้อยเท่าไร ถ้าเราเปิด position หรือ ออร์เดอร์มากเกินกว่าที่เรากำหนดใน Position sizing ของเรา การกระทำนี้เราเรียกว่าการ OVER TRADE ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเกิดการ over trade ได้ง่ายๆ คือ การทำ margin trading หรือ การเทรดในสินทรัพย์ที่มี leverage สูงๆ ยิ่ง leverage สูงเท่าไร เรายิ่งต้องระวังเรื่อง Position sizing ให้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น leverage จึงเสมือนเป็นดาบ 2 คม สำหรับ เทรดเดอร์ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจใน Money management
    เราจะเห็นว่า Money management เป็นเรื่องของการบริหารจัดการเงินหน้าตัก ถ้าเรามองตลาดถูก 100% เรื่องของ Money management คงไม่มีความจำเป็นเลย แต่ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งแน่นอน 100% นั้นไม่มีทางเป็นไปได้ เมื่อนั้น Money management จะเข้ามามีผลทันที ถึงความแม่นยำเรามีถึง 99% แต่ถ้า 1% ที่เราพลาดแล้วเราเสียหายมากกว่า 99% ที่เราได้กำไรมา แบบนี้เรียกว่าไม่มี Money management และแน่นอนว่า พอร์ตของเราคงไม่สามารถเติบโตได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่า ไม่ว่าความแม่นยำเราจะ 99% หรือ 30% Money management จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเท่าๆกันในทั้ง 2 กรณี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่เราต้องวางลงไปในแต่ละกรณีให้เหมาะสมกับวิธีการเทรด สภาพแวดล้อมการเทรด และเป้าหมายการเทรดของเรา

    Money management เป็นเรื่องของการวางแผนการเทรดที่รอบคอบ ที่จะทำให้การเติบโตของพอร์ตของเราเป็นไปด้วยดี เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว ไม่ได้ขึ้นกับว่าจะได้กำไรกี่ครั้ง ได้กำไรเท่าไร เพราะนั้นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เป็นเรื่องของตลาด แต่เราจะมองในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ นั้นก็คือความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อเราเจอการเสียหายขาดทุนต่อเนื่องหลายๆครั้ง (การเกิด draw down ในการเทรด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเจอ ) เราจะบริหารจัดการอย่างไร หรือดีกว่านั้น เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรและทำอย่างไรเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น แล้วให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

    จากประสบการณ์ของผมที่รู้จักเทรดเดอร์หลายๆคน เทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรเพียง 30% ของจำนวนครั้งที่เทรด แต่มี Money management ที่ดี อาจมีพอร์ตที่เติบโตต่อเนื่องดีกว่า เทรดเดอร์ที่ เทรดได้กำไร 70-80% ของจำนวนครั้งที่เทรดก็เป็นได้ เรืองของโอกาสชนะ หรือ Winning Probability ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณากันให้ดีๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเก็งกำไรมาก่อน (อาจเคยลงทุนมาบ้าง) มักจะถูกหลอกได้ง่ายๆ ด้วย Winning Probability สูงๆ หรือไม่ก็ Reward-to-Risk สูงๆ (กำไรสูง ความเสี่ยงต่ำ) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยธรรมชาติของการเก็งกำไรแล้ว 2 อย่างนี้มักอยู่คนละฝั่งกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ จะมองทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เรียกว่า Profit Expectancy เพราะจะให้ทั้งสองอย่างสูงด้วยกันทั้งคู่นั้น เป็นไปได้ยากมาก

เทคนิคการหาหุ้น 10เด้ง!!! โดย คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ ตอนที่2-2

เทคนิคการหาหุ้น 10เด้ง!!! โดย คุณประกิต สิริวัฒนเกตุ ตอนที่1-2

รวมหนังสือหุ้น ความรู้เรื่องการลงทุน ปออันปัน

 http://hoonebook.blogspot.com/2014/12/Por-Un-Pun.html
เคล็ดวิชาปออันปัน
หนังสือเคล็ดวิชาปออันปัน จำนวน 145 หน้า


คำนำผู้เรียบเรียง

อีบุ้คเล่มนี้ผู้เรียบเรียงจัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายฟรีแก่ผู้ที่สนใจการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า เป็นหนังสือการเก็งกำไรที่ให้ความสำคัญกับกราฟเทคนิคคอลเป็นหลัก เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความแนวทางการเก็งกำไรในหุ้นปั้น(ตั้งใจเขียนแบบนี้)เป็นหลัก

คุณ"HALOGEN"แห่งห้องปออันปัน

คุณ HOLOGEN เป็นนักเก็งกำไรท่านหนึ่ง ที่มีเทคนิคและแนวทางในการเก็งกำไรหุ้นปั้นอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังแบ่งปันความรู้และเทคนิคของตัวเองให้กับนักเก็งกำไรในเวปบอร์ดแห่งหนึ่งอย่างเป็นประจำ ผู้เรียบเรียงได้ขออนุญาตคุณ HALOGEN ก่อนที่จะจัดทำหนังสือเล่มนี้เรียบร้อยแล้ว ขอขอบคุณคุณ HALOGEN ที่ทำให้ผมเป็นคนนึงที่อยู่รอดในตลาดเก็งกำไรแห่งนี้ได้

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ลุงเบน
TAKE PROFIT 
- See more at: http://hoonebook.blogspot.com/2014/12/Por-Un-Pun.html#sthash.nmkDEr93.dpuf

ขาดทุนหุ้นซ้ำๆ แก้ไขอย่างไรดี

ขาดทุนหุ้นซ้ำๆ แก้ไขอย่างไรดี
http://pantip.com/topic/33238769
ผมเองก็ประสพเหตุการณ์ขาดทุนหุ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นเดียวกับทุกคน
ครานี้เงินจะหมดตูดจริงๆ หากไม่เร่งแก้ไข คงได้เดินออกจากตลาดทุนไปเช่นเดียวกับอีกหลายๆคน
นั่งคิด นอนคิด หลายตลบ หลายๆวัน จะแก้ไขยังไงดี คิดแล้วคิดอีก บอกย้ำกับตัวเองว่า ต้องเร่งแก้ไขแล้ว
มาคิดออกกับเรื่องใกล้ตัวนี่แหละว่า ปกติตัวเองก็บันทึกการซื้อขายลงในไฟล์ excel ทุกรายการอยู่แล้ว
เลยมานั่งดูรายการที่บันทึกเองย้อนหลังไป 2-3 เดือนว่า....
ตัวไหนทำไมถึงได้กำไร ตัวไหนถึงขาดทุน แล้วตอนนั้นเราเข้าซื้อ เพราะอะไร และขายออกเพราะอะไร
และมานั่ง list ออกมา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

เริ่มที่กลุ่มแรกที่เข้าซื้อแล้วขาดทุน

สรุปออกมาจะพบว่า ตัวเองมีพฤติกรรมการลงทุนซ้ำๆ ที่ทำให้ขาดทุน ดังนี้ครับ
1.ซื้อแล้วลง แล้วดันซื้อถัวอีก
2.ราคาหล่นมากกว่าที่คิดไว้ แล้วไม่คัท (ไม่มีวินัย)
3.หล่นแล้วไม่คัท
4.เข้าจังหวะถูกต้องแล้ว แต่รีบขาย (ควรขายเมื่อมีสัญญาณขายออกมาเท่านั้น)
5.รีบเข้าแท่งแดงยาวแรก
6.ผิดซ้ำอีก...เข้าแล้วหล่น ยังจะเข้าอีกไม้
7.ซื้อแล้วขึ้น แต่พอหล่นมาต่ำทุน ไม่คัท

ประเด็นหลักของผมคือ ไม่ยอมคัท ทำให้ขาดทุนหนักขึ้น
เมื่อทบทวนพฤติกรรมตัวเองว่า ทำไมไม่ยอมคัท
พบว่า พอมันหล่นเกินกว่าที่เราจะยอมรับขาดทุนได้ ทำให้ไม่กล้าคัท ส่งผลให้ยิ่งถือยิ่งขาดทุนเข้าไปใหญ่

วิธีแก้ไข....เลยมาตั้งกฎกติกาว่า -3 ช่องคัท (ตอนนี้ผมยอมรับขาดทุนได้เท่านี้ แต่ละคนยอมรับขาดทุนได้ไม่เท่ากัน ลองปรับกันเองนะครับ) แล้วก็ต้องทำตามวินัยอย่างเคร่งครัด

แต่ปัญหายังไม่จบ -3 ช่องคัทก็จริง เมื่อหุ้นลบมากกว่า 3 ช่อง (อาจจะ 5-10 ช่อง) แล้วกลับมาดีดคืน เราก็ไม่กล้าตาม เพราะมันเพิ่งจะลงมามาดๆ กลัวขาดทุนอีก ที่ไหนได้วิ่งหน้าตั้งไปเลย

คราวนี้เราก็มาแก้ปัญหาที่จุดเข้า เข้าตรงไหนที่เข้าแล้ว ต้องหล่นไม่เกิน 3 ช่อง(ตามกฎกติกาของเราเองว่า -3 ช่อง คัท)
ก็มาพบว่า ตรงที่เริ่มไม่มีแรงขาย(วอลุ่มลดลงมาก), เริ่มไม่มี new low มา 2-3 วัน เมื่อเห็นอย่างนี้ก็เข้าซิครับ
แล้วก็ รอ ร๊อ รอ อย่างเดียว เมื่อไหร่เจ้าจะลากขึ้น แต่ถ้าเกิดหล่นมี new low อีก ก็กติกาเดิม -3 ช่องคัท
เมื่อผมทำอย่างนี้พบว่า ลดการขาดทุนไปอย่างมาก ถึงโดนก็โดนไม่มาก และส่งผลให้พอร์ตมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้น

กลุ่มหลังที่เข้าซื้อแล้วกำไร




สรุปพบพฤติกรรมซ้ำๆ ในการลงทุนแล้วกำไร ดังนี้
1.เข้าซื้อเมื่อไม่มีแรงขาย ไม่มี new low
2.ย่อมาแล้วหลายวัน ไม่หลุดตรงนี้ซะที
3.ซื้อหุ้นกำลังขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งซื้อ (แต่ถ้าหล่น -3 ช่อง ณ จุดซื้อ ก็คัทตามกฎ)
จุดนี้นี่เองที่ทำแล้วได้กำไร เราก็หมั่นทบทวนตัวเอง ให้ทำพฤติกรรมซ้ำๆได้ เพราะเข้าแล้วได้กำไร

ที่สำคัญคือ ทบทวนจุดผิดพลาดของตนเองไปเรื่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง
เน้นอีกอย่าง อย่าโกหกตัวเอง ไม่งั้นจะแก้ปัญหาไม่สำเร็จ

สุดท้ายนี้ ผมก็มาเขียนกฎการลงทุน แปะติดไว้ข้างจอคอมฯ อ่านทบทวน เช้า-บ่ายก่อนตลาดเปิด เพื่อให้มันฝังรากลึกลงไปในจิตใจ เพื่อที่เราจะได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง หลี่กเลี่ยงจุดพลาดเดิมๆ มีดังนี้ครับ
-อย่าขาดทุน เล่นหุ้นในเกมส์ที่ถนัดของเรา
-เล่นหุ้นที่หมดแรงขายแล้ว+ไม่มี new low 2-3 วัน+เริ่มมีสัญญาณซื้อ
-นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คิดถึงความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากกว่ากำไร
-เข้าจุด save ตั้งเป้าเลยว่า ยอมหลุดกี่ช่องคัท ยอมขาดทุนเท่านั้นพอ
-เวลาจะซื้อหุ้น จุดเข้าต้องได้เปรียบ เป็นด่านแรกที่สำคัญมาก
-ให้ละ โลภ โกรธ หลง เพราะมันจะปิดบังความคิดที่ถูกต้อง

ปล.ผมตามอ่านพันทิปมาตั้งแต่ปลายปี 54-ปัจจุบัน ก็เก็บเกี่ยวความรู้จากหลายๆท่านที่มีเจตนาดีมาโพสความรู้เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนหุ้น ผมขอยกเครดิตให้ทุกๆท่านนะครับ และคราวนี้ผมขออนุญาตแบ่งปันในมุมมองของผมบ้าง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

http://pantip.com/topic/33238769

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำถามที่ คนไม่มีพื้นฐานเรื่องหุ้นอยากถาม แต่อาจจะไม่กล้าถาม เลยไม่ได้เล่นหุ้นสักที

คำถามที่ คนไม่มีพื้นฐานเรื่องหุ้นอยากถาม แต่อาจจะไม่กล้าถาม เลยไม่ได้เล่นหุ้นสักที
กระทู้นี้  จะเป็นกระทู้ที่รวบรวมคำถาม ที่อาจจะฟังดูไร้สาระที่สุด ในมุมมองของคนที่เคยลงทุนในหุ้นมาแล้ว
แต่สำหรับคนที่ไม่เคยมีความรู้ หรือไม่เคยศึกษาเรื่องหุ้นเลย  มีแต่ ได้ยินคนโน้น คนนี้ พูดถึงการเล่นหุ้น
และก็รู้สึกสนใจ  แต่ลึกๆแล้ว รู้ว่า จับต้นชนปลายอะไรไม่ค่อยถูก  จะถามก็ไม่กล้า เพราะรู้สึกว่า ตัวเองไม่รู้พื้นฐานอะไรสักอย่างเกี่ยวกับหุ้นเลย  
ถามมากๆ เข้า ก็กลัวเพื่อนจะหาว่าโง่  ได้แต่เก็บคำถาม งงงวยนั้นไว้คนเดียว  และคิดว่า วันหนึ่งค่อยมาศึกษา

และก็เป็นอย่างที่คิด ผ่านมา 3 ปี  ก็ยังไม่ได้ไปศึกษาสักที  พอได้ยินคนพูดมาที ก็ฮึดอยากศึกษาขึ้นมาที
พอเผลอ ก็เลิกศึกษาอีกละ  ผมเลยลองรวบรวมคำถามที่คิดว่า คนที่ได้ยินคำว่า เล่นหุ้น  ปุ๊ป   จะเกิดคำถามขึ้นในใจ
แต่อาจไม่กล้าถามใครออกไป    “จงแอบอ่าน แอบแชร์  แล้วเราจะหายโง่ไปด้วยกันครับ”

หมายเหตุ :  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอาจจะดิบๆ ไปสักหน่อย  และอาจไม่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 100%
แต่คิดว่า น่าจะง่ายต่อการทำความเข้าใจ  ส่วนเพื่อนๆคนไหนที่เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่แล้ว  สามารถช่วยกันแก้ไข
เพิ่มเติมส่วนที่ตกหล่น หรือส่วนที่ผมพลาดไป  จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

หุ้นคืออะไร ?
ง่ายๆ เลย  หุ้นคือ สิทธิการเป็นเจ้าของ  เพราะฉะนั้น ถ้าเราซื้อหุ้นของบริษัทไหนมา  นั่นคือเราได้เป็นเจ้าของบริษัทนั้นแล้ว
ตามสัดส่วนที่เราซื้อหุ้นมา  ถ้า ซื้อหุ้นมามาก  ก็ได้สิทธิในการเป็นเจ้าของมาก   ถ้าซื้อหุ้นมาน้อย  ก็ได้สิทธิการเป็นเจ้าของน้อย  
และ ถ้าบริษัทที่เราซื้อหุ้นมา  กิจการเจริญรุ่งเรือง เติบโต  เราก็รวยไปด้วย
แต่ถ้ากิจการมันขาดทุน   เราก็เจ๊งไปกับมันด้วย

จะซื้อหุ้น ต้องใช้อะไรซื้อ ?
ต้องใช้เงินในการซื้อหุ้น
ถ้าเราใช้เงินซื้อหุ้นบริษัทใดๆไปเยอะ  ก็เหมือนว่าเราไปร่วมลงทุนกับบริษัทนั้นๆเยอะ
เวลาบริษัทมีกำไร เราก็จะได้ส่วนแบ่งเยอะ  แต่ถ้าเวลาบริษัทขาดทุน  เราก็จะเสียเงินเยอะเช่นกัน

คำว่า เล่นหุ้น คืออะไร?
คำว่า เล่นหุ้น จะหมายถึง การซื้อหุ้น และ  การขายหุ้น   แต่ด้วยการที่หุ้นมันมีหลายตัวให้เลือกซื้อ  มันจะมีการซื้อตัวโน้น ขายตัวนี้
มันเลยให้ความรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังเล่นกับมันอยู่   ตามจริงแล้ว ควรจะใช้คำว่า "การลงทุนในหุ้น"  จะดูถูกต้องกว่า
เพราะการที่เราซื้อหุ้นมา  มันคือการซื้อสิทธิการเป็นเจ้าของของบริษัทภายใต้หุ้นตัวนั้นอยู่ เหมือนเราไปร่วมลงทุนกับบริษัทนั้น
ถ้าวันใด เราขายหุ้นนั้นทิ้ง ก็เหมือนเราเลิกลงทุนกับบริษัทนั้นแล้ว

ตลาดหุ้น คืออะไร ?
ตลาดหุ้น คือ ตลาดที่มีไว้เพื่อซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างๆ   อยากซื้อหุ้นของบริษัทไหน ก็ต้องมาซื้อที่นี่
ซึ่งของประเทศไทย  เรามีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Stock Exchange of Thailand  ย่อสั้นๆว่า SET
เพราะฉะนั้น เวลาดูข่าว เห็นเค้าพูดถึง SET กัน   นั่นคือ พูดถึงตลาดหุ้นของประเทศไทยของเรานั่นเอง

มีตลาดหุ้นไว้ทำไม ?
เรามีตลาดหุ้น ไว้เพื่อระดมทุนให้กับบริษัทใดๆ  เช่น สมมุติเราเปิดร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่ง  วันดีคืนดี อยากจะขยายธุรกิจ
เปิดร้านกาแฟเพิ่มอีกสัก 10 ร้าน  แต่เรามีเงินไม่พอ  ครั้นจะไปกู้ธนาคาร  ธนาคารก็เคี่ยว ถามโน้นถามนี่เยอะ คิดดอกเบี้ยก็แพง
และถ้าเราลงทุนขยายกิจการอยู่คนเดียว  ถ้ามันไปได้ด้วยดี ก็ดีไป รวยคนเดียว ชิวๆ
แต่ถ้ามันเกิดไม่เป็นแบบที่เราคิด เราก็เป็นหนี้หัวโต อ้วกแตกอยู่คนเดียว

ด้วยเหตุนี้ จึงมีตลาดหุ้นขึ้นมา  เพื่อที่เราจะสามารถนำเอาร้านกาแฟของเราไปจดทะเบียนในตลาดหุ้น
และขายหุ้นร้านกาแฟของเรา  ให้คนอื่นที่สนใจในแผนงานของเรา  มาร่วมเป็นเจ้าของกับเรา  
เราก็จะได้เงินจากคนที่มาขอร่วมเป็นเจ้าของ  นำเงินนั้นไปขยายกิจการได้
ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของเราเอง  เพราะมีคนมาร่วมหัวจมท้ายด้วย

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ สีเขียว สีแดง วิ่งๆบนหน้าจอ ทีวีด้านล่างคืออะไร  ?
ตัวอักษรพวกนี้ คือ ชื่อตัวย่อของหุ้น  เช่น หุ้นของ ธนาคารกรุงเทพ  จะมาเขียน เต็มๆ มันก็ยาว
เค้าเลยย่อเป็นชื่อหุ้นว่า  BBL  
จำไว้เลยว่า ภายใต้ตัวอังษรภาษาอังกฤษพวกนี้ มีเบื้องหลังเป็นบริษัท

ส่วนสี เขียวๆ แดงๆ นี่คือ สีที่ทำให้เราดูการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นได้ง่ายขึ้น
สีเขียว คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาแพงขึ้น เมื่อเทียบกับ ราคาเมื่อวาน หรือที่เรียกว่า หุ้นขึ้น
(คนที่ซื้อหุ้นไว้จะดีใจ เหมือนซื้อของมา แล้วเอาไปขายต่อได้แพงขึ้น)
สีแดง คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาถูกลง  เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน  หรือที่เรียกว่า หุ้นลง
(คนที่ซื้อหุ้นไว้จะเสียใจ เหมือนซื้อของมา แล้วเอาไปขายต่อได้ถูกลง)
สีเหลือง คือ หุ้นตัวนั้น มีราคาเท่าเดิม เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน

เวลาดูข่าว พูดถึง ดัชนีหุ้น 1600 จุด  บวกขึ้นมา 40 จุด หรือบางวันก็บอกว่า ลบไป 20 จุด มันคืออะไร ?
ด้วยการที่หุ้นในตลาดหุ้นมีเยอะมาก 500 กว่าตัว  เค้าก็เลย เอาราคาของแต่ละตัว มาคำนวนรวมกัน เป็นตัวเลขที่ไว้อ้างอิง เรียกว่า ดัชนี  

เช่นเวลาบอกว่า วันนี้ ดัชนี บวก  จะหมายความว่า  หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นมีราคาสูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
ถ้าบอกว่า บวก แล้วตามด้วยตัวเลขเยอะๆ แสดงว่า หุ้นส่วนใหญ่ราคาขึ้นเยอะเมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
แต่ถ้าวันไหน ดัชนี ลบ  คือหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาที่ถูกลง เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวาน
ถ้าบอกว่า ลบ ตามด้วยตัวเลยน้อยๆ ก็แสดงว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดราคาลดลงจากราคาเมื่อวาน แต่ลดลงไม่มากเท่าไหร่

***หมายเหตุ เวลาดัชนี เป็นบวก ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นทุกตัว ราคาขึ้นหมดทุกตัวนะ
มันบอกได้แค่ว่า หุ้นส่วนใหญ่ในตลาด มันราคาขึ้น   มันเลยคำนวนดัชนีออกมา แล้วได้เป็นเลขที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับดัชนีของเมื่อวาน
เวลาดัชนี เป็นลบก็เช่นกัน  ไม่ใช่ว่า ราคาหุ้นทุกตัวในตลาดลดลง แค่หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมันลง  มันเลยคำนวนออกมาได้เลขดัชนีที่ลดลง***

ทำไมต้องเล่นหุ้น ?
เล่นหุ้น คือการลงทุนหาดอกผลชนิดหนึ่ง  เหมือนเราต้องการดอกเบี้ยจากการนำเงินไปฝากธนาคาร
เพียงแต่ การฝากธนาคาร ได้ผลตอบแทนน้อย เพราะมันไม่ค่อยเสี่ยง  ถ้าธนาคารไม่เจ๊ง
แต่การเล่นหุ้น  มันคือการไปร่วมลงทุนทำธุรกิจกับบริษัทที่เราไปซื้อหุ้น  ผลตอบแทนที่ได้ สามารถสูงกว่าฝากธนาคารหลายเท่า
แต่ถ้าบริษัทที่เราร่วมลงทุนมันเจ๊ง เราก็มีสิทธิที่จะเสียเงินลงทุนทั้งหมด  พูดง่ายๆ ก็คือ การเล่นหุ้น เป็นการลงทุน ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงมาก
แต่ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน  คนจึงอยากเล่นหุ้น  เพราะคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนสูงๆ และจะ "รวย"

โบรคเกอร์คืออะไร ?
เวลาเราจะซื้อหุ้นตัวใดก็ตาม  ไม่ใช่ว่า จะเอาเงิน เดินไปที่บริษัทนั้นๆ หรือเดินไปที่ตลาดหลักทรัพย์ แล้วซื้อมาเลย
เราต้องมี  ตัวกลางในการซื้อขายหุ้น  นั่นคือบริษัทโบรคเกอร์  โบรคเกอร์คือตัวกลางในการซื้อขายหุ้นให้เรา
และเค้าก็จะได้ ผลตอบแทนจากเรา คือค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย  รวมถึงบริษัทโบรคเกอร์จะทำหน้าที่ออกบทวิเคราะห์หุ้นตัวต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าประกอบการตัดสินใจอีกด้วย

จะเล่นหุ้นด้วยตัวเอง ผ่านอินเตอร์เน็ต  ไม่มีโบรคเกอร์ ได้ไหม  ?
ตอบว่า ไม่ได้  ยังไงก็แล้วแต่ เราต้องเป็นสมาชิกโบรคเกอร์ ถึงจะสามารถซื้อขายหุ้นได้

อีกคำหนึ่งที่ต้องรู้ คือ เจ้าหน้าที่การตลาด หรือ เรียกสั้นๆ ว่า มาร์ คืออะไร ?
อย่าสับสนคำศัพท์   โบรคเกอร์  คือบริษัทตัวกลาง    ส่วนมาร์คือ คน  

มาร์ เป็นลูกจ้างในบริษัทโบรคเกอร์  ที่ทำหน้าที่ ติดต่อกับ นักลงทุน  ตั้งแต่การส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น  จนถึงสิทธิประโยชนต่างๆ จากหุ้นที่เราถืออยู่
ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้นักลงทุนด้วย    ตรงจุดนี้แหละ ที่จะมีนักลงทุนบอกว่า  ต้องการเล่นหุ้นด้วยตนเอง และซื้อขายหุ้นเองผ่านอินเตอร์เน็ต
ไม่ต้องมีมาร์ได้ไหม   ตามจริงแล้ว นักลงทุนทุกคนล้วนมีมาร์ดูแลทั้งสิ้น  เพียงแต่ถ้าเราเล่นเองผ่านอินเตอร์เน็ต มาร์เค้าก็อาจจะไม่ได้โทรมายุ่งวุ่นวายอะไร  แต่ยังไงก็แล้วแต่ จะมีมาร์ดูแลอยู่แล้ว

การซื้อหุ้นมีกี่วิธี ?
มี 2 วิธี  คือ โทรหามาร์ ให้มาช่วยซื้อให้
กับ กดซื้อเองผ่านอินเตอร์เน็ต

*ทั้งสองวิธีนี้ จะได้หุ้นมาครบถ้วนตามที่สั่งเหมือนกัน
เพียงแต่ การโทรให้มาร์ช่วยซื้อให้ จะมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น ที่แพงกว่า การกดซื้อเองผ่านเน็ต
(เพราะมาร์จะต้องแบกรับความเสี่ยง ในกรณีที่คีย์คำสั่งผิด)*

จะเริ่มซื้อหุ้นต้องทำยังไง ?
ขั้นแรก ต้องเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นก่อน โดยต้องไปเปิดกับบริษัทโบรคเกอร์¨ ซึ่งในไทยมีบริษัทโบรคเกอร์มากมายหลายเจ้า
ส่วนใหญ่แล้ว บริการพื้นฐาน และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น จะเหมือนๆกัน

ซึ่งบัญชีสำหรับการซื้อขายหุ้น จะมีอยู่หลักๆ 3 ประเภท  แต่เอาบัญชีที่ง่ายที่สุด  สำหรับมือใหม่
เดินเข้าไปในโบรคเกอร์แล้วบอกเลย  ว่า ขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นแบบ Cash balance  
ใช้เอกสารประกอบการเปิดบัญชีแค่ สำเนาบัตรประชาชน  และสำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชี (book bank) เท่านั้น

บัญชีนี้ จะมีลักษณะคล้ายๆ บัญชีออมทรัพย์เลย   คือพอเปิดเสร็จ จะได้เป็นบัญชีเปล่าๆ ที่สามารถใช้ในการซื้อขายหุ้นมา
และจะมาพร้อมกับ User name และ Password  เพื่อใช้ในการ log in เข้าหน้าเว็ปไซด์ ของโบรคเกอร์ที่เราเปิดบัญชี  
เพื่อเข้าไป  อ่านข่าว ดูกราฟราคา อ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ รวมถึง ส่งคำสั่ง ซื้อขายหุ้น  
ซึ่งถ้าจะเริ่มซื้อหุ้นตอนไหน  เราต้องโอนเงินเข้าไปในบัญชีซื้อขายหุ้นของเราก่อน โอนมาเท่าไหร่ จะซื้อขายหุ้นได้ตามจำนวนนั้น
ถ้าไม่โอนมา มันก็จะเป็นแค่บัญชีเปล่าๆ ที่ไว้ดูข้อมูลหุ้น  แต่ไม่มีตังซื้อหุ้น

พอเรามีการขายหุ้น ได้กำไร หรือขาดทุน  เงินคงเหลือจะค้างอยู่ใน บัญชีหุ้นของเรา
ถ้าอยากจะนำเงินออกมา ก็สามารถกดถอนตังได้ทางหน้าเว็ปไซด์ของโบรคเกอร์
และเงินก็จะวิ่งเข้า สมุดบัญชี ที่ให้ไว้ตอนเปิดบัญชีนั่นเอง

โปรแกรมซื้อขายหุ้น ดูยังไง ?
โปรแกรมซื้อขายหุ้นที่ นิยมใช้กันคือ Streaming สามารถ ใช้ได้ทั้งในมือถือ และ คอมพิวเตอร์
โปรแกรมนี้แหละ ที่จะใช้ในการซื้อขายหุ้น  ตลอดจนดูราคาหุ้นทุกตัวในตลาดหุ้น
รวมถึงการดู ยอดเงินคงเหลือในบัญชีหุ้นของเรา และดูว่ามีหุ้นอะไรอยู่ในพอตเราบ้าง ตอนนี้กำไร และขาดทุนเท่าไหร่

แล้วซื้อหุ้นยังไง ?
อย่างที่บอกไป  วิธีแรก คือการโทรหามาร์  บอกเลขบัญชี และชื่อของตัวเอง
จากนั้น บอกชื่อหุ้น  ราคาหุ้นที่จะซื้อ  จำนวนไป  ก็จะสามารถซื้อหุ้นได้
แต่ถ้าต้องการซื้อหุ้นด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต ก็ต้องเข้าโปรแกรม Streaming
มันจะมีหน้าจอสำหรับซื้อขายหุ้น  ถ้าเราต้องการซื้อหุ้นตัวใด  เราต้องรู้ชื่อหุ้นนั้นๆ  และ จะมันจะมีราคาตลาดบอกไว้ ว่าราคา ตัวละกี่บาท
 
โดยหุ้น เป็นอะไรที่มีสภาพคล่องสูง  จะมีคนเสนอซื้อ และขายอยู่ตลอดเวลา  เราสามารถซื้อได้เลย ตามราคาที่คนเสนอขาย
หรือถ้าเรามีหุ้นอยู่แล้ว  เราก็สามารถขายได้เลย  ตามราคาที่มีคนเสนอซื้อ

ต้องมีเงินเริ่มต้นกี่บาทในการ เปิดพอต  ในการเล่นหุ้น มีขั้นต่ำไหม ?
ไม่มีขั้นต่ำ  มีกี่บาทก็เล่นได้  เพราะหุ้นมีราคาตั้งแต่ หลักสตางค์ ไปจนถึงหลัก พัน
มีเงินน้อย ก็ซื้อได้น้อยตัว  เวลาได้กำไรก็ได้น้อย เวลาขาดทุน ก็ขาดทุนน้อยแค่นั้นเอง

เล่นหุ้น จะได้เงินเมื่อไหร่ ?

การที่เราเข้าซื้อหุ้นมาแล้ว เราจะเหมือนว่าเราได้ ลงทุนในบริษัทนั้นแล้ว  เราจะได้กำไร ก็ต่อเมื่อ
1.  เราขายหุ้นนั้นไป ในราคาที่แพงกว่า ตอนเราซื้อมา  ถ้าขายได้ถูกกว่าที่เราซื้อมา เราก็จะขาดทุน
(ถ้าหุ้นที่เราซื้อมา มีราคาสูงขึ้นกว่า ต้นทุนที่เราซื้อ แต่เรายังไม่ขายหุ้น  มันก็จะเพียงแค่โชว์ว่าเรามีกำไรเท่าไหร่ให้เราเห็นเฉยๆ
จะได้กำไรจริงๆ ก็จะได้เมื่อขายหุ้นออกไปแล้วเท่านั้น)
2. ถ้าเรายังถือหุ้นตัวนั้นอยู่ และบริษัทมีกำไร  ปีนึง ก็จะมีการจ่ายปันผล  เราก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรตรงนี้ ตามตามสัดส่วนหุ้นที่เราถืออยู่

ต่อ>>>>>>>>>
เล่นหุ้น เสี่ยงมั๊ย ?
เล่นหุ้น คือการไปร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ  ซึ่งถ้าเราไม่มีความรู้ในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว ก็จะเรียกว่า เสี่ยงมาก
ไม่ต่างอะไรกับการแทง น้ำเต้าปูปลาเลย   แต่ความเสี่ยงสามารถควบคุมได้
ถ้าเราสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์หุ้นที่เราลงทุนได้

การเล่นหุ้น มีกี่แบบ  และวิเคราะห์หุ้นยังไง ?
การเล่นหุ้นเนี่ย มันแบ่งง่ายๆ เป็น 2 แบบด้วยกัน
1. การเล่นหุ้นแบบ.....ลงทุน
2. การเล่นหุ้นแบบ.....เก็งกำไร
คนเรา พอพูดถึง เรื่องเล่นหุ้น  จะคิดภาพไปเลยว่า ยิ้มต้องอยู่หน้าจอทั้งวัน ดูกราฟ ตัวเลขวิ่งๆ
ซื้อๆ ขายๆ หุ้นอย่างรวดเร็ว   ซึ่งตามจริง ภาพแบบนั้น มันแค่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
มันเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร (แบบที่ 2) ที่เค้าจะอาศัยการขึ้นลง ของราคาหุ้น
สร้างผลกำไร  บางคนก็เก็งกำไรกันระยะสั้น เป็นรายนาที    บ้างก็รายวัน (ซื้อๆ ขายๆ ภายในวัน)
บางคนก็อาจจะ ยาวเป็นเดือนก็มีเหมือนกัน  

ยิ่งเล่นสั้นมากๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก
โดยส่วนตัวผมว่า การเล่นหุ้นสายนี้ ค่อนข้างยาก
เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนราคาของหุ้นในระยะสั้น เป็นเรื่องของข่าวสาร อารมณ์ของตลาด
และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ที่คาดเดาได้ยากมากๆ แต่มือใหม่ที่เข้ามาเล่น กลับคิดว่า วิธีนี้ยิ้มง่าย และรวยเร็ว
ส่งผลให้ขาดทุนในที่สุด

แต่มันก็มีนะ คนที่เค้าประสบความสำเร็วจากการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร
เค้าต้องเป็นคนที่ มีวินัย  ต้องรู้จักการควบคุมความเสี่ยง จะเดิมพันก็ต่อเมื่อเค้ารู้สึกว่าเค้าได้เปรียบ
และในบางจังหวะ ที่เค้าคาดการณ์ผิดพลาด  เค้าจะมีวินัยในการยอมขาดทุน แล้วหนีออกมา
ซึ่งถ้าใครชอบ แนวนี้  ต้องหัดวิเคราะห์ ศึกษา ที่ในวงการเค้าจะเรียกว่า  "ปัจจัยทางเทคนิค"
จะเป็นพวกการศึกการเคลื่อนไหวของ กราฟราคาหุ้น  ความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขายต่างๆ
ลองไปหาหนังสืออ่านดู..........

กราฟๆ ที่เห็นคนเค้าดูกัน คืออะไร แล้วจะดูได้จากที่ไหน ?
มันคือการวิเคราะห์หุ้นแบบหนึ่ง ตามที่บอกไป เรียกว่า การวิเคราะห์หุ้นแบบใช้ปัจจัยทางเทคนิค
ซึ่งเดี๋ยวนี้ลอง google หา  ก็จะมีโปรแกรมกราฟให้ใช้มากมาย  แต่ถ้าชัวร์ๆ ก็เวลาเปิดพอตหุ้นกับโบรคเกอร์
เค้าจะมีบริการโปรแกรมกราฟให้เราใช้อยู่แล้ว

ส่วนการเล่นหุ้นอีกวิธี   เรียกว่า การเล่นหุ้นแบบลงทุน  วิธีนี้ จะเหมือนกับเราเอาเงินไปร่วมลงทุนกับเค้าเลย
แบบร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน ระยะเวลาปานกลาง ถึง ยาวๆ เลย
ถ้าบริษัทมันมีกำไร  เราก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย  ถ้าบริษัทขาดทุน  เราก็เจ๊งไปกับเค้าด้วย
เพราะฉะนั้น  สิ่งที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นในวิธีนี้ คือ ผลกำไรของบริษัทที่เราร่วมลงทุน
ส่งผลให้  การเล่นหุ้นในวิธีนี้ มันจะต้องใช้เวลา  เพราะผลกำไรของบริษัทมันไม่สามารถแสดงออกมาได้
ภายใน หนึ่งวัน หรือ สองวัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลากันเป็นปี  ภาพการเล่นหุ้นด้วยวิธีนี้ ก็จะเปลี่ยนไป
เราไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอ ดูราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงทุกวันอีกต่อไป  ภาพมันจะกลายเป็น
การนั่งวิเคราะห์ธุรกิจ การอ่านงบการเงิน   การวิเคราะห์การเติบโตของบริษัท  
รวมไปถึงการลองไปใช้บริการของบริษัทที่เราลงทุน อะไรทำนองนี้   ซึ่งแนวทางนี้
สามารถศึกษาได้จาก "การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน"
มีหนังสือให้อ่านเช่นกัน.............

มันตอบไม่ได้นะ ว่า วิธีไหนดีกว่ากัน  ไม่ว่าทางไหน มันสามารถประสบความสำเร็จได้เสมอ
และมันก็สามารถหมดตัวได้เหมือนกัน   มันอยู่ที่คุณ จะศึกษา และทุ่มเท กับมันเพียงใด
"ไม่มีรวยเร็ว และอะไรที่ได้มาง่ายๆ ในถนนสายนี้"

นึกคำถามไม่ออกแล้ว  ยังไงมีคำถามก็พิมพ์ทิ้งไว้กันได้เลยครับ
อันไหนตอบได้ ก็จะมาตอบให้ครับ

จบแล้ว

ออกตัวก่อนว่า ผมทำงานในบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง  ผมมีรายได้จากการที่ลูกค้า ซื้อขายหุ้นนี่แหละ
แต่ที่ผมมาเขียนนี่ ก็ไม่ได้จะมาหวังผลประโยชน์อะไร  เพราะมือใหม่ๆ เนี่ย
เทรดหมื่นนึง ผมจะได้ ค่าคอมมิชชั่นประมาณ 2 บาทถ้วนเห็นจะได้   ฮ่าๆๆ ยังไม่คุ้มค่าไฟเลย
แต่ที่มาเขียนก็อยากให้คนที่สนใจ กับคำว่าเล่นหุ้นอยู่  ได้พอมีอะไรพื้นฐานติดไปบ้าง ก่อนจะไปหาหนังสืออะไรอ่าน ต่อยอดต่อไป

ส่วนใครที่ยังไม่เคยศึกษาด้านการลงทุนในหุ้นเลย  แล้วอยู่ดีดี จะมาซื้อหุ้นเลย
ผมก็ขอบอกให้คุณกลับไปศึกษาก่อน หาหนังสืออ่าน
เพราะการเข้ามาเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไร  มักจะกลับออกไปแบบไม่เหลืออะไร

ส่วนใครจะมาขอหุ้นเด็ด หุ้นดี  ผมก็ไม่มีเหมือนกัน
คิดหลักง่ายๆ ถ้าผมมีหุ้นเด็ด  ผมก็เล่นเองอยู่บ้าน ไม่ต้องออกไปทำงานแล้ว  
ที่มีให้ได้ก็น่าจะเป็น แนวคิดการมองตลาดหุ้นไม่ให้เหมือนการพนัน
คอยเตือนให้มีสติ  ส่วนการตัดสินใจทุกอย่าง ก็เป็นของ ทุกคนเองเท่านั้น เพราะเงินใครก็เงินมัน

ผมไม่ได้คาดหวังว่า จะมีคนมา เทรด ซื้อขายหุ้นเยอะๆ แล้วธุรกิจที่ผมอยู่จะรุ่งเรือง
ผมเห็นมาแล้ว พวกมาเทรดเยอะๆ แต่เทรดแบบการพนัน สุดท้ายก็เลิกเล่นไป
ผมอยากให้เมื่อใหม่ทุกคนมีมุมมองที่ดีต่อตลาดหุ้น  เล่นหุ้น แบบลงทุนจริงๆ
และอยู่รอดในถนนสายนี้กับมันไปนานๆ
เพราะถ้าคุณอยู่รอดกับมันได้นานเท่าไหร่  คุณก็จะรวยเท่านั้น

ขอให้ทุกคนโชคดี
ใครมีอะไรเพิ่มเติม ก็ตามมาคุยกันได้ในเฟสบุคนะครับ
https://www.facebook.com/dropdead.kame

ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ
http://pantip.com/topic/33154825

คลิปหลุด!! ตอนที่ 9 งาน S2M Meeting&Party 2012 "Investor NIght"

แชร์ ประสบการณ์ ขาดทุน และข้อผิดพลาด ในอดีต

เห็นช่วงนี้มีแต่คนบ่นขาดทุนๆ เลยเอา ปสก ของตัวเองมาแชร์ให้ฟังแล้วกันครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับคนรุ่นหลัง

จะแยกเป็นข้อๆ เลยแล้วกัน

*** กรณีแรก ซื้อๆ ขายๆ ***

กรณีนี้ ผมเล่นตั้งแต่ set ประมาณ 500 600 จุดครับ

ตอนนั้น จิ้มตัวไหนก็กำไร โอ๋ยเทพจริงๆเรา ซื้อๆขายๆ ทำกำไร วันละ 2000 3000 เกือบทุกวัน อย่างเทพ

ตอนนั้นเพื่อนเตือนให้หางานทำบ้างเหอะ จบมานานแล้ว ตอบเพื่อนว่าหาทำไม เล่นหุ้นแป๊ะๆ ก็ได้แหละ อีกทั้งตอนนั้นต้องช่วยกิจการของญาติกันด้วย เลยเป็นข้ออ้าง สำหรับตัวเอง

ตอนนั้นใช้เงินอย่างกะพิมพ์ได้เอง เทพมาก

นอน รร เวลาไปเทียวหาเพื่อนคืนละ 10,000 ก็เคยมาแล้ว ฟินสุดๆ

ประสบการ ตอนนั้น คือ เราคิดว่าเราเก่ง ซื้อตัวไหนก็กำไร ซื้อๆ ขายๆ บ่อยมาก เรียกรายวัน ราย ชม. เลยดีกว่า ถืออย่างมากไม่เกิน 3 วันต้องขายแล้ว

ทั้งๆที่ช่วงเวลานั้น ควรเป็นช่วงซื้อหุ้นเพื่อถือยาว ลองคิดดูครับ สมัยนั้น

Advanc ตัวละ 70 80 90 ผ่านตามาหมดแล้ว, CPF เล่นตั้งแต่ตัวละ 7 บ. จนเกิน 10 บ. มาก็ไม่ได้เล่นอีกเลย

DTAC ตัวละ 50 60 บ., Mint ตัวละ 8 บ., PTT ตัวละ 190 - 220

ช่วงนั้นราศีจับเลยครับ ปอดก็ไม่ใหญ่ ประมาณ 1.5 - 2 แสน บาท

*** ประสบการณ์ครั้งนี้ มันสอนว่า ถ้าเป็นช่วงที่เซ็ทต่ำๆ ไม่ใช่เวลาซื้อๆขายๆ แต่เป็นเวลาซื้อถือยาว ***

....................................

กรณีที่ 2 ติดกับดัก ของราคา

กรณี นี้จำได้ดีครับ

ที่ว่าติดกับของราคา คือ ราคาหุ้นครับ อย่างกรณีแรก ผมบอกแล้ว ว่า CPF ผมเล่นมาตั้งแต่ตัวละ 7 บ. พอเลย 10 บ.ไป ผมไม่ดูอีกเลย บอกว่ามันแพง

ซึ่งถ้าพูดแบบนี้ คนก็อาจจะบอกใช้ 10 มันแพงกว่า 7 บ. เป็นธรรมดา

แต่ตอนนั้น ผมลืมคิดไปว่า รายได้มันโต กำไรมันโต ปันผลมันโต (ตอนนั้นซื้อแบบซื้อหวยเลยครับ งบไม่เคยดู) บ. มันโต จะให้ราคามันอยุ่ที่เก่าได้อย่างไร

ข้อผิดพลาดกรณี นี้อีกอย่าง คือ ลืมไปว่า ตอนที่ ราคาหุ้น 7 บ. Set อยู่ที่ 500 (สมมุติ) ราคาหุ้นมา 10 บ. set อยู่ที่ 600

ลืมดูตรงนี้ด้วย คิดว่า ไม่ได้ซิ เคยเห็น 7 บ. มันเลยนี้คือแพง คิดแบบโง่ๆตอนนั้น

......................

กรณีที่ 3 เล่นเอามันส์ ตังค์ไม่เอา 

กลับมานิสัยเดิม คือ ซื้อๆขายๆ ไม่เข็ด แต่เทียวนี้ดีหน่อย เริ่มดูงบบ้าง 

ตัวเดิมๆอีกแล้วครับ CPF ผมมาเล่นอีกครั้ง ตอน 19 บ. ตอนนั้นซื้อเยอะด้วย แล้วมันก็ตกไป 16 บ. ไม่ขาย (มีแต่คนเชียร์ให้ขาย บอกมันมาจาก 7 บ. นะแก) ถือทนและทนถือ แต่ใจนี้อย่างสั่นเลย พอมันเด้งกลับมา 22 บ. ขายทิ้งทันที แล้วก็อีกแหละ ตรูเทพมากเห็นไหม

แล้วก็เป็นแบบนี้กับหุ้นหลายๆตัว ทั้ง KTB, Advanc Intuch ซื้อๆขายๆ เรียกได้ว่าเอาหุ้นดี มาเล่นเป็นหุ้นปั่นเลยช่วงนั้น

มาร์เก็ตติ่งก็นั่งยิ้มเลย ค่าคอมบาน วันๆ ผมซื้อๆขายๆ หลายรอบมาก ปอด 2 แสน ต่อยอดซื้อๆขายๆ เป็นล้านต่อวันก็มี และที่น่าตลกคือ 

ซื้อๆขายๆ ตัวเดิมด้วย เช่น ตอนเช้าซื้อ น้าอิน 50 สายๆ มันตก 58 ขายทิ้ง เปิดบ่าย มันเด่งไป 59 โดดไปซื้อใหม่ ก่อนปิด มันมีแววว่าจะลง เทขายเพื่อความสบายใจ สรุป ตัวเดียว ซื้อๆขายๆ ไปไม่รู้กี่รอบ ต่อกี่รอบ

.........................

กรณีที่ 4 เสพข่าวมากเกินไป

เดียว QE จะมา เดียวจะลด เดียวมูดดิสปรับลดนั้น เดียวตัวเลขนี้ออกมาไม่ดี

กลายเป็นการเล่นหุ้นแบบไม่มีความสุข เคยเป็นหรือเปล่าครับ ถือหุ้นอยู่เยอะ พอเสพข่าวมากๆ แล้วนอนไม่หลับ ผมเป็นประจำ

ลืมไปว่า หุ้นมันขึ้นได้ ก็ลงได้ ลงได้ ก็ขึ้นได้

ขอแค่อย่าไปเล่นตามข่าว มากเกิน แล้วจะเล่นหุ้นได้อย่างมีความสุขขึ้น

..............................

กรณีที่ 5 เล่นหุ้นตามกระแส

ใครมาเล่นซักพัก คงจำ หุ้นกลุ่ม 4 จตุรเทพแห่งขุ่นเขาได้ : STA, PTL, AJ, IVL

เรียกได้ว่า พิมพ์นิยมเลย เชียร์กันใหญ่ มันส์กันมาก ใครไม่มีตัวพวกนี้ในปอด โคตรเฉย

ปั่นกันอุตรุต ปัจจุบัน ทั้ง 4 ตัวเรียกว่า ศพ ไม่สวยทุกตัว

และช่วงที่กระแสดังๆ ผมจำได้เลยว่า มีเซียน VI ในนี้ บางคนก็สะสมหุ้นพวกนี้อยู่เหมือนกันแต่เขาสะสมมาตั้งแต่ทุนต่ำๆแล้ว แถมโชว์ปอด และมีคนขอให้โชว์ปอดอยู่เป็นประจำ

ทำให้เปรียบเสมือน การันตี ว่าหุ้นดีจริง เซียนยังมี เม่าโดดเข้าไปคุกวงใน กันฝุ่นตลบ ผมเองก็เคยไปเอากับเขาเหมือนกัน 

นั้นก็คือ STA เขาแถวๆ 30 พอมันไป 31 - 32 ขายออกเลย เพื่อนยังด่าว่าโง่ ปอด ขายไหมวะ เจ้าจะปันไป 60 กำไรเป็นเท่าเห็นๆ

เพราะเพื่อนอยู่ในวงการร้าน รับซื้อยางแผ่น มันว่ามันมีวงใน

ลองดูกราฟแล้วกันครับ ถ้ายังถืออยู่ปัจจุบัน จะสยองแค่ไหน



ข้อผิดพลาดนี้ จะว่ากระแสอย่างเดียวก็ไม่ถูก ช่วงนั้น ยางพารา ราคาแพงมาก หุ้นยาง ก็เลยได้อานิสสงค์ไปด้วย

แต่เท่าที่หลังๆ ก็มีหุ้นที่มีกระแสๆ มาบ้างในพันทิป แต่ไม่คอยดังเหมือนสมัยก่อน ที่ต้องมี คนตั้งกระทู้บ่อยๆ

................................

กรณี ที่ 6 เล่นหุ้น ต้องดูเซ็ท

บางคนบอกว่า ซื้อๆหุ้นไปเหอะ หุ้นดีมีปันผล ยังไงมันก็กลับมาก

อันนี้ผมมองว่าถูกครึ่งเดียวนะครับ

ข้อผิดพลาดอันนี้ ผมเพิ่งขาดทุนกับข้อผิดพลาดอันนี้ เมือซักปลายปีได้มังครับ

ตอนนั้นคิดว่ามองดูแล้ว หุ้นตัวนั้นก็คือ AOT

หุ้นตัวนี้ ร้อนแรงมากช่วงนั้น (ยอมรับว่าไม่เคยเล่นหุ้นตัวนี้มาก่อนเลย ไม่เคยตามข่าวอะไรเลย)

ซื้อไปเลย ที่ 217 เซ็ทอยู่ประมาณ 1500 จุดนิดๆ ประมาณ 1520 มังครับประมาณนี้

แน่นอน ก่อนซื้อ ดูงบมาแล้ว เออกำไรดี แต่ติดที่ปันผลหน่อยเดียว 1% กว่าๆ ตอนนั้น แต่คิดในใจ ไม่เป็นไร ธุรกิจมันผูกขาด ยังไงมันก็ไม่เจ๊งหรอก

แถมเดียวมี AEC อีกลูกค้าเพียบ สบายมาก

ดูกราฟประกอบแล้วกันครับ



แน่นอน ซื้อไปแล้ว ไม่คอยสบายใจเท่าไร เพราะหุ้นตัวนี้ไม่เคยเล่นมาก่อน เลยมาถามเพื่อนๆในนี้ว่าไงบ้าง

จับประเด็นได้ว่า

1. หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นปัน มีไว้ดัน ดัชนี เซ็ทลง ตัวนี้ก็ลง ตาม

2. หุ้นดีจริง แต่เพื่อนๆในนี้มาโพสถามกลับ ว่าซื้อที่ 217 จะกะไปขายที่เท่าไร 300 เหรอ คิดว่ามันจะไปถึงเหรอ

3. หุ้นดีจริง กิจการผูกขาดจริง แต่เซ็ทตอน 1500 ++ ไม่ใช่เวลาที่จะมาหาหุ้นเพื่อถือยาว

ความผิดพลาดครั้งนี้ สอนอีกหนึ่งข้อ ว่า ต่อให้หุ้นดี อย่างไง ก็ต้องดูพื้นฐาน งบ ปันผล รายได้ย้อนหลัง และที่สำคัญ ต้องดูดัชนีประกอบด้วย

เช่นตอนที่ผมซื้อ 1520 ประมาณนี้ ราคา 217 ถ้าจะไป ขายที่ 300 ดัชชนี้มันควรจะเป็นเท่าไร แล้วมันมีโอกาสหรือไม่ ถ้าไม่ ก็อย่างเสียงดีกว่า

เหมือน ดร. เคยพูดไว้ ว่า เวลานี้ (1500++) โอกาสหาหุ้นดีๆ ถูกๆ นั้นน้อยมาก เพราะมันแพงหมดแล้ว 

สรุปคือ หุ้นจะดีแค่ไหน ก็ต้องดูเซ็ท ประกอบ เพราะถ้าเซ็ทไม่ไป หุ้นเราจะไปก็คงยาก

......................
นี้แหละครับ ปสก แย่ๆของการเล่นในอดีต ของผม ผมกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง เข้าตลาดพร้อมๆกัน ถือว่าเข้ามาในช่วงเวลาทองเลยก็ว่าได้ คือเซ็ท ประมาณ เกือบๆ 500 จุด 

แต่ว่าอย่างว่า เม่ามือใหม่ เขามาเล่นไม่เป็น กำไรพันสองพัน ขายทิ้งแล้ว งบดูไม่เป็น เล่นแต่ หุ้นเดิมๆ ที่รู้จัก ติดกับดับราคา ว่าเคยเล่นที่ราคาเท่านี้ เกินนี้ถือว่าแพง

ถ้าตอนนั้นผมกับเพื่อนเลือกหุ้นดีๆ แล้วถือลืม อาจจะทุนแค่ 2 แสน แต่ถ้าถือลืม ปานนี้ อย่างน้อยๆ ต้องได้กำไรเป็นเท่า แล้ว

เช่น ไปซื้อ CPF ที่ 10 บ. ตอนนี้ก็ได้เกือบ 3 เท่าแล้ว

หรือไปซื้อ น้าแอ๊ด ที่ 90 บ. ตอนนี้ก็กำไร 2 เท่ากว่าแล้ว

หรือไปซื้อ ptt ที่ 220 ก็กำไรประมาณ 30 % เข้าไปแล้ว 

หรือไปซื้อ mint ที่ 7 บ ตอนนี้ราคา 22 บ. ก็กำไร 3 เท่าตัวเข้าไปแล้ว

......................

น่าเสียดายมากๆ เมื่อมาคิดย้อนกลับไปดู ปานนี้คงเป็น VI นั่งกระดิ๊ก...... อยู่บ้านแล้ว

......................

ส่วนบางคนที่เล่นแล้วติดดอย ที่ 1500 ++ หรือ 1600 ++

คุณกำลังเดินตามผม ในกรณี ที่ 6 อยู่ คือ เล่นหุ้น แต่ไม่ได้ดูเซ็ท ก็เหมือนตอนที่ผม ซื้อ AOT ตอน 217 นั้นแหละครับ

ส่วนจะทำอย่างไง อันนี้ต้องตัดสินใจเอาเองครับ

แต่สำหรับผม 1300 จุดตอนนี้ ถามว่าดอยไม่ ผมว่าไม่ดอยนะ 1300 จุด สำหรับเซ็ท ผมว่า มันก็ไม่ใช่เป็นยอดดอยเหมือน 1500 1600 จุดแน่ๆ

แต่ก็อย่างว่า ไม่แน่ มันอาจจะลงไป 1000 จุดก็ได้ แต่อย่างไรซะ มันก็ต้องวิ่งเด้งกับมาแน่ๆ 1300 จุดเนี้ย เพียงแต่ว่า มันจะวิ่งมาไกลแค่ไหนแค่นั้น 

นี้แหละครับ ปสก ข้อผิดพลาดของผม คนเพิ่งเล่น หรือเพิ่งลงทุน ก็ลองอ่านๆ ดูแล้วกันครับ ไม่อยากให้ผิดพลาด และเสียโอกาส เหมือนผมในอดีต

อย่างตอนที่เซ็ท 500 600 700 จุด กะทุ้ในพันทิป ส่วนใหญ่ แทบจะเป็นแนวเดียวกันคือ กำไรเท่าไร วันนี้ซื้อตัวไหนดี

แต่หาแทบไม่ได้เลย ว่า เซ็ท ประมาณนี้ มันเป็นเวลาสะสมหุ้นนะ ไม่ใช่เวลามาเล่นรอบ 

ถือว่ามาแชร์ให้ฟังแล้วกันครับ เพื่อมีประโยชน์..

crhttp://pantip.com/topic/31626442?t=1421434968688.004883

คลิป คุณหยง เกิดมาเทรด สอนพื้นฐานการเทรด TFEX เบื้องต้น สำหรับมือใหม่เพิ่งเทรด TFEX เทรดอย่างไรให้ทำกำไรได้

คลิป คุณหยง เกิดมาเทรด สอนพื้นฐานการเทรด TFEX เบื้องต้น สำหรับมือใหม่เพิ่งเทรด TFEX เทรดอย่างไรให้ทำกำไรได้

http://pantip.com/topic/32081339

เสวนา หุ้นเปลี่ยนชีวิตปีมะแม

7 วิธีที่ไม่ยากเกินความสามารถ แต่อยู่รอดในตลาดหุ้น !!!!! #

7 วิธีที่ไม่ยากเกินความสามารถ แต่อยู่รอดในตลาดหุ้น !!!!! #
การอยู่ให้รอดในตลาดหุ้น ทำยังไง... หลายคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นทั้งมือใหม่และมือเก่าที่ยังขาดทุนอยู่ คงอยากรู้วิธีการอยู่รอดในตลาด
วิธีการทำกำไร และหลีกเลี่ยงการขาดทุนจำนวนมากๆ วันนี้ผมจะบอกวิธีการเอาชนะตลาดแบบง่ายๆ ให้ทุกคนได้ทราบกันครับ
จากประสบการณ์ที่ผมอยู่ในตลาดหุ้นมาประมาณ 3 ปี ผ่านวิกฤตตลาดหุ้นมาระดับนึง อาจจะไม่หนักเท่าวิกฤตแฮมเบอเกอร์
หรือต้มยำกุ้ง แต่ก็พอให้เห็นถึงอะไรหลายๆอย่าง ผมจะเขียนตามประสบการณ์ที่ได้รับมาโดยตรง ถูกผิดยังไงก็ชี้แนะหรือ ออกความเห็นได้เลยครับ
1. เวลาที่เราเล่นหุ้น ไม่ว่าจะลงทุนหรือเก็งกำไร เราต้องมีระบบที่ชัดเจน
นักลงทุนหรือเทรดเดอร์มืออาชีพ จะมีระบบซื้อขายเป็นของตัวเอง แน่นอนว่า...นักลงทุนกับเทรดเดอร์จะมีระบบที่แตกต่างกัน
นักลงทุนก็ใช้ปัจจัยทางพื้นฐานธุรกิจนั้นๆ เทรดเดอร์ก็จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค บางคนเป็นสาย Hybrid คือนำทั้งสองแนว
มาเป็นระบบซื้อขาย ซึ่งถ้าใครมาแนว Hybrid ได้ จะเก่งมากๆครับ เพราะรู้ทั้งพื้นฐานและเทคนิค ซึ่งตัวผมเองรู้แค่เทคนิคเท่านั้น
(เรื่องพื้นฐานนี่เข้าขั้นโง่เลยครับ 55555) แต่จริงๆแล้ว ใช้แนวไหนมันไม่สำคัญเท่า การที่เรารู้ลึกและรู้จริง ในระบบที่เราใช้นะครับ
เพราะถ้าเราศึกษาไม่ถึงแก่นมันจริงๆ แล้ว เท่ากับว่าระบบเรานั้นยังไม่ดีพอ
2. The closer you look, the less you see...ยิ่งใกล้ ยิ่งไม่เห็น!!
สำนวนนี้เอามาจากหนัง Now you see me ครับ ดูแล้วนึกว่าตลาดหุ้นขึ้นมาทันที จริงๆ ตลาดหุ้นก็เหมือนการเล่นกลอย่างนึงครับ
มือใหม่หลายๆคนในนี้ คงงงว่าทำไม พอเราซื้อหุ้นปั๊บ มันลงปุ๊บ พอขายเท่านั้นแหละ ขึ้นกระจุย จริงๆแล้ว ผมคิดว่า สภาพแวดล้อม
ทำให้เราคิดแบบนั้นครับ เราควรถอยออกมาครับ อันนี้รวมถึงการเล่นหุ้นแบบDay-trading ด้วยนะครับ การเล่นหุ้นแบบ Day-trading
คือการที่เราเข้าไปตลาดหุ้นมากเกินไป ทำให้เรามองไม่เห็นภาพใหญ่และจะเจ๊งในที่สุด แต่สำหรับคนที่เล่น Day-trading แล้วสำเร็จนี่
ต้องเรียกว่าเทพเลยล่ะครับ ยากมากจริงๆ ดั้งนั้น ถ้าเราคิดว่าฝีมือเรายังไม่เทพขนาดนั้น เราควรจะมองภาพที่กว้างขึ้น ถอยออกมาให้
มากๆ เพราะยิ่งใกล้ ยิ่งไม่เห็น...
3. มีวินัยและรอให้เป็น
อันนึงจะโยงกับข้อที่ 1 นะครับ คือถ้าระบบเราดีแล้วเนี่ย แต่ถ้ารอไม่เป็น หรือไม่มีวินัย ก็เท่ากับ fail นะครับ เช่น หุ้น B พื้นฐานเปลี่ยนแล้ว
ระบบก็สั่งขาย แต่เราดื้อไม่ขาย ไม่ยอมตัดขาดทุนเล็กๆน้อยๆ จากที่ขาดทุนน้อยๆ จะกลับเป็นการขาดทุนมากๆ คราวนี้แหละครับ
ติดดอยหนัก หรือ หุ้น A มีสัญญาณซื้อแล้ว เราก็ได้เข้าซื้อตามระบบของเรา แต่...รอไม่เป็น คือขายซะก่อน แล้วมันก็วิ่งต่อ
อันนี้ คือ ขายหมู แล้วมานั่งเสียดาย .... มีวินัยและรอให้เป็น ข้อนี้ทำได้ยากจริงๆ ถ้าฝึกได้ เราก็จะเก่งขึ้นไปอีกเลยแหละครับ
4. การรักษาเงินต้น สำคัญกว่าการทำกำไร!!!
หลายๆคน ช่วงแรกที่เข้ามาในตลาดหุ้น คงฝันไว้ว่าจะทำกำไรได้มากมายใช่มั้ยครับ ผมเองก็เป็น 5555 สรุปก็ขาดทุนไปตามระเบียบ
จริงๆแล้ว การรักษาเงินต้นเนี่ยแหละครับ คือ แก่นหลักของการเล่นหุ้นเลย ไม่ต้องหุ้นหรอกครับ ทุกธุรกิจก็ต้องเป็นแบบนี้เพราะเรารักษา
เงินต้นไม่ได้ เราก็จะไม่มีเงินที่จะไปลงทุนต่อครับ แต่กลับกัน ถ้าเรารักษาเงินต้นของเราได้แล้ว เดี๋ยวกำไรมันจะมาเอง นักลงทุนหรือ
เทรดเดอร์มืออาชีพจะมองหาความเสี่ยงก่อนที่จะมองหากำไร แต่มือใหม่มักจะมองหากำไรก่อน โดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงเลย
เลยขาดทุนในที่สุด ดังนั้นการรักษาเงินต้นนี่สำคัญมากเลยครับ
5. การกระจายความเสี่ยง คือความเสี่ยง!!!
ข้อนี้ดูแล้วอาจจะขัดๆ กับคำสอนของปู่บัฟเฟตซักหน่อยนะครับ คือผมคิดว่าถ้าเราศึกษาข้อมูลหุ้นตัวนั้นๆ มาอย่างดีแล้ว เราก็ไม่มี
ความจำเป็นจะต้องซื้อหุ้นหลายๆตัว ถ้ามันเป็นไปตามที่เราวิเคราะห์แล้ว เดี๋ยวผลมันก็ตามมาเองครับ ผมจึงชอบที่จะซื้อหุ้นตัวเดียว
และซื้อไม้หนักๆ ที่เดียวเลย อาจจะ Aggressive สำหรับบางคนเกินไป ข้อนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของเราดีกว่านะครับ 555
6. ตลาดหุ้นให้ความมั่งคั่ง แต่ไม่ให้ความมั่นคง
แน่นอนครับ...ผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้นดีกว่าการฝากแบงค์หรือแม้กระทั่ง ซื้อกองทุน จึงไม่แปลกที่หลายๆคน เข้ามาเล่นหรือลงทุน
ในหุ้น แทนที่จะเอาไปฝากแบงค์ ถ้าเราศึกษาดีๆ บางทีสามารถทำกำไรได้หลายสิบเปอร์เซ็นต์ แต่!! ตลาดหุ้นมันไม่ได้ให้ความมั่นคง
กับเรา แต่ถ้าเรามีระบบซื้อขายหุ้นที่ดี เราก็สามารถแก้ข้อนี้ได้ระดับนึง แต่ก็นั่นแหละครับ... ตลาดหุ้นมันไม่แน่นอน การที่เรายืนอยู่ฝั่ง
Market Maker (Market Maker คือเจ้าตลาด บางคนบอกว่าเป็นเจ้ามือ) ก็ไม่ได้ประกันว่า หุ้นจะไปทิศทางนั้นจริงๆ ดังนั้น ใครจะคิดจะ
เอากำไรจากตลาดหุ้นเป็นรายได้ทางเดียว คงต้องคิดใหม่นะครับ ถ้าวันที่เลวร้ายมาถึงจริงๆ จะมีแผน B รับรองยังไง...
7. ขั้นสุด คือ การปลง!!
อย่างที่บอกครับ ตลาดหุ้นมันมีขึ้นมีลง มันต้องมีวันที่เราพลาดบ้าง มันเป็นเรื่องปกติครับ กำไรก็เฉยๆ เวลาขาดทุนก็อย่าไปเสียใจ
สำคัญห้ามเสียกำลังใจ!! ตอนเราขาดทุน อย่าคิดว่าขาดทุนจริงๆนะครับ เราอาจจะขาดทุนเป็นรูปแบบของเงิน แต่สิ่งที่เราได้คือ
จุดบกพร่องของเรา ถ้าเราไม่ขาดทุน เราก็ไม่รู้หรอกครับ มันเป็นเรื่องดีซะอีก แล้วพลิกจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งให้ได้ แบบนี้จากที่เราขาดทุน
เราจะกำไรแทน กลับกัน เวลาเรากำไร ถ้าเรามองแต่เหลิง คิดว่าตัวเองนั้นเก่งมากพอแล้ว คิดแบบนี้เราจะขาดทุนแทนครับ
ผมคิดว่าที่สุดของการเล่นหรือลงทุนหุ้น คือการปลงกับมัน กำไรอย่าเหลิง ขาดทุนอย่าเศร้า
จบแล้วครับสำหรับ 7 วิธีที่ไม่ยากเกินความสามารถ แต่อยู่รอดในตลาดหุ้น ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ไม่ได้จะอวดว่าเก่งหรืออะไรนะครับ
เพราะผมเองก็เพียงแค่อยู่รอดในตลาดหุ้นได้ อยากให้ที่เขียนไปนี้เป็นประโยชน์กับหลายๆคน ที่ทั้งเป็นมือใหม่หรือมือเก่านะครับ
โชคดีทุกคนครับ!!!
-----------------
ขอบคุณครับ http://pantip.com/topic/32036792

คนเจ๊งหุ้นได้มี 3 ข้อ เครดิต ครูหยง

4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการเทรด (มันใช่เลยท่าน)

4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการเทรด (มันใช่เลยท่าน)
-------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 1: เทรดโดยไม่มีหลักการ
“ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง”
– Martin Taylor –
ถ้าคุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น

ข้อที่ 2: เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big)
“นักลงทุนมักจะให้ความสำคัญเกือบทั้งหมดไปที่จุดเข้าซื้อ (entry price) ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว ขนาดของ lot (entry size ) ในแต่ละครั้งมีความสำคัญกว่าจุดเข้าซื้อ เพราะหาก entry size แต่ละครั้งใหญ่มากเกินไป เวลาที่ราคาปรับตัวลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ มันก็มักจะทำให้คุณกลัวและอกออเดอร์ก่อนทั้งที่ยังมีแนวโน้มดีนั้นทิ้งไป ดังนั้น ยิ่งขนาดของ lotใหญ่มากไปเท่าไร ความกลัวจะเข้ามาครอบงำการตัดสินใจของคุณ แทนที่จะตัดสินใจจากแผนการและประสบการณ์ที่พิจารณาอย่างดีแล้ว”
– Steve Clark –
การเทรดครั้งเดียวใน lot ที่ถือว่ามีสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหมูเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย ดังนั้น ก่อนที่จะเทรด คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่ เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น เงินในพอร์ตมี 1000$ คุณยอมรับขาดทุนได้ 200$/ครั้ง โดยที่จุดตัดขาดทุนของคุณคือ เมื่อราคาทะลุแนวต้านล่าสุดของเมื่อวานไป

ข้อที่ 3: ซื้อขายมากเกินไป (Overtrading)
การที่เราจะเทรดบ่อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของเรา แต่ไม่ว่าคุณจะใช้แนวทางลงทุนแบบไหนก็ตาม การซื้อขายน้อยครั้งย่อมดีกว่าเสมอ (less is more) อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่กราฟนั้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คุณควรจะมีไอเดียหรือกราฟที่จะเลือกลงทุนมากกว่า 1 ตัวอยู่เสมอ แต่การที่คุณซื้อๆขายๆในค่าเงินทุกตัวที่เกิดสัญญาณ ทำให้เงินลงทุนและพลังงานของคุณถูกกระจายออกไปในกราฟหลายตัวมากจนเกินไปนั้น คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ฉลาดนัก
คุณควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่คุณรู้และเข้าใจ เลือกใช้วิธีการที่คุณทำแล้วได้ผล อย่าหลงไปตามกระแสข่าวลือหรือการลงทุนที่คุณไม่ได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆก็ตามที่คุณไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นเลยแม้แต่ น้อย
“ในบางครั้ง การเทรดที่ดีที่สุดก็คือ การไม่เทรดเลย และตั้งมั่นอยู่ระบบที่เราถือ” ผมรู้ดีว่าในช่วงตลาดกระทิงดุนั้น มันมีสิ่งที่เย้ายวนใจมากที่จะทำให้คุณเทรดบ่อยครั้ง เมื่อกราฟเกือบทุกตัวขึ้นไปทะลุ High เดิม คุณรู้สึกเหมือนเด็กที่อยู่ในร้านขนมหวานแล้วไม่รู้จะเลือกหยิบขนมชิ้นไหนดี จงเลือกกราฟเพียงไม่กี่ตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าพยายามที่จะไล่เทรดทุกตัว เพราะคุณไม่สามารถทำได้ (ยกเว้นว่าคุณเป็นคอมพิวเตอร์!!!)
เบื้องหลังของความผิดพลาดในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 มักจะเกิดจากความมั่นใจที่มากเกินไปถึงแม้้ว่าความมั่นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในการทำตามแผนและระบบลงทุนของคุณ แต่ถ้ามีความมั่นใจที่มากเกินพอดี (Overconfidence) มันจะก่อให้เกิดผลเสีย เพราะความมั่นใจที่มากเกินไปนั้น เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมนักลงทุนและนักเก็งกำไรที่มีประสบการณ์จึงยังสามารถขาดทุนได้
เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่า ความสำเร็จของคุณในตลาดมาจากการที่คุณเป็นอัจฉริยะ ไม่ได้มาจากความคิดที่รอบคอบและไตร่ตรองอย่างระมัดระวังในการลงทุน ก็เท่ากับว่าคุณใกล้ถึงเวลาที่จะขาดทุนแล้ว

ข้อที่ 4: เฝ้าดูกราฟมากเกินไป (Watching your stocks too closely)
“การเฝ้ามองกราฟบนหน้าจอทั้งวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผมเชื่อว่าการเฝ้าดูทุกคำสั่งซื้อขายจะทำให้คุณขายหมูก่อนเวลาอันควร และ มักทำให้คุณ buy ในราคาที่สูงเกินไปหรือ sell ในราคาที่ต่ำเกินไปของวันนั้น รวมถึงทำการ Overtrading ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเฝ้ามองกราฟตลอดเวลา และหันไปทำสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและต่อตัวของคุณเองในช่วงเวลา ซื้อขาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น”
- Steve Clark –
“หากคุณใช้เวลาอยู่ในร้านตัดผมสักพักหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็วคุณจะคิดว่าคุณต้องตัดผม ทั้งๆ ที่คุณหัวล้าน”
– Warren Buffett –
การเฝ้ามองกราฟอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เมื่อคุณเข้าเข้าเทรดแล้ว คุณไม่ควรซื้อขายเพียงเพราะเห็นคำสั่งซื้อขายเล็กๆ น้อยๆที่สวนทางกับ Position ของคุณ การเฝ้ามองกราฟมากเกินไปนั้น ก็เปรียบเหมือนคุณนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่แสนอร่อยขณะที่คุณกำลังลดความอ้วน ดังนั้น คุณควรหาสิ่งอื่นทำแทนที่จะนั่งเฝ้าดูกราฟทั้งวัน อย่างเช่นการอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ต้องยุ่งกับการดูราคาหุ้นระหว่างวันมากเกินไป หากคุณยังสงสัยอยู่ว่า ก็ผมเป็นเทรดเดอร์แล้วจะไม่ให้เฝ้าหน้าจอได้อย่างไร? ผมขอทิ้งท้ายไว้ด้วยคำคมของ โซรอส นะครับ ลองเอาไปเปรียบเทียบกับการเทรดดู
“ถ้าคุณออกไปทำงานทุกวัน เพียงเพราะคิดว่าคุณต้องทำอะไรซักอย่าง ผลก็คือ มันทำให้คุณมักจะทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเพื่อไม่ให้เบื่อไปวันๆ ซึ่งผมคิดว่าคุณควรจะอยู่เฉยๆดีกว่า ปกติแล้วผมจะไปทำงานเฉพาะเวลาที่มีงานให้ทำ ในเวลาที่มันควรค่าแก่การทำจริงๆ ผลก็คือ ผมเรียนรู้ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า วันไหนที่มีงานสำคัญกว่าวันอื่นๆ และรู้ว่าเวลาไหนที่ควรมุ่งมั่นกับงานเป็นพิเศษ”
Credit:http://www.thaiforexschool.com
ศ.เกื้อกุล วัยรุ่นพันล้าน
cr เพจ อาศักดิ์

5 TEDTalks for Everyday Self-Improvement

5 TEDTalks for Everyday Self-Improvement

[CR]เทคนิคตัดสินใจเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องหมูๆ [ของ Jeff Bezos จากหนังสือ The Everything Store]

[CR]เทคนิคตัดสินใจเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องหมูๆ [ของ Jeff Bezos จากหนังสือ The Everything Store]
ในแต่ละวันเราจะต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องธรรมดาเช่น ออกไปเจอเพื่อนดีมั๊ย หรือกินข้าวไหนดี ทำ OT ดีมั๊ย ไปจนถึงเรื่องสำคัญๆ ที่ตัดสินใจยากมากๆ เช่นทำงานที่ไหนดี เรียนต่อดีมั๊ย ออกจากงานมาเปิดร้านเองดีมั๊ย หรือแม้กระทั่งจีบสาวคนนี้ดีมั๊ย ?

โพสต์นี่ผมจะมาแนะนำกระบวนความคิดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ตัดสินใจยากๆ ครับ เทคนิคนี้ผมได้มาจากหนังสือ The Everything Store เขียนโดย Brad Stone  ซึ่งเล่าชีวประวัติของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Amazon และความเป็นมาของบริษัทตั้งแต่ก่อนก่อตั้ง จนมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอินเตอร์เน็ตถึงในปัจจุบันครับ

ในปี 1994 Jeff Bezos ซึ่งอายุได้ 30 ปีพอดี กำลังหนักใจกับการเลือกเส้นทางชีวิตการงานของเขา ระหว่างเติบโตต่อไปกับบริษัท D.E. Shaw & Co ซึ่งตอนนั้นเป็นบริษัทกองทุน Hedge Fund ที่คิดค้นเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการลงทุน ซึ่ง Jeff ก็ทำหน้าที่ของเขาได้ดีมาก และกำลังเริ่มโปรเจ็คใหม่ที่เรียกว่า Everything Store บนอินเตอร์เน็ท  แต่ Jeff รู้ดีว่าถ้าเขาอยู่ที่นี่ต่อไปเขาจะไม่ได้เป็นเจ้าของเจ้า Everything Store จริงๆ  เพราะฉะนั้นอีกทางเลือกของ Jeff คือ ออกจากงานประจำที่ D.E. Shaw และทิ้งโอกาสการเป็นผู้บริหารเงินเดือนดี งานสนุกและมั่นคง แล้วมาร่วมเดินทางกับเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า "The Internet" แทน  Jeff ในตอนนั้นคิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เขาเลยไปปรึกษาหัวหน้าเขาที่ชื่อว่า David Shaw ผู้ก่อตั้งบริษัทที่เขาทำงานอยู่นั่นเอง หัวหน้าจึงให้เวลา Jeff มาตัดสินใจเป็นเวลา 48 ชั่วโมง

ระหว่างช่วงเวลาตัดสินใจกับชะตาชีวิตตัวเองนั้น Jeff ได้อ่านนิยายที่ชื่อว่า "Remains of the Day" โดย Kazuo Ishiguro ซึ่งหลังจากอ่านเสร็จ Jeff Bezos ก็ได้แรงบันดาลใจและเทคนิคในการตัดสินใจที่เรียกว่า The Regret Minimization Framework หรือการเลือกหนทางที่เราจะเสียดายน้อยที่สุดเมื่อมองกลับมาจากอนาคต  ซึ่งสำหรับ Jeff นั้น กระบวนความคิดนี้ทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องง่ายไปเลย

หลังจาก Jeff ลองนึกมองตัวเองกลับมาจากอนาคตตอนเขาอายุ 80 เขาก็รู้สึกกระจ่างขึ้นมาทันที เขารู้เลยว่าตอนเขาอายุ 80 เขาคงไม่มานั่งเสียดายเงินเดือนและโบนัสทั้งหลายที่เขากำลังจะได้บริษัทใน Wall Street หรือเสียดายที่ออกจากงานดีๆแบบนี้ แต่เขาคงเสียดายสุดๆ ถ้าเขาไม่ได้ร่วมเดินทางไปกับการเริ่มต้นของยุคอินเตอร์เน็ตที่กำลังเติบโตแบบปาฏิหาริย์! หลังจากนั้นเขาเลยไปคุยกับหัวหน้าเขา David Shaw และขอโปรเจ็คนี้ Everything Store นี้ไปเริ่มบริษัทของตัวเอง ซึ่งโปรเจ็ค Everything Store ก็ได้กลายมาเป็นบริษัท Amazon ในปัจจุบัน

เมื่อผมอ่านเกี่ยวกับเทคนิคนี้แล้ว ผมก็ไม่รอช้าที่จะลองใช้ และแนะนำเทคนิคนี้ไปบอกคนอื่นต่อ  ถึงผมจะยังผลของการติดสินใจของผมส่วนใหญ่ยังไม่เห็นผล แต่ผมก็พบว่าเทคนิคนี้ช่วยทำให้ผมไม่ขี้เกียจที่จะออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ หรือทำงานต่างๆให้เสร็จครับ  ยกตัวอย่างเช่นเวลาเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานชวนออกไปกินข้าวเป็นกลุ่มใหญ่ บางทีผมก็ขี้เกียจไป นั่งเล่นเน็ทหรือทำงานอยู่บ้านดีกว่า แต่พอคิดแบบ Regret Minimization ปุ๊บ ผมเปลี่ยนใจทันที เพราะเมื่อผมมองกลับมาจากอนาคต (เช่น 1 ปีข้างหน้า สำหรับเรื่องเล็กๆ แบบนี้) ผมจะเสียดายมากถ้าผมไม่ไปผมจะพลาดโอกาสได้เจอไอเดียใหม่ และแลกเปลี่ยนความคิดต่างๆกับเพื่อน และที่สำคัญ ถ้าวันต่อมาเพื่อนๆผมลงรูปบนเฟส ดูเฮฮาสนุกกัน ผมต้องยิ่งเสียดายที่พลาดโอกาสในการสนุกวันนั้นไปแน่นอน

ผมคิดว่าคนเรามักจะให้น้ำหนักกับความรู้สึกปัจจุบันมากไป  ซึ่งมันทำให้เรามีโอกาสเข้าข้างทางเลือกที่ไม่เสี่ยง ทั้งที่มันอาจจะไม่ได้ดีที่สุดสำหรับเราในอนาคต  การเลือกแบบ Regret Minimization จะกระตุ้นให้เราออกจาก Comfort Zone และมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะมันทำให้เรามองข้ามช็อตไปเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองในอนาคตแทนครับ  ส่วนเรื่องมองไปไกลแค่ไหน ผมคิดว่ายิ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องมองออกไปไกลเท่านั้นครับ

ฟัง Jeff Bezos เล่าเกี่ยวกับ Regret Minimization Framework:

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ถ้าเพื่อนๆมีปัญหาหนักใจ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีอยู่ ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะครับ  เป็นไงแล้วมาบอกด้วยนะครับ ^^

ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ชีวประวัติของ Jeff Bezos และที่มาที่ไปของบริษัท Amazon และอุตสาหกรรมขายปลีกในอินเตอร์เน็ท ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ ผู้เขียนเขียนบรรยายได้สนุก และลงลึกมากครับ

สุดท้ายนี้ขอฝากบล็อกของผมด้วยนะคร้าบ ตามอ่านบล็อคต่อๆไปได้ที่นี่เลยครับ http://metapon.wordpress.com

โพสต์ก่อนหน้านี้: 5 TEDTalk สร้างแรงบันดาลใจ https://metapon.wordpress.com/2015/02/03/5-tedtalks-for-motivation/
ชื่อสินค้า:   หนังสือ The Everything Store (Amazon.com) [2013] โดย Brad Stone
cr: http://pantip.com/topic/33249871

ชำแหละวิธีการเลือก 6 กองทุนหุ้นปันผลที่ดีที่สุดในประเทศ

www.iammrmessenger.com/?p=450

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เว็บ วิเคราะห์หุ้นเคสสดแนวปัจจัยพื้นฐาน

http://www.tm-thailand.com/Article/Show?articleId=61

พื้นฐานการลงทุนในหุ้น จาก www.chaloke.com(โดยคุณboyslaw )

พื้นฐานการลงทุนในหุ้น จาก www.chaloke.com(โดยคุณboyslaw )

บทที่ 1 
ก่อนจะลงทุนว่าด้วยเรื่องเหตุผล คิดยังไง ทำไมจึงต้องลงทุน

1. การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (แทนที่จะเล่นหุ้น) มีทางมีกำไรที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก : Chaloke 
2. ลงทุนเพราะ "อยากเอาเงินมาต่อเงิน" เพราะคิดอย่างละเอียดแล้วว่าเงินเก็บในธนาคารที่ฝากไว้เฉยๆ ไม่งอกเงยเท่าที่ใจอยากได้และคิดว่าถ้านำไปลงทุนในหุ้นจะได้ผลตอบแทน (กินเงินปันผล) มากกว่าฝากธนาคารอย่างมาก : Oppa-Jan 
3. ลงทุนเพราะ “อยากรวย”
4. ลงทุนเพราะ ”อยากเกษียณเร็ว” 
5. ลงทุนเพราะ “ไม่อยากดิ้นรนขวนขวายทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำจนแก่ตาย”
6. ลงทุนเพราะ “อยากหาเงินไว้ให้ลูก”
7. ลงทุนเพราะ “อยากเป็นอิสระทางการเงิน”
8. ลงทุนเพราะ “อยากมีเวลาว่างสำหรับใช้ชีวิตในการสร้างบุญบารมี”
9. ลงทุนเพราะ “ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องมีลูกน้อง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ” : Tui123
10. ลงทุนเพราะ “อยากได้เงิน อยากรวย แล้วได้ในสิ่งที่ปรารถนา แล้วจะมีความสุข” : NewLife
11. เริ่มมาลงทุนเพราะคิดว่าได้ปันผลดีกว่าดอกเบี้ย : SL 
12. ลงทุนเพราะ “การนำเงินออมมาบริหาร ให้มันงอกเงย เพื่อ back up ชีวิตคนทำงานกินเงินเดือน” : tongandtong 
13. ลงทุนเพราะ “ไม่อยากนั่งทำงานออฟฟิศ เปิดธุรกิจทำเองไม่ไหว (เหนื่อยกว่าเป็นลูกน้องเค้าอีกนะ) ไม่อยากมีลูกน้อง ขี้เกียจบริหารคน ปวดหัว ให้เงินทำงาน ทำได้เองคนเดียว ไม่ต้องยุ่งกะใคร : ohyooha
14. ......................

กฎเหล็ก 3 ข้อ เริ่มมาจากทฤษฎีดาว Dow's Theory 
Technical analysis เริ่มต้นจาก Dow’s Theory โดย Charles H. Dow และ Edward D. Jones ก่อตั้ง Dow Jones & Company ในปี 1882 และเริ่มสร้าง Dow Jones Industrial Average (^DJX) และ Dow Jones Transport Average (^DJT) ปัจจุบันนี้ มี Dow Jones Averages ต่างๆอยู่ในตลาดถึง 1,740 Indices
Dow’s Theory มีหลักที่สำคัญอยู่ 8 ข้อ คือ......(ขอย้ำ 8 ข้อ นะครับ)ใครรู้บ้างว่า 8 ข้อ เริ่มแรก มีอะไรบ้างน้อ..?....... 
ตอบ..................

Dow’s Theory มีหลักที่สำคัญอยู่ 8 ข้อ คือ
1. The Averages discount everything ราคาที่ปรากฎในตลาด เป็นผลมาจากความปรารถนาของมหาชน ไม่ว่า Fundamentals หรือ Indicators อื่นๆ จะแสดงอะไรก็ตาม ให้ถือ Price Pattern ของ Index เป็นใหญ่ อย่าไปเชื่อข้อมูลลับที่ลือกันในตลาด
2. There are three trends in stock prices นักลงทุนต้องแยกแยะ 
2.1 Primary Tide เป็น Major long-term trend และ 
2.2 Secondary Reactions เป็น Intermediate-term trend และ 
2.3 Ripples เป็น Minor day-to-day fluctuations สำหรับ Short-term traders
3. Bull Market คือ Primary Tide อยู่ใน Up-trend ประกอบด้วยคลื่น 3 คลื่น 
3.1 คลื่นแรก (Wave 1) มาจากนักลงทุนที่มีความสามารถเห็นแนวโน้มก่อนตลาด 
3.2 คลื่นที่สอง (Wave 3) เป็นคลื่นของนักลงทุนทั่วๆไป เข้ามาตามสัญญาณ และ
3.3 คลื่นที่สาม (Wave 5) เมื่อตลาด Bullish เต็มที่ แมงเม่าเข้ามาบินว่อนเล่นไฟ
4. Bear Market คือ Primary Tide อยู่ใน Down-trend ประกอบด้วยคลื่น 3 คลื่น
4.1 คลื่นแรก (Wave 1) มาจากนักลงทุนที่มีความสามารถเห็นแนวโน้มก่อนตลาด 
4.2 คลื่นที่สอง (Wave 3) เป็นคลื่นของนักลงทุนทั่วๆไป ตกใจขาย และ
4.3 คลื่นที่สาม (Wave 5) เมื่อตลาด Bearish เต็มที่ แมงเม่าขาย at any price
5. The two Averages must confirm each other การกำหนด Primary Tide ว่าเป็น Bullish ทั้ง ^DJI และ ^DJT ต้องมี New Higher Peaks และการกำหนด Primary Tide ว่าเป็น Bearish ทั้ง ^DJI และ ^DJT ต้องมี New Lower Troughs ข้อนี้เราเอามาดัดแปลง โดยพิจารณาหุ้นแต่ละตัวหรือแต่ละ Sector เปรียบเทียบกับ SET Index หรือ SET100 Index
6. Use only Closing price at the end-of-day ราคาระหว่างวันไม่นำมาพิจารณา การอยู่ไกล้ตลาดมากเกินไปมักทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
7. The Primary Tide remains in effect until reversal has been signalled by both averagesแปลง่ายๆว่า อย่ารีบขายหมู
เมื่อย้อนกลับไปอ่านบทเริ่มต้นของบทความนี้ ผมเขียนว่า “Dow’s Theory มีหลักที่สำคัญอยู่ 8 ข้อ” แต่เขียนเอาไว้แค่ 7 ข้อ ไม่รู้ว่ามีใครสงสัยบ้างว่าข้อที่ 8 คืออะไร
8. The Theory is not infallible. If someone did find such a system, then he or she will own the world in relatively short order and speculation as we know it will not exist.
คงไม่ต้องแปลนะครับ ถ้าทฤษฎีต่างๆ ถูกต้องแน่นอน 100% พวกเราคงรวยกว่าทักษิณกันเป็นแน่ การที่เราสามารถมองเห็น Pattern ต่างๆได้ก่อนคนอื่น ทำให้เราสามารถเข้าตลาดได้ก่อนคนอื่น และออกได้ก่อนคนอื่นด้วย โดย Average แล้ว Chance ของเราจะดีกว่าคนอื่น Probability ที่จะได้กำไรสูงกว่าคนอื่น แต่ก็ไม่ไช่การ Guarantee ว่าจะถูกเสมอไป ดังนั้น การ Apply century old
Dow’s theory กับการลงทุนของพวกเรา จึงเป็นการเพิ่ม Probability ของการได้กำไร และเพื่อป้องกัน Short fall ของ Dow’s theory ในข้อสุดท้ายนี้ ลุงโฉลกจึงขอเสนอ CDC Theory ข้อที่ 1 เพื่อนำไปต่อท้ายเป็น Dow’s theory ข้อที่ 9 ว่า Take good care of the Stop Loss and the profit will look after itself. 
บทความโดย : UNCLE CHALOKE
เครดิต:http://www.chaloke.com

Philosophy of Technical Analysis 
คำจำกัดความของฝรั่ง 
Technical analysis is the study of market action, primarily through the use of charts, for the purpose of forecasting future price trends. 
แต่คำว่า Forecasting นี้มันช่างไม่ Scientific เอาเสียเลย การ ทำนายอนาคต ฟังดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องของ หมอดู 
คำจำกัดความของ chaloke.com จึง ไม่ทำนาย แต่เอา Probability มาใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ เพื่อให้ได้กำไร
Technical analysis is the study of the probability of possible market price patterns, primarily through the use of charts, for the purpose of making profit.
เราลงทุนเพื่อให้ได้กำไร 
ไม่ใช่เพื่อเอาชนะตลาด 
ไม่ใช่เพื่ออวดว่าลงทุนทีไรกำไรทุกที 
ไม่ใช่เพื่อแสดงว่าเก่ง ซื้อได้ที่ราคาต่ำสุดๆ ขายได้ที่ราคาสูงมากๆ 
แต่เราลงทุนเพื่อให้ได้กำไร 

คือ กฎเหล็ก 3 ข้อ ที่นักลงทุน จำเป็น ต้องศึกษาให้เข้าใจ และ จำเป็น ต้องยอมรับ
ถ้ายังไม่สามารถยอมรับกฎ 3 ข้อนี้ได้
ก็ไม่ควรมาลงทุนโดยอาศัย Technical Analysis 


กฎเหล็ก 3 ข้อ
1. Market action discounts everything
หมวดที่ 1 การวิเคราะห์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
- แนวคิดการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน 
- วิเคราะห์เศรษฐกิจโดยรวม 
- วิเคราะห์อุตสาหกรรม 
หมวดที่ 2 การวิเคราะห์บริษัท
- วิเคราะห์บริษัทเชิงคุณภาพ
- วิเคราะห์บริษัทเชิงปริมาณ
หมวดที่ 3 การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
- แนวคิดการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
- การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
- การวิเคราะห์ข้อมูลจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ และ
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Workshop การเลือกหุ้นโดยคำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) โดยใช้เทคนิคการ คิดลด กระแสเงินสด และเทคนิคการประเมินมูลค่าที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ 4 เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์
- การซื้อหุ้นคืน
- การเพิ่มทุน/ลดทุน
- การแตกพาร์
- การควบรวมกิจการ
- การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือนโยบายที่สำคัญ
หมวดที่ 5 การโกหกของผู้บริหาร และการทุจริตโดยใช้ Insiders’ information
หมวดที่ 6 การไม่วิเคราะห์ของกลุ่มแมงเม่า
หมวดที่ 7 Greed and Fear ของ Speculators

กฎข้อแรกนี้สำคัญที่สุด 
ถ้าไม่เข้าใจแล้ว การใช้ Technical analysis ก็จะไม่เกิดผลเลย
เราต้องยอมรับหลักการที่ว่า Fundamental factors ทุกอย่าง ระบบบัญชีและระบบธุรกิจทุกระบบที่เราไม่เข้าใจ จะส่งผลมาที่ราคา รวมทั้งเรื่องการเมือง และเรื่องจิตวิทยาของตลาดด้วย
โดยสรุปคือ ราคาที่ปรากฏ เป็นผลของ Demand/Supply ที่ตลาดกลั่นกรองในทุกๆด้านแล้ว 


2. Prices move in trends
The Market Has Three Trends Uptrend, Downtrend and Sideway 
A trend has three parts 
2.1 Primary คือ Trend ใหญ่ มักยาวเป็นปี
2.2 Secondary คือ Corrections มักใช้เวลาตั้งแต่ a few weeks to a few months และ
2.3 Minor คือเป็น Ripples เล็กๆใน Corrections

A Trend Is Assumed to Be in Effect Until It Gives Definite Signals That It Has Reversed
เมื่อราคาขึ้น ราคาจะขึ้นต่อ จนกว่าราคาจะลง และเมื่อราคาลง ราคาจะลงต่อ จนกว่าจะขึ้น
Newton’s first law of motion 
เมื่อราคาขึ้น ราคาจะขึ้นต่อ จนกว่าราคาจะลง 
และ เมื่อราคาลง ราคาจะลงต่อ จนกว่าจะขึ้น 

ตลาดมี Trend เสมอ
ตลาดทุนก็ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง 
เมื่อตลาดมีการเปลี่ยนแปลง ตลาดก็ต้องขึ้นหรือลง ไม่คงที่อยู่ 
เมื่อตลาดขึ้นหรือลง ตลาดก็มี Trend 

เมื่อตลาดมี Trend การลงทุนเพื่อให้ได้กำไร ก็ต้องใช้ Trend following system ที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับนิสัยของเรา
การลงทุนเพื่อให้ได้กำไร จึงต้องไม่ทำ against trend 
ถ้าตลาดอยู่ใน Up trend ก็อย่าเล่น Short ภาษาไทยเรียกว่า อย่าเป็นชาวสวน รอให้ตลาดหยุดขึ้นเสียก่อนแล้วค่อยขาย 
และเมื่อตลาดอยู่ใน Down trend ก็อย่าเพิ่ง Long รอให้ตลาดหยุดลงเสียก่อนจึงค่อยซื้อ

3. History repeats itself
ราคาจะขึ้นหรือลงก็ขึ้นอยู่กับ คน เข้าไปซื้อ หรือขาย 
คน เหล่านั้น ถึงจะเปลี่ยนหน้าไปอย่างไรก็ตาม แต่ก็มีสองสิ่งที่เหมือนเดิม คือ Greed and Fear ซึ่งทำให้เกิด Trading patterns ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกซ้ำเดิมเสมอ

Those who fail to learn the lessons of history are doomed to repeat them. แปลว่า ถ้าเรารู้ Pattern การเคลื่อนไหวของตลาดในอดีต ตลาดก็จะเคลื่อนไหวต่อไปในอนาคตด้วย Pattern เดิมนั้น แปลว่า ถ้าเราซื้อขายด้วย ระบบ อย่างมี ระเบียบได้ รวยแน่
ใครรับข้อ 1 และข้อ 2 ไม่ได้ ก็อย่าเล่นหุ้น


สรุปกฎเหล็ก 3 ข้อ
1. Market action discounts everything พิจารณาเฉพาะ Price Data ไม่พิจารณา Fundamental Data เช่นค่า P/E, ฯลฯ
2. Prices move in trends ไม่ช้อนซื้อ เพราะเมื่อราคาลง จะลงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะขึ้น ไม่ Take profit เพราะเมื่อราคาขึ้น จะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะลง
3. History repeats itself ซื้อขายด้วย ระบบ อย่างมี ระเบียบ

ที่มา : bunlue นพ.บรรลือ เฮงประสิทธิ์ (31 มกราคม 2553)
ต้นฉบับ : Seminar on Technical Analysis ครั้งที่ 1/12 อาคารอมรภูมิรัตน ม.เกษตรศาสตร์ โดยคุณลุงโฉลก (11 มิถุนายน 2549)
เครดิต:http://www.chaloke.com

Trade Your Way to Financial Freedom 
เขียนโดยนักจิตวิทยา Dr. Van Tharp ก็ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า 
ความสำเร็จในการลงทุนนั้น
Trading System มีความสำคัญ 10% 
Money Management 30% 
และ 60% ไปสำคัญที่ psychology จิตวิทยา 
วิธีคิดของนักลงทุนเกี่ยวกับการลงทุน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

ระบบการลงทุน
ประกอบด้วยคำสั่งแค่ 3 คำสั่ง คือ 
Entry (Buy or Sell) 
Exit (Sell or Buy) 
และ Money Management

Trading System 
1. BoonC PnT 1.1 (CDC PnT 1.1 Original)
2. BoonC PnT 1.1 ADX
3. CDC 1.01
4. CDC 1.005
5. CDC RSI 753
6. CDC 2MA AFET
7. CDC ATR Trailing Stop
etc.

ขอแนะนำ สูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับของชมรมโฉลกดอทคอม
ที่มาจากคุณหมอ boonc(คุณหมอบุญช่วย)ศิษย์รุ่นแรก ของคุณลุง ที่เป็นผู้คิดค้นสูตรนี้ขึ้นมาและได้ปรับปรุงจนไม่มี bug และทำกำไรให้สมาชิกอย่างพอเพียงและอยู่อย่างเพียงพอ เอาเวลาที่เหลือไปสร้างสมบุญบารมีกัน

1. BoonC PnT 1.1 (CDC PnT 1.1 Original)
Buy เมื่อราคาปิด Close สูงกว่า Previous Peak
{Buy when} Close > Peak(1,Close,1);
Sell เมื่อราคาปิด Close ต่ำกว่า Previous Trough
{Sell when} Close < Trough(1,Close,1);

{Boonc PnT 1.1 Original}
{Highlights}
{Bullish}
Pct:=1;
Pk:=Peak(1,C,Pct); 
Tr:=Trough(1,C,Pct);
Upper:=Ref(ValueWhen(1,Pk<>Ref(Pk,-1),C),-1);
Lower:=Ref(ValueWhen(1,Tr<>Ref(Tr,-1),C),-1);
Bullish:=BarsSince(Cross(C,Upper))<BarsSince(Cross(Lower,C));
Bearish:=BarsSince(Cross(C,Upper))>BarsSince(Cross(Lower,C));
Bullish;

{Bearish}
Pct:=1;
Pk:=Peak(1,CLOSE,Pct); 
Tr:=Trough(1,CLOSE,Pct);
Upper:=Ref(ValueWhen(1,Pk<>Ref(Pk,-1),CLOSE),-1);
Lower:=Ref(ValueWhen(1,Tr<>Ref(Tr,-1),CLOSE),-1);
Bullish:=BarsSince(Cross(C,Upper))<BarsSince(Cross(Lower,C));
Bearish:=BarsSince(Cross(C,Upper))>BarsSince(Cross(Lower,C));
Bullish;
***หมายเหตุระบบซื้อขายหรือว่าสูตรข้างต้น ใช้กับโปรแกรมmetastock เท่านั้น

ต้องมี ระเบียบ ใน ระบบ 
ต้องใช้ Trend following system 
ต้องรู้ชัดถึงเรื่อง Pattern recognition 
และต้องรู้สัญญาณ Trend reversal
โดยมี Portfolio Management & Money Management ที่ถูกต้อง

Stop loss
ความไม่เที่ยงของตลาดทุน ไม่พยายามเอาชนะตลาด แต่ใช้ความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดมาพิจารณาลดความเสี่ยงในการขาดทุน 
โดย การลงทุนตาม ระบบ และการรักษาระเบียบการ Stop loss อย่างเคร่งครัด คือหัวใจของการลงทุนเพื่อให้ได้กำไร 

Portfolio Management
อย่าเสี่ยงลงทุนเกิน 2% ของ Portfolio ในการลงทุนแต่ละครั้ง
เพราะธรรมชาติของตลาด Futures เป็น Leverage ประมาณ 1:10 ถึง 1:15 (ตลาด options อาจมี Leverage สูงถึง 1:250) 
การกำหนด Percentage แบบนี้ เป็นการเรียนรู้การควบคุมความโลภ 

ระบบ “กำไรพอเพียง” 
ระบบ ที่มีกำไร พอเพียง และเข้ากันได้กับวิถีชีวิตของเรา 
แล้วใช้ชีวิตทำตาม ระบบ นั้นๆ อย่างมีระเบียบ 
นี่คือความสุขที่แท้จริง ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์อย่างยิ่ง คือความ พอเพียง นั่นเอง 
ไม่ใช่ความทุกข์ที่ปลอมมาในรูปของความสุขชั่วคราว ที่ได้จากการทำกำไรให้มากที่สุด 
ที่ไม่มีทางทำได้สำเร็จด้วยความพยายามทำ 
เพราะบุคคลจะมีทรัพย์มากหรือน้อยเท่าไหร่ ก็เป็นไปเพราะทานบารมีที่สร้างสมเอาไว้ในอดีตเท่านั้น
ที่มา : bunlue นพ.บรรลือ เฮงประสิทธิ์ (31 มกราคม 2553)
ต้นฉบับ : Seminar on Technical Analysis ครั้งที่ 1/12 อาคารอมรภูมิรัตน ม.เกษตรศาสตร์ โดยคุณลุงโฉลก (11 มิถุนายน 2549)
เครดิต:http://www.chaloke.com

เรามาเรียนกันต่อครับ (ทฤษฏี นะ 555)ภาคปฏิบัติเด๋วคุณหมอน้ำจัดการให้ คริคริ :D 
คำสอนของคุณลุงโฉลก
เอาทีละขั้นเถอะครับ 
ขั้นแรก ซื้อขายหุ้น SET ธรรมดา ใช้ ระบบ ให้เป็นก่อน ห้ามแหกกฏเด็ดขาด ทำตาม ระบบ ย่อมได้กำไรแน่ กำไรจนเบื่อหรือยังครับ
ขั้นที่สอง ลองเล่น AFET และ TFEX ให้ได้กำไรจนเบื่อก่อน
เมื่อกำไรจนเบื่อแล้ว เข้าใจ ระบบ แล้ว ค่อยลอง Commodity Futures 
กำไร Commodity Futures จนเงินเหลือใช้แล้ว เริ่มเล่น Option 
รวยจาก Option แล้วค่อยไป Forex 
ขนาดธนาคารชาติยังเจ๊งไปเป็นแสนล้านบาท คราวที่แล้วก็ต้มยำกุ้ง ประเทศเกือบล่ม ก็เพราะ Forex นี่แหละครับ คราวนี้ก็โดนไปอีกเป็นแสนล้าน แล้วพวกเราเก่งแค่ไหนหรือครับ เชื่อลุงเถอะ หัดใช้ ระบบ ให้เป็นก่อน ไม่ต้องรีบบินเข้ากองไฟครับ
ที่มา : Oui นาวาอากาศโท อรรถพันธ์ ญาณกรธนาทรัพย์ (31 มกราคม 2553)
เครดิต:http://www.chaloke.com

หลักสำคัญ 3 ประการของการลงทุน คือ
1. ความรู้ทางด้าน Technical analysis 
พื้นฐาน สำหรับมือใหม่ ไม่ต้องคิดมาก เขียวซื้อแดงขาย ตามระบบ CDC PnT 1.1 Original (Trading System มีความสำคัญ 10%)
ถ้าอยากรู้มากรู้ลึก ต้องศึกษาเพิ่มเติมเองนะครับ มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียตังค์

2. ความรู้ทางด้าน Money management มีความสำคัญ 30%ให้ใช้ ระบบ CDC PnT 1.1 Original จัดพอร์ตแนวทางโฉลกดอทคอม ดังนี้
2.1 กำหนดขนาดของ Portfolio ให้แน่นอนก่อนเริ่มลงทุน โดยพิจารณาจำนวนเงินที่สามารถนำมาเสี่ยงได้อย่างสบายใจ อย่าลงทุนมากเกินกำลังความสามารถที่จะรับความเสี่ยงได้ ( หรือ ยอมสูญเสียเงินจำนวนนี้ได้ หรือยอมให้เป็นศูนย์ได้)

2.2 ไม่เปลี่ยนขนาดของเงินลงทุนใน Portfolio นั้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี

2.3 เลือกตลาดที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถ เช่น ตลาดหุ้น (SET) ของประเทศไทย แทนที่จะไปเลือกตลาดที่คู่แข่งขันเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ เช่นตลาด Futures, Options, Spread, Straddle หรือ Arbitrage

2.4 กระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆ ตัว จากหลายๆ Sectors หรือเลือกจาก SET50 

2.5 ไม่เปลี่ยนแปลงหุ้นที่เลือกแล้วอย่างน้อย 2 ปี ไม่เพิ่ม ไม่ลด

2.6 กำหนดขนาดของเงินลงทุนไม่เกิน 80% ของปริมาณเงินใน Portfolio โดยหุ้นแต่ละตัวมีปริมาณเงินลงทุน ตายตัว ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่เปลี่ยนแปลง อย่างน้อย 2 ปี (ติดต่อขอเมล์จัดพอร์ต Set50Trading Account ได้ที่เวบบอร์ดครับ)
3. ความรู้ทางด้าน Psychology of investment มีความสำคัญ 60%คือ การทำใจ ทำตามระบบ CDC PnT 1.1 Original เขียวซื้อ แดงขาย ให้ได้ โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น (ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้ระบบ)

Psychology of investment ที่ได้มาจากความชำนาญ เป็นสิ่งที่ไม่มีทางลัด ต้องอาศัยเวลายาวนานในการเรียนรู้การลงทุนตามระบบ ชมรมขอชี้แนะทางลัดขั้นแรกให้แก่สมาชิก นั่นคือการสร้าง ทานบารมี เพิ่มพูนทานบารมีด้วยปัญญาจนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นความ พอเพียง ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
สมาชิกที่รู้จักความ พอเพียง ลงทุนโดยมี Money management อย่างเป็น ระเบียบ และใช้สูตรที่เหมาะสมกับความต้องการในการลงทุนและเข้ากับนิสสัยของตัวเอง คือสมาชิกที่ลงทุนอย่างเป็น ระบบ ซึ่งจะเป็นการปิดประตูขาดทุนได้อย่างแน่นอน
สรุป
ทำตามระบบ รวยตามระเบียบ แบ่งทำบุญตามปกติ และอยู่อย่างพอเพียง

ที่มา : Chaloke (14 กุมภาพันธ์ 2553) : ของขวัญวันเปิด Web ใหม่ และเนื่องในโอกาสวันตรุษจีน และวัน Valentine’s Dayเครดิต:http://www.chaloke.com


สรุปสูตร ที่แนะนำให้ใช้
a. CDC PnT 1.1 สำหรับนักลงทุนระยะยาว ประมาณ 1-3 เดือน (มาตรฐาน)กำไรพอเพียง
b. CDC Hi-Lo 3 สำหรับนักลงทุนระยะกลาง ประมาณ 1-4 สัปดาห์ (เข้าออกไว)
c. CDC Sensitive 1.1 สำหรับนักลงทุนระยะสั้น ประมาณ 1-7 วัน(เข้าออกไว๊ไว)

ยิ่งไวยิ่งฟอล์ซเยอะนะขอรับ :mrgreen: 



สรุป เครื่องมือช่วยในการเทรด
1. โปรแกรมวิเคราะห์หุ้น
ที่นิยมใช้กัน
Metastock (ชมรมเรานิยมใช้กันมาก)
Ammibroker
ฯลฯ

2. โปรแกรมโหลดข้อมูล
The Stock Downloader version 2.0 build 20100216
ได้รับความอนุเคราะห์จาก เสี่ยสาม หรือ เสี่ยไตรสิทธิ์ (หลวงพี่) โปรแกรมแจกฟรีสำหรับสมาชิกทุกท่านครับ
3. โปรแกรมฝึกเทรดหุ้น
MS Simulator
ได้รับความอนุเคราะห์จาก เสี่ยสาม หรือ เสี่ยไตรสิทธิ์ (หลวงพี่) โปรแกรมแจกฟรีสำหรับสมาชิกทุกท่านครับ

เมื่อมีเครื่องมือครบ และใช้เครื่องมือเป็นแล้ว ก็มาเริ่มกันต่อที่
ขั้นตอนการเทรดในบทที่ 3 กันต่อครับ

(วิธีง่ายที่สุดในการได้โปรแกรม และการใช้เครื่องมือเทรด และข้อมูล คือ เข้าอบรมคอร์ส CDC101-CDC102ของชมรมโฉลกดอทคอม)

ก่อนจะไป บทที่ 3 เรื่อง เริ่มต้นลงทุนตลาดหลักทรัพย์ในเมืองไทย

ขอนำสู่บทเรียนในชีวิตที่ต้องปฏิบัติกัน ปฏิบัติควบคู่ไปกับการมีชีวิตอยู่ ก่อนลงทุน และก่อนตายนะครับ :D

มาเรียนกันต่อครับ
เพราะชีวิต คือ การลงทุน
ก่อนจะลงทุน หรือ ลงทุนอยู่แล้ว ควรทำอะไรควบคู่กันไปกับการดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่
เพื่อเป็นการเตรียมตัวตายไปในตัว
ข้อคิดและแนวทางการดำเนินชีวิตสไตล์โฉลกดอทคอม ครับ
2.2 เรียนเรื่องลงทุนในชีวิต ปัจจุบัน อนาคต
2.2.1 หมั่นสร้างสมบุญบารมี ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี เพื่อชีวิตในปัจจุบัน ในอนาคต และในโลกหน้า
ขั้นต้นที่สุด คือ สร้างทานบารมี
ขั้นที่สอง คือ ศีลบารมี (ศีล 5 ศีล 8) ควรทำควบคู่กันไปกับทานบารมี
ขั้นที่สามหรือขั้นสุดท้ายหรือขั้นสุดยอด คือ ภาวนาบารมี ปฏิบัติเจริญกรรมฐาน ควรทำควบคู่กันไปกับทานบารมี ศีลบารมีและการลงทุน
2.2.2 พอเพียง (สันโดษ)
"สันตุฏฐีปรมังธนัง ความพอใจและยินดีในสภาวะที่เป็นอยู่ปัจจุบัน(สันโดษ) คือทรัพย์อย่างยิ่ง"
2.2.3 ความ โลภนั้น หาที่สิ้นสุดไม่ได้ "นัตถิตัณหาสมานที ห้วงน้ำยิ่งใหญ่เสมอด้วยตัณหาไม่มี"
2.2.4 ไฟ ที่ร้อนแรงยิ่งกว่าไฟในเตาเผาศพ ร้อนแรงยิ่งกว่าไฟในอเวจีมหานรก ก็คือไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ

"...ระยะนี้เรามาตักตวงกำไรจาก ของร้อน ด้วยกันก่อน ลงทุนเต็มที่ ใช้ ระบบ อย่างมี ระเบียบ กันทุกคนนะครับ
ทองคำ ก็ร้อน โลหะมีค่าต่างๆก็ร้อน Commodities ก็ร้อน ทุกสิ่งทุกอย่างร้อนแรง ระยะนี้ใครขาดทุนได้ก็แปลกปลาดสิ้นดี ระบบของเรามีกำไรทุกระบบ ขอให้พิจารณาด้วยสตินะครับ การลงทุนตามอารมณ์โลภและกลัวแบบๆเดิม ไม่มีทางเทียบได้กับการลงทุนตามระบบ ลงทุนง่าย กำไรแน่ ไม่เข้าใจเหมือนกันที่ทำไมยังมีคนอีกจำนวนมากที่หลงเชื่อ Fundamental analysis system อยู่อีก
ไฟ อะไรจะร้อนแรงกว่ากัน หุ้นก็ขึ้น TFEX ก็ขึ้น ยางพาราก็ขึ้น ทองคำก็ขึ้น ความร้อนแรงในตลาดทุนกำลังเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น ทำบุญแล้วก็หันมาเล่น ของร้อน กันดีกว่า ขอให้สมาชิกทุกคนใช้ ระบบ อย่างมี ระเบียบ ทำกำไรกันทั่วหน้าทุกคนนะครับ
ไฟที่ ร้อนแรงกว่านั้นอีก คงจะเป็นไฟในเตาเผาศพ ในที่สุดพวกเราทุกคนก็จะมาจบทุกสิ่งทุกอย่าง ณ ที่ตรงนี้ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็จะทิ้งไว้ที่เดิม ทิ้งไว้ในโลก เอาไปได้แต่วิบากกรรม คือผลของกรรมที่กระทำกันเอาไว้
แต่ไฟ ที่ร้อนแรงยิ่งกว่าไฟในเตาเผาศพ ร้อนแรงยิ่งกว่าไฟในอเวจีมหานรก ก็คือไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ที่เผาใจเราอยู่ทุกวันนี้ ชักจูงคนที่ไม่มีสติ ให้ไปทำบาปทำกรรม เสมือนโคควายตัวใหญ่ แต่เด็กน้อยก็สามารถจูงมันเข้าไปสู่โรงฆ่าสัตว์ได้ เพราะเชือกมันร้อยรูจมูกอยู่ ถูกเขาสนตะพาย ขัดขืนไม่ได้ มนุษย์ที่ขาดสติก็เป็นเสมือนควาย ปล่อยให้กิเลสตัณหามันจูงจมูกไปทำบาปทำกรรมได้ทุกประการ
ความ โลภนั้น หาที่สิ้นสุดไม่ได้ นัตถิตัณหาสมานที ห้วงน้ำยิ่งใหญ่เสมอด้วยตัณหาไม่มีพวกเราจะปรารถนาความร่ำรวยกันแค่ไหน ลาภยศสรรเสริญสุข เป็นโลกธรรม ที่มาคู่กับเสื่อมลาภเสื่อมยศนินทาทุกข์ คนมีสติก็ไม่ควรหลงติดอยู่ในโลกธรรมเหล่านี้ ถึงแม้จะปรารถนาสักเท่าไหร่ มนุษย์ก็สามารถมีลาภยศสรรเสริญสุข เพียงแค่ที่เคยสั่งสมบุญมาในอดีตชาติเท่านั้น ระบบการลงทุนของลุงโฉลก ให้ผลกำไรมหาศาลสำหรับผู้มีบุญ แต่ผู้ไม่มีบุญก็ได้แต่นั่งสงสัย ว่าทำไมเราถึงทำตามระบบไม่ได้สักที ความ พอเพียง ต่างหาก ที่เป็นกุญแจสำคัญของการลงทุน ถ้าไม่รู้จัก พอเพียง ถึงจะได้กำไรเท่าไหร่ก็ไม่พอ ต่อเมื่อรู้จักความ พอเพียง แล้ว เมื่อนั้น มนุษย์ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทรัพย์อย่างแท้จริง สันตุฏฐีปรมังธนัง ความพอใจและยินดีในสภาวะที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คือทรัพย์อย่างยิ่ง ระบบ เศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง คือหัวใจของระบบการลงทุนของ chaloke.com เราพอใจในผลกำไรของเราครับ แค่นี้ก็พอดีแล้ว..." : Chaloke “ของร้อน” จันทร์, 26 มีนาคม 2007

2.2.5 การหวังความมั่งคั่งร่ำรวยโดยไม่มีทานบารมี เป็นเรื่องไร้สาระที่เป็นไปไม่ได้ ผู้ที่ให้ทานด้วยวัตถุทานอันสมควรด้วยความเคารพในพระภิกษุผู้ทรงศีล ย่อมได้อานิสงส์แห่งทานทั้งในชาตินี้และในชาติหน้าต่อๆไป การทำบุญทำทานนั้น ไม่ต้องมาก ขอเพียงเป็นเงินที่ได้มาโดยชอบ ไม่ใช่เงินที่ไปทุจริตคดโกงใครมา ให้ทานด้วยความเคารพ ทำบุญในนาบุญ กำหนดจำนวนเท่ากับกำลังของเทวดานพเคราะห์ คือ ฿108 บาท อย่าเกิน อย่าขาด ร่วมกันทำบุญทำทานด้วยกันนะครับ ชาตินี้จะได้รวยตาม ระบบ อย่าง พอเพียง ด้วยกัน และชาติหน้าก็จะได้มาร่วมลงทุนร่ำรวยด้วยกันอีก ขออย่าตระหนี่เงิน ฿108 บาท กฐินเป็นกาลทานที่มีพระพุทธานุญาตเอาไว้ถูกต้องตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก กฐินทานเป็นทานที่มีอานิสงส์สูงที่สุด ขอเชิญชวนสมาชิกทุกคน อย่าพลาดโอกาสนี้นะครับ มาทำบุญทำทานด้วยกัน คนละ ฿108 บาท
ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส ทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ
กาลทานสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต : Chaloke “ประชานิยม ปัญหาหนี้สินของชาติ” จันทร์, 21 กันยายน 2009



บทที่ 3
เริ่มต้นลงทุนตลาดหลักทรัพย์ในเมืองไทย


เตรียมเครื่องก่อนบิน (เข้ากองไฟ)
1. Set up (อ่านว่าไรหว่า ซีตุ๊บหรือซีตั๊บ) ติดตั้งโปรแกรม Metastock (เอ่อ ลืมบอก ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนครับถึงจะลงโปรแกรมได้)
1.1 ลงสูตร CDC PnT 1.1 Original

2. Set up โปรแกรม The Stock Downloader version 2.0 build 20100818
2.1 ลงข้อมูลแต่ละตลาด

3. เปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์
ชอบตลาดไหนเลือกเปิดตามใจชอบ SET, T-FEX, AFET ฯลฯ

4. เลือกกองไฟที่จะบินเข้าไปเล่น
ตลาดหลักทรัพย์เมืองไทยมีอะไรให้ลงทุน

SET
Stock (หุ้น)

T-FEX
SET50 Index Futures
SET50 Index Options
Single Stock Futures
Gold Futures

AFET
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ข้าวหอมมะลิ 100%
ข้าวขาว 5%
มันสำปะหลังเส้น

5. จัดพอร์ตลงทุนในแต่ละตลาด

Portfolio management ขนาด 3 ล้านบาท

12.5% ตลาดหุ้น 16 ตัว (Long only)
12.5% ตลาด TFEX (Short only)
12.5% ตลาด ยางพารา (Stop and reverse)
12.5% ตลาด ข้าว (Stop and reverse)
25% ตลาดทองคำ (Stop and reverse)

และสำหรับ Portfolio ขนาดใหญ่ เพิ่มการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น หน่วยลงทุน พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และพิจารณาการถือครอง Wealth ใน currency ของประเทศที่มีทรัพยากรณ์ธรรมชาติ และไม่ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลย์ที่สูงมาก เช่น Australian Dollar หรือ Canadian Dollar : Uncle Chaloke “เศรษฐกิจฟื้นตัว” จันทร์, 22 กุมภาพันธ์ 2010

6. ซื้อขายตามระบบ CDC PnT 1.1 Original
เขียวแท่งแรก ซื้อ แดงแท่งแรก ขาย (ไม่ต้องคิดมาก)

เครดิต:http://www.chaloke.com
เครดิต http://wootszn.blogspot.com/2011/09/blog-post.html